เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกประกอบด้วย
1. เตาเผา มีทั้งเตาเผาอิฐ และเตาเผาที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยเชื้อเพลิงที่ใช้มีทั้งน้ำมันเตา แก๊ส ไฟฟ้า ถ่านหิน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้และมีการส่งเสริมให้มีการใช้ในปัจจุบันได้แก่ประเภทที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน และนิยมนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
2. เครื่องผสมดินและส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน ส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ และในปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องผสมแป้งในอุตสาหกรรมขนมมาใช้ หรือมีการสั่งทำให้เหมาะสมกับความต้องการซึ่งจะมีระดับราคาไม่สูงนัก
3. เครื่องปั้น-ขึ้นรูป และเครื่องรีดดินให้เป็นแผ่นเพื่อความสะดวกในการนำไปขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในการประมาณการต้นทุนขั้นต้นสำหรับกรณีการลงทุนผลิตของชำร่วยที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 120 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 2 ล้านบาท
2.!ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง สามารถทำการผลิตโดยใช้เนื้อที่ประมาณ 100-150 ตารางวา หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 5,000- 10,000 บาทต่อเดือน แล้วแต่ทำเล และลักษณะพื้นที่โรงงานควรเป็นแบบโล่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้
3.!ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั้น มี 1 เครื่องขนาดเล็กราคาประมาณ 10,000 - 20,000 บาท เนื่องจากส่วนใหญ่ในการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกจะใช้ แบบซึ่งทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ซึ่งควรมีแบบละประมาณ 50 อัน โดยค่าจ้างทำแบบครั้งละประมาณ 3,000 บาท
3.2 เครื่องผสมดิน มีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ถึงกว่า 30,000 บาท แล้วแต่ขนาด และคุณสมบัติ บางครั้งอาจจะมีการจ้างทำเองตามความต้องการใช้งาน ในที่นี้จะใช้ขนาดราคาปานกลางจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงินประมาณ 5,000 - 10,000 บาท
3.3 เตาเผาเซรามิกโดยใช้แก๊ส หรือไฟฟ้า จำนวน 2 เตา ราคาเตาละ 350,000 บาท ถึงกว่า800,000 บาท แล้วแต่ขนาด ในกรณีนี้จะใช้ขนาด 2.5 ลบ.ม ราคาประมาณ 650,000 บาท (กรณีเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 429,000 บาท) โดยควรจะมีเตาแก๊ส 1 เตา(ประหยัดพลังงานกว่าเตาไฟฟ้า) และเตาไฟฟ้าจำนวน 1 เตา (สะดวกเนื่องจากไม่ต้องมีคนคอยควบคุมสามารถตั้งเวลาอัตโนมัติและสามารถเผาสีบนเคลือบได้) ซึ่งเตาไฟฟ้าอาจจะใช้ขนาดเล็กลงประมาณ 1.5 ลบ.ม เพื่อการประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามความต้องการใช้งานและกำลังการผลิต
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 400,000 -500,000 บาท
บุคลากร ของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ30-32 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 26-28 คน ประกอบด้วย
1.1!ช่างผสมดิน 1-2 คน
1.2!ช่างปั้น-หล่อแบบ 8 คน
1.3!ช่างตกแต่งและเขียนลาย 10 คน
1.4!พนักงานขับรถส่งของ 1 คน
1.5!พนักงานดูแลควบคุมเตาเผา 2 คน
1.6!ตกแต่งผลิตภัณฑ์และบรรจุของ 4-5 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไปและเสมียน อีกประมาณ 3-4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 1,445,000 บาทต่อปี
(กรณีการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 120 ตัน อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ
- ดินสำเร็จรูป 600,000 บาทต่อปี
- สารเคลือบ 540,000 บาทต่อปี
- สี 240,000 บาทต่อปี
- แบบ 35,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 30,000-50,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,550,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 360,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 527,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 15,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ (ใช้ในเตาเผา 1 เตา) 300,000 บาทต่อปี
- ค่าแก๊สที่ใช้ในเตาเผา (1 เตา) 150,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 20,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 42,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าจ้างทำบัญชี 70,000 บาทต่อปี
5.2 ค่าดูแลเครื่องจักร 15,000 บาทต่อปี
5.3 ดอกเบี้ยจ่าย - O/D 40,000 บาทต่อปี
5.4 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 15,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20 - 25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 5-5.4 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้หากเป็นการผลิตเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิก เช่น กรอบรูป นาฬิกา ตุ๊กตารูปต่างๆหรือดอกไม้ ที่มีการปั้นและประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ในลักษณะ Hand-Made มักจะต้องใช้แรงงานฝีมือจำนวนมากขึ้นกว่าการผลิตในลักษณะใช้แม่พิมพ์หล่อแบบ และการผลิตเครื่องประดับตกแต่งประเภทนาฬิกา กรอบรูป ก็จะมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในส่วนของชิ้นส่วนประกอบต่างๆ เช่น เครื่องนาฬิกา แผ่นหลังกรอบรูป เป็นต้น รวมไปถึงต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ที่สูงกว่าของชำร่วย เครื่องประดับตกแต่งบางประเภทต้องมีการบรรจุแยกเป็นรายชิ้น และมีการใส่วัสดุกันกระแทกป้องกันการแตก-เสียหาย ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอย่างไรก็ตามขนาดเตาและต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้อาจจะไม่สูงเท่าการผลิตแบบใช้การหล่อแบบซึ่งจะต้องมีการผลิตในปริมาณที่มาก เนื่องจากการผลิตโดยใช้ฝีมือแรงงานจะใช้เวลามากกว่า ทำให้ความถี่ในการเผาจะต่ำกว่า
ราคาซื้อขาย
ระดับราคามีหลากหลายขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ขนาด รูปแบบ ของแต่ละผลิตภัณฑ์
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 5: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท อินเตอร์ คลินส์ อินดัสตรีส์ จำกัด 59/24 ซ.85 ถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.
