นโยบายสนับสนุนการส่งออกของโปแลนด์
1. ปี 2539 ภาวะการส่งออกของโปแลนด์ประสบปัญหาชะลอตัวลง โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 6.3 เทียบกับอัตราร้อยละ 32.8 ในปี 2538 สาเหตุหลักเนื่องมาจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศคู่ค้าสำคัญของโปแลนด์ เป็นผลให้อุปสงค์สินค้าจากโปแลนด์ลดลงด้วย
สินค้าส่งออกของโปแลนด์มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยจากภายนอกค่อนข้างมาก เนื่องจากโครงสร้างสินค้าส่งออกสำคัญร้อยละ 35-40 (เคมีภัณฑ์ แร่ธาตุต่าง ๆ โลหะ ไม้และกระดาษ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์อาหาร) เป็นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นปฐมที่มีมูลค่าไม่สูง ในขณะที่สินค้าเพียงร้อยละ 4-6 เท่านั้นที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง (ซึ่งก็มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงด้วย) ดังนั้นแม้โปแลนด์จะเป็นประเทศที่ได้เปรียบด้านต้นทุนสินค้า อาทิ ค่าแรงงานยังไม่สูง และมีวัตถุดิบในการผลิตเพียงพอก็ตาม แต่เมื่อประสบปัญหาจากปัจจัยภายนอกและการแข่งขันในตลาด สินค้าส่งออกของโปแลนด์จึงได้รับผลกระทบ
นอกจากนั้น ในส่วนของสินค้าจากอุตสาหกรรมเบา อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ โปแลนด์ก็ส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไม่มากและส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งจากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศที่เรียกว่า Outward Processing Traffic - OPT กล่าวคือ ผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศหรือผู้ร่วมลงทุนในประเทศจะมี Order สำหรับสินค้า โดยเป็นผู้ออกแบบ จัดหาวัตถุดิบ ตลอดจนอำนวยการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าดังกล่าว ในปี 2539 ที่ผ่านมา บริษัทร่วมทุนโปแลนด์ - ต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในโปแลนด์และถือหุ้นทั้งหมด ส่งออกสินค้ามีมูลค่าเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด (แต่บริษัทดังกล่าวก็นำเข้าสินค้าทุนและวัตถุบเพื่อการผลิตมีมูลค่าถึงร้อยละ 42.0 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดด้วย) อย่างไรก็ตามรัฐบาลโปแลนด์ก็ยังเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก อันเป็นแรงขับดันที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้มีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนเรียกว่า Polish Agency for Foreign Investment - PAIZ เพื่อดูแลและให้การสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ
2. ศักยภาพการส่งออกของผู้ประกอบการส่งออกประมาณร้อยละ 60-69 เริ่มลดลง สาเหตุหลักเนื่องจากผลกำไรตอบแทนได้ลดลง การเปรียบเทียบราคาการขายไปต่างประเทศกับการขายในตลาดภายในประเทศ กล่าวได้ว่าราคาการขายสินค้าไปต่างประเทศมิได้ดีและจูงใจสูงดังที่เป็นมาในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งเปรียบเทียบผลกำไรตอบแทนระหว่างผู้ส่งออกกับผู้ประกอบการค้าภายในประเทศ (กำไรก่อนหักภาษี) พบว่าช่วงห่างของความแตกต่างมิได้มีมากเท่าใด
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะดังกล่าวมีหลายประการ อาทิ
- สินค้าส่งออกของโปแลนด์เริ่มประสบกับการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโปแลนด์ไม่อาจพึ่งพาแต่ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ต่ำได้เพียงอย่างเดียว แต่ในตลาดโลกยังคงต้องมีความสามารถแข่งขันในด้านอื่น ๆ ด้วย
- สินค้าส่งออกเป็นสินค้าประเภท OPT ซึ่งผลกำไรส่วนใหญ่ตกได้กับต่างชาติ
- สินค้าถ่านหิน ถ่านโค๊ก ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของโปแลนด์ ประสบกับการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งใหม่ ๆ ที่ต้นทุนต่ำกว่าอีก อาทิ สหรัฐฯ อาฟริกา และจีน นอกจากนั้นการส่งออกหลักไป EU ก็ประสบปัญหาโควปริมาณนำเข้า รวมทั้ง ปัจจุบันประเทศใน EU เริ่มคำนึงถึงภาวะสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (การเผาไหม้ของถ่านหินก่อให้เกิดควันและกำมะถันในอากาศ) จึงได้ลดการใช้และพยายามหาแหล่งพลังงานอื่นทดแทน
- พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ EU ได้เปลี่ยนแปลง ไปโดยคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น อาทิ การลดบริโภคอาหารประเภทนม เนย(แท้) ขนมหวาน ชํอคโกแล็ต และลดการสูบบุหรี่ จึงเป็นผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาลจากหัวบีท และใบยาสูบ ของโปแลนด์
- รัฐบาลได้เริ่มเข้มงวดกวดขันกับพิธีการในการนำเข้า/ส่งออก การค้า นอกระบบ การส่งเงินออกนอกประเทศ ตลอดจนการติดตามการชำระภาษีทั้งภาษีศุลกากรและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้ามักจะดำเนินการโดยไม่โปร่งใส มีการค้านอกระบบ และอาศัยช่องโหว่ของกฏหมายในการค้าโดยเฉพาะการนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้การค้าขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีผลกำไรตอบแทนสูง ปัจจุบันการกวดขันดังกล่าวเป็นผลให้กำไรตอบแทนในการค้าจึงไม่จูงใจมากดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
3. นอกจากภาวะดังกล่าวข้างต้นที่มีผลต่อการส่งออกแล้ว กลไกตลาดในปัจจุบันของโปแลนด์ก็ยังไม่ช่วยเร่งให้ผู้ประกอบการคิดพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างในการผลิตและการส่งออก ดังนั้น รัฐบาลโปแลนด์ซึ่งได้กำหนดนโยบายมุ่งการส่งออก (Export Oriented) เป็นนโยบายหลักทางด้านเศรษฐกิจประการหนึ่ง จึงได้มีนโยบายในการสนับสนุนการส่งออก อาทิ การดำเนินการด้านการตลาด การสนับสนุนด้านการจัดการปัจจัยการผลิต การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น
ปัจจุบันโปแลนด์มีระบบการสนับสนุนการส่งออกที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
ก. การประกันการส่งออก (Export Contract Insurance)
