แท็ก
เกษตรกร
1.ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนธันวาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน แม้ว่าผลผลิตพืชผลจะลดลงจากภาวะแห้งแล้ง แต่ความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้ราคาพืชผลสำคัญเร่งตัวจากเดือนก่อนและชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้
ผลผลิตพืชผล ลดลงร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีและอ้อยลดลงเป็นสำคัญ
ราคาพืชผล ขยายตัวร้อยละ 16.3 ตามราคาข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ในระดับสูงจากราคารับจำนำของทางการและราคามันสำปะหลังซึ่งมีความต้องการจากต่างประเทศในเกณฑ์สูงขณะที่ราคาข้าวโพดและอ้อยสูงขึ้นเพราะมีอุปสงค์ส่วนเกินในประเทศ
ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์เร่งตัวขึ้น แต่หมวดประมงชะลอตัว
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 จากราคาสุกรที่มีความต้องการบริโภคแทนเนื้อไก่และมีการส่งออกมากขึ้นนอกจากนี้ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากอุปทานในตลาดลดลง
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนตามราคากุ้ง ปลาหมึกและปลาทะเล เนื่องจากอุปทานในตลาดอยู่ในระดับสูง
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย จากราคาข้าวที่ผลผลิตลดลงเพราะภาวะแห้งแล้ง ราคามันสำปะหลัง และราคากุ้งที่มีความต้องการจากต่างประเทศมาก
ราคาสินค้าเกษตร (ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด)ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาข้าวและน้ำตาลทรายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีน้อยเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง
ภาพรวมปี 2547
รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ชะลอลงมาจากปีก่อนเนื่องจากผลผลิตพืชผลลดลงเพราะภาวะแห้งแล้ง แต่ราคายังเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูง
ผลผลิตพืชผลสำคัญ ลดลงร้อยละ 1.3 จากปีก่อนเนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยและฤดูฝนสิ้นสุดเร็วกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตพืชผลสำคัญได้รับความเสียหายค่อนข้างมากโดยเฉพาะข้าวนาปีและอ้อย
ราคาพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากราคาข้าวนาปี ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ตามความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
ราคาสินค้าเกษตรกรไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากราคาสินค้าหมวดพืชผล และราคาสินค้าหมวดปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นมากตามราคาสุกรและไข่ ทั้งนี้ ราคาสุกรสูงขึ้นเพราะมีการบริโภคแทนเนื้อไก่และการส่งออกก็ปรับตัวดีขึ้นมากในช่วงปลายปี ส่วนราคาไข่ไก่และไข่เป็ดปรับตัวสูงขึ้นเพราะอุปทานในตลาดลดลงจากปัญหาโรคไข้หวัดนกสำหรับราคาสินค้าหมวดประมงฟื้นตัวจากปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกประเภทสินค้า โดยเฉพาะราคากุ้งที่ปรับตัวดีขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปีเพราะความต้องการปรับตัวดีขึ้นเมื่ออัตราภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นที่สหรัฐฯเรียกเก็บจากไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ
ราคาสินค้าเกษตร(ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด)ในตลาดโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 จากปีก่อน ตามราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และถั่วเหลือง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีน้อยเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง
2.ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาจากร้อยละ 10.0 ในเดือนพฤศจิกายน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนจากหมวดเครื่องดื่มที่มีการเร่งผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด และหมวดปิโตรเลียมที่มีการผลิตชดเชยการปิดซ่อมโรงงานก่อนหน้านั้นประกอบกับ ในปีนี้การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงจากการอ่อนตัวของอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลก และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กก็ลดลงเพราะมียอดสินค้าคงค้างสูงแล้ว
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวดี ได้แก่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ทั้งของรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากกลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการขายหมวดยาสูบ ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ปิดซ่อมโรงงานบางส่วน และเพื่อสะสมสต็อกจากข่าวการปรับราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวดีจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะอุปสงค์จากภาครัฐที่มีต่อเนื่อง
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.3 ในปี 2546 ทั้งนี้ ทุกหมวดอุตสาหกรรมสำคัญขยายตัว ยกเว้น หมวดอาหาร เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ชะลอลงมากจากอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลกที่ชะลอตัวตามวัฏจักร และหมวดเครื่องดื่มชะลอมาจากปีก่อนที่มีการเร่งผลิตในช่วงปลายปีสำหรับหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งนั้น แม้จะชะลอลงแต่ยังขยายตัวสูง
อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 72.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 66.3 ในปี 2546
3.การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนธันวาคม 2547 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวน 1.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในวงจำกัดเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุขณะที่การท่องเที่ยวในส่วนอื่นๆของประเทศยังคงขยายตัว ส่วนผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ยังไม่ปรากฎในเดือนนี้ เนื่องจากเหตุเกิดในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน
อัตราเข้าพักโรงแรมในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 67.6 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.5 โดยอัตราเข้าพักเพิ่มขึ้นในทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ซึ่งมีอัตราเข้าพักลดลงเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
สรุปการท่องเที่ยวปี 2547 จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 17.3 แม้ว่าการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในช่วงไตรมาสแรก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมา
ภาวะการท่องเที่ยวปี 2548 คาดว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติปลายปี 2547 จะส่งผลกระทบต่อการณ์ท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกเป็นสำคัญ
4.ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวจากเดือนก่อน พิจารณาได้จากเครื่องชี้หลายตัว ทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย และปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ชะลอตัวลง สำหรับการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จแล้วซึ่งลดลงมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมากก่อนที่มาตรการลดหย่อนภาษีจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 2546
อย่างไรก็ดี การแข่งขันของผู้ประกอบการค่อนข้างรุนแรง ซึ่งสะท้อนจากดัชนีราคาขายวัสดุก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.1 สูงกว่าการขยายตัวของดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ 4 ทั้งดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวเฮ้าท์ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 5.0 ตามลำดับ
ภาพรวมปี 2547
ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่ามาตรการกระต้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลจะสิ้นสุดลง โดยจำนวนรายการซื้อขายที่ดินในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน และที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มและพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างก็ขยายตัวในอัตราสูง
5.ภาคการค้า
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมคาดว่าจะยังขยายตัว ส่วนหนึ่งจากมาตรการที่ผ่อนผันให้มีการขยายเวลาปิด-เปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวคาดว่าจะชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนจะส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าบ้างโดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการค้าโดยทั่วไปยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ภาวะการค้าส่งชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลังอย่างไรก็ตาม ยังคงมีการขยายสาขาห้างสรรพสินค้า Discount Store และร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น แม้สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกจะส่งผลให้การค้าไก่สด ไข่ไก่ และอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับไก่หดตัวในช่วงต้นปีแต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงตั้งแต่ช่วงกลางปี
6.โทรคมนาคม
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูงถึงร้อยละ 20.0 ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.6 โดยเป็นการขยายตัวของจำนวนเลขหมายในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ โทรศัพท์พื้นฐานมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจาก ครม.ได้มีมติอนุมติโครงการขยายบริการโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเลขหมายจำนวน 4.9 แสนเลขหมายจะถูกจัดสรรไปสู่เขตภูมิภาคซึ่งมีความต้องการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานอยู่มาก
ภาพรวมปี 2547
ภาคโทรคมนาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากปีก่อน จากการขยายการให้บริการในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูง โดยมีการนำเสนอบริการเสริมที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการ
ทางด้านราคามีการแข่งขันสูงขึ้นทั้งในกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานและกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในเดือนธันวาคม 2547 รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน แม้ว่าผลผลิตพืชผลจะลดลงจากภาวะแห้งแล้ง แต่ความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้ราคาพืชผลสำคัญเร่งตัวจากเดือนก่อนและชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้
ผลผลิตพืชผล ลดลงร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปีและอ้อยลดลงเป็นสำคัญ
ราคาพืชผล ขยายตัวร้อยละ 16.3 ตามราคาข้าวเปลือก ซึ่งอยู่ในระดับสูงจากราคารับจำนำของทางการและราคามันสำปะหลังซึ่งมีความต้องการจากต่างประเทศในเกณฑ์สูงขณะที่ราคาข้าวโพดและอ้อยสูงขึ้นเพราะมีอุปสงค์ส่วนเกินในประเทศ
ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์เร่งตัวขึ้น แต่หมวดประมงชะลอตัว
ราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 จากราคาสุกรที่มีความต้องการบริโภคแทนเนื้อไก่และมีการส่งออกมากขึ้นนอกจากนี้ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากอุปทานในตลาดลดลง
ราคาประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนตามราคากุ้ง ปลาหมึกและปลาทะเล เนื่องจากอุปทานในตลาดอยู่ในระดับสูง
แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย จากราคาข้าวที่ผลผลิตลดลงเพราะภาวะแห้งแล้ง ราคามันสำปะหลัง และราคากุ้งที่มีความต้องการจากต่างประเทศมาก
ราคาสินค้าเกษตร (ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด)ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาข้าวและน้ำตาลทรายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีน้อยเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง
ภาพรวมปี 2547
รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ชะลอลงมาจากปีก่อนเนื่องจากผลผลิตพืชผลลดลงเพราะภาวะแห้งแล้ง แต่ราคายังเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูง
ผลผลิตพืชผลสำคัญ ลดลงร้อยละ 1.3 จากปีก่อนเนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยและฤดูฝนสิ้นสุดเร็วกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตพืชผลสำคัญได้รับความเสียหายค่อนข้างมากโดยเฉพาะข้าวนาปีและอ้อย
ราคาพืชผลสำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากราคาข้าวนาปี ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ตามความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
ราคาสินค้าเกษตรกรไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากราคาสินค้าหมวดพืชผล และราคาสินค้าหมวดปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นมากตามราคาสุกรและไข่ ทั้งนี้ ราคาสุกรสูงขึ้นเพราะมีการบริโภคแทนเนื้อไก่และการส่งออกก็ปรับตัวดีขึ้นมากในช่วงปลายปี ส่วนราคาไข่ไก่และไข่เป็ดปรับตัวสูงขึ้นเพราะอุปทานในตลาดลดลงจากปัญหาโรคไข้หวัดนกสำหรับราคาสินค้าหมวดประมงฟื้นตัวจากปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกประเภทสินค้า โดยเฉพาะราคากุ้งที่ปรับตัวดีขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปีเพราะความต้องการปรับตัวดีขึ้นเมื่ออัตราภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นที่สหรัฐฯเรียกเก็บจากไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ
ราคาสินค้าเกษตร(ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย 12 ชนิด)ในตลาดโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 จากปีก่อน ตามราคาข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และถั่วเหลือง เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีน้อยเพราะประเทศผู้ผลิตสำคัญประสบปัญหาภาวะแห้งแล้ง
2.ภาคอุตสาหกรรม
ในเดือนธันวาคม 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมาจากร้อยละ 10.0 ในเดือนพฤศจิกายน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนจากหมวดเครื่องดื่มที่มีการเร่งผลิตเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด และหมวดปิโตรเลียมที่มีการผลิตชดเชยการปิดซ่อมโรงงานก่อนหน้านั้นประกอบกับ ในปีนี้การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงจากการอ่อนตัวของอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลก และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กก็ลดลงเพราะมียอดสินค้าคงค้างสูงแล้ว
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวดี ได้แก่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ทั้งของรถยนต์พาณิชย์รุ่นใหม่และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากกลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการขายหมวดยาสูบ ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ปิดซ่อมโรงงานบางส่วน และเพื่อสะสมสต็อกจากข่าวการปรับราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น และหมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งขยายตัวดีจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะอุปสงค์จากภาครัฐที่มีต่อเนื่อง
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.3 ในปี 2546 ทั้งนี้ ทุกหมวดอุตสาหกรรมสำคัญขยายตัว ยกเว้น หมวดอาหาร เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ชะลอลงมากจากอุปสงค์แผงวงจรรวมในตลาดโลกที่ชะลอตัวตามวัฏจักร และหมวดเครื่องดื่มชะลอมาจากปีก่อนที่มีการเร่งผลิตในช่วงปลายปีสำหรับหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งนั้น แม้จะชะลอลงแต่ยังขยายตัวสูง
อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้งปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 72.7 สูงขึ้นจากร้อยละ 66.3 ในปี 2546
3.การท่องเที่ยวและโรงแรม
ในเดือนธันวาคม 2547 นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีจำนวน 1.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในวงจำกัดเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุขณะที่การท่องเที่ยวในส่วนอื่นๆของประเทศยังคงขยายตัว ส่วนผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ยังไม่ปรากฎในเดือนนี้ เนื่องจากเหตุเกิดในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน
อัตราเข้าพักโรงแรมในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 67.6 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.5 โดยอัตราเข้าพักเพิ่มขึ้นในทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ซึ่งมีอัตราเข้าพักลดลงเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
สรุปการท่องเที่ยวปี 2547 จำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวร้อยละ 17.3 แม้ว่าการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในช่วงไตรมาสแรก และสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมา
ภาวะการท่องเที่ยวปี 2548 คาดว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติปลายปี 2547 จะส่งผลกระทบต่อการณ์ท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกเป็นสำคัญ
4.ภาคอสังหาริมทรัพย์
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวจากเดือนก่อน พิจารณาได้จากเครื่องชี้หลายตัว ทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย และปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ที่ชะลอตัวลง สำหรับการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จแล้วซึ่งลดลงมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมากก่อนที่มาตรการลดหย่อนภาษีจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 2546
อย่างไรก็ดี การแข่งขันของผู้ประกอบการค่อนข้างรุนแรง ซึ่งสะท้อนจากดัชนีราคาขายวัสดุก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.1 สูงกว่าการขยายตัวของดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ 4 ทั้งดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวเฮ้าท์ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 5.0 ตามลำดับ
ภาพรวมปี 2547
ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่ามาตรการกระต้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลจะสิ้นสุดลง โดยจำนวนรายการซื้อขายที่ดินในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน และที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มและพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างก็ขยายตัวในอัตราสูง
5.ภาคการค้า
ในเดือนธันวาคม 2547 ภาวะการค้าโดยรวมคาดว่าจะยังขยายตัว ส่วนหนึ่งจากมาตรการที่ผ่อนผันให้มีการขยายเวลาปิด-เปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวคาดว่าจะชะลอลงจากเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติใน 6 จังหวัดภาคใต้ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนจะส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าบ้างโดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัย
ภาพรวมปี 2547
ภาวะการค้าโดยทั่วไปยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ภาวะการค้าส่งชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลังอย่างไรก็ตาม ยังคงมีการขยายสาขาห้างสรรพสินค้า Discount Store และร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น แม้สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกจะส่งผลให้การค้าไก่สด ไข่ไก่ และอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับไก่หดตัวในช่วงต้นปีแต่สถานการณ์ก็ได้คลี่คลายลงตั้งแต่ช่วงกลางปี
6.โทรคมนาคม
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังขยายตัวต่อเนื่องในอัตราสูงถึงร้อยละ 20.0 ส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.6 โดยเป็นการขยายตัวของจำนวนเลขหมายในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ โทรศัพท์พื้นฐานมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจาก ครม.ได้มีมติอนุมติโครงการขยายบริการโทรศัพท์ 5.6 แสนเลขหมายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเลขหมายจำนวน 4.9 แสนเลขหมายจะถูกจัดสรรไปสู่เขตภูมิภาคซึ่งมีความต้องการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานอยู่มาก
ภาพรวมปี 2547
ภาคโทรคมนาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากปีก่อน จากการขยายการให้บริการในเขตภูมิภาคเป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูง โดยมีการนำเสนอบริการเสริมที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการ
ทางด้านราคามีการแข่งขันสูงขึ้นทั้งในกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐานและกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--