สมุทรสาคร โทร.811-0604-5
โรงกลึงสมศักดิ์ 516 หมู่ที่ 10 ต. ชมพู อ. เมือง จ. ลำปาง
โทร. (054) 346433-4
บริษัท ตรีมูรติ แอสโซซิเอทส์ แอนด์ คอร์ปอเรชั่น 15/432 ถ. สุขุมวิท ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง
จ. สมุทรปราการ โทร. 749-2822
บริษัท เซรามิก คอนซัลแทนท์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 251 ถ. เสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
โทร. 379-9677
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คินส์ แอนด์ อาร์ท 41/ 5 หมู่ที่ 9 ต. บางพระ อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
โทร. (038) 770-052
บริษัท ทีมเทคแอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 78/ 6 หมู่ที่ 1 ถ. รามอินทรา ต. ท่าแร้ง อ. บางเขน
กรุงเทพฯ โทร. 900-5524
บริษัท ไท่หงอี้ จำกัด 66/ 36 หมู่ที่ 13 ต. บางปะกง อ. ฉะเชิงเทรา
จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 834-110
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำปาง เชน เซอร์วิส หมู่ที่ 6 ต. ทุ่งงาม อ. เสริมงาม จ. ลำปาง
แอ็คมี่-อินเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 49 /1 สุขุมวิท 91 กรุงเทพฯ โทร. 332-2270-2
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมเกียรติซัพพลาย 71 อ่อนนุช 64 สวนหลวง กรุงเทพฯ
โทร.721-0425-6 , 721-0653-4
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: 8 รายแรก เป็นรายชื่อผู้สร้างเตาและผู้จำหน่ายเตาในโครงการส่งเสริมเตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งได้เป็น
วัตถุดิบ - ดินที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 สี และสารเคลือบ มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เถ้ากระดูกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 35
- เครื่องจักรและเตาเผา มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ไว้ คือ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทสโตนแวร์ ปอร์ซเลนโบนไชน่า โดยมีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท โดยจะเน้นให้การส่งเสริมสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต 2และ 3 (ถ้าตั้งอยู่ในเขต 1 จะต้องส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดขายทั้งสิ้น) และถ้าตั้งอยู่ในเขต 3 จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี เป็นต้น
4. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
ของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิก มักจะไม่จำเป็นต้องมีระบบคุณภาพมาตรฐานผู้ซื้อมักจะสนใจถึงรูปแบบและความสวยงาม ผลิตได้คุณภาพและมาตรฐานคงที่มากกว่า โดยอาจจะมีการใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน เช่นได้รับ มอก.485-2526 - เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับดินขาวที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.! หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร.253-7111)กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย.(โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุน ข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. อุตสาหกรรมเซรามิกรวมไปถึงการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกนั้นมีโครงการส่งเสริมการใช้เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง ซึ่งบริหารงานและสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบัน
ประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย) (โทร.642-7090-6 ต่อ 211,220) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีกำหนดเวลาให้การส่งเสริม 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 และจากเดิมจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2542 แต่ได้ขยายระยะเวลาโครงการออกไปถึงประมาณเดือนกรกฎาคม 2543 โดยกองทุนฯจะให้เงินสนับสนุนในการสร้างหรือซื้อเตาในอัตราไม่เกินร้อยละ 34 ของราคาเตาซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและประหยัดพลังงาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถรับเงินสนับสนุนจากการสร้างหรือซื้อเตาได้รายละไม่เกิน 