(ต่อ1) ส่วนที่ 1 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ กับผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านพลังงาน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 4, 1999 13:56 —สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน

          2.6 การใช้ การผลิต การนำเข้าและส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงปี 2540-2541 ลดลงร้อยละ 0.4 และ 9.6 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยการใช้อยู่ในระดับ 705.7 และ 638.2 พันบาร์เรล/วัน ตามลำดับ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันเบนซิน ยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 83.2 ในปี 2541 ผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2541 ทำให้การใช้น้ำมันดีเซลลดลงถึงร้อยละ 12.9 การใช้น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเบนซิน และ ก๊าซ LPG ลดลงร้อยละ 12.8, 6.4, 2.5 และ 1.3 ตามลำดับ
การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2540 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เนื่องจากโรงกลั่นใหม่ 2 โรง คือ โรงกลั่น น้ำมันระยอง และโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟเนอรี่ ซึ่งเริ่มทำการผลิตในช่วงต้นปี 2539 สามารถผลิตได้เต็มที่ในปี 2540 และทำให้กำลังการกลั่นรวมของประเทศอยู่ในระดับ 810 พันบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มส่อเค้าในกลางปี 2540 และตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2541 ทำให้ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศลดลง การผลิตในปีนี้จึงลดลงร้อยละ 6.3 และคิดเป็นร้อยละ 86.7 ของกำลังการกลั่นทั้งประเทศ
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (Consumption of Petroleum Products)
หน่วย : พันบาร์เรล/วัน
ชนิดน้ำมัน 2539 2540 2541 อัตราเพิ่ม (%)
2539 2540 2541
เบนซิน 119.2 126.7 123.6 9.9 6.3 -2.4
ดีเซล 306.8 302.5 263.4 14 -1.4 -12.9
น้ำมันก๊าด 1.7 1.5 0.94 -2.7 -12.5 -35.9
น้ำมันเครื่องบิน 58.5 61 57.1 3 4.4 -6.4
น้ำมันเตา 166.8 156.9 136.8 -0.4 -5.9 -12.8
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 55.1 57 56.3 20.9 3.4 -1.2
รวม 708.1 705.6 638.2 9.1 -0.4 -9.6
การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง (Production of Petroleum Products)
หน่วย : พันบาร์เรล/วัน
ชนิดน้ำมัน 2539 2540 2541 อัตราเพิ่ม (%)
2539 2540 2541
เบนซิน 137 162.3 151.6 28.6 18.5 -6.6
ดีเซล 239.4 297.6 283.2 37.9 24.3 -4.8
น้ำมันก๊าด 3.3 2.1 2 73.7 -36.4 -4.8
น้ำมันเครื่องบิน 61.4 65.7 61.5 13.5 7 -6.4
น้ำมันเตา 143.6 150 135.2 38.9 4.5 -9.9
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 60 72.9 70 22 21.5 -4
รวม 644.7 750.6 703.5 31.9 16.4 -6.3
การนำเข้าในช่วงปี 2540-2541 ลดลงมากเช่นเดียวกัน โดยลดลงร้อยละ 62.9 และ 54.3 ตามลำดับ จากระดับ 143.3 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2539 เป็น 53.1 และ 24.3 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2540 และ 2541 โดยสาเหตุหลักมาจากกำลังการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2540 ขณะที่ความต้องการภายในประเทศลดลงจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในปี 2541 มีการส่งออกสุทธิของน้ำมันทุกชนิดยกเว้นน้ำมันเตา ยังมีการนำเข้าสุทธิอยู่เล็กน้อยจำนวน 8.0 พันบาร์เรล/วัน
การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มมีปริมาณมากในปี 2539 เมื่อโรงกลั่นใหม่ 2 โรง เริ่มทำการกลั่นใน ต้นปี 2539 โดยการส่งออกอยู่ในระดับ 67.4 พันบาร์เรล/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 99.6 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2540 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 และนับเป็นปีแรกที่สามารถส่งออกได้มากกว่านำเข้า ในปี 2541 การส่งออกลดลงร้อยละ 9.1 อยู่ในระดับ 90.6 พันบาร์เรล/วัน เนื่องจากโรงกลั่นลดกำลังการกลั่นลง จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง (Import of Petroleum Products)
หน่วย : พันบาร์เรล/วัน
ชนิดน้ำมัน 2539 2540 2541 อัตราเพิ่ม (%)
2539 2540 2541
เบนซิน 6 1.2 0.5 -46.3 -80.6 -58.3
ดีเซล 88.4 34.6 12.3 -11.8 -60.9 -64.3
น้ำมันก๊าด - 0.6 - -100
