แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย
ฉบับที่ 8/2541
เรื่อง การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้ระบบสถาบันการเงิน
ภายหลังภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอันที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบสถาบันการเงิน โดยมีการหารืออย่างใกล้ชิดกับสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลทุกแห่ง เพื่อให้มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างมั่นคง ในกรณีของสถาบันการเงินที่ได้รับผลเสียหายรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจและมีปัญหาสภาพคล่อง แต่ไม่สามารถดำเนินการเพิ่มทุนด้วยตนเอง ทางการได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ว่าทางการจะเข้าไปเพิ่มทุนให้ แต่เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ทางการมากเกินไป ผู้ถือหุ้นเดิมจะต้องรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นก่อน โดยให้มีการลดทุนตามจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และในการดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อธนาคารเสียก่อน
ตัวอย่างที่ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีได้แก่กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการลดทุนและเพิ่มทุน หลังจากที่ได้ให้ความเห็นชอบให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของธนาคาร ปรากฏว่าสามารถเรียกความเชื่อมั่นที่มีต่อธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) และต่อระบบสถาบันการเงินไทยได้ในระดับที่น่าพอใจ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงิน ในวันนี้ธนาคารได้มีการดำเนินการเพิ่มเติมดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการบริหาร และฝ่ายจัดการ โดยได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารและการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดี เข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการแทนคนเก่าที่ลาออกในคราวแรก 4 คน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป ได้แก่
1. นายศิววงศ์ จังคศิริ เป็นกรรมการและประธานกรรมการบริหาร
2. นายสมโภชน์ อินทรานุกูล เป็นกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
3. นางสาวนภพร เรืองสกุล เป็นกรรมการและกรรมการบริหาร
4. นายชลอ เฟื่องอารมย์ เป็นกรรมการและกรรมการบริหาร
นอกจากนี้ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 กรรมการเดิมจะลาออกจากตำแหน่งอีก 5 คน และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จะแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการเพิ่มอีก 2 คน ได้แก่ 1) นายพงษ์ศักดิ์ อังสุพันธ์ และ 2) นายทักษพล เจียมวิจิตร
หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว คณะกรรมการของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จะมีจำนวน 11 คน และมีคณะกรรมการบริหารจำนวน 6 คน โดยมี นายศิววงศ์ จังคศิริ เป็นประธานกรรมการ สำหรับฝ่ายจัดการนั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ยืมตัวผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถในด้านต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อช่วยสนับสนุนให้ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สามารถปรับปรุงการดำเนินงานและระบบงานให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามเจตจำนงของธนาคาร
2. การลดทุนและเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์สามแห่ง
2.1 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการและฝ่ายจัดการของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) โดยการทำสัญญาความร่วมมือในการเข้าบริหารและฟื้นฟูกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ส่งทีมงานบริหารเข้ามาปรับปรุงแก้ไขฐานะการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่กลางปี 2540 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวช่วยให้การดำเนินงานมีผลคืบหน้าและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนผู้ฝากเงินได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีฐานะการเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีความมั่นคงพอเพียง สาเหตุบางส่วนเป็นเพราะความเสียหายจากสินทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพที่เกิดจากการบริหารงานของกลุ่มผู้บริหารเดิม ซึ่งปรากฏขึ้นเมื่อมีการเข้าตรวจสอบฐานะของธนาคาร โดยละเอียดจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่ถูกซ้ำเติมโดยภาวะเศรษฐกิจการเงิน ทำให้มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน
2.2 ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการและฝ่ายจัดการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหารชุดเดิม อย่างไรก็ดี ในด้านฐานะการเงินนั้น ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ เนื่องจากมีความเสียหายที่ถูกซ้ำเติม โดยภาวะเศรษฐกิจการเงินและขาดแคลนสภาพคล่อง ทำให้มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน ในการนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อาศัยอำนาจตามกฏหมายสั่งการให้ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเพิ่มทุนให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน แต่ธนาคารไม่สามารถทำการเพิ่มทุนได้ภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว
2.3 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
กรณีของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ความเสียหายเดิมที่มีอยู่สูงนั้นก็ถูกซ้ำเติมโดยภาวะเศรษฐกิจการเงินและการขาดแคลนสภาพคล่อง ทำให้ฐานะการเงินของธนาคารยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองเช่นกัน