2 เตา นอกจากนี้ทางโครงการยังมีการส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ความสามารถในขบวนการเผาเซรามิกอย่างถูกวิธี และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยมีการจัดสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเซรามิกและผู้สร้างเตาที่ร่วมโครงการและผู้สนใจทั่วไปทั้งทางด้านการเตรียมวัตถุดิบ เทคนิคการควบคุมเตาเผาเซรามิก และการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง คือ เตาเผาเซรามิกที่บุผนังด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาไม่อมความร้อนและเป็นฉนวนที่กั้นความร้อนได้ดีทำให้ประหยัดพลังงานโดยเฉพาะแก๊สแอลพีจี ได้ประมาณร้อยละ 30-50 เมื่อเทียบกับเตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งความสม่ำเสมอของสีและมีของเสียน้อยกว่า สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเนื่องจากใช้เวลาในการเผาสั้นกว่า
ราคาเตาในโครงการ และอัตราการประหยัดพลังงาน
ขนาดเตา ราคาในโครงการ เงินที่มูลนิธิฯ ผู้ร่วมโครงการจ่าย อัตราการประหยัด
(ลบม.) (บาท) สนับสนุน ร้อยละ 34 ร้อยละ 66 พลังงานโดยเฉลี่ย
1.0 350,000 119,000 231,000 45.65
1.5 450,000 153,000 297,000 Na.
2.5 650,000 221,000 429,000 45.88
4.0 800,000 272,000 528,000 52.00
5.5 หรือมากกว่า ราคาที่ผู้ซื้อขายตกลงกัน 289,000 ผลต่าง 44.22
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: ราคาเตาในโครงการเมื่อค่าเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย คิดเป็นการประหยัดแก๊สแอล พี จี เมื่อเทียบกับการใช้เตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ)
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) จะให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดีขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
4. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกจัดตั้งสมาคมเซรามิกแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำทางด้านวิชาการทางด้านเซรามิก แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ระหว่างโรงงานผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อการพัฒนาในอุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกประกอบด้วย
1. เตาเผา มีทั้งเตาเผาอิฐ และเตาเผาที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยเชื้อเพลิงที่ใช้มีทั้งน้ำมันเตา แก๊ส ไฟฟ้า ถ่านหิน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้และมีการส่งเสริมให้มีการใช้ในปัจจุบันได้แก่ประเภทที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน และนิยมนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
2. เครื่องผสมดินและส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน ส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ และในปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องผสมแป้งในอุตสาหกรรมขนมมาใช้ หรือมีการสั่งทำให้เหมาะสมกับความต้องการซึ่งจะมีระดับราคาไม่สูงนัก
3. เครื่องปั้น-ขึ้นรูป และเครื่องรีดดินให้เป็นแผ่นเพื่อความสะดวกในการนำไปขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในการประมาณการต้นทุนขั้นต้นสำหรับกรณีการลงทุนผลิตของชำร่วยที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 120 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 2 ล้านบาท
2.!ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง สามารถทำการผลิตโดยใช้เนื้อที่ประมาณ 100-150 ตารางวา หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 5,000- 10,000 บาทต่อเดือน แล้วแต่ทำเล และลักษณะพื้นที่โรงงานควรเป็นแบบโล่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้
3.!ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั้น มี 1 เครื่องขนาดเล็กราคาประมาณ 10,000 - 20,000 บาท เนื่องจากส่วนใหญ่ในการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกจะใช้ แบบซึ่งทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ซึ่งควรมีแบบละประมาณ 50 อัน โดยค่าจ้างทำแบบครั้งละประมาณ 3,000 บาท