ข. การอุดหนุนดอกเบี้ยกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อช่วยด้านการส่งออก (โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุน อาทิ เครื่องมือ เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม)
ค. การให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ส่งออก (ผู้ส่งออกที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐ)
ง. การคืนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่ใช้ในสินค้าที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก
จ. ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการโปแลนด์ ที่ได้รับชำระค่าสินค้าจากการส่งออกเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ สามารถเก็บเงินไว้ในบัญชีเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้ (เดิมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาจากการรับชำระค่าสินค้าส่งออกนั้น จะต้องขายให้ธนาคารชาติและนำเข้าบัญชีเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (Zloty) ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
4. ในทางปฎิบัติมาตรการในการสนับสนุนการส่งออกของรัฐดังกล่าว ยังไม่ได้ผล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอกชนส่วนใหญ่ กล่าวคือ
- ผู้ส่งออกใช้บริการการประกันการส่งออกดังกล่าวของรัฐยังมีจำนวนน้อยมาก/รวมมูลค่าการส่งออกที่ใช้บริการมีเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ผู้ส่งออกที่รับการอุดหนุนสินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นจำนวนน้อยมาก เนื่องจากรัฐจะให้ความช่วยเหลือเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุนรายใหญ่เท่านั้น
- การขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถขอรับการช่วยเหลือได้ เฉพาะแต่การส่งออกในมูลค่าสูง ๆ เท่านั้น (มูลค่าการส่งออกของบริษัทจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8 ล้าน ECU หรือมูลค่าการส่งออกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการขายทั้งหมด) ซึ่งผู้ส่งออกรายย่อยจะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
5. จากภาวะการส่งออกชะลอตัวในปี 2539 และคาดว่าจะดีขึ้นในปี 2540 โดยการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 (เทียบกับร้อยละ 6.3 ในปีที่ผ่านมา) ในขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 31.0 ซึ่งจะเป็นผลต่อการขาดดุลการค้าในปริมาณสูงอีกปีหนึ่ง แม้รัฐบาลจะมีนโยบายมุ่งการส่งออก แต่ก็ไม่ได้มีมาตรการใดที่เป็นรูปธรรมที่จะแก้ไขปัญหาหรือมีมาตรการส่งเสริมการส่งออกอย่างจริงจัง ซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม Strategy for Poland (สำหรับ ปี 2537-2543) และแผนเสริม Package 2000 (ปี 2540-2543) ก็ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการส่งออกที่แท้จริง
โดยสรุป มาตรการอุดหนุนการส่งออกของโปแลนด์ที่รัฐบาลดำเนินการในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่ามีผลในทางปฎิบัติเป็นสัดส่วนที่น้อยมากกับการส่งออกของโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม มาตรการของรัฐบาลดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันของสินค้าไทยในกลุ่มเดียวกัน อาทิ สินค้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน ด้าย ผ้าผืน และเคหะสิ่งทอ) เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอ-นิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์พลาสติก ฯลฯ
การปรับปรุงกฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1. พระราชบัญญัติแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Act) ฉบับวันที่ 2 ธันวาคม 2537 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 กำหนดว่า การแลกเปลี่ยนและโอนเงินตราต่างประเทศจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ ซึ่งการอนุญาตแบ่งได้เป็น 2 กรณี
1. กรณีทั่วไป - สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในประเทศ และบุคคลต่างชาติ (รัฐมนตรีว่ากากระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตตาม กฎหมาย)
2. กรณีเฉพาะ - เป็นกรณีพิเศษอื่น ๆ ซึ่งจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป (ผู้ว่าการธนาคารชาติโปแลนด์เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย)
สำหรับนิยามของบุคคลทั้งสองประเภท คือ บุคคลในประเทศ (Domestic person) และบุคคลต่างชาติ (Foreign person) กำหนดไว้ดังนี้
- บุคคลในประเทศ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในโปแลนด์ นิติบุคคลที่มีที่ทำการในโปแลนด์ รวมทั้งบริษัท/สำนักงานสาขาของต่างชาติที่ตั้งอยู่ในโปแลนด์ ยกเว้นองค์กรที่จัดตั้งตามความตกลงกับรัฐบาลโปแลนด์ อาทิ คณะทูต กงสุล หรือบุคคลที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูตอื่น
- บุคคลต่างชาติ ได้แก่ บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกโปแลนด์ นิติบุคคล ซึ่งมีสภานที่ตั้งอยู่นอกโปแลนด์ บุคคลที่อยู่ภายในโปแลนด์แต่อยู่ภายใต้ความตกลงพิเศษกับรัฐบาลโปแลนด์ อาทิ คณะทูต กงสุล หรือบุคคลที่มีเอกสิทธ์ทางการทูตอื่น
2. รัฐบาลโปแลนด์ได้พยายามเปิดให้การแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศมีความเสรีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดการค้าเสรีและ สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด ปี พ.ศ. 2539 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับกรณีการแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
2.1 การแลกเปลี่ยนเงินตราและโอนเงินตราต่างประเทศออกไปนอกโปแลนด์สำหรับบุคคลภายในประเทศ (Domestic person) กรณีการอนุญาตเป็นการทั่วไป ได้แก่
- การชำระค่าพันธบัตรแก่องค์กรที่ออกพันธบัตรนั้นในต่างประเทศ
