เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2548 โดยรวมชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยในด้านอุปสงค์ ทั้งดัชนี การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ขณะที่การส่งออกชะลอตัวมากในเดือนนี้ อย่างไรก็ดี ภาคการคลังมีการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณส่งผลให้ขาดดุลเงินสดรัฐบาล
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าเกษตร ขณะที่ผลผลิตพืชผลหลัก ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากฝนตกชุกเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวใกล้เคียงเดือนก่อน สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแรงกดดันต่อเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสด และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกที่ชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้ายังขยายตัวสูง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ปี 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยสินค้าหลายหมวดขยายตัวในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องที่การผลิตเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากสหรัฐอเมริกา หลังจากประสบภัยธรรมชาติ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งเพิ่มขึ้นจากการผลิตรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี การผลิตบางอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน บางส่วน หมวดยาสูบ ได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2548 ส่วนการผลิตหมวดเครื่องหนัง ลดลงต่อเนื่องเพราะอยู่ในช่วงการปรับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพสูง และมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.5 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลงของปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และมูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่าย รถยนต์นั่งที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่าย ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนเนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกมาก ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่
3. ภาคการคลัง เดือนตุลาคม 2548 (เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549) รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 95.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ตามการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภค โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งขยายตัวร้อยละ 20.3 เป็นสำคัญ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 16.7 ทั้งนี้ ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐเดือนนี้เร่งตัวขึ้นจากมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่าย ส่งผลให้ในเดือนนี้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 53.3 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกชะลอลงมาก โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.7 เทียบกับร้อยละ 23.8 ในเดือนก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่า 9,406 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางพาราและน้ำตาล ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนในอัตราร้อยละ 19.7 คิดเป็นมูลค่า 9,775 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าที่การนำเข้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 2 ลำ) ส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบ ขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าน้ำมันรวมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาเริ่มชะลอลง ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากรายได้ ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายส่งกลับกำไรและเงินปันผลต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งเป็นระยะตกงวดชำระ ส่งผลให้ดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุลเพียง 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 303 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.3 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารสด หมวดพลังงาน และหมวดอื่น ๆ โดยราคาในหมวดอาหารสดสูงขึ้นเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนราคาในหมวดพลังงานยังอยู่ในระดับสูงตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า (Ft) อีก 10 สตางค์ต่อหน่วย หรือร้อยละ 5.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในเดือนตุลาคมปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 ตามราคาค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างที่สูงขึ้น และราคารถยนต์ที่สูงขึ้นจากการปรับอุปกรณ์เสริมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาสุราตามการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 ตามราคาในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในปีก่อน
6. ภาวะการเงิน ในเดือนตุลาคม 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 36.0 พันล้านบาทจากเดือนกันยายน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการยกระดับบริษัทเงินทุนเกียรตินาคินซึ่งควบรวมกับบริษัทเงินทุนรัตนทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.1 4.2 และ 4.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่ก็อยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.39 และ 3.37 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจากเดือนก่อนตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 อยู่ที่ร้อยละ 3.75 ประกอบกับสภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นบางช่วงเมื่อธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมสภาพคล่องให้กระทรวงการคลังกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดเป็นสำคัญ ประกอบกับบางส่วนเตรียมไว้ให้ประชาชนและสถาบันชำระพันธบัตรกองทุนน้ำมัน
7. ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศหลายแห่งซื้อเงินบาทเพื่อปรับฐานะ
ระหว่างวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2548 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลงจากเดือนก่อนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เช่นเดียวกับสกุลอื่นในภูมิภาค จากดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งขึ้นเพราะตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดประกอบกับธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0 เมื่อต้นเดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าเกษตร ขณะที่ผลผลิตพืชผลหลัก ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากฝนตกชุกเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวใกล้เคียงเดือนก่อน สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงมีแรงกดดันต่อเนื่องจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสด และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากเดือนก่อน จากการส่งออกที่ชะลอตัวลง ขณะที่การนำเข้ายังขยายตัวสูง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ปี 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยสินค้าหลายหมวดขยายตัวในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องที่การผลิตเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากสหรัฐอเมริกา หลังจากประสบภัยธรรมชาติ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งเพิ่มขึ้นจากการผลิตรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี การผลิตบางอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน บางส่วน หมวดยาสูบ ได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2548 ส่วนการผลิตหมวดเครื่องหนัง ลดลงต่อเนื่องเพราะอยู่ในช่วงการปรับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพสูง และมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.5 ในเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลงของปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ และมูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่าย รถยนต์นั่งที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้างเป็นสำคัญ โดยเฉพาะพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่าย ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนเนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกมาก ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังขยายตัวในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ และมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่
3. ภาคการคลัง เดือนตุลาคม 2548 (เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549) รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 95.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ตามการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภค โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งขยายตัวร้อยละ 20.3 เป็นสำคัญ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 16.7 ทั้งนี้ ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐเดือนนี้เร่งตัวขึ้นจากมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่าย ส่งผลให้ในเดือนนี้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 53.3 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกชะลอลงมาก โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.7 เทียบกับร้อยละ 23.8 ในเดือนก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่า 9,406 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางพาราและน้ำตาล ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนในอัตราร้อยละ 19.7 คิดเป็นมูลค่า 9,775 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าที่การนำเข้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 2 ลำ) ส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบ ขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าน้ำมันรวมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาเริ่มชะลอลง ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากรายได้ ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายส่งกลับกำไรและเงินปันผลต่ำกว่าเดือนก่อนซึ่งเป็นระยะตกงวดชำระ ส่งผลให้ดุลบัญชี เดินสะพัดเกินดุลเพียง 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 303 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.3 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารสด หมวดพลังงาน และหมวดอื่น ๆ โดยราคาในหมวดอาหารสดสูงขึ้นเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนราคาในหมวดพลังงานยังอยู่ในระดับสูงตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า (Ft) อีก 10 สตางค์ต่อหน่วย หรือร้อยละ 5.5 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในเดือนตุลาคมปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 ตามราคาค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างที่สูงขึ้น และราคารถยนต์ที่สูงขึ้นจากการปรับอุปกรณ์เสริมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาสุราตามการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 ตามราคาในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในปีก่อน
6. ภาวะการเงิน ในเดือนตุลาคม 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 36.0 พันล้านบาทจากเดือนกันยายน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการยกระดับบริษัทเงินทุนเกียรตินาคินซึ่งควบรวมกับบริษัทเงินทุนรัตนทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งขึ้นจากช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยยังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 6.1 4.2 และ 4.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่ก็อยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2547 ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนตุลาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.39 และ 3.37 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจากเดือนก่อนตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 อยู่ที่ร้อยละ 3.75 ประกอบกับสภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นบางช่วงเมื่อธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมสภาพคล่องให้กระทรวงการคลังกู้เพื่อไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดเป็นสำคัญ ประกอบกับบางส่วนเตรียมไว้ให้ประชาชนและสถาบันชำระพันธบัตรกองทุนน้ำมัน
7. ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดและดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ส่งผลให้กองทุนต่างประเทศหลายแห่งซื้อเงินบาทเพื่อปรับฐานะ
ระหว่างวันที่ 1-25 พฤศจิกายน 2548 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลงจากเดือนก่อนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เช่นเดียวกับสกุลอื่นในภูมิภาค จากดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งขึ้นเพราะตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดประกอบกับธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.0 เมื่อต้นเดือน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--