สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงในทุกพื้นที่ เพราะนอกจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมากแล้ว ในสัปดาห์นี้ยังเข้าสู่เทศกาลกินเจที่ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ลดลง ทำให้ตลาดสุกรในช่วงนี้ค่อนข้างซบเซาและมีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีก
ศูนย์สารนิเทศ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด(มหาชน) รายงานว่า นายนพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศให้สาร Salbutamal เป็นสารเคมีต้องห้ามนำเข้า สำหรับผู้ที่มีการนำเข้าในเดือนมิถุนายน ต้องส่งรายงานให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2542 ซึ่งเป็นการรายงานสต็อกสินค้าเก่า หลังจากนั้นต้องรายงานทุก 4 เดือน เพื่อป้องกันการลักลอบนำสารเคมีไปใช้ในการเลี้ยงสุกร สำหรับเรื่องการส่งออกเนื้อสุกรไปยังสิงคโปร์ ผู้ประกอบการต้องเข้มงวดในเรื่องสุขอนามัย โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสุกรต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สิงคโปร์กำหนด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.41 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.51 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.94 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 40.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ11.54 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 49.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ภาวะการซื้อขายยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคามีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะผลจากเทศกาลกินเจที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ ทางด้านความต้องการเลี้ยงเริ่มชลอตัวลงเพราะราคาจำหน่ายที่ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่ากลุ่มผู้ผลิตลูกไก่จะปรับลดการผลิตลูกไก่ลงเพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อไม่ให้ตกต่ำลงไปมากกว่านี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.79 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.47 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 22.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.15 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.45 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ23.74 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแหล่งเลี้ยงภาคกลาง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณมากและความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะผลจากเทศกาลกินเจ อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์ของตลาดไข่ไก่จะไม่ตกต่ำมากนัก โดยที่เมื่อผ่านพ้นเทศกาลกินเจไปแล้วราคาจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 174 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 194 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 159บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 172 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ลดลงจากตัวละ 18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 211 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 212 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 220 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 212 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 209 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 196บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำสัปดาห์ 4 - 10 ต.ค. 2542--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงในทุกพื้นที่ เพราะนอกจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมากแล้ว ในสัปดาห์นี้ยังเข้าสู่เทศกาลกินเจที่ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ลดลง ทำให้ตลาดสุกรในช่วงนี้ค่อนข้างซบเซาและมีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีก
ศูนย์สารนิเทศ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด(มหาชน) รายงานว่า นายนพลิศ เสริมศักดิ์ศศิธร นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศให้สาร Salbutamal เป็นสารเคมีต้องห้ามนำเข้า สำหรับผู้ที่มีการนำเข้าในเดือนมิถุนายน ต้องส่งรายงานให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2542 ซึ่งเป็นการรายงานสต็อกสินค้าเก่า หลังจากนั้นต้องรายงานทุก 4 เดือน เพื่อป้องกันการลักลอบนำสารเคมีไปใช้ในการเลี้ยงสุกร สำหรับเรื่องการส่งออกเนื้อสุกรไปยังสิงคโปร์ ผู้ประกอบการต้องเข้มงวดในเรื่องสุขอนามัย โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสุกรต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สิงคโปร์กำหนด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.41 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.87 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.51 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.94 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 40.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ11.54 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 49.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.14
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาปรับขึ้นเล็กน้อย แต่ภาวะการซื้อขายยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคามีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะผลจากเทศกาลกินเจที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ ทางด้านความต้องการเลี้ยงเริ่มชลอตัวลงเพราะราคาจำหน่ายที่ลดลง ขณะเดียวกันคาดว่ากลุ่มผู้ผลิตลูกไก่จะปรับลดการผลิตลูกไก่ลงเพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อไม่ให้ตกต่ำลงไปมากกว่านี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.79 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.47 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 22.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.15 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.45 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ23.74 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในแหล่งเลี้ยงภาคกลาง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณมากและความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะผลจากเทศกาลกินเจ อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์ของตลาดไข่ไก่จะไม่ตกต่ำมากนัก โดยที่เมื่อผ่านพ้นเทศกาลกินเจไปแล้วราคาจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 167 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 174 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 194 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 159บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 172 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ลดลงจากตัวละ 18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 211 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 212 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 220 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 212 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 209 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 196บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำสัปดาห์ 4 - 10 ต.ค. 2542--