3.2 เครื่องผสมดิน มีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ถึงกว่า 30,000 บาท แล้วแต่ขนาด และคุณสมบัติ บางครั้งอาจจะมีการจ้างทำเองตามความต้องการใช้งาน ในที่นี้จะใช้ขนาดราคาปานกลางจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงินประมาณ 5,000 - 10,000 บาท
3.3 เตาเผาเซรามิกโดยใช้แก๊ส หรือไฟฟ้า จำนวน 2 เตา ราคาเตาละ 350,000 บาท ถึงกว่า800,000 บาท แล้วแต่ขนาด ในกรณีนี้จะใช้ขนาด 2.5 ลบ.ม ราคาประมาณ 650,000 บาท (กรณีเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 429,000 บาท) โดยควรจะมีเตาแก๊ส 1 เตา(ประหยัดพลังงานกว่าเตาไฟฟ้า) และเตาไฟฟ้าจำนวน 1 เตา (สะดวกเนื่องจากไม่ต้องมีคนคอยควบคุมสามารถตั้งเวลาอัตโนมัติและสามารถเผาสีบนเคลือบได้) ซึ่งเตาไฟฟ้าอาจจะใช้ขนาดเล็กลงประมาณ 1.5 ลบ.ม เพื่อการประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามความต้องการใช้งานและกำลังการผลิต
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 400,000 -500,000 บาท
บุคลากร ของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ30-32 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 26-28 คน ประกอบด้วย
1.1!ช่างผสมดิน 1-2 คน
1.2!ช่างปั้น-หล่อแบบ 8 คน
1.3!ช่างตกแต่งและเขียนลาย 10 คน
1.4!พนักงานขับรถส่งของ 1 คน
1.5!พนักงานดูแลควบคุมเตาเผา 2 คน
1.6!ตกแต่งผลิตภัณฑ์และบรรจุของ 4-5 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไปและเสมียน อีกประมาณ 3-4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 1,445,000 บาทต่อปี
(กรณีการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 120 ตัน อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ
- ดินสำเร็จรูป 600,000 บาทต่อปี
- สารเคลือบ 540,000 บาทต่อปี
- สี 240,000 บาทต่อปี
- แบบ 35,000 บาทต่อปี
- บรรจุภัณฑ์ 30,000-50,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,550,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 360,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 527,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 15,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ (ใช้ในเตาเผา 1 เตา) 300,000 บาทต่อปี
- ค่าแก๊สที่ใช้ในเตาเผา (1 เตา) 150,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 20,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 42,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าจ้างทำบัญชี 70,000 บาทต่อปี
5.2 ค่าดูแลเครื่องจักร 15,000 บาทต่อปี
5.3 ดอกเบี้ยจ่าย - O/D 40,000 บาทต่อปี
5.4 ค่าใช้จ่ายทั่วไป-วัสดุสิ้นเปลือง 15,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20 - 25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 5-5.4 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้หากเป็นการผลิตเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิก เช่น กรอบรูป นาฬิกา ตุ๊กตารูปต่างๆหรือดอกไม้ ที่มีการปั้นและประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ในลักษณะ Hand-Made มักจะต้องใช้แรงงานฝีมือจำนวนมากขึ้นกว่าการผลิตในลักษณะใช้แม่พิมพ์หล่อแบบ และการผลิตเครื่องประดับตกแต่งประเภทนาฬิกา กรอบรูป ก็จะมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในส่วนของชิ้นส่วนประกอบต่างๆ เช่น เครื่องนาฬิกา แผ่นหลังกรอบรูป เป็นต้น รวมไปถึงต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ที่สูงกว่าของชำร่วย เครื่องประดับตกแต่งบางประเภทต้องมีการบรรจุแยกเป็นรายชิ้น และมีการใส่วัสดุกันกระแทกป้องกันการแตก-เสียหาย ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอย่างไรก็ตามขนาดเตาและต้นทุนด้านพลังงานที่ใช้อาจจะไม่สูงเท่าการผลิตแบบใช้การหล่อแบบซึ่งจะต้องมีการผลิตในปริมาณที่มาก เนื่องจากการผลิตโดยใช้ฝีมือแรงงานจะใช้เวลามากกว่า ทำให้ความถี่ในการเผาจะต่ำกว่า
ราคาซื้อขาย
ระดับราคามีหลากหลายขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ขนาด รูปแบบ ของแต่ละผลิตภัณฑ์
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 5: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท อินเตอร์ คลินส์ อินดัสตรีส์ จำกัด 59/24 ซ.85 ถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.