- การชำระหนี้เดิมในต่างประเทศของบุคคลต่างชาติ ก่อนจะเปลี่ยนฐานะมาเป็นบุคคลในประเทศ
- การชำระเงินตราต่างประเทศ อาทิ การชำระค่าสินค้า บริการสิทธิ์ในทรัพย์สิน การชำระค่าสมาชิกในองค์กรในต่างประเทศ
- การชำระเงินเป็นการล่วงหน้าแก่บุคคลในต่างประเทศสำหรับ การซื้อสินค้า และบริการ
- การชำระค่าอนุญาโตตุลาการในต่างประเทศ
- การตกลงชำระเงินที่เกิดจากการค้ำประกันหรือการประกัน จากการซื้อขายสินค้าในต่างประเทศ การนำเข้าสินค้า บริการ และสิทธิเรียกร้องอื่น
- การปฎิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินกับผู้กู้ในต่างประเทศอันเกี่ยว เนื่องกับการค้าสินค้ากับต่างประเทศ การค้าบริการ และสิทธิ์ในทรัพย์สิน
- การค้าหุ้นที่เปิดต่อสาธารณะในประเทศ OECD หรือประเทศ อื่นที่โปแลนด์มีความตกลงในการคุ้มครองการลงทุนซึ่งกันและกัน (Mutual Protection of Investment) โดยมีมูลค่าไม่เกิน 50,000 ECU (1 ECU ประมาณ 31 บาท) การโอนเงินค่าหุ้นที่เกินกว่าจำนวนดังกล่าวจะต้องแจ้งต่อธนาคารชาติโปแลนด์
2.2 สำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศของชาวต่างชาติ (Foreign Person) ได้แก่
- บุคคลต่างชาติสามารถนำเงินเดือนที่ได้รับเป็นเงิน Polish Zloty จากบริษัทที่ตนทำงานไปซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารและส่งออกไปนอกประเทศได้
- บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนสถานะจากบุคคลในประเทศเป็นบุคคลต่างชาติ สามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการขายทรัพย์สินในโปแลนด์ หรือเงิน Polish Zloty ที่ได้จากการขายดังกล่าวไปซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้
สรุปและข้อคิดเห็น
1. ภายหลังการปฎิรูปเศรษฐกิจเป็นระบบการตลาดการค้าเสรีตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา โปแลนด์ได้พยายามปรับปรุงระบบการเงินให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการส่งเงินออกมีความเสรีขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุดการปรับปรุงกฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (พ.ศ. 2537) ในปี 2539 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการลดระดับการควบคุมลงและเปิดกว้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
2. อย่างไรก็ตามธนาคารชาติโปแลนด์ (National Bank of Poland-NBP) ก็ยังได้ดำเนินการในการที่จะปล่อยเสรีด้านการแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศให้เสรีมากขึ้นไปอีก โดยมีแผนงานจะเปิดให้การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการส่งเงินออกเพื่อการค้าต่างประเทศทำได้โดยเสรีในปี พ.ศ. 2541 และจะเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการโอนเงินออกเสรีทั้งหมดในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามความเป็นไปได้ดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการผ่อนคลายการควบคุมหรือการจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการโอนเงินออกของโปแลนด์ดังกล่าวนับว่าเป็นนโยบายที่เปิดเสรีทางการเงินอีกระดับหนึ่ง ซึ่งโปแลนด์มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติที่พัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจ และเป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตลอดจนข้อกำหนดของ OECD ที่โปแลนด์เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกด้วย การดำเนินการดังกล่าวมีส่วนเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้า โดยเฉพาะผู้ส่งออกของไทย ในการแก้ไขปัญหาการโอนเงินชำระค่าสินค้าจากผู้นำเข้าโปแลนด์ได้ส่วนหนึ่ง ตลอดจนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจลงทุนในโปแลนด์ในอนาคตต่อไปด้วย
มาตรการลดอุปสงค์ภายในประเทศของโปแลนด์ : ผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย
1. เศรษฐกิจของโปแลนด์อยู่ในช่วงการพัฒนาและมีการเติบโตที่รวดเร็ว แม้ในปี 2539 ที่ผ่านมาการขยายตัวด้านการค้าและการส่งออกชะลอตัวเล็กน้อย แต่อุปสงค์ภายในประเทศก็ได้เพิ่มสูงขึ้นและมูลค่าการนำเข้าได้ขยายตัวถึงร้อยละ 27.2 จากปีที่ผ่านมา เป็นผลให้โปแลนด์ขาดดุลการค้าถึง 2.38 แสนล้านบาท เทียบกับปี 2539 ซึ่งขาดดุลการค้าเพียง 1.61 แสนล้านบาท
สำหรับปี 2540 คาดว่าเศรษฐกิจของโปแลนด์จะยังคงเติบโตต่อเนื่องอีกปี โดยขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 (ไตรมาสแรกมีอัตราขยายตัวร้อยละ 6) อุปสงค์ภายในประเทศจะยังคงเพิ่มขึ้นและการนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 31.0 เป็นผลให้โปแลนด์ประสบปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างมากมายอีกปีหนึ่ง
2. การใช้จ่ายภายในประเทศนับเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่เป็นแรงขับดันสำคัญของเศรษฐกิจโปแลนด์ ในไตรมาสแรกของปี 2540 อุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.6 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน (คาดว่าทั้งปีจะอยู่ในอัตราร้อยละ 8.7) การใช้จ่ายในครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งที่เสริมการใช้จ่ายคือการขยายตัวของปริมาณสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
3. ปัญหาการขยายตัวอย่างสูงของอุปสงค์ภายในประเทศเป็นผลจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของครัวเรือและการขยายการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะในภาคการลงทุน การใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 (เทียบกับร้อยละ 21.6 ในปี 2539) ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจที่ประสบผลดี การนำเข้าสินค้ได้ถูกจากค่าของเงินสกุลท้องถิ่น (Polish Zloty) มีค่าแข็ง การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการขยายสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศด้วย
ปัญหาดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่รัฐบาลโปแลนด์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศที่มีอัตราเร่งเกินกว่าการเพิ่มของกำลังผลิต และปัญหาการขาดดุลการค้าสูง (ปี 2540 คาดว่าจะเป็นร้อยละ 5 ของ GDP) ซึ่งในระยะยาวจะเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจประเทศ
4. เพื่อเป็นการชะลออุปสงค์ภายในประเทศและควบคุมการขาดดุลการค้าธนาคารชาติโปแลนด์ (National Bank of Poland - NBP) จึงได้ออกมาตรการทางด้านการเงิน โดยกำหนดอัตราปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่ม และเข้าแทรกแซงค่าเงิน Zloty เพื่อให้มีค่าอ่อนลง
ธนาคารชาติได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 กำหนดอัตราปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ในสกุล Zloty เพิ่มจากเดิมร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 11 และอัตราสำรองเงินสกุลต่างประเทศจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 ซึ่งการกำหนดปริมาณเงินดังกล่าวจะเป็นผลให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินทุนหมุนเวียนน้อยลงสำหรับการปล่อยสินเชื่อ และคาดว่าผลตามมาคือธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ธนาคารชาติแจ้งว่าเนื่องจากในไตรมาสแรกของปี 2540 สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยภาคธุรกิจสินเชื่อได้สูงขึ้นร้อยละ 9 (มูลค่า 7.58 แสนล้านบาท) ในขณะที่ครัวเรือนโปแลนด์ได้มีการกู้ยืมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 (1.32 แสนล้านบาท) รวมเป็นปริมาณเงิน (Money Supply) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ธนาคารชาติมีความเห็นว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากเกินไปเป็นผลให้เกิดความต้องการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นและมีการนำเข้าสูงขึ้นตามมา มาตรการที่ธนาคารชาติประกาศใช้นี้จะส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศลงประมาณ 2 หมื่นล้านบาท อันเป็นมาตรการลดอุปสงค์ภายในประเทศและเป็นการลดการนำเข้าด้วย
นอกจากนั้นธนาคารชาติยังได้มีมาตรการเสริมมาตรการดังกล่าว โดยการแทรกแซงตลาดเงินด้วยการลดค่าเงิน Zloty ลงในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกทางหนึ่งด้วย
สรุปและข้อคิดเห็น
1. ในแง่ของธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ การเพิ่มอัตราปริมาณเงินสำรองครั้งนี้เป็นปริมาณค่อนข้างสูง อาจเป็นผลกระทบต่อปริมาณสินเชื่อที่ธนาคารให้บริการต่อลูกค้า นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นภาระแก่ลูกค้าของธนาคารซึ่งได้แก่ ครัวเรือน (ร้อยละ 13-15) และภาคธุรกิจ (ร้อยละ 85-87) การที่ดอกเบี้ยมีอัตราสูงจะเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการที่จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นเป็นอุปสรรคต่อ อุปทานสินค้า กำไรภาคธุรกิจจะลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
2. ปัญหาการขาดดุลการค้าของโปแลนด์มิใช่ปัญหาร้ายแรงที่ต้องมีความวิตกมาก เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่เกื้อหนุนอยู่ เช่น การค้าชายแดนที่ไม่ปรากฎหลักฐาน (คาดว่าโปแลนด์มีรายได้จากการค้าชายแดนไม่ต่ำกว่าปีละ 1.5 แสนล้านบาท) หรือการนำเข้าซึ่งเพิ่มขึ้นจากการไหลบ่าเข้าไปลงทุนของต่างชาติที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนในระยะเริ่มแรก ซึ่งการนำเข้าเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 38 ของการนำเข้าทั้งหมด เป็นต้น นอกจากนั้น การที่การนำเข้าของโปแลนด์มีปริมาณมากกว่าการส่งออกจนเป็นเหตุของการขาดดุลการค้านั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโปแลนด์ไม่มีมาตรการในการส่งเสริมการดำเนินมาตรการทางด้านการควบคุมอุปสงค์ (Domand Side) เพียงด้านเดียว อาจจะมิได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้มากดังที่คาดหวังไว้และยังจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอื่นได้ด้วย
3. ในส่วนของผลที่จะกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยนั้น เนื่องจากโปแลนด์นำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อใช้หลายประสงค์ คือ
3.1 นำเข้าเพื่อการอุปโภคบริโภคในประเทศ
3.2 นำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า สำหรับตลาดในประเทศ/เพื่อการส่งออก
3.3 นำเข้าเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (Re-export) และเพื่อการค้าชายแดน (Border Trade)
มาตรการเพื่อลดอุปสงค์ภายในประเทศของโปแลนด์ดังกล่าวจะมีผลกระทบการนำเข้าสินค้าไทยกล่าวคือ
- ผู้บริโภค เดิมจากการที่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่นิยมการออม ประกอบกับได้รับสินเชื่อจากธนาคาร ครัวเรือนจึงได้ใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น การจำกัดสินเชื่อจึงมีผลต่อความต้องการซื้อหาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทคงทน (Durable goods) ที่มีราคาสูง อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งสามารถซื้อหาด้วยเงินผ่อนหรือบริการสินเชื่อ มาตรการดังกล่าวจะกระทบต่ออุปสงค์สินค้า และรวมถึงการนำเข้าสินค้าจากไทยด้วย
- ภาคธุรกิจในโปแลนด์มิใช่มีเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ลงทุน จากต่างชาติ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลาง ( S & M ) ซึ่งยังมีเงินทุนหมุนเวียนน้อยโดยเฉพาะการค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้สินเชื่อเพื่อการดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมทั้งการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยด้วย การจำกัดสินเชื่อดังกล่าวจะกระทบผู้ประกอบการนำเข้าทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิต อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ อุปกรณ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง จากประเทศไทยเพื่อการผลิตด้วย
