กรุงเทพ--11 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 115/2542 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเยือนประเทศเบลเยี่ยม ออสเตรีย และฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 7-13 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น และกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการพบปะหารือระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Erik Derycle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยม นั้น
กระทรวงฯ ได้รับรายงานเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ว่า นายสุขุม รัศ มิทัต เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงบรัสเซลส์ (ASEAN Brussels Committee หรือ ABC) ได้เชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนประจำสหภาพยุโรปเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 คณะผู้แทนฯ ขอสรุปสาระสำคัญของการหารือดังนี้เกี่ยวกับความคืบหน้า
1. ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป- ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของประชุม ASEAN-EC JCC ที่ต้องเลื่อนออกไป และแนวโน้มของการประชุม AEMM ที่เบอร์ลินในช่วงเดือนธันวาคม 2542 โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-EU เรียกร้องให้พม่ายอมหารือเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและปัญหาภายในของพม่า ซึ่งต่อมาพม่าก็ได้ประนีประนอมตามข้อเรียกร้องดังกล่าว แต่ล่าสุด EU ได้ตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมให้มีพัฒนาการทางการเมืองในพม่าก่อน จนถึงขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังหาทางออกในเรื่องนี้อยู่
- ABC ได้แสดงความเห็นว่าขณะนี้ สภาพยุโรปกำลังยุ่งอยู่กับปัญหาภายในหลายเรื่อง เช่น Agenda 2000 และ institutional reform และปัญหาการค้ากับสหรัฐฯ เช่น ปัญหาเรื่องกล้วยและ beef hormone จึงดูเหมือนให้ความสนใจกับอาเซียนน้อยลง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ให้ข้อคิดว่าในขณะที่กำลังมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-EU และ EU ให้ความสนใจกับกรอบความร่วมมืออื่นๆ มากขึ้น เช่น ASEM ความสัมพันธ์กับภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา เอเชียตะวันออก ดังนั้น อาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมบทบาทของตนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของสหภาพยุโรป โดย ABC เป็นกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่ดังกล่าวโดยอาศัยเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ประเทศอาเซียนแต่ละประเทศอาจจะแบ่งกันรับผิดชอบการประสานงานกับบางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป อาทิ แต่ละประเทศอาเซียนอาจทำหน้าที่คอยติดตามและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 2-3 ประเทศ ซึ่งอาจเป็นการนำไปสู่การ Lobby เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการประชุม ASEAN-EC JCC และ AEMM ได้ด้วย ทั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แนะนำว่าควรสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรปซึ่งเชื่อมโยงกับการเปลี่ยน EU Presidency ทุก 6 เดือน
2. ASEM
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความมือในกรอบ ASEM เช่น การประชุม ASEM Foreign Ministers Meeting การขยายจำนวนสมาชิก ASEM เป็นต้น โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แจ้งว่าประเด็นเรื่องการขยายจำนวนสมาชิกนั้นคงมีการหารือกันในที่ประชุม ASEM Summit 3 ที่เกาหลีโดยคงจะมีการพิจารณาประเทศ candidate ของเอเชีย 4 ประเทศ ได้แก่ Australia, New Zealand, India และ Pakistan
3. WTO DG
ABC ได้สอบถามถึงการเลือกตั้ง WTO DG ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าขณะนี้ไทยยังได้คะแนนนำอยู่และล่าสุดมีประเทศแอฟริกาหลายประเทศกำลังทบทวนท่าทีของตนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อมิให้ผู้สมัครจากประเทศกำลังพัฒนาต้องหลุดไป สำหรับ EU นั้น ฝรั่งเศสต้องการให้มีท่าทีร่วมกัน แต่หากเป็นไม่ได้ก็มีโอกาสที่ไทยจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประเทศยุโรปเหนือ ซึ่งมีวิธีการสรรหาขณะนี้นั้นแสดงให้เห็นว่าคะแนนเสียงของหลายประเทศไม่มีความหมายแต่อย่างใด ต้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทราบว่า WTO ไม่ใช่ exclusive ขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการให้มีประเทศต่าง ๆ เห็นพ้องว่าการเลือกตั้ง WTO DG ไม่ควรมีการใช้สิทธิ์ veto และกระบวนการสรรหาไม่ควรล่าช้าออกไป
4. พัฒนาการของสหภาพยุโรป
