แท็ก
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ตึกสันติไมตรี
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
ดอลลาร์สหรัฐ
สัญญาเงินกู้
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และสถาบันการเงินต่างประเทศอีก 64 แห่ง ระยะเวลา 5 ปีจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันพุธ ที่ 1 เมษายน 2541 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีลงนาม และ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นผู้ลงนามในสัญญาค้ำประกันเงินกู้ในนามรัฐบาลไทยในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้ นาย Mitsu Sato ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย เป็นผู้ลงนามในสัญญาค้ำประกันเงินกู้และสัญญาเงินกู้ในนามธนาคารพัฒนาเอเชียร่วมกับสถาบันการเงินเอกชนในตลาดการเงินต่างประเทศในฐานะผู้ให้กู้ และหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการ ธสน. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเงินกู้ในนาม ธสน. ในฐานะผู้กู้
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวถึงการกู้เงินในครั้งนี้ว่า เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้ ธสน. กู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคการส่งออก ซึ่งเงินกู้ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้จะเป็นเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินจากกลุ่มสถาบันการเงินต่างประเทศอีก 64 แห่ง จำนวน 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีธนาคารต่างประเทศชั้นนำ 10 แห่งเป็นผู้จัดหาเงินกู้ ได้แก่ ABN AMRO Bank N.V.,The Bank of Nova Scotia Asia Limited., The Bank of Tokyo-Misubishi Ltd., Banque Nationale de Paris, Singapore Branch, Barclays capital., Citicorp Investment Bank (Singapore) Limited, The Development Bank of Singapore, Ltd., DKB Asia Limited, The Industrial Bank of Japan, Limited และ Sakura Finance Asia Limited
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธสน. จะนำเงินจำนวนดังกล่าวปล่อยกู้ต่อแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ธนาคารพัฒนาเอเชียกำหนด โดยธนาคารพาณิชย์จะนำวงเงินที่ได้รับปล่อยกู้ต่อให้กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก และเพื่อใช้ในการรับซื้อตั๋วสินค้าออกทั้งที่มี L/C และไม่มี L/C คุ้มครอง ภายใต้ชื่อบริการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องเพื่อการส่งออก ดังนั้น ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออกสามารถขอใช้บริการได้ที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง
การกู้เงินจากตลาดการเงินระหว่างประเทศครั้งนี้เป็นการกู้จากตลาดการเงินต่างประเทศที่มีวงเงินสูงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยกู้มา ทั้งนี้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรวม 64 แห่งประกอบด้วยสถาบันการเงินและธนาคารภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ทวีปเอเซีย 16 แห่ง ทวีปยุโรป 37 แห่ง ประเทศญี่ปุ่น 7 แห่ง ทวีปอเมริกาเหนือ 3 แห่ง และประเทศอัฟริกาใต้ 1 แห่ง ได้แจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการเงินกู้ดังกล่าวภายใต้วงเงิน 1,425 ด้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสถาบันการเงินและธนาคารที่ยังไม่เคยมี Credit Line ให้แก่ประเทศไทยมาก่อน นับเป็นสัญญาณชี้ชัดถึงความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการขยายฐานการระดมทุนไปยังแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ และสร้าง Benchmark ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการระดมทุนจากตลาดการเงินระหว่างประเทศในอนาคตอีกด้วย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 4 ประจำเดือน เมษายน--
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวถึงการกู้เงินในครั้งนี้ว่า เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้ ธสน. กู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคการส่งออก ซึ่งเงินกู้ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้จะเป็นเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินจากกลุ่มสถาบันการเงินต่างประเทศอีก 64 แห่ง จำนวน 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีธนาคารต่างประเทศชั้นนำ 10 แห่งเป็นผู้จัดหาเงินกู้ ได้แก่ ABN AMRO Bank N.V.,The Bank of Nova Scotia Asia Limited., The Bank of Tokyo-Misubishi Ltd., Banque Nationale de Paris, Singapore Branch, Barclays capital., Citicorp Investment Bank (Singapore) Limited, The Development Bank of Singapore, Ltd., DKB Asia Limited, The Industrial Bank of Japan, Limited และ Sakura Finance Asia Limited
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธสน. จะนำเงินจำนวนดังกล่าวปล่อยกู้ต่อแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ธนาคารพัฒนาเอเชียกำหนด โดยธนาคารพาณิชย์จะนำวงเงินที่ได้รับปล่อยกู้ต่อให้กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออก และเพื่อใช้ในการรับซื้อตั๋วสินค้าออกทั้งที่มี L/C และไม่มี L/C คุ้มครอง ภายใต้ชื่อบริการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องเพื่อการส่งออก ดังนั้น ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าส่งออกสามารถขอใช้บริการได้ที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง
การกู้เงินจากตลาดการเงินระหว่างประเทศครั้งนี้เป็นการกู้จากตลาดการเงินต่างประเทศที่มีวงเงินสูงที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยกู้มา ทั้งนี้สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศรวม 64 แห่งประกอบด้วยสถาบันการเงินและธนาคารภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ทวีปเอเซีย 16 แห่ง ทวีปยุโรป 37 แห่ง ประเทศญี่ปุ่น 7 แห่ง ทวีปอเมริกาเหนือ 3 แห่ง และประเทศอัฟริกาใต้ 1 แห่ง ได้แจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการเงินกู้ดังกล่าวภายใต้วงเงิน 1,425 ด้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสถาบันการเงินและธนาคารที่ยังไม่เคยมี Credit Line ให้แก่ประเทศไทยมาก่อน นับเป็นสัญญาณชี้ชัดถึงความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นการขยายฐานการระดมทุนไปยังแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ และสร้าง Benchmark ให้กