กรุงเทพ--31 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการประชุมของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การประชุมระดมความคิดเห็นทางวิชาการ “การต่างประเทศสีเขียว: นโยบายการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม” วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ และ ผู้อำนวยการสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ
ท่านนักวิชาการ
ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
ท่านผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
วันนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีอีกวาระหนึ่งสำหรับกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้มีโอกาสร่วมกับสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (SIFA) จัดการสัมมนาในเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญและกำลังทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและการต่างประเทศ นั่นก็คือในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกับการต่างประเทศ และโดยที่สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออกระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO และโดยที่ เวทีการต่างประเทศ ในปัจจุบันมีประเด็นในเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทั้งโดยตรง และ โดยอ้อม การจัดการสัมมนาระดมความคิดจากทุกภาคส่วนของสังคมในวันนี้ ในเรื่องของการต่างประเทศสีเขียว จึงเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่งต่อ การต่างประเทศ นโยบายการต่างประเทศ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในอนาคต
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย โดย เชื่อมโยงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับนโยบายหลัก อันได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การสร้างฐานเศรษฐกิจรากหญ้าให้เข้มแข็ง การวางรากฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมซ่อมแซมประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ใน 4 ปีข้างหน้า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นจะให้เป็น 4 ปีแห่งการสร้าง และประเด็นเรื่องการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ก็จะต้องมีส่วนสำคัญมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัวและการต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมาแล้วมากพอควร ในช่วงระยะเวลาแห่งการซ่อม ก็จะยิ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสร้าง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมความคิด ระดมสมองของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเป็นบูรณาการและบรรลุประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติและสังคมไทย ในมิติการต่างประเทศ ทั้งทางด้านนโยบาย การเมือง และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเด็นสิ่งแวดล้อม เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ผมจึง ขอขอบคุณ สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (SIFA) ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่กรุณาให้เกียรติและสละเวลามาร่วมระดมความคิดในวันนี้
หากจะกล่าวถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านคงจะเห็นใกล้เคียงกันว่า ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเป็นบททดสอบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในฐานะที่มนุษย์เป็นผู้พึ่งพาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในการดำรงชีวิต และในฐานะที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวของโลกที่มีความสามารถในการดูแลปกปักษ์รักษาธรรมชาติ แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียและเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่ภาคใต้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดของพลังงานอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถต่อกรได้ ชีวิต และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ใช้เวลาในการสร้างถูกทำลายในช่วงเวลาไม่กี่นาที รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคนในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งวางเป้าหมายในระยะยาวที่จะฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ให้กลับคืนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสอดคล้องของการดำเนินการกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ด้วยการเตรียมพร้อม และระบบ early warning เราสามารถที่จะจำกัดความสูญเสียได้หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยในวันพรุ่งนี้และวันต่อไป (28-29 มกราคม 2548) ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากประเทศต่างๆ จาก 45 ประเทศ ทั้งจากประเทศสมาชิก ASEAN ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ และประเทศผู้ให้ความ ช่วยเหลือ รวมทั้งมีองค์กรระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมไม่เพียงมีผลโดยตรงต่อการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในของประเทศ แต่สิ่งแวดล้อมยังมีธรรมชาติและคุณลักษณะไม่ยึดโยงกับพรมแดนระหว่างประเทศอีกด้วย ปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางทะเล และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ล้วนมีลักษณะข้ามพรมแดน (transboundary) ได้ทั้งสิ้น และมีผลทั้ง โดยตรงและโดยอ้อมต่อการเมือง การพัฒนาภายในประเทศ และด้วยเหตุผลเดียวกัน การดำเนินการในการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ ทุกฝ่าย และทุกคน
ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมอาจนำไปสู่สันติภาพหรือความขัดแย้ง การอนุรักษ์และปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสันติภาพ และประชาธิปไตย ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางของประเทศ และมีความสำคัญจนถึงระดับที่หลายประเทศมีการก่อตั้งพรรคการเมืองสีเขียวหรือที่เรียกว่าพรรค Green ขึ้น และรัฐบาลในหลายประเทศก็ได้ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดและดำเนินนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมก็เป็นประเด็นทางการค้าและการพัฒนาที่มีการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง
ทั้งในกรอบสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก และในระดับทวิภาคี ซึ่งมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า การพิจารณาในเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการมองในมุมกว้างอย่างเป็นองค์รวม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบระมัดระวัง
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่มุ่งฟื้นฟูและซ่อมแซมเสริมสร้างรากฐานความแข็งแกร่งของประเทศทั้งการดำเนินการในระดับรากหญ้าและในระดับระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยในด้านการต่างประเทศ ก็ได้มีการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาคใกล้เคียง และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ในการที่จะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกโดยรวม อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาแล้วก็ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่งโดยในการปฏิรูประบบราชการก็มีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมที่เดิมมีอยู่ในหลายส่วนราชการให้เข้ามาอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง จึงเป็นเรื่องระยะยาวที่อาจไม่เห็นผลได้ในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาและความอดทน ผมมีความเชื่อมั่นว่า ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นของการดำเนินนโยบายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลปัจจุบัน
ในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีบทบาทอย่างต่อเนื่องหลังจากการเข้าร่วมประชุม สุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Summit on Sustainable Development — WSSD ที่นคร โจฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 และได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals — MDGs) ของสหประชาชาติ ซึ่งมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายที่ 7 โดยไทยได้ตั้งเป้าที่จะกระทำให้ได้มากยิ่งไปกว่าที่ได้กำหนดไว้ใน MDGs (MDGs-Plus Targets) เพราะความมั่นคงของมนุษย์ (human security) ของคนในยุคปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จำเป็นต้องพึ่งพา
รัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม 2 งานใหญ่ในปี 2547 ได้แก่ การประชุมประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES ครั้งที่ 13 (The Thirteenth Meeting of Conference of the Parties to the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)
เมื่อเดือนตุลาคม 2547 และการประชุมสมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 3 (The Third IUCN World Conservation Congress) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางตามพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรัฐมนตรีจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
มาเข้าร่วมการประชุม
อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในมิติของการต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกหลากหลายที่ประเทศไทยยังจะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอนาคต เช่นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกับการค้า การปกป้องสินค้าและตลาดโดยคำนึงถึงจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เรื่องของทรัพยากรชีวภาพ เรื่องของการปนเปื้อน เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ climate change โดยเฉพาะเรื่องของป่า น้ำ แก๊สเรือนกระจก และ carbon credit
แต่ทว่าเมื่อพูดถึงการต่างประเทศ ประชาชนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากแต่แท้จริงแล้วการต่างประเทศโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ความสำเร็จของความตกลงระหว่างประเทศในการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากประเทศภาคีสมาชิกไม่นำไปปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งก็หมายความว่า ทุกฝ่ายในสังคมจะต้องร่วมมือกัน ประชาชนจึงเป็นผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลเสียของปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของความตกลงระหว่างประเทศ และผลดีของการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในข้อนี้และได้วางประชาชนไว้เป็นศูนย์กลางของการกำหนดและดำเนินนโยบายต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องทั้งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา และในอีก 4 ปี ข้างหน้าต่อไป
ประชาชนเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลนี้ให้มุ่งไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ของประชาชนเองอย่างแท้จริง ประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนการกำหนดนโยบายของรัฐ Dr. Wangari Maathai ชาวเคนยา สุภาพสตรีคนแรกของแอฟริกาที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนล่าสุด ได้กล่าวไว้ในระหว่างการ lecture ในโอกาสเข้ารับรางวัลโนเบลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมาว่า “สันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาที่เป็นธรรม และการพัฒนาจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่มีประชาธิปไตยและความสงบสุข” (“…there can be no peace without equitable development; and there can be no development without sustainable management of the environment in a democratic and peaceful space…”) ผมจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่า นอกจากหัวข้อความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมกับหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การพัฒนา และสิ่งแวดล้อมแล้ว ในการสัมมนาระดมความคิดในวันนี้ สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ได้กำหนดให้การประชุมมีการหารือภายใต้หัวข้อ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการต่างประเทศกับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ” ด้วย
รัฐบาลตระหนักดีว่าการพัฒนาอย่างเป็นธรรมคือการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่หยั่งลึกถึงระดับชุมชนและรากหญ้า และเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน การจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จึงต้องอาศัยทั้งนโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศที่กลั่นมาจาก ทุกภาคส่วนของสังคมทั้งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมๆกับการสร้างจิตสำนึกและการตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในทุกระดับของสังคม
ในวันนี้ ผมจึงรู้สึกยินดีที่ได้เห็นท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านผู้มีประสบการณ์ และท่านผู้ที่ทำงานในด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน ในหลายแขนงสาขา ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มาร่วมกัน ระดมสมอง เพื่อช่วยวางทิศทางด้านการต่างประเทศสีเขียว เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการต่างประเทศกับการอนุรักษ์และปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแท้จริง ผมจึงขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาสละเวลาอันมีค่ามาร่วมระดมความคิดในวันนี้ และขอขอบคุณสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์หรือ SIFA ที่ได้ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ตามดำริที่ผมได้หารือไว้กับท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี และ ผู้อำนวยการ SIFA ผมเชื่อมั่นว่าข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป
ขณะนี้ได้เวลาอันเป็นสมควรแล้ว ผมขอเปิดการประชุมระดมความคิดเห็น “การต่างประเทศสีเขียว: นโยบายการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม”
ขอขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
คำกล่าวเปิดการประชุมของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การประชุมระดมความคิดเห็นทางวิชาการ “การต่างประเทศสีเขียว: นโยบายการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม” วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ และ ผู้อำนวยการสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ
ท่านนักวิชาการ
ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
ท่านผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
วันนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีอีกวาระหนึ่งสำหรับกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้มีโอกาสร่วมกับสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (SIFA) จัดการสัมมนาในเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญและกำลังทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและการต่างประเทศ นั่นก็คือในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกับการต่างประเทศ และโดยที่สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออกระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO และโดยที่ เวทีการต่างประเทศ ในปัจจุบันมีประเด็นในเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทั้งโดยตรง และ โดยอ้อม การจัดการสัมมนาระดมความคิดจากทุกภาคส่วนของสังคมในวันนี้ ในเรื่องของการต่างประเทศสีเขียว จึงเป็นนิมิตหมายที่ดียิ่งต่อ การต่างประเทศ นโยบายการต่างประเทศ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในอนาคต
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย โดย เชื่อมโยงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับนโยบายหลัก อันได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การสร้างฐานเศรษฐกิจรากหญ้าให้เข้มแข็ง การวางรากฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมซ่อมแซมประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ใน 4 ปีข้างหน้า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมุ่งมั่นจะให้เป็น 4 ปีแห่งการสร้าง และประเด็นเรื่องการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ก็จะต้องมีส่วนสำคัญมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัวและการต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมาแล้วมากพอควร ในช่วงระยะเวลาแห่งการซ่อม ก็จะยิ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสร้าง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมความคิด ระดมสมองของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเป็นบูรณาการและบรรลุประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศชาติและสังคมไทย ในมิติการต่างประเทศ ทั้งทางด้านนโยบาย การเมือง และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเด็นสิ่งแวดล้อม เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ผมจึง ขอขอบคุณ สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (SIFA) ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่กรุณาให้เกียรติและสละเวลามาร่วมระดมความคิดในวันนี้
