กรุงเทพ--20 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2541 เวลา 16.30 น. นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวกรมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการที่ประเทศไทยอนุญาตให้อินโดนีเซียเปิดสำนักงานติดต่อในสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน ในส่วนที่เกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของสำนักงานติดต่อดังกล่าว สรุปดังนี้
1. รัฐบาลอินโดนีเซียได้ร้องขอเปิดสำนักงานติดต่อของประเทศอินโดนีเซียในสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เนื่องจากอินโดนีเซียไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต จึงไม่มีสถานเอกอัครราชทูตของกันและกัน โดยประเทศทั้งสองมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาสถานภาพติมอร์ตะวันออก อย่างไรก็ตาม บัดนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียและโปรตุเกสเริ่มมีท่าทีปรึกษาหารือกันมากขึ้น มีการเจรจาและพบปะกันเป็นครั้งคราวบ้างแล้ว โดยเฉพาะภายหลังที่ผู้แทนรัฐบาลอินโดนีเซียเพิ่งจะได้พบปะกับรัฐบาลโปรตุเกสที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงจะพบปะเจรจากันในระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป จึงจำเป็นต้องมีช่องทางการทูต ติดต่อกันมากขึ้นเป็นประจำ
2. รัฐบาลอินโดนีเซียได้ขอความร่วมมือจากรัฐบาลไทยในการเปิดสำนักงานติดต่อและสามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 2-3 คน และรัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาอนุมัติให้ดำเนินการตามคำขอของรัฐบาลอินโดนีเซียแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2541
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลโปรตุเกสก็จะอาศัยสถานเอกอัครราชทูตประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำกรุงจาการ์ตาเปิดสำนักงานติดต่อ เพื่อประสานงานกับรัฐบาลอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน
3. การขอเปิดสำนักงานติดต่อดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตประการหนึ่งเพื่อช่วยการระงับข้อพิพาทหรือดูแลประโยชน์ โดยมีตัวอย่างการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น สหรัฐฯ ขอใช้สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ดูแลผลประโยชน์ของตนในคิวบา หรือสหรัฐฯ ขอให้สถานเอกอัครราชทูตโปแลนด์ในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เปิดสำนักงานดูแลผลประโยชน์ของตน
4. รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือแก่รัฐบาลอินโดนีเซียตามคำร้องขอดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลไทยเห็นว่า รัฐบาลอินโดนีเซียมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออก ซึ่งปัญหาติมอร์ตะวันออกนั้นค้างคามานานแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับแรงกดดันจากประชาคมโลกและองค์การสหประชาชาติให้แก้ไขมาโดยตลอด การที่รัฐบาลอินโดนีเซียและรัฐบาลโปรตุเกสตกลงที่จะหารือแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออกเป็นสิ่งที่ดี เพราะการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันจากภายนอกและขจัดความตึงเครียดและขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้คือ ฝ่ายโปรตุเกสต้องการให้อินโดนีเซียให้สถานภาพพิเศษและการปกครองตนเองแก่ติมอร์ตะวันออก ในขณะที่ฝ่ายอินโดนีเซียต้องการเจรจาเรื่องดังกล่าวในรายละเอียด และมีปัญหาด้วยว่า สถานะทางกฎหมายของติมอร์ตะวันออกจะเป็นอย่างไรและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอธิปไตยของอินโดนีเซียหรือไม่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ด้วยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2541 เวลา 16.30 น. นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวกรมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการที่ประเทศไทยอนุญาตให้อินโดนีเซียเปิดสำนักงานติดต่อในสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน ในส่วนที่เกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของสำนักงานติดต่อดังกล่าว สรุปดังนี้
1. รัฐบาลอินโดนีเซียได้ร้องขอเปิดสำนักงานติดต่อของประเทศอินโดนีเซียในสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เนื่องจากอินโดนีเซียไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต จึงไม่มีสถานเอกอัครราชทูตของกันและกัน โดยประเทศทั้งสองมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาสถานภาพติมอร์ตะวันออก อย่างไรก็ตาม บัดนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียและโปรตุเกสเริ่มมีท่าทีปรึกษาหารือกันมากขึ้น มีการเจรจาและพบปะกันเป็นครั้งคราวบ้างแล้ว โดยเฉพาะภายหลังที่ผู้แทนรัฐบาลอินโดนีเซียเพิ่งจะได้พบปะกับรัฐบาลโปรตุเกสที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงจะพบปะเจรจากันในระดับเจ้าหน้าที่ต่อไป จึงจำเป็นต้องมีช่องทางการทูต ติดต่อกันมากขึ้นเป็นประจำ
2. รัฐบาลอินโดนีเซียได้ขอความร่วมมือจากรัฐบาลไทยในการเปิดสำนักงานติดต่อและสามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 2-3 คน และรัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาอนุมัติให้ดำเนินการตามคำขอของรัฐบาลอินโดนีเซียแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม 2541
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลโปรตุเกสก็จะอาศัยสถานเอกอัครราชทูตประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำกรุงจาการ์ตาเปิดสำนักงานติดต่อ เพื่อประสานงานกับรัฐบาลอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน
3. การขอเปิดสำนักงานติดต่อดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตประการหนึ่งเพื่อช่วยการระงับข้อพิพาทหรือดูแลประโยชน์ โดยมีตัวอย่างการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น สหรัฐฯ ขอใช้สถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ดูแลผลประโยชน์ของตนในคิวบา หรือสหรัฐฯ ขอให้สถานเอกอัครราชทูตโปแลนด์ในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เปิดสำนักงานดูแลผลประโยชน์ของตน
4. รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือแก่รัฐบาลอินโดนีเซียตามคำร้องขอดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลไทยเห็นว่า รัฐบาลอินโดนีเซียมีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออก ซึ่งปัญหาติมอร์ตะวันออกนั้นค้างคามานานแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับแรงกดดันจากประชาคมโลกและองค์การสหประชาชาติให้แก้ไขมาโดยตลอด การที่รัฐบาลอินโดนีเซียและรัฐบาลโปรตุเกสตกลงที่จะหารือแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออกเป็นสิ่งที่ดี เพราะการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันจากภายนอกและขจัดความตึงเครียดและขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้คือ ฝ่ายโปรตุเกสต้องการให้อินโดนีเซียให้สถานภาพพิเศษและการปกครองตนเองแก่ติมอร์ตะวันออก ในขณะที่ฝ่ายอินโดนีเซียต้องการเจรจาเรื่องดังกล่าวในรายละเอียด และมีปัญหาด้วยว่า สถานะทางกฎหมายของติมอร์ตะวันออกจะเป็นอย่างไรและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอธิปไตยของอินโดนีเซียหรือไม่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--