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13 / 15 กรกฏาคม 2540--
1. ปี 2539 ภาวะการส่งออกของโปแลนด์ประสบปัญหาชะลอตัวลง โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 6.3 เทียบกับอัตราร้อยละ 32.8 ในปี 2538 สาเหตุหลักเนื่องมาจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศคู่ค้าสำคัญของโปแลนด์ เป็นผลให้อุปสงค์สินค้าจากโปแลนด์ลดลงด้วย
สินค้าส่งออกของโปแลนด์มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยจากภายนอกค่อนข้างมาก เนื่องจากโครงสร้างสินค้าส่งออกสำคัญร้อยละ 35-40 (เคมีภัณฑ์ แร่ธาตุต่าง ๆ โลหะ ไม้และกระดาษ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์อาหาร) เป็นสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นปฐมที่มีมูลค่าไม่สูง ในขณะที่สินค้าเพียงร้อยละ 4-6 เท่านั้นที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง (ซึ่งก็มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลงด้วย) ดังนั้นแม้โปแลนด์จะเป็นประเทศที่ได้เปรียบด้านต้นทุนสินค้า อาทิ ค่าแรงงานยังไม่สูง และมีวัตถุดิบในการผลิตเพียงพอก็ตาม แต่เมื่อประสบปัญหาจากปัจจัยภายนอกและการแข่งขันในตลาด สินค้าส่งออกของโปแลนด์จึงได้รับผลกระทบ
นอกจากนั้น ในส่วนของสินค้าจากอุตสาหกรรมเบา อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ โปแลนด์ก็ส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มไม่มากและส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งจากผู้สั่งซื้อในต่างประเทศที่เรียกว่า Outward Processing Traffic - OPT กล่าวคือ ผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศหรือผู้ร่วมลงทุนในประเทศจะมี Order สำหรับสินค้า โดยเป็นผู้ออกแบบ จัดหาวัตถุดิบ ตลอดจนอำนวยการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าดังกล่าว ในปี 2539 ที่ผ่านมา บริษัทร่วมทุนโปแลนด์ - ต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในโปแลนด์และถือหุ้นทั้งหมด ส่งออกสินค้ามีมูลค่าเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด (แต่บริษัทดังกล่าวก็นำเข้าสินค้าทุนและวัตถุบเพื่อการผลิตมีมูลค่าถึงร้อยละ 42.0 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดด้วย) อย่างไรก็ตามรัฐบาลโปแลนด์ก็ยังเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนผลิตเพื่อส่งออก อันเป็นแรงขับดันที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้มีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนเรียกว่า Polish Agency for Foreign Investment - PAIZ เพื่อดูแลและให้การสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ
2. ศักยภาพการส่งออกของผู้ประกอบการส่งออกประมาณร้อยละ 60-69 เริ่มลดลง สาเหตุหลักเนื่องจากผลกำไรตอบแทนได้ลดลง การเปรียบเทียบราคาการขายไปต่างประเทศกับการขายในตลาดภายในประเทศ กล่าวได้ว่าราคาการขายสินค้าไปต่างประเทศมิได้ดีและจูงใจสูงดังที่เป็นมาในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งเปรียบเทียบผลกำไรตอบแทนระหว่างผู้ส่งออกกับผู้ประกอบการค้าภายในประเทศ (กำไรก่อนหักภาษี) พบว่าช่วงห่างของความแตกต่างมิได้มีมากเท่าใด
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะดังกล่าวมีหลายประการ อาทิ
- สินค้าส่งออกของโปแลนด์เริ่มประสบกับการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโปแลนด์ไม่อาจพึ่งพาแต่ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าที่ต่ำได้เพียงอย่างเดียว แต่ในตลาดโลกยังคงต้องมีความสามารถแข่งขันในด้านอื่น ๆ ด้วย
- สินค้าส่งออกเป็นสินค้าประเภท OPT ซึ่งผลกำไรส่วนใหญ่ตกได้กับต่างชาติ
- สินค้าถ่านหิน ถ่านโค๊ก ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของโปแลนด์ ประสบกับการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งใหม่ ๆ ที่ต้นทุนต่ำกว่าอีก อาทิ สหรัฐฯ อาฟริกา และจีน นอกจากนั้นการส่งออกหลักไป EU ก็ประสบปัญหาโควปริมาณนำเข้า รวมทั้ง ปัจจุบันประเทศใน EU เริ่มคำนึงถึงภาวะสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (การเผาไหม้ของถ่านหินก่อให้เกิดควันและกำมะถันในอากาศ) จึงได้ลดการใช้และพยายามหาแหล่งพลังงานอื่นทดแทน
- พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศ EU ได้เปลี่ยนแปลง ไปโดยคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น อาทิ การลดบริโภคอาหารประเภทนม เนย(แท้) ขนมหวาน ชํอคโกแล็ต และลดการสูบบุหรี่ จึงเป็นผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำตาลจากหัวบีท และใบยาสูบ ของโปแลนด์
- รัฐบาลได้เริ่มเข้มงวดกวดขันกับพิธีการในการนำเข้า/ส่งออก การค้า นอกระบบ การส่งเงินออกนอกประเทศ ตลอดจนการติดตามการชำระภาษีทั้งภาษีศุลกากรและภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้ามักจะดำเนินการโดยไม่โปร่งใส มีการค้านอกระบบ และอาศัยช่องโหว่ของกฏหมายในการค้าโดยเฉพาะการนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้การค้าขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีผลกำไรตอบแทนสูง ปัจจุบันการกวดขันดังกล่าวเป็นผลให้กำไรตอบแทนในการค้าจึงไม่จูงใจมากดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
3. นอกจากภาวะดังกล่าวข้างต้นที่มีผลต่อการส่งออกแล้ว กลไกตลาดในปัจจุบันของโปแลนด์ก็ยังไม่ช่วยเร่งให้ผู้ประกอบการคิดพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างในการผลิตและการส่งออก ดังนั้น รัฐบาลโปแลนด์ซึ่งได้กำหนดนโยบายมุ่งการส่งออก (Export Oriented) เป็นนโยบายหลักทางด้านเศรษฐกิจประการหนึ่ง จึงได้มีนโยบายในการสนับสนุนการส่งออก อาทิ การดำเนินการด้านการตลาด การสนับสนุนด้านการจัดการปัจจัยการผลิต การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น
ปัจจุบันโปแลนด์มีระบบการสนับสนุนการส่งออกที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