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิสำคัญของสหภาพยุโรปในช่วงปัจจุบัน เช่น การเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในเดือนธันวาคม 1999 การหมดวาระของ Sir Leon Brittan การปฏิรูปคณะกรรมาธิการยุโรป EMU และเงินยูโร การเลือกตั้งในเยอรมันและเบลเยี่ยม เป็นต้น
5. ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและประเทศสมาชิกาอาเซียน เช่น การเยือนไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ การเยือนไทยของประธานาธิบดีเวียดนามและการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีลาว
6. สถานการณ์ในกัมพูชา
ABC ได้สอบถามสถานการณ์ในกัมพูชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าทุกฝ่ายเห็นว่าควรมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมและสร้างการปรองดองกัน ซึ่งขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ก็มี goodwill of internetional commitment ต่อกัมพูชา โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการประชุมที่ Tokyo และประเทศต่าง ๆ ก็ตกลงจะให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเป็นมูลค่า 14-15 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาสามปีข้างหน้าเพื่อให้เกิด peace and stability ซึ่งไทยต้องการให้มีสันติภาพโดยเร็วเนื่องจากยังแบกรับภาระผู้อพยพอยู่จำนวน 20,000 คน ล่าสุด Hub Sen ก็ได้เดินทางไปจีนเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องเขมรแดง
7. สถานการณ์ในพม่า
ABC ได้สอบถามสถานการณ์ในพม่า ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนักแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของพม่าพร้อมที่จะเจรจากับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะเดียวกันบุคคลผู้นี้ก็เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มทหารของพม่า ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ยินยอมที่จะพบกับ EU troika เพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ พม่าก็ได้ให้ความสนใจกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเข้าใจว่าพม่ากำลังพิจารณาแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เหมาะสมอยู่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 115/2542 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเยือนประเทศเบลเยี่ยม ออสเตรีย และฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 7-13 กุมภาพันธ์ 2542 นั้น และกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการพบปะหารือระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Erik Derycle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบลเยี่ยม นั้น
กระทรวงฯ ได้รับรายงานเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ว่า นายสุขุม รัศ มิทัต เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงบรัสเซลส์ (ASEAN Brussels Committee หรือ ABC) ได้เชิญเอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนประจำสหภาพยุโรปเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันเป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหภาพยุโรป และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542 คณะผู้แทนฯ ขอสรุปสาระสำคัญของการหารือดังนี้เกี่ยวกับความคืบหน้า
1. ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป- ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของประชุม ASEAN-EC JCC ที่ต้องเลื่อนออกไป และแนวโน้มของการประชุม AEMM ที่เบอร์ลินในช่วงเดือนธันวาคม 2542 โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-EU เรียกร้องให้พม่ายอมหารือเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและปัญหาภายในของพม่า ซึ่งต่อมาพม่าก็ได้ประนีประนอมตามข้อเรียกร้องดังกล่าว แต่ล่าสุด EU ได้ตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมให้มีพัฒนาการทางการเมืองในพม่าก่อน จนถึงขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังหาทางออกในเรื่องนี้อยู่