หากจะกล่าวถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านคงจะเห็นใกล้เคียงกันว่า ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเป็นบททดสอบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในฐานะที่มนุษย์เป็นผู้พึ่งพาและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในการดำรงชีวิต และในฐานะที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเดียวของโลกที่มีความสามารถในการดูแลปกปักษ์รักษาธรรมชาติ แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียและเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่ภาคใต้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์ที่เห็นได้ชัดของพลังงานอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถต่อกรได้ ชีวิต และสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ใช้เวลาในการสร้างถูกทำลายในช่วงเวลาไม่กี่นาที รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคนในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งวางเป้าหมายในระยะยาวที่จะฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยจากคลื่นยักษ์ให้กลับคืนเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสอดคล้องของการดำเนินการกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ ด้วยการเตรียมพร้อม และระบบ early warning เราสามารถที่จะจำกัดความสูญเสียได้หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยในวันพรุ่งนี้และวันต่อไป (28-29 มกราคม 2548) ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจากประเทศต่างๆ จาก 45 ประเทศ ทั้งจากประเทศสมาชิก ASEAN ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ และประเทศผู้ให้ความ ช่วยเหลือ รวมทั้งมีองค์กรระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมไม่เพียงมีผลโดยตรงต่อการเมือง การพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในของประเทศ แต่สิ่งแวดล้อมยังมีธรรมชาติและคุณลักษณะไม่ยึดโยงกับพรมแดนระหว่างประเทศอีกด้วย ปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางทะเล และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ล้วนมีลักษณะข้ามพรมแดน (transboundary) ได้ทั้งสิ้น และมีผลทั้ง โดยตรงและโดยอ้อมต่อการเมือง การพัฒนาภายในประเทศ และด้วยเหตุผลเดียวกัน การดำเนินการในการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ ทุกฝ่าย และทุกคน
ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมอาจนำไปสู่สันติภาพหรือความขัดแย้ง การอนุรักษ์และปกป้อง คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสันติภาพ และประชาธิปไตย ประเด็นทางสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางของประเทศ และมีความสำคัญจนถึงระดับที่หลายประเทศมีการก่อตั้งพรรคการเมืองสีเขียวหรือที่เรียกว่าพรรค Green ขึ้น และรัฐบาลในหลายประเทศก็ได้ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดและดำเนินนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมก็เป็นประเด็นทางการค้าและการพัฒนาที่มีการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง
ทั้งในกรอบสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก และในระดับทวิภาคี ซึ่งมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า การพิจารณาในเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการมองในมุมกว้างอย่างเป็นองค์รวม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบระมัดระวัง
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่มุ่งฟื้นฟูและซ่อมแซมเสริมสร้างรากฐานความแข็งแกร่งของประเทศทั้งการดำเนินการในระดับรากหญ้าและในระดับระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน กระตุ้นระบบเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยในด้านการต่างประเทศ ก็ได้มีการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาคใกล้เคียง และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ในการที่จะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกโดยรวม อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาแล้วก็ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่งโดยในการปฏิรูประบบราชการก็มีการจัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมที่เดิมมีอยู่ในหลายส่วนราชการให้เข้ามาอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง จึงเป็นเรื่องระยะยาวที่อาจไม่เห็นผลได้ในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาและความอดทน ผมมีความเชื่อมั่นว่า ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นของการดำเนินนโยบายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลปัจจุบัน
ในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีบทบาทอย่างต่อเนื่องหลังจากการเข้าร่วมประชุม สุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ World Summit on Sustainable Development — WSSD ที่นคร โจฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 และได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals — MDGs) ของสหประชาชาติ ซึ่งมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายที่ 7 โดยไทยได้ตั้งเป้าที่จะกระทำให้ได้มากยิ่งไปกว่าที่ได้กำหนดไว้ใน MDGs (MDGs-Plus Targets) เพราะความมั่นคงของมนุษย์ (human security) ของคนในยุคปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่จำเป็นต้องพึ่งพา
รัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม 2 งานใหญ่ในปี 2547 ได้แก่ การประชุมประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES ครั้งที่ 13 (The Thirteenth Meeting of Conference of the Parties to the Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)
เมื่อเดือนตุลาคม 2547 และการประชุมสมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 3 (The Third IUCN World Conservation Congress) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเรื่องทางเลือกในการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แนวทางตามพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรัฐมนตรีจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
มาเข้าร่วมการประชุม
อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในมิติของการต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกหลากหลายที่ประเทศไทยยังจะต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอนาคต เช่นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกับการค้า การปกป้องสินค้าและตลาดโดยคำนึงถึงจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เรื่องของทรัพยากรชีวภาพ เรื่องของการปนเปื้อน เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ climate change โดยเฉพาะเรื่องของป่า น้ำ แก๊สเรือนกระจก และ carbon credit
แต่ทว่าเมื่อพูดถึงการต่างประเทศ ประชาชนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากแต่แท้จริงแล้วการต่างประเทศโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน ความสำเร็จของความตกลงระหว่างประเทศในการอนุรักษ์และปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากประเทศภาคีสมาชิกไม่นำไปปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่งก็หมายความว่า ทุกฝ่ายในสังคมจะต้องร่วมมือกัน ประชาชนจึงเป็นผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลเสียของปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของความตกลงระหว่างประเทศ และผลดีของการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในข้อนี้และได้วางประชาชนไว้เป็นศูนย์กลางของการกำหนดและดำเนินนโยบายต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องทั้งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา และในอีก 4 ปี ข้างหน้าต่อไป
ประชาชนเป็นหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลนี้ให้มุ่งไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ของประชาชนเองอย่างแท้จริง ประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนการกำหนดนโยบายของรัฐ Dr. Wangari Maathai ชาวเคนยา สุภาพสตรีคนแรกของแอฟริกาที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนล่าสุด ได้กล่าวไว้ในระหว่างการ lecture ในโอกาสเข้ารับรางวัลโนเบลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมาว่า “สันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาที่เป็นธรรม และการพัฒนาจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่มีประชาธิปไตยและความสงบสุข” (“…there can be no peace without equitable development; and there can be no development without sustainable management of the environment in a democratic and peaceful space…”) ผมจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบว่า นอกจากหัวข้อความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมกับหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ การพัฒนา และสิ่งแวดล้อมแล้ว ในการสัมมนาระดมความคิดในวันนี้ สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ได้กำหนดให้การประชุมมีการหารือภายใต้หัวข้อ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการต่างประเทศกับบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ” ด้วย
รัฐบาลตระหนักดีว่าการพัฒนาอย่างเป็นธรรมคือการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่หยั่งลึกถึงระดับชุมชนและรากหญ้า และเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน การจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จึงต้องอาศัยทั้งนโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศที่กลั่นมาจาก ทุกภาคส่วนของสังคมทั้งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมๆกับการสร้างจิตสำนึกและการตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในทุกระดับของสังคม
ในวันนี้ ผมจึงรู้สึกยินดีที่ได้เห็นท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านผู้มีประสบการณ์ และท่านผู้ที่ทำงานในด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน ในหลายแขนงสาขา ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มาร่วมกัน ระดมสมอง เพื่อช่วยวางทิศทางด้านการต่างประเทศสีเขียว เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการต่างประเทศกับการอนุรักษ์และปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนแท้จริง ผมจึงขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาสละเวลาอันมีค่ามาร่วมระดมความคิดในวันนี้ และขอขอบคุณสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์หรือ SIFA ที่ได้ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ตามดำริที่ผมได้หารือไว้กับท่านผู้ช่วยรัฐมนตรี และ ผู้อำนวยการ SIFA ผมเชื่อมั่นว่าข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศในด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป
ขณะนี้ได้เวลาอันเป็นสมควรแล้ว ผมขอเปิดการประชุมระดมความคิดเห็น “การต่างประเทศสีเขียว: นโยบายการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศกับสิ่งแวดล้อม”
ขอขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-