กรุงเทพ--6 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ตามที่สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกนั้นกระทรวงต่างประเทศขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ดังนี้
1. ไทยส่งกองกำลังไทยไปตามคำขอของสหประชาชาติและอินโดนีเซียรัฐบาลไทยได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออกในกรอบของสหประชาชาติมาหลายสมัยแล้วตั้งแต่ปี 2526 และได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่จำนวน 9 นายร่วมภารกิจของ UNAMET เพื่อสังเกตการณ์และประสานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในติมอร์ตะวันออกและเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 1264/1999 กำหนดให้จัดตั้งกองกำลังนานาชาติเพื่อเข้าไปปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออก (INTERFET) และอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันได้แจ้งความประสงค์ผ่านทั้ง ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกและ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปร่วมในกองกำลังนานาชาติให้มากที่สุดกับทั้งเลขาธิการสหประชาชาติก็ได้แจ้งขอโดยตรงต่อ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีให้ไทยส่งกองกำลังเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติและกองกำลังรักษาสันติภาพที่สหประชาชาติจะจัดตั้งขึ้น ประเทศไทยจึงตกลงใจเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออกเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามขยายตัวออกไปโดยตอบสนองคำร้องขอของสหประชาชาติและรัฐบาลอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่ได้เคยให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในยามยากมาก่อน
2. รัฐบาลไทยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกับกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกเลขาธิการสหประชาชาติได้ย้ำกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมในครั้งนี้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุน (Trust Fund) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายของกองกำลังนานาชาติโดยประเทศไทยและประเทศอาเซียนมีสิทธิที่จะเบิกจ่ายได้ก่อนประเทศอื่นขณะนี้ กองทุน (Trust Fund) สามารถจัดตั้งขึ้นได้แล้วมีงบประมาณจัดตั้งในชั้นต้นนี้เป็นเงิน 105 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,200 ล้านบาท) โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศโปรตุเกสได้บริจาคเป็นเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. กรณีเปรียบเทียบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวัน แม้สถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกจะถือเป็นเรื่องฉุกเฉินและเงื่อนเวลาเป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงแต่ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้หารือกับผู้บัญชาการทหารทั้งสามเหล่าทัพและผู้บัญชาการทหารสูงสุดก่อนแล้ว การส่งกองกำลังจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ได้มีการพิจารณากันล่วงหน้าอย่างถ่องแท้ขณะเดียวกัน ขอเรียนด้วยว่า กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ไต้หวันตามที่กล่าวพาดพิงถึงนั้นรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานอย่างเร่งด่วนกับสภากาชาดไทย โดยจัดส่งทีมคณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไปบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและแรงงานไทยในไต้หวัน โดยในการแถลงต่อสภาผู้แทน-ราษฎรเมื่อวันที่ 29กันยายน 2542 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสามารถประสานเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ ซึ่งทั้งแรงงานไทยและทางการไต้หวันต่างชื่นชมในการตัดสินใจของรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้
4. ค่าใช้จ่ายในกรณีกัมพูชารัฐบาลไทยได้รับคืนหมดแล้วสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการสร้างเส้นทางหมายเลข 5 ปอยเปต-ศรีโสภณร่วมกับสหประชาชาตินั้น ขอเรียนยืนยันว่ารัฐบาลไทยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คืนจากสหประชาชาติทุกบาททุกสตางค์แล้ว--จบ--
วันนี้ (6 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ตามที่สื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกนั้นกระทรวงต่างประเทศขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ดังนี้
1. ไทยส่งกองกำลังไทยไปตามคำขอของสหประชาชาติและอินโดนีเซียรัฐบาลไทยได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาติมอร์ตะวันออกในกรอบของสหประชาชาติมาหลายสมัยแล้วตั้งแต่ปี 2526 และได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่จำนวน 9 นายร่วมภารกิจของ UNAMET เพื่อสังเกตการณ์และประสานเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในติมอร์ตะวันออกและเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 1264/1999 กำหนดให้จัดตั้งกองกำลังนานาชาติเพื่อเข้าไปปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออก (INTERFET) และอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันได้แจ้งความประสงค์ผ่านทั้ง ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ที่เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกและ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขอให้ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปร่วมในกองกำลังนานาชาติให้มากที่สุดกับทั้งเลขาธิการสหประชาชาติก็ได้แจ้งขอโดยตรงต่อ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีให้ไทยส่งกองกำลังเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติและกองกำลังรักษาสันติภาพที่สหประชาชาติจะจัดตั้งขึ้น ประเทศไทยจึงตกลงใจเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออกเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามขยายตัวออกไปโดยตอบสนองคำร้องขอของสหประชาชาติและรัฐบาลอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่ได้เคยให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในยามยากมาก่อน
2. รัฐบาลไทยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งกองกำลังไทยไปร่วมกับกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออกเลขาธิการสหประชาชาติได้ย้ำกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมในครั้งนี้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุน (Trust Fund) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายของกองกำลังนานาชาติโดยประเทศไทยและประเทศอาเซียนมีสิทธิที่จะเบิกจ่ายได้ก่อนประเทศอื่นขณะนี้ กองทุน (Trust Fund) สามารถจัดตั้งขึ้นได้แล้วมีงบประมาณจัดตั้งในชั้นต้นนี้เป็นเงิน 105 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,200 ล้านบาท) โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศโปรตุเกสได้บริจาคเป็นเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. กรณีเปรียบเทียบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวัน แม้สถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกจะถือเป็นเรื่องฉุกเฉินและเงื่อนเวลาเป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงแต่ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้หารือกับผู้บัญชาการทหารทั้งสามเหล่าทัพและผู้บัญชาการทหารสูงสุดก่อนแล้ว การส่งกองกำลังจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ได้มีการพิจารณากันล่วงหน้าอย่างถ่องแท้ขณะเดียวกัน ขอเรียนด้วยว่า กรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ไต้หวันตามที่กล่าวพาดพิงถึงนั้นรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการประสานอย่างเร่งด่วนกับสภากาชาดไทย โดยจัดส่งทีมคณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไปบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและแรงงานไทยในไต้หวัน โดยในการแถลงต่อสภาผู้แทน-ราษฎรเมื่อวันที่ 29กันยายน 2542 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสามารถประสานเรื่องนี้ได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ ซึ่งทั้งแรงงานไทยและทางการไต้หวันต่างชื่นชมในการตัดสินใจของรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้
4. ค่าใช้จ่ายในกรณีกัมพูชารัฐบาลไทยได้รับคืนหมดแล้วสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการสร้างเส้นทางหมายเลข 5 ปอยเปต-ศรีโสภณร่วมกับสหประชาชาตินั้น ขอเรียนยืนยันว่ารัฐบาลไทยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คืนจากสหประชาชาติทุกบาททุกสตางค์แล้ว--จบ--