ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) มีพิธีเปิดสาขาเชียงใหม่ เพื่อเร่งสร้าง
ผู้ส่งออกภาคเหนือและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยระดับภูมิภาคในระยะยาว โดยมีนายขวัญชัย
วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า การเปิดสาขาเชียงใหม่ของ ธสน. เป็น
ผลจากปริมาณธุรกิจในภาคเหนือทั้งการค้าผ่านพิธีศุลกากรและการค้าชายแดนมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือในปี 2547 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 141,374.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.6% จาก 116,295.4 ล้านบาทในปี 2546 โดยมีมูลค่าส่งออกและนำเข้าคิดเป็น 86,789.5 และ 54,584.8 ล้านบาทตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญคือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ขณะที่การค้าชายแดนในปี 2547 มีมูลค่า 8,488.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.3%
นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศในภาคเหนือยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการไทยและความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการประกอบและขยายธุรกิจส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาระบบ
การค้าระหว่างประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ธสน. จึงเล็งเห็นความจำเป็นของการเปิดสาขา
เชียงใหม่และใช้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของการทำหน้าที่ธนาคารเฉพาะกิจเพื่อสร้างผู้ส่งออกรุ่นใหม่ในระดับ
ภูมิภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในภาคเหนือ โดยอาศัยความพร้อมของเชียงใหม่ ด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การคมนาคม และการเป็นศูนย์กลางการส่งออกของภูมิภาค รวมถึงการผ่านพิธีการศุลกากรในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะส่งออกผ่านไปยังท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือคลองเตยหรือท่าเรือแหลมฉบัง
นายสถาพร กล่าวต่อไปว่า สาขาเชียงใหม่ของ ธสน. จะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งเงินทุนและแหล่ง
ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการSMEs ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในภาคเหนือ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและหัตถกรรมรายเล็กๆ ที่ยังขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจส่งออกอย่างเป็นระบบ โดย ธสน. มุ่งเน้นที่จะให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจส่งออกอย่างรอบด้าน อาทิ การจัดทำเอกสารส่งออก การเลือกใช้เครื่องมือการชำระเงินระหว่างประเทศที่เหมาะสม ตลอดจนจัดหารูปแบบการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่ผู้ส่งออกแต่ละราย เพื่อให้ผู้ส่งออกรายเล็กๆ ในระดับภูมิภาคและผู้สนใจส่งออกสามารถจัดทำแผนธุรกิจที่รัดกุมและเพิ่มศักยภาพการผลิตของตนได้ รวมทั้งสามารถแข่งขันได้ในตลาดประเทศเพื่อนบ้านและตลาดโลกในระยะยาว โดยอาศัยความได้เปรียบของความปราณีตในการผลิตสินค้าพื้นเมืองของภาคเหนือที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศทั่วโลก
ปัจจุบัน ธสน. มี 1 สำนักงาน และ 8 สาขา ประกอบด้วยสำนักงานประจำกรมส่งเสริมการส่งออก
สาขาพระราม 2 พระราม 4 สาทร บางนา-ตราด กม.3 รังสิต แหลมฉบัง หาดใหญ่ และล่าสุดสาขาเชียงใหม่
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142 - 6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-
ผู้ส่งออกภาคเหนือและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยระดับภูมิภาคในระยะยาว โดยมีนายขวัญชัย
วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า การเปิดสาขาเชียงใหม่ของ ธสน. เป็น
ผลจากปริมาณธุรกิจในภาคเหนือทั้งการค้าผ่านพิธีศุลกากรและการค้าชายแดนมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือในปี 2547 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 141,374.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.6% จาก 116,295.4 ล้านบาทในปี 2546 โดยมีมูลค่าส่งออกและนำเข้าคิดเป็น 86,789.5 และ 54,584.8 ล้านบาทตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญคือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ขณะที่การค้าชายแดนในปี 2547 มีมูลค่า 8,488.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.3%
นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศในภาคเหนือยังมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากศักยภาพการผลิตของผู้ประกอบการไทยและความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการประกอบและขยายธุรกิจส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาระบบ
การค้าระหว่างประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ธสน. จึงเล็งเห็นความจำเป็นของการเปิดสาขา
เชียงใหม่และใช้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของการทำหน้าที่ธนาคารเฉพาะกิจเพื่อสร้างผู้ส่งออกรุ่นใหม่ในระดับ
ภูมิภาคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในภาคเหนือ โดยอาศัยความพร้อมของเชียงใหม่ ด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การคมนาคม และการเป็นศูนย์กลางการส่งออกของภูมิภาค รวมถึงการผ่านพิธีการศุลกากรในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะส่งออกผ่านไปยังท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือคลองเตยหรือท่าเรือแหลมฉบัง
นายสถาพร กล่าวต่อไปว่า สาขาเชียงใหม่ของ ธสน. จะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งเงินทุนและแหล่ง
ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการSMEs ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในภาคเหนือ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและหัตถกรรมรายเล็กๆ ที่ยังขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการธุรกิจส่งออกอย่างเป็นระบบ โดย ธสน. มุ่งเน้นที่จะให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจส่งออกอย่างรอบด้าน อาทิ การจัดทำเอกสารส่งออก การเลือกใช้เครื่องมือการชำระเงินระหว่างประเทศที่เหมาะสม ตลอดจนจัดหารูปแบบการสนับสนุนทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่ผู้ส่งออกแต่ละราย เพื่อให้ผู้ส่งออกรายเล็กๆ ในระดับภูมิภาคและผู้สนใจส่งออกสามารถจัดทำแผนธุรกิจที่รัดกุมและเพิ่มศักยภาพการผลิตของตนได้ รวมทั้งสามารถแข่งขันได้ในตลาดประเทศเพื่อนบ้านและตลาดโลกในระยะยาว โดยอาศัยความได้เปรียบของความปราณีตในการผลิตสินค้าพื้นเมืองของภาคเหนือที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศทั่วโลก
ปัจจุบัน ธสน. มี 1 สำนักงาน และ 8 สาขา ประกอบด้วยสำนักงานประจำกรมส่งเสริมการส่งออก
สาขาพระราม 2 พระราม 4 สาทร บางนา-ตราด กม.3 รังสิต แหลมฉบัง หาดใหญ่ และล่าสุดสาขาเชียงใหม่
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1142 - 6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2548--
-พห-