สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--10 มิ.ย.--บิสนิวส์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
กระเทียม : คาดว่าราคากระเทียม ปี 2542/43 จะตกต่ำ
ผลการพยากรณ์ที่ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปริมาณการผลิตกระเทียมปีเพาะปลูก 2542/43 จะมีเนื้อที่ปลูก 148,539 ไร่ ผลผลิต 130,941 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541/42 ซึ่งมีเนื้อที่ปลูก 141,991 ไร่ ผลผลิต 121,782 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.61 และ 7.52 ตามลำดับ เนื่องจากราคากระเทียมที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กล่าวคือ ราคากระเทียมแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ ปี 2542 (มค.-พค.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.38 บาท ราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 16.64 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 106.61 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตร (กระเทียม หอมหัวใหญ่ หอมแดง มันฝรั่ง และพริกไทย) ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมมีความมั่นใจในด้านราคาและจะขยายพื้นที่ปลูกในจังหวัดภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และเชียงราย ในปี 2542/43 มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงปัญหาราคากระเทียม ที่อาจจะตกต่ำหากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นในฤดูการปลูก ปี 2542/43
2. สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีรายได้แน่นอนหรือพืชครบวงจร (Contract farming) ทดแทน เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน
3. กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ ควรดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกกระเทียมทุกราย หลังการปลูกประมาณ 1 เดือน โดยเฉพาะกระเทียมพันธุ์จีน (หัวใหญ่) เพื่อใช้ในการตรวจสอบเมื่อมีการจับกุมการลักลอบนำเข้ากระเทียม ซึ่งจะทำให้การปราบปรามการลักลอบนำเข้ากระเทียมได้ผลมากยิ่งขึ้น
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลิ้นจี่ : สถานการณ์การผลิต การตลาดลิ้นจี่ในปี 2542
จากการคาดคะเนล่าสุด ของศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร ในเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะมีผลผลิต 21,792 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 2,937 ตัน ในปีที่แล้วถึง 7 เท่า แต่ลดต่ำกว่าที่ประมาณการครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2541 ว่าจะมีผลผลิตลิ้นจี่ถึง 39,340 ตัน หรือลดลงร้อยละ 45 ทั้งนี้ เพราะเกิดความแปรปรวนของอากาศเกิดฝนตกในช่วงดอกบาน จึงทำให้การติดผลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะนี้การเก็บเกี่ยวผลผลิตใกล้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ อำเภอฝางและกิ่งอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
แม้ว่าผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้จะมีปริมาณไม่มากนัก แต่ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ โดยราคาลิ้นจี่เกรดคละที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 15 บาท เมื่อเทียบกับกิโลกรัมละ 35 บาท ในปีที่ผ่านมา หรือลดลงร้อยละ 57 เนื่องจากคุณภาพของผลผลิตไม่ดีนัก อันเป็นผลจากการที่เกษตรกรไม่ดูแลรักษาเท่าที่ควร เพราะประสบภาวะขาดทุนจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น นอกจากนั้นยังประสบภาวะฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวทำให้สีผิวไม่สวย ผลแตกและเกิดปัญหาหนอนเจาะขั้ว แต่จากการที่โรงงานแปรรูปลิ้นจี่กระป๋องได้ออกมารับซื้อลิ้นจี่คว้านเมล็ดจากเกษตรกร โดยให้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 4 บาท (ลิ้นจี่สด) ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยระบายผลผลิตเข้าสู่โรงงาน
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 24 - 30 พ.ค. 2542--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
กระเทียม : คาดว่าราคากระเทียม ปี 2542/43 จะตกต่ำ
ผลการพยากรณ์ที่ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปริมาณการผลิตกระเทียมปีเพาะปลูก 2542/43 จะมีเนื้อที่ปลูก 148,539 ไร่ ผลผลิต 130,941 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541/42 ซึ่งมีเนื้อที่ปลูก 141,991 ไร่ ผลผลิต 121,782 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.61 และ 7.52 ตามลำดับ เนื่องจากราคากระเทียมที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กล่าวคือ ราคากระเทียมแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ ปี 2542 (มค.-พค.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.38 บาท ราคาสูงกว่ากิโลกรัมละ 16.64 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 106.61 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตร (กระเทียม หอมหัวใหญ่ หอมแดง มันฝรั่ง และพริกไทย) ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมมีความมั่นใจในด้านราคาและจะขยายพื้นที่ปลูกในจังหวัดภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และเชียงราย ในปี 2542/43 มากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงปัญหาราคากระเทียม ที่อาจจะตกต่ำหากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นในฤดูการปลูก ปี 2542/43
2. สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น ๆ ที่มีรายได้แน่นอนหรือพืชครบวงจร (Contract farming) ทดแทน เช่น มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน
3. กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ ควรดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกกระเทียมทุกราย หลังการปลูกประมาณ 1 เดือน โดยเฉพาะกระเทียมพันธุ์จีน (หัวใหญ่) เพื่อใช้ในการตรวจสอบเมื่อมีการจับกุมการลักลอบนำเข้ากระเทียม ซึ่งจะทำให้การปราบปรามการลักลอบนำเข้ากระเทียมได้ผลมากยิ่งขึ้น
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลิ้นจี่ : สถานการณ์การผลิต การตลาดลิ้นจี่ในปี 2542
จากการคาดคะเนล่าสุด ของศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร ในเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะมีผลผลิต 21,792 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 2,937 ตัน ในปีที่แล้วถึง 7 เท่า แต่ลดต่ำกว่าที่ประมาณการครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2541 ว่าจะมีผลผลิตลิ้นจี่ถึง 39,340 ตัน หรือลดลงร้อยละ 45 ทั้งนี้ เพราะเกิดความแปรปรวนของอากาศเกิดฝนตกในช่วงดอกบาน จึงทำให้การติดผลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะนี้การเก็บเกี่ยวผลผลิตใกล้จะเสร็จสิ้นลงแล้ว แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ อำเภอฝางและกิ่งอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
แม้ว่าผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้จะมีปริมาณไม่มากนัก แต่ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ โดยราคาลิ้นจี่เกรดคละที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 15 บาท เมื่อเทียบกับกิโลกรัมละ 35 บาท ในปีที่ผ่านมา หรือลดลงร้อยละ 57 เนื่องจากคุณภาพของผลผลิตไม่ดีนัก อันเป็นผลจากการที่เกษตรกรไม่ดูแลรักษาเท่าที่ควร เพราะประสบภาวะขาดทุนจากปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น นอกจากนั้นยังประสบภาวะฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวทำให้สีผิวไม่สวย ผลแตกและเกิดปัญหาหนอนเจาะขั้ว แต่จากการที่โรงงานแปรรูปลิ้นจี่กระป๋องได้ออกมารับซื้อลิ้นจี่คว้านเมล็ดจากเกษตรกร โดยให้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 4 บาท (ลิ้นจี่สด) ก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยระบายผลผลิตเข้าสู่โรงงาน
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 24 - 30 พ.ค. 2542--