ก. การประกันการส่งออก (Export Contract Insurance)
ข. การอุดหนุนดอกเบี้ยกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อช่วยด้านการส่งออก (โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุน อาทิ เครื่องมือ เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม)
ค. การให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ส่งออก (ผู้ส่งออกที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐ)
ง. การคืนค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ที่ใช้ในสินค้าที่มีการผลิตเพื่อการส่งออก
จ. ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการโปแลนด์ ที่ได้รับชำระค่าสินค้าจากการส่งออกเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ สามารถเก็บเงินไว้ในบัญชีเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้ (เดิมเงินตราต่างประเทศที่ได้มาจากการรับชำระค่าสินค้าส่งออกนั้น จะต้องขายให้ธนาคารชาติและนำเข้าบัญชีเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (Zloty) ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
4. ในทางปฎิบัติมาตรการในการสนับสนุนการส่งออกของรัฐดังกล่าว ยังไม่ได้ผล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอกชนส่วนใหญ่ กล่าวคือ
- ผู้ส่งออกใช้บริการการประกันการส่งออกดังกล่าวของรัฐยังมีจำนวนน้อยมาก/รวมมูลค่าการส่งออกที่ใช้บริการมีเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
- ผู้ส่งออกที่รับการอุดหนุนสินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นจำนวนน้อยมาก เนื่องจากรัฐจะให้ความช่วยเหลือเฉพาะการส่งออกสินค้าประเภททุนรายใหญ่เท่านั้น
- การขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถขอรับการช่วยเหลือได้ เฉพาะแต่การส่งออกในมูลค่าสูง ๆ เท่านั้น (มูลค่าการส่งออกของบริษัทจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8 ล้าน ECU หรือมูลค่าการส่งออกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการขายทั้งหมด) ซึ่งผู้ส่งออกรายย่อยจะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
5. จากภาวะการส่งออกชะลอตัวในปี 2539 และคาดว่าจะดีขึ้นในปี 2540 โดยการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 (เทียบกับร้อยละ 6.3 ในปีที่ผ่านมา) ในขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 31.0 ซึ่งจะเป็นผลต่อการขาดดุลการค้าในปริมาณสูงอีกปีหนึ่ง แม้รัฐบาลจะมีนโยบายมุ่งการส่งออก แต่ก็ไม่ได้มีมาตรการใดที่เป็นรูปธรรมที่จะแก้ไขปัญหาหรือมีมาตรการส่งเสริมการส่งออกอย่างจริงจัง ซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม Strategy for Poland (สำหรับ ปี 2537-2543) และแผนเสริม Package 2000 (ปี 2540-2543) ก็ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการส่งออกที่แท้จริง
โดยสรุป มาตรการอุดหนุนการส่งออกของโปแลนด์ที่รัฐบาลดำเนินการในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่ามีผลในทางปฎิบัติเป็นสัดส่วนที่น้อยมากกับการส่งออกของโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม มาตรการของรัฐบาลดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันของสินค้าไทยในกลุ่มเดียวกัน อาทิ สินค้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วน ด้าย ผ้าผืน และเคหะสิ่งทอ) เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอ-นิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์พลาสติก ฯลฯ
การปรับปรุงกฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1. พระราชบัญญัติแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Act) ฉบับวันที่ 2 ธันวาคม 2537 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 กำหนดว่า การแลกเปลี่ยนและโอนเงินตราต่างประเทศจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ ซึ่งการอนุญาตแบ่งได้เป็น 2 กรณี
1. กรณีทั่วไป - สำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในประเทศ และบุคคลต่างชาติ (รัฐมนตรีว่ากากระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตตาม กฎหมาย)
2. กรณีเฉพาะ - เป็นกรณีพิเศษอื่น ๆ ซึ่งจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป (ผู้ว่าการธนาคารชาติโปแลนด์เป็นผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย)
สำหรับนิยามของบุคคลทั้งสองประเภท คือ บุคคลในประเทศ (Domestic person) และบุคคลต่างชาติ (Foreign person) กำหนดไว้ดังนี้
- บุคคลในประเทศ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในโปแลนด์ นิติบุคคลที่มีที่ทำการในโปแลนด์ รวมทั้งบริษัท/สำนักงานสาขาของต่างชาติที่ตั้งอยู่ในโปแลนด์ ยกเว้นองค์กรที่จัดตั้งตามความตกลงกับรัฐบาลโปแลนด์ อาทิ คณะทูต กงสุล หรือบุคคลที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูตอื่น
- บุคคลต่างชาติ ได้แก่ บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกโปแลนด์ นิติบุคคล ซึ่งมีสภานที่ตั้งอยู่นอกโปแลนด์ บุคคลที่อยู่ภายในโปแลนด์แต่อยู่ภายใต้ความตกลงพิเศษกับรัฐบาลโปแลนด์ อาทิ คณะทูต กงสุล หรือบุคคลที่มีเอกสิทธ์ทางการทูตอื่น
2. รัฐบาลโปแลนด์ได้พยายามเปิดให้การแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศมีความเสรีขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดการค้าเสรีและ สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด ปี พ.ศ. 2539 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับกรณีการแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
2.1 การแลกเปลี่ยนเงินตราและโอนเงินตราต่างประเทศออกไปนอกโปแลนด์สำหรับบุคคลภายในประเทศ (Domestic person) กรณีการอนุญาตเป็นการทั่วไป ได้แก่
- การชำระค่าพันธบัตรแก่องค์กรที่ออกพันธบัตรนั้นในต่างประเทศ
- การชำระหนี้เดิมในต่างประเทศของบุคคลต่างชาติ ก่อนจะเปลี่ยนฐานะมาเป็นบุคคลในประเทศ
