กรุงเทพ--4 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (4 ตุลาคม 2542) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อเวลา 13.00 น. นาย U Hla Maung เอกอัครราชทูตพม่าได้เข้าพบ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแสดงความขอบคุณต่อกระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลนับตั้งแต่ ฯพณฯนายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตพม่าในนามของรัฐบาลพม่ายังได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย เพราะแม้ว่าผู้ก่อการร้ายจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลพม่าที่ก่อปัญหายุ่งยาก แต่ก็เป็นคนพม่าในการนี้ ดร. สุรินทร์ฯ และเอกอัครราชทูตพม่าได้หารือกันสรุปว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า อยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งผลจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-พม่า (JC) เมื่อเดือนสิงหาคม 2542ทั้งสองฝ่ายได้พัฒนาความร่วมมือในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่าได้ปล่อยนักโทษไทยกว่า 60 คน ตามคำร้องขอของฝ่ายไทย และภายหลังเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีแลกการเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและเพิ่มมาตรการและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สถานเอกอัครราชทูตและทำเนียบเอกอัครราชทูตของสองฝ่ายมากขึ้นด้วย โฆษกกระทรวงฯ ได้แถลงเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2542อธิบดีกรมการเมืองพม่าได้เชิญนายเพ็ญศักดิ์ ชลารักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง เข้าพบเพื่อกล่าวชื่นชมการดำเนินการของฝ่ายไทยและกล่าวว่าฝ่ายไทยได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ ทางการพม่าได้สั่งเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 6 นาย มาประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งและเพิ่มอีก 6 คน ไปประจำที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย
อนึ่ง ต่อข้อถามผู้สื่อข่าวว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ฝ่ายไทยจะถือว่า นักศึกษาพม่าที่ก่อการนี้เป็นผู้ก่อการร้าย (terrorists)และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า การก่อการดังกล่าวเป็นการต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาพม่าไม่ควรถือว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย แม้ว่าวิธีการดำเนินการจะรุนแรงเหมือนวิธีการของขบวนการก่อการร้ายต่อข้อถามว่า ตามที่เหตุการณ์ดังกล่าวจบลงด้วยไม่มีความสูญเสีย และหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกรัฐบาลไทยจะแก้ปัญหาด้วยการเจรจาเช่นนี้หรือไม่ โฆษกฯ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละกรณีต่อข้อถามเกี่ยวกับการที่พม่าปิดด่านชายแดนไทย-พม่านั้น โฆษกฯกล่าวว่าการปิดด่านครั้งนี้น่าจะเป็นมาตรการชั่วคราวและเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องที่ฝ่ายพม่าจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อคนและทรัพย์สินของตนในช่วงสุดท้ายของการแถลงข่าว โฆษกกระทรวงฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีสื่อมวลชนบางฉบับมีความเห็นว่าระหว่างเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกระทรวงการต่างประเทศไม่มีบทบาทเท่าที่ควร โดย โฆษกฯ ได้ชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้มีส่วนร่วมในคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวตั้งแต่ต้นโดยเริ่มจากการที่กระทรวงฯ ได้มอบหมายนายกิตติ วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกเป็น เจ้าหน้าที่ประสานงานในคณะทำงานเฉพาะกิจและต่อมากระทรวงฯ ยังได้จัดทีมเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ คอยประสานงานด้านข้อมูลที่กระทรวงการต่างประเทศและคอยประจำอยู่ที่ศูนย์บัญชาการที่ตึกไบเออร์ถนนสาธร จนกระทั่งเหตุการณ์สิ้นสุดลง--จบ--
วันนี้ (4 ตุลาคม 2542) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อเวลา 13.00 น. นาย U Hla Maung เอกอัครราชทูตพม่าได้เข้าพบ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อแสดงความขอบคุณต่อกระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลนับตั้งแต่ ฯพณฯนายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตพม่าในนามของรัฐบาลพม่ายังได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย เพราะแม้ว่าผู้ก่อการร้ายจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลพม่าที่ก่อปัญหายุ่งยาก แต่ก็เป็นคนพม่าในการนี้ ดร. สุรินทร์ฯ และเอกอัครราชทูตพม่าได้หารือกันสรุปว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า อยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งผลจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-พม่า (JC) เมื่อเดือนสิงหาคม 2542ทั้งสองฝ่ายได้พัฒนาความร่วมมือในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพม่าได้ปล่อยนักโทษไทยกว่า 60 คน ตามคำร้องขอของฝ่ายไทย และภายหลังเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีแลกการเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและเพิ่มมาตรการและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สถานเอกอัครราชทูตและทำเนียบเอกอัครราชทูตของสองฝ่ายมากขึ้นด้วย โฆษกกระทรวงฯ ได้แถลงเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2542อธิบดีกรมการเมืองพม่าได้เชิญนายเพ็ญศักดิ์ ชลารักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง เข้าพบเพื่อกล่าวชื่นชมการดำเนินการของฝ่ายไทยและกล่าวว่าฝ่ายไทยได้ทำอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ ทางการพม่าได้สั่งเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 6 นาย มาประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งและเพิ่มอีก 6 คน ไปประจำที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย
อนึ่ง ต่อข้อถามผู้สื่อข่าวว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ฝ่ายไทยจะถือว่า นักศึกษาพม่าที่ก่อการนี้เป็นผู้ก่อการร้าย (terrorists)และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ โฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า การก่อการดังกล่าวเป็นการต่อสู้ทางการเมืองของนักศึกษาพม่าไม่ควรถือว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย แม้ว่าวิธีการดำเนินการจะรุนแรงเหมือนวิธีการของขบวนการก่อการร้ายต่อข้อถามว่า ตามที่เหตุการณ์ดังกล่าวจบลงด้วยไม่มีความสูญเสีย และหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกรัฐบาลไทยจะแก้ปัญหาด้วยการเจรจาเช่นนี้หรือไม่ โฆษกฯ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละกรณีต่อข้อถามเกี่ยวกับการที่พม่าปิดด่านชายแดนไทย-พม่านั้น โฆษกฯกล่าวว่าการปิดด่านครั้งนี้น่าจะเป็นมาตรการชั่วคราวและเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องที่ฝ่ายพม่าจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อคนและทรัพย์สินของตนในช่วงสุดท้ายของการแถลงข่าว โฆษกกระทรวงฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีสื่อมวลชนบางฉบับมีความเห็นว่าระหว่างเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกระทรวงการต่างประเทศไม่มีบทบาทเท่าที่ควร โดย โฆษกฯ ได้ชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้มีส่วนร่วมในคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวตั้งแต่ต้นโดยเริ่มจากการที่กระทรวงฯ ได้มอบหมายนายกิตติ วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกเป็น เจ้าหน้าที่ประสานงานในคณะทำงานเฉพาะกิจและต่อมากระทรวงฯ ยังได้จัดทีมเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ คอยประสานงานด้านข้อมูลที่กระทรวงการต่างประเทศและคอยประจำอยู่ที่ศูนย์บัญชาการที่ตึกไบเออร์ถนนสาธร จนกระทั่งเหตุการณ์สิ้นสุดลง--จบ--