น้ำมันเครื่องบิน 1.2 0.4 0.03 -63.6 -66.7 -93.3
น้ำมันเตา 47.1 16.3 11.4 -27 -65.4 -30.1
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 0.4 0.1 0.05 - -75 -52
รวม 143.1 53.2 24.3 -20.3 -62.8 -54.4
การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง (Export of Petroleum Products)
หน่วย : พันบาร์เรล/วัน
ชนิดน้ำมัน 2539 2540 2541 อัตราเพิ่ม (%)
2539 2540 2541
เบนซิน 21.3 33.6 29.6 353.2 57.7 -11.9
ดีเซล 18.4 33.7 38 1126.7 83.2 12.8
น้ำมันก๊าด 0.7 0.2 0.5 13900 -71.4 150
น้ำมันเครื่องบิน 3.4 4.8 4.1 1353 41.2 -14.6
น้ำมันเตา 17.4 12.3 3.4 2171.5 -29.3 -72.4
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 6.3 15 5 96.9 138.1 -
รวม 67.5 99.6 90.6 548.7 47.6 -9
2.7 การผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้า
(1) กำลังการผลิตติดตั้ง
กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าของ กฟผ. (รวมบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด) ได้เพิ่มจากระดับ 16,039 เมกะวัตต์ ในปี 2539 เป็น 17,167 และ 17,413 เมกะวัตต์ ในปี 2540 และ 2541 ตามลำดับ มีรายละเอียดการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า ดังนี้ พลังความร้อนร่วมวังน้อย ชุดที่ 1, 2 และ 3 รวมจำนวน 1,139 เมกะวัตต์ พลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 2 จำนวน 219 เมกะวัตต์ กังหันก๊าซราชบุรี จำนวน 20 เมกะวัตต์
ในปี 2541 กำลังการผลิตติดตั้งประกอบด้วย
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน จำนวน 6,517.8 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 37.4)
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม จำนวน 5,073.6 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 29.1)
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ จำนวน 2,873.7 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 16.5)
โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 886.0 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 5.1)
โรงไฟฟ้าดีเซล จำนวน 6.0 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 0.03)
IPP จำนวน 2,056 เมกะวัตต์ (หรือร้อยละ 11.8)
(2) การผลิตไฟฟ้า
การผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เพิ่มขึ้นจากระดับ 87,797 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปี 2539 เป็น 93,407 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปี 2540 หรือมีอัตราเพิ่มร้อยละ 6.4 แต่กลับลดลงในปี 2541 ร้อยละ 2.4 เป็น 91,160 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือในช่วงปี 2540-2541 มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.9
ก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่สุดในการผลิตพลังไฟฟ้า รองลงมา ได้แก่ น้ำมันเตา และลิกไนต์
(3) การใช้พลังงานไฟฟ้า
การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ เพิ่มขึ้นจากระดับ 77,083 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปี 2539 เป็น 82,075 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปี 2540 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5 และลดลงเหลือ 79,900 ล้านกิโลวัตต์- ชั่วโมง ในปี 2541 หรือลดลง ร้อยละ 2.7 ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอุตสาหกรรมและธุรกิจมีอัตราลดลง ร้อยละ 4.9 และ 5.9 ตามลำดับ แต่ประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4
การใช้พลังงานไฟฟ้ารวมในเขตภูมิภาคนั้นยังคงเพิ่มขึ้น โดยผู้ใช้ประเภทการเกษตรและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมาก ส่วนประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรมลดลง เขตนครหลวงการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวมลดลง ในปี 2541 โดยทุกภาคมีการใช้ลดลง ยกเว้นที่อยู่อาศัย
ในปี 2541 ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประมาณร้อยละ 44.0 รอง ลงมาได้แก่ประเภทธุรกิจและที่อยู่อาศัย มีสัดส่วนร้อยละ 23.8 และ 23.5 ตามลำดับ
ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 13,311 เมกะวัตต์ ในปี 2539 เป็น 14,506 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มร้อยละ 9.0 ส่วนปี 2541 ลดลงเป็น 14,180 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 2.3
ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า (Load Factor) ลดลง จากระดับ 75.1 ในปี 2539 เป็น 73.5 และ 73.4 ในปี 2540 และ 2541 ตามลำดับ สาเหตุจากการใช้เป็นพลังงานลดลงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะการลดลงของสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาที่ Load Factor สูง แต่การใช้ของสาขาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและเป็นสาขาที่มี Load Factor ต่ำ
กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองเฉลี่ยได้สูงขึ้นจากระดับร้อยละ 17.7 ในปี 2539 เป็น 27.6 ในปี 2541 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของแผนฯ 8 ที่ตั้งไว้ ณ ระดับ ร้อยละ 20-25
ความต้องการไฟฟ้าและกำลังผลิตสำรอง
พ.ศ. ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด กำลังผลิตสำรองเฉลี่ย ค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย
(เมกะวัตต์) (ร้อยละ) (ร้อยละ)
2535 8,904 18.5 73.5
2536 9,839 24.2 74.2
2537 11,064 19.1 74.3
2538 12,268 16.1 74.9
2539 13,311 17.1 75.1
2540 14,506 19.2 73.5
2541 14,180 27.6 73.4
การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ
หน่วย : ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
พ.ศ. ที่อยู่อาศัย ธุรกิจ-อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ลูกค้าตรงของ รวม
และอื่นๆ กฟผ.
2539 15,999 58,920 121 2,042 77,083
2540 17,322 62,580 167 2,005 82,075
2541 18,772 59,295 211 1,621 79,900
อัตราเพิ่ม (%)
2539 12.7 8.3 16.6 -4.6 8.8
2540 8.3 6.2 37.7 -1.8 6.5
2541 8.4 -5.2 26.3 -19.2 -2.7
2.8 การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดเป้าหมายการลดการใช้พลังงาน จากมาตรการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าในระดับ 1,400 เมกะวัตต์ และ 3,846 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ในปีสุดท้ายของแผน (ปี 2544) จากการดำเนินงานมาตรการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ในปี 2540-2541 นั้น โครงการต่างๆ สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้า สูงสุดได้ 503 เมกะวัตต์ และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 2,345 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือคิดเป็นร้อยละ 60.9 ของเป้าหมาย ผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
(1) เปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ จาก 40 และ 20 วัตต์ เป็น 36 และ 18 วัตต์ โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2538 โดยสามารถลดพลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 424.9 เมกะวัตต์ ลดพลังงานลงได้ 1,543.7 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(2) รณรงค์ให้ใช้หลอดตะเกียบ (Compact Fluorescent) แทนหลอดไส้ ทำให้สามารถลดพลังงานไฟฟ้าลงได้ 36.0 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(3) รณรงค์ให้ใช้ตู้เย็นติดฉลากซึ่งแสดงระดับประสิทธิภาพ เบอร์ 3, 4 และ 5 โครงการนี้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าสูงสุดได้ 50.5 เมกะวัตต์ และลดพลังงานได้ 368.6 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(4) ติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้ โดยเริ่มโครงการเมื่อปี 2539 และสามารถลดพลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 24.4 เมกะวัตต์ และลดพลังงานได้ 371.1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(5) โครงการใช้บัลลาสต์เบอร์ 5 นิรภัย แทนการใช้บัลลาสต์ธรรมดา สามารถลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 0.6 เมกะวัตต์ และประหยัดพลังงานได้ 2.45 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
(6) โครงการอาคารสีเขียวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 433 ราย ในจำนวนนี้ 217 ราย สามารถใช้พลังงานในปริมาณที่กำหนดเป็นอาคารควบคุม ซึ่งคาดว่าโครงการนี้ จะสามารถลดพลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 2.4 เมกะวัตต์ และลดพลังงานได้ 5.73 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
ผลการดำเนินงานและเป้าหมายของโครงการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM)
การประหยัดไฟฟ้า 2541 เป้าหมายใหม่ 2544
ประหยัดพลังไฟฟ้า (เมกะวัตต์) 503 1,400.0
ประหยัดพลังงานไฟฟ้า (GWh) 2,345 3,846.0
2.9 การลดสารมลพิษทางอากาศจากการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (2540-2544) ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จากการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ไม่เกินระดับ ดังนี้
หน่วย : พันตัน
แหล่งปล่อย SO2 2539 2544
- ยานพาหนะ 59 20
- การผลิตไฟฟ้า 677 205
- อุตสาหกรรมและอื่นๆ 246 330
รวม 982 555
ในช่วงปี 2540 และ 2541รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการหลายประการ เพื่อลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการใช้พลังงาน เช่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา การติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ และการกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษของโรงไฟฟ้าเก่าของ กฟผ. ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
(1) ลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันดีเซล จาก 0.5% โดยน้ำหนัก เหลือ 0.25% โดยน้ำหนัก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2539 และลดลงเหลือ 0.05% โดยน้ำหนัก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
(2) ลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันเตาที่จำหน่ายในจังหวัดอื่นๆ (นอกจากกรุงเทพและสมุทรปราการ) จากระดับไม่สูงกว่า 2.5 - 3.2% เป็นไม่สูงกว่า 2.0 - 3.0% โดยน้ำหนัก โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป
(3) ติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะ โดยมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 ให้ กฟผ. ดำเนินการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8-11 และต่อมา กฟผ. ได้มีการติดตั้ง FGD เพิ่มเติมสำหรับเครื่องที่ 4-7 ส่วนเครื่องที่ 1-3 ไม่มีการติดตั้ง เพราะเป็นโรงไฟฟ้าที่เก่าและมีขนาดเล็ก ผลการดำเนินงานดังกล่าว มีความก้าวหน้าพอสรุปได้ ดังนี้
โรงไฟฟ้าเครื่องที่ 8-11 ติดตั้งเรียบร้อยแล้วในปี 2541
โรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จในปลายปี 2542
(4) ในปี 2540 ได้มีการกำหนดแนวทางการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้สอดคล้องกับร่างมาตรฐานการระบายมลพิษ ของกรมควบคุมมลพิษที่จะประกาศบังคับใช้ใหม่ โดยได้มีมาตรการให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น และใช้น้ำมันเตาคุณภาพดีในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ พระนครใต้ และบางปะกง โดยกำหนดให้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ใช้น้ำมันเตาที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 1.4% โดยน้ำหนัก โรงไฟฟ้าพระนครใต้ใช้ น้ำมันเตา (High Pour Point) มีกำมะถันไม่เกิน 0.5% และน้ำมันเตามีกำมะถัน ไม่เกิน 2% โดยน้ำหนัก และ โรงไฟฟ้าบางปะกงใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกิน 2% โดยน้ำหนัก
(5) สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้กำหนดแนวทางและมาตรการ ดังนี้
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1-3 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถันไม่เกิน 1.2% และช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถัน 2.0 - 3.0% และตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถันไม่เกิน 3.0%
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถันไม่เกิน 1.2% ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถัน 2.0-3.0% และตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 เมื่อติดตั้ง FGD แล้วเสร็จ ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถันไม่เกิน 3.0%
โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 12-13 ซึ่งได้ติดตั้ง FGD เสร็จแล้ว ให้ใช้ลิกไนต์กำมะถันไม่เกิน 3.0% นอกจากนี้ ในช่วงปี 2540-2541 กฟผ. ได้มีการซื้อลิกไนต์จากเหมืองเอกชนปริมาณกำมะถันประมาณ 1.0% มาใช้ผสมกับลิกไนต์ที่แม่เมาะ โดยในปี 2541 ได้ซื้อถ่านมาใช้จำนวน 850,000 ตัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนสิงหาคม 2541 ได้เกิดปัญหาก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่แม่เมาะอีก จึงได้มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมเข้มงวดขึ้น โดยให้มีการผลิตไฟฟ้าได้โดยระบายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สู่บรรยากาศของทุกโรงไฟฟ้ารวมกันได้ไม่เกิน 15 ตันต่อชั่วโมง และให้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าที่ไม่มี FGD ให้น้อยที่สุด และให้มีการใช้ลิกไนต์กำมะถันต่ำเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ จากการใช้น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ลิกไนต์/ถ่านหิน ในช่วงปี 2540 อยู่ในระดับ 1,101 พันตัน/ปี และปี 2541 ได้ลดลงมาอยู่ในระดับ 760 พันตัน/ปี อย่างไรก็ตามหากดำเนินการติดตั้ง ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะตามที่วางแผนไว้ คาดว่าจะทำให้ปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมาลดลงมาอยู่ในระดับ 331 พันตัน/ปี ซึ่งต่ำกว่าที่กำหนดในแผนฯ 8 ที่ระดับ 555 พันตัน/ปี
ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ
หน่วย : พันตัน
แหล่งปล่อย SO2 2539 2540 2541 2544
ยานพาหนะ 57 59 52 11
การผลิตไฟฟ้า 778 823 518 135
อุตสาหกรรมและอื่นๆ 227 219 190 185
รวม 1,062 1,101 760 331
โดยสรุปแล้ว การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วงปี 2540 - 2541 ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.4 โดยมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในขณะที่การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 ในช่วงปี 2540 - 2541 การพึ่งพาพลังงานเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศ จึงลดลงจากระดับร้อยละ 65.6 ในปี 2539 เหลือเพียงร้อยละ 57.1 ในปี 2541 การนำเข้าโดยส่วนใหญ่ยังเป็นน้ำมันดิบและถ่านหิน แต่ปริมาณการนำเข้าได้ลดลง ในขณะเดียวกันได้มีการนำเข้าไฟฟ้าจากโครงการน้ำเทิน-หินบุน ใน สปป.ลาว และนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่าเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2541 เป็นต้นมา
ผลจากการเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมในช่วงแผนฯ 7 ที่ผ่านมาทำให้ในปี 2539 ประเทศมีกำลังการกลั่นถึง 817.5 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งเกินความต้องการ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 - 2541 ทำให้ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง แม้ว่าโรงกลั่นบางแห่งได้ลดกำลังการผลิตลงแล้วก็ตาม ก็ยังต้องมีการ ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงอีก โดยได้มีการส่งออกสุทธิน้ำมันบางชนิดตั้งแต่ปี 2539 และในปี 2541 ได้มีการส่งออกสุทธิของน้ำมันเกือบทุกชนิด ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน และก๊าซ LPG (ยกเว้น น้ำมันเตา)
นอกจากนี้ ในปี 2541 ยังเป็นปีแรกที่การผลิต การใช้ และความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ได้ลดลง ซึ่งส่งผลให้ไฟฟ้าสำรองเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 27.6 สำหรับปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศได้เริ่มลดลงในปี 2541 และจะลดลงมาก เมื่อการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หน่วยที่ 4-7 ของ โรงไฟฟ้าแม่เมาะแล้วเสร็จในปลายปี 2542 โดยคาดว่าปริมาณก๊าซฯ ที่ปล่อยออกมาจะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดในแผนฯ 8
3. การดำเนินงานด้านพลังงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540-2542จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศและสถานการณ์พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวข้างต้นได้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยมีโครงการด้านพลังงานบางโครงการ ต้องชะลอหรือเลื่อนออกไปจากแผนเดิม และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานต้องปรับแผนการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้ง รัฐต้องเร่งหามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาพลังงานของประเทศในระยะต่อไป ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาปรับปรุงแผนงาน/โครงการทางด้านพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และการลดค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อเพลิงที่ไม่จำเป็น รวมทั้ง การหาแนวทางช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง โดยมีการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาดังนี้
-ยังมีต่อ-
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