- การชำระเงินตราต่างประเทศ อาทิ การชำระค่าสินค้า บริการสิทธิ์ในทรัพย์สิน การชำระค่าสมาชิกในองค์กรในต่างประเทศ
- การชำระเงินเป็นการล่วงหน้าแก่บุคคลในต่างประเทศสำหรับ การซื้อสินค้า และบริการ
- การชำระค่าอนุญาโตตุลาการในต่างประเทศ
- การตกลงชำระเงินที่เกิดจากการค้ำประกันหรือการประกัน จากการซื้อขายสินค้าในต่างประเทศ การนำเข้าสินค้า บริการ และสิทธิเรียกร้องอื่น
- การปฎิบัติตามสัญญากู้ยืมเงินกับผู้กู้ในต่างประเทศอันเกี่ยว เนื่องกับการค้าสินค้ากับต่างประเทศ การค้าบริการ และสิทธิ์ในทรัพย์สิน
- การค้าหุ้นที่เปิดต่อสาธารณะในประเทศ OECD หรือประเทศ อื่นที่โปแลนด์มีความตกลงในการคุ้มครองการลงทุนซึ่งกันและกัน (Mutual Protection of Investment) โดยมีมูลค่าไม่เกิน 50,000 ECU (1 ECU ประมาณ 31 บาท) การโอนเงินค่าหุ้นที่เกินกว่าจำนวนดังกล่าวจะต้องแจ้งต่อธนาคารชาติโปแลนด์
2.2 สำหรับการโอนเงินตราต่างประเทศของชาวต่างชาติ (Foreign Person) ได้แก่
- บุคคลต่างชาติสามารถนำเงินเดือนที่ได้รับเป็นเงิน Polish Zloty จากบริษัทที่ตนทำงานไปซื้อเงินตราต่างประเทศจากธนาคารและส่งออกไปนอกประเทศได้
- บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนสถานะจากบุคคลในประเทศเป็นบุคคลต่างชาติ สามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการขายทรัพย์สินในโปแลนด์ หรือเงิน Polish Zloty ที่ได้จากการขายดังกล่าวไปซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้
สรุปและข้อคิดเห็น
1. ภายหลังการปฎิรูปเศรษฐกิจเป็นระบบการตลาดการค้าเสรีตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา โปแลนด์ได้พยายามปรับปรุงระบบการเงินให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการส่งเงินออกมีความเสรีขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุดการปรับปรุงกฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (พ.ศ. 2537) ในปี 2539 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการลดระดับการควบคุมลงและเปิดกว้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
2. อย่างไรก็ตามธนาคารชาติโปแลนด์ (National Bank of Poland-NBP) ก็ยังได้ดำเนินการในการที่จะปล่อยเสรีด้านการแลกเปลี่ยนและการโอนเงินตราต่างประเทศให้เสรีมากขึ้นไปอีก โดยมีแผนงานจะเปิดให้การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการส่งเงินออกเพื่อการค้าต่างประเทศทำได้โดยเสรีในปี พ.ศ. 2541 และจะเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการโอนเงินออกเสรีทั้งหมดในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามความเป็นไปได้ดังกล่าวต่อไป
3. มาตรการผ่อนคลายการควบคุมหรือการจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการโอนเงินออกของโปแลนด์ดังกล่าวนับว่าเป็นนโยบายที่เปิดเสรีทางการเงินอีกระดับหนึ่ง ซึ่งโปแลนด์มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติที่พัฒนาแล้วทางเศรษฐกิจ และเป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ตลอดจนข้อกำหนดของ OECD ที่โปแลนด์เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกด้วย การดำเนินการดังกล่าวมีส่วนเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้า โดยเฉพาะผู้ส่งออกของไทย ในการแก้ไขปัญหาการโอนเงินชำระค่าสินค้าจากผู้นำเข้าโปแลนด์ได้ส่วนหนึ่ง ตลอดจนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจลงทุนในโปแลนด์ในอนาคตต่อไปด้วย
มาตรการลดอุปสงค์ภายในประเทศของโปแลนด์ : ผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย
1. เศรษฐกิจของโปแลนด์อยู่ในช่วงการพัฒนาและมีการเติบโตที่รวดเร็ว แม้ในปี 2539 ที่ผ่านมาการขยายตัวด้านการค้าและการส่งออกชะลอตัวเล็กน้อย แต่อุปสงค์ภายในประเทศก็ได้เพิ่มสูงขึ้นและมูลค่าการนำเข้าได้ขยายตัวถึงร้อยละ 27.2 จากปีที่ผ่านมา เป็นผลให้โปแลนด์ขาดดุลการค้าถึง 2.38 แสนล้านบาท เทียบกับปี 2539 ซึ่งขาดดุลการค้าเพียง 1.61 แสนล้านบาท
สำหรับปี 2540 คาดว่าเศรษฐกิจของโปแลนด์จะยังคงเติบโตต่อเนื่องอีกปี โดยขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 (ไตรมาสแรกมีอัตราขยายตัวร้อยละ 6) อุปสงค์ภายในประเทศจะยังคงเพิ่มขึ้นและการนำเข้าจะขยายตัวถึงร้อยละ 31.0 เป็นผลให้โปแลนด์ประสบปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างมากมายอีกปีหนึ่ง
2. การใช้จ่ายภายในประเทศนับเป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่เป็นแรงขับดันสำคัญของเศรษฐกิจโปแลนด์ ในไตรมาสแรกของปี 2540 อุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.6 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน (คาดว่าทั้งปีจะอยู่ในอัตราร้อยละ 8.7) การใช้จ่ายในครัวเรือนจะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งที่เสริมการใช้จ่ายคือการขยายตัวของปริมาณสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
3. ปัญหาการขยายตัวอย่างสูงของอุปสงค์ภายในประเทศเป็นผลจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคของครัวเรือและการขยายการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะในภาคการลงทุน การใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24 (เทียบกับร้อยละ 21.6 ในปี 2539) ซึ่งเป็นผลจากธุรกิจที่ประสบผลดี การนำเข้าสินค้ได้ถูกจากค่าของเงินสกุลท้องถิ่น (Polish Zloty) มีค่าแข็ง การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการขยายสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศด้วย
ปัญหาดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่รัฐบาลโปแลนด์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะอุปสงค์ภายในประเทศที่มีอัตราเร่งเกินกว่าการเพิ่มของกำลังผลิต และปัญหาการขาดดุลการค้าสูง (ปี 2540 คาดว่าจะเป็นร้อยละ 5 ของ GDP) ซึ่งในระยะยาวจะเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจประเทศ
4. เพื่อเป็นการชะลออุปสงค์ภายในประเทศและควบคุมการขาดดุลการค้าธนาคารชาติโปแลนด์ (National Bank of Poland - NBP) จึงได้ออกมาตรการทางด้านการเงิน โดยกำหนดอัตราปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่ม และเข้าแทรกแซงค่าเงิน Zloty เพื่อให้มีค่าอ่อนลง
ธนาคารชาติได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2540 กำหนดอัตราปริมาณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ในสกุล Zloty เพิ่มจากเดิมร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 11 และอัตราสำรองเงินสกุลต่างประเทศจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 ซึ่งการกำหนดปริมาณเงินดังกล่าวจะเป็นผลให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินทุนหมุนเวียนน้อยลงสำหรับการปล่อยสินเชื่อ และคาดว่าผลตามมาคือธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ธนาคารชาติแจ้งว่าเนื่องจากในไตรมาสแรกของปี 2540 สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยภาคธุรกิจสินเชื่อได้สูงขึ้นร้อยละ 9 (มูลค่า 7.58 แสนล้านบาท) ในขณะที่ครัวเรือนโปแลนด์ได้มีการกู้ยืมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 (1.32 แสนล้านบาท) รวมเป็นปริมาณเงิน (Money Supply) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
ธนาคารชาติมีความเห็นว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากเกินไปเป็นผลให้เกิดความต้องการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้นและมีการนำเข้าสูงขึ้นตามมา มาตรการที่ธนาคารชาติประกาศใช้นี้จะส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศลงประมาณ 2 หมื่นล้านบาท อันเป็นมาตรการลดอุปสงค์ภายในประเทศและเป็นการลดการนำเข้าด้วย
นอกจากนั้นธนาคารชาติยังได้มีมาตรการเสริมมาตรการดังกล่าว โดยการแทรกแซงตลาดเงินด้วยการลดค่าเงิน Zloty ลงในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกทางหนึ่งด้วย
สรุปและข้อคิดเห็น
1. ในแง่ของธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ การเพิ่มอัตราปริมาณเงินสำรองครั้งนี้เป็นปริมาณค่อนข้างสูง อาจเป็นผลกระทบต่อปริมาณสินเชื่อที่ธนาคารให้บริการต่อลูกค้า นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นภาระแก่ลูกค้าของธนาคารซึ่งได้แก่ ครัวเรือน (ร้อยละ 13-15) และภาคธุรกิจ (ร้อยละ 85-87) การที่ดอกเบี้ยมีอัตราสูงจะเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการที่จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นเป็นอุปสรรคต่อ อุปทานสินค้า กำไรภาคธุรกิจจะลดลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
2. ปัญหาการขาดดุลการค้าของโปแลนด์มิใช่ปัญหาร้ายแรงที่ต้องมีความวิตกมาก เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่เกื้อหนุนอยู่ เช่น การค้าชายแดนที่ไม่ปรากฎหลักฐาน (คาดว่าโปแลนด์มีรายได้จากการค้าชายแดนไม่ต่ำกว่าปีละ 1.5 แสนล้านบาท) หรือการนำเข้าซึ่งเพิ่มขึ้นจากการไหลบ่าเข้าไปลงทุนของต่างชาติที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนในระยะเริ่มแรก ซึ่งการนำเข้าเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 38 ของการนำเข้าทั้งหมด เป็นต้น นอกจากนั้น การที่การนำเข้าของโปแลนด์มีปริมาณมากกว่าการส่งออกจนเป็นเหตุของการขาดดุลการค้านั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากโปแลนด์ไม่มีมาตรการในการส่งเสริมการดำเนินมาตรการทางด้านการควบคุมอุปสงค์ (Domand Side) เพียงด้านเดียว อาจจะมิได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้มากดังที่คาดหวังไว้และยังจะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอื่นได้ด้วย
3. ในส่วนของผลที่จะกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยนั้น เนื่องจากโปแลนด์นำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อใช้หลายประสงค์ คือ
3.1 นำเข้าเพื่อการอุปโภคบริโภคในประเทศ
3.2 นำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า สำหรับตลาดในประเทศ/เพื่อการส่งออก
3.3 นำเข้าเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (Re-export) และเพื่อการค้าชายแดน (Border Trade)
มาตรการเพื่อลดอุปสงค์ภายในประเทศของโปแลนด์ดังกล่าวจะมีผลกระทบการนำเข้าสินค้าไทยกล่าวคือ
- ผู้บริโภค เดิมจากการที่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่นิยมการออม ประกอบกับได้รับสินเชื่อจากธนาคาร ครัวเรือนจึงได้ใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น การจำกัดสินเชื่อจึงมีผลต่อความต้องการซื้อหาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทคงทน (Durable goods) ที่มีราคาสูง อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับตกแต่งบ้าน ซึ่งสามารถซื้อหาด้วยเงินผ่อนหรือบริการสินเชื่อ มาตรการดังกล่าวจะกระทบต่ออุปสงค์สินค้า และรวมถึงการนำเข้าสินค้าจากไทยด้วย
- ภาคธุรกิจในโปแลนด์มิใช่มีเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ลงทุน จากต่างชาติ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยและรายกลาง ( S & M ) ซึ่งยังมีเงินทุนหมุนเวียนน้อยโดยเฉพาะการค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้สินเชื่อเพื่อการดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมทั้งการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยด้วย การจำกัดสินเชื่อดังกล่าวจะกระทบผู้ประกอบการนำเข้าทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิต อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ อุปกรณ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง จากประเทศไทยเพื่อการผลิตด้วย
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ
--ข่าวเศรษฐกิจ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 13 / 15 กรกฏาคม 2540--