- ABC ได้แสดงความเห็นว่าขณะนี้ สภาพยุโรปกำลังยุ่งอยู่กับปัญหาภายในหลายเรื่อง เช่น Agenda 2000 และ institutional reform และปัญหาการค้ากับสหรัฐฯ เช่น ปัญหาเรื่องกล้วยและ beef hormone จึงดูเหมือนให้ความสนใจกับอาเซียนน้อยลง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ให้ข้อคิดว่าในขณะที่กำลังมีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-EU และ EU ให้ความสนใจกับกรอบความร่วมมืออื่นๆ มากขึ้น เช่น ASEM ความสัมพันธ์กับภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา เอเชียตะวันออก ดังนั้น อาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมบทบาทของตนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของสหภาพยุโรป โดย ABC เป็นกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่ดังกล่าวโดยอาศัยเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป นอกจากนี้ประเทศอาเซียนแต่ละประเทศอาจจะแบ่งกันรับผิดชอบการประสานงานกับบางประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป อาทิ แต่ละประเทศอาเซียนอาจทำหน้าที่คอยติดตามและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 2-3 ประเทศ ซึ่งอาจเป็นการนำไปสู่การ Lobby เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการประชุม ASEAN-EC JCC และ AEMM ได้ด้วย ทั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แนะนำว่าควรสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรปซึ่งเชื่อมโยงกับการเปลี่ยน EU Presidency ทุก 6 เดือน
2. ASEM
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความมือในกรอบ ASEM เช่น การประชุม ASEM Foreign Ministers Meeting การขยายจำนวนสมาชิก ASEM เป็นต้น โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้แจ้งว่าประเด็นเรื่องการขยายจำนวนสมาชิกนั้นคงมีการหารือกันในที่ประชุม ASEM Summit 3 ที่เกาหลีโดยคงจะมีการพิจารณาประเทศ candidate ของเอเชีย 4 ประเทศ ได้แก่ Australia, New Zealand, India และ Pakistan
3. WTO DG
ABC ได้สอบถามถึงการเลือกตั้ง WTO DG ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าขณะนี้ไทยยังได้คะแนนนำอยู่และล่าสุดมีประเทศแอฟริกาหลายประเทศกำลังทบทวนท่าทีของตนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อมิให้ผู้สมัครจากประเทศกำลังพัฒนาต้องหลุดไป สำหรับ EU นั้น ฝรั่งเศสต้องการให้มีท่าทีร่วมกัน แต่หากเป็นไม่ได้ก็มีโอกาสที่ไทยจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประเทศยุโรปเหนือ ซึ่งมีวิธีการสรรหาขณะนี้นั้นแสดงให้เห็นว่าคะแนนเสียงของหลายประเทศไม่มีความหมายแต่อย่างใด ต้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทราบว่า WTO ไม่ใช่ exclusive ขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการให้มีประเทศต่าง ๆ เห็นพ้องว่าการเลือกตั้ง WTO DG ไม่ควรมีการใช้สิทธิ์ veto และกระบวนการสรรหาไม่ควรล่าช้าออกไป
4. พัฒนาการของสหภาพยุโรป
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิสำคัญของสหภาพยุโรปในช่วงปัจจุบัน เช่น การเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในเดือนธันวาคม 1999 การหมดวาระของ Sir Leon Brittan การปฏิรูปคณะกรรมาธิการยุโรป EMU และเงินยูโร การเลือกตั้งในเยอรมันและเบลเยี่ยม เป็นต้น
5. ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และ ABC ได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและประเทศสมาชิกาอาเซียน เช่น การเยือนไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ การเยือนไทยของประธานาธิบดีเวียดนามและการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีลาว
6. สถานการณ์ในกัมพูชา
ABC ได้สอบถามสถานการณ์ในกัมพูชา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าทุกฝ่ายเห็นว่าควรมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมและสร้างการปรองดองกัน ซึ่งขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ก็มี goodwill of internetional commitment ต่อกัมพูชา โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการประชุมที่ Tokyo และประเทศต่าง ๆ ก็ตกลงจะให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเป็นมูลค่า 14-15 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาสามปีข้างหน้าเพื่อให้เกิด peace and stability ซึ่งไทยต้องการให้มีสันติภาพโดยเร็วเนื่องจากยังแบกรับภาระผู้อพยพอยู่จำนวน 20,000 คน ล่าสุด Hub Sen ก็ได้เดินทางไปจีนเพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องเขมรแดง
7. สถานการณ์ในพม่า
ABC ได้สอบถามสถานการณ์ในพม่า ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ แจ้งว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนักแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของพม่าพร้อมที่จะเจรจากับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะเดียวกันบุคคลผู้นี้ก็เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มทหารของพม่า ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ยินยอมที่จะพบกับ EU troika เพื่อหารือเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ พม่าก็ได้ให้ความสนใจกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเข้าใจว่าพม่ากำลังพิจารณาแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เหมาะสมอยู่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--