สมุทรสาคร โทร.811-0604-5
โรงกลึงสมศักดิ์ 516 หมู่ที่ 10 ต. ชมพู อ. เมือง จ. ลำปาง
โทร. (054) 346433-4
บริษัท ตรีมูรติ แอสโซซิเอทส์ แอนด์ คอร์ปอเรชั่น 15/432 ถ. สุขุมวิท ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง
จ. สมุทรปราการ โทร. 749-2822
บริษัท เซรามิก คอนซัลแทนท์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 251 ถ. เสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
โทร. 379-9677
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คินส์ แอนด์ อาร์ท 41/ 5 หมู่ที่ 9 ต. บางพระ อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
โทร. (038) 770-052
บริษัท ทีมเทคแอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 78/ 6 หมู่ที่ 1 ถ. รามอินทรา ต. ท่าแร้ง อ. บางเขน
กรุงเทพฯ โทร. 900-5524
บริษัท ไท่หงอี้ จำกัด 66/ 36 หมู่ที่ 13 ต. บางปะกง อ. ฉะเชิงเทรา
จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 834-110
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำปาง เชน เซอร์วิส หมู่ที่ 6 ต. ทุ่งงาม อ. เสริมงาม จ. ลำปาง
แอ็คมี่-อินเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 49 /1 สุขุมวิท 91 กรุงเทพฯ โทร. 332-2270-2
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมเกียรติซัพพลาย 71 อ่อนนุช 64 สวนหลวง กรุงเทพฯ
โทร.721-0425-6 , 721-0653-4
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: 8 รายแรก เป็นรายชื่อผู้สร้างเตาและผู้จำหน่ายเตาในโครงการส่งเสริมเตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งได้เป็น
วัตถุดิบ - ดินที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 สี และสารเคลือบ มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เถ้ากระดูกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 35
- เครื่องจักรและเตาเผา มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ไว้ คือ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทสโตนแวร์ ปอร์ซเลนโบนไชน่า โดยมีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท โดยจะเน้นให้การส่งเสริมสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต 2และ 3 (ถ้าตั้งอยู่ในเขต 1 จะต้องส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดขายทั้งสิ้น) และถ้าตั้งอยู่ในเขต 3 จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี เป็นต้น
4. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
ของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิก มักจะไม่จำเป็นต้องมีระบบคุณภาพมาตรฐานผู้ซื้อมักจะสนใจถึงรูปแบบและความสวยงาม ผลิตได้คุณภาพและมาตรฐานคงที่มากกว่า โดยอาจจะมีการใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน เช่นได้รับ มอก.485-2526 - เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับดินขาวที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.! หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร.253-7111)กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย.(โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047) เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุน ข้อมูลการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. อุตสาหกรรมเซรามิกรวมไปถึงการผลิตของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งทำด้วยเซรามิกนั้นมีโครงการส่งเสริมการใช้เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง ซึ่งบริหารงานและสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบัน
ประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย) (โทร.642-7090-6 ต่อ 211,220) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีกำหนดเวลาให้การส่งเสริม 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 และจากเดิมจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2542 แต่ได้ขยายระยะเวลาโครงการออกไปถึงประมาณเดือนกรกฎาคม 2543 โดยกองทุนฯจะให้เงินสนับสนุนในการสร้างหรือซื้อเตาในอัตราไม่เกินร้อยละ 34 ของราคาเตาซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและประหยัดพลังงาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถรับเงินสนับสนุนจากการสร้างหรือซื้อเตาได้รายละไม่เกิน 2 เตา นอกจากนี้ทางโครงการยังมีการส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ความสามารถในขบวนการเผาเซรามิกอย่างถูกวิธี และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยมีการจัดสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเซรามิกและผู้สร้างเตาที่ร่วมโครงการและผู้สนใจทั่วไปทั้งทางด้านการเตรียมวัตถุดิบ เทคนิคการควบคุมเตาเผาเซรามิก และการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง คือ เตาเผาเซรามิกที่บุผนังด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาไม่อมความร้อนและเป็นฉนวนที่กั้นความร้อนได้ดีทำให้ประหยัดพลังงานโดยเฉพาะแก๊สแอลพีจี ได้ประมาณร้อยละ 30-50 เมื่อเทียบกับเตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งความสม่ำเสมอของสีและมีของเสียน้อยกว่า สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเนื่องจากใช้เวลาในการเผาสั้นกว่า
ราคาเตาในโครงการ และอัตราการประหยัดพลังงาน
ขนาดเตา ราคาในโครงการ เงินที่มูลนิธิฯ ผู้ร่วมโครงการจ่าย อัตราการประหยัด
(ลบม.) (บาท) สนับสนุน ร้อยละ 34 ร้อยละ 66 พลังงานโดยเฉลี่ย
1.0 350,000 119,000 231,000 45.65
1.5 450,000 153,000 297,000 Na.
2.5 650,000 221,000 429,000 45.88
4.0 800,000 272,000 528,000 52.00
5.5 หรือมากกว่า ราคาที่ผู้ซื้อขายตกลงกัน 289,000 ผลต่าง 44.22
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: ราคาเตาในโครงการเมื่อค่าเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย คิดเป็นการประหยัดแก๊สแอล พี จี เมื่อเทียบกับการใช้เตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ)
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) จะให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดีขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
4. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกจัดตั้งสมาคมเซรามิกแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำทางด้านวิชาการทางด้านเซรามิก แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ระหว่างโรงงานผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อการพัฒนาในอุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--