2.4 การสั่งลดทุนและเพิ่มทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าตรวจสอบฐานะการเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โดยละเอียด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากฝ่ายจัดการ ผลปรากฏว่า มีความเสียหายจำนวนสูงในกรณีของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) และมีความเสียหายจำนวนสูงกว่าเงินกองทุนที่มีอยู่ ในกรณีของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อาศัยอำนาจตามกฏหมายมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งสามแห่งดังกล่าวดำเนินการลดทุนและเพิ่มทุน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะเข้าเพิ่มทุนในนามของทางการ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ดังนี้
ทุนชำระแล้ว จำนวนลดทุน มูลค่าหุ้นคงเหลือ จำนวนเพิ่มทุน
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (บาท/หุ้น) (ล้านบาท)
กรุงเทพฯ พาณิชย์การ 35,545 33,768 1,777 0.50 10,000
จำกัด (มหาชน)
มหานคร จำกัด (มหาชน) 10,000 9,990 10 0.01 32,000
นครหลวงไทย จำกัด 6,164 5,548 616 1.00 20,000
(มหาชน)
การเพิ่มทุนดังกล่าวนี้จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งสามแห่งมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของ BIS ประมาณร้อยละ 10
ตามที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทางการเข้าดำเนินการเพิ่มทุนจะกลายเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น ทางการจะได้พิจารณาแนวทางเพื่อเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นข้างมากให้เป็นของภาคเอกชนภายในเวลาอันควรต่อไป
อนึ่ง ธนาคารพาณิชย์นอกเหนือจากที่ทางการเข้าดำเนินการเพิ่มทุนให้แล้วล้วนมีความคืบหน้าในการดำเนินการเพิ่มทุนด้วยตนเอง ไม่ว่าจะโดยผู้ถือหุ้นเดิมหรือมีต่างชาติเข้ามาสนใจ จึงคาดว่าระบบธนาคารพาณิชย์นับจากนี้ได้จะมีความเข้มแข็งกว่าที่ผ่านมามาก
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า เป้าหมายการดำเนินการทั้งหมดนี้ก็เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนผู้ฝากเงิน รวมถึงเจ้าหนี้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การเพิ่มทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ เพื่อช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทั้งแก่ฐานะและการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และแก่ระบบสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยืนยันว่าจะยังดูแลและประกันเงินฝากของผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน รวมถึงการดูแลช่วยเหลือสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินตามความจำเป็นต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารยังจะดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรังปรุงมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของนานาประเทศโดยเร็ว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนจูงใจให้มีผู้เข้าร่วมทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
จึงขอแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
6 กุมภาพันธ์ 2541
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ฉบับที่ 8/2541
เรื่อง การดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้ระบบสถาบันการเงิน
ภายหลังภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปี 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอันที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบสถาบันการเงิน โดยมีการหารืออย่างใกล้ชิดกับสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลทุกแห่ง เพื่อให้มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างมั่นคง ในกรณีของสถาบันการเงินที่ได้รับผลเสียหายรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจและมีปัญหาสภาพคล่อง แต่ไม่สามารถดำเนินการเพิ่มทุนด้วยตนเอง ทางการได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ว่าทางการจะเข้าไปเพิ่มทุนให้ แต่เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ทางการมากเกินไป ผู้ถือหุ้นเดิมจะต้องรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคารพาณิชย์แห่งนั้นก่อน โดยให้มีการลดทุนตามจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และในการดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อธนาคารเสียก่อน
ตัวอย่างที่ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีได้แก่กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการลดทุนและเพิ่มทุน หลังจากที่ได้ให้ความเห็นชอบให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของธนาคาร ปรากฏว่าสามารถเรียกความเชื่อมั่นที่มีต่อธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) และต่อระบบสถาบันการเงินไทยได้ในระดับที่น่าพอใจ
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบสถาบันการเงิน ในวันนี้ธนาคารได้มีการดำเนินการเพิ่มเติมดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ กรรมการบริหาร และฝ่ายจัดการ โดยได้แต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารและการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดี เข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการแทนคนเก่าที่ลาออกในคราวแรก 4 คน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป ได้แก่
1. นายศิววงศ์ จังคศิริ เป็นกรรมการและประธานกรรมการบริหาร
2. นายสมโภชน์ อินทรานุกูล เป็นกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
3. นางสาวนภพร เรืองสกุล เป็นกรรมการและกรรมการบริหาร
4. นายชลอ เฟื่องอารมย์ เป็นกรรมการและกรรมการบริหาร
นอกจากนี้ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 กรรมการเดิมจะลาออกจากตำแหน่งอีก 5 คน และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จะแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการเพิ่มอีก 2 คน ได้แก่ 1) นายพงษ์ศักดิ์ อังสุพันธ์ และ 2) นายทักษพล เจียมวิจิตร
หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว คณะกรรมการของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จะมีจำนวน 11 คน และมีคณะกรรมการบริหารจำนวน 6 คน โดยมี นายศิววงศ์ จังคศิริ เป็นประธานกรรมการ สำหรับฝ่ายจัดการนั้นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ยืมตัวผู้บริหารที่มีประสบการณ์และความสามารถในด้านต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อช่วยสนับสนุนให้ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สามารถปรับปรุงการดำเนินงานและระบบงานให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามเจตจำนงของธนาคาร
2. การลดทุนและเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์สามแห่ง
2.1 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการและฝ่ายจัดการของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) โดยการทำสัญญาความร่วมมือในการเข้าบริหารและฟื้นฟูกิจการธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ส่งทีมงานบริหารเข้ามาปรับปรุงแก้ไขฐานะการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่กลางปี 2540 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวช่วยให้การดำเนินงานมีผลคืบหน้าและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนผู้ฝากเงินได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีฐานะการเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีความมั่นคงพอเพียง สาเหตุบางส่วนเป็นเพราะความเสียหายจากสินทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพที่เกิดจากการบริหารงานของกลุ่มผู้บริหารเดิม ซึ่งปรากฏขึ้นเมื่อมีการเข้าตรวจสอบฐานะของธนาคาร โดยละเอียดจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่ถูกซ้ำเติมโดยภาวะเศรษฐกิจการเงิน ทำให้มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน
2.2 ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการและฝ่ายจัดการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหารชุดเดิม อย่างไรก็ดี ในด้านฐานะการเงินนั้น ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ เนื่องจากมีความเสียหายที่ถูกซ้ำเติม โดยภาวะเศรษฐกิจการเงินและขาดแคลนสภาพคล่อง ทำให้มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน ในการนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อาศัยอำนาจตามกฏหมายสั่งการให้ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ดำเนินการเพิ่มทุนให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน แต่ธนาคารไม่สามารถทำการเพิ่มทุนได้ภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว
2.3 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
กรณีของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ความเสียหายเดิมที่มีอยู่สูงนั้นก็ถูกซ้ำเติมโดยภาวะเศรษฐกิจการเงินและการขาดแคลนสภาพคล่อง ทำให้ฐานะการเงินของธนาคารยังไม่อยู่ในฐานะที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองเช่นกัน
2.4 การสั่งลดทุนและเพิ่มทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าตรวจสอบฐานะการเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โดยละเอียด ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากฝ่ายจัดการ ผลปรากฏว่า มีความเสียหายจำนวนสูงในกรณีของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) และมีความเสียหายจำนวนสูงกว่าเงินกองทุนที่มีอยู่ ในกรณีของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้อาศัยอำนาจตามกฏหมายมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งสามแห่งดังกล่าวดำเนินการลดทุนและเพิ่มทุน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะเข้าเพิ่มทุนในนามของทางการ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ดังนี้
ทุนชำระแล้ว จำนวนลดทุน มูลค่าหุ้นคงเหลือ จำนวนเพิ่มทุน
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ล้านบาท) (บาท/หุ้น) (ล้านบาท)
กรุงเทพฯ พาณิชย์การ 35,545 33,768 1,777 0.50 10,000
จำกัด (มหาชน)
มหานคร จำกัด (มหาชน) 10,000 9,990 10 0.01 32,000
นครหลวงไทย จำกัด 6,164 5,548 616 1.00 20,000
(มหาชน)
การเพิ่มทุนดังกล่าวนี้จะทำให้ธนาคารพาณิชย์ทั้งสามแห่งมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของ BIS ประมาณร้อยละ 10
ตามที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทางการเข้าดำเนินการเพิ่มทุนจะกลายเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น ทางการจะได้พิจารณาแนวทางเพื่อเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นข้างมากให้เป็นของภาคเอกชนภายในเวลาอันควรต่อไป
อนึ่ง ธนาคารพาณิชย์นอกเหนือจากที่ทางการเข้าดำเนินการเพิ่มทุนให้แล้วล้วนมีความคืบหน้าในการดำเนินการเพิ่มทุนด้วยตนเอง ไม่ว่าจะโดยผู้ถือหุ้นเดิมหรือมีต่างชาติเข้ามาสนใจ จึงคาดว่าระบบธนาคารพาณิชย์นับจากนี้ได้จะมีความเข้มแข็งกว่าที่ผ่านมามาก
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเรียนว่า เป้าหมายการดำเนินการทั้งหมดนี้ก็เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นและปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนผู้ฝากเงิน รวมถึงเจ้าหนี้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การเพิ่มทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ เพื่อช่วยทำให้เกิดความมั่นคงทั้งแก่ฐานะและการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และแก่ระบบสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยืนยันว่าจะยังดูแลและประกันเงินฝากของผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน รวมถึงการดูแลช่วยเหลือสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินตามความจำเป็นต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารยังจะดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินต่อไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปรังปรุงมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของนานาประเทศโดยเร็ว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนจูงใจให้มีผู้เข้าร่วมทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
จึงขอแถลงมาเพื่อทราบ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
6 กุมภาพันธ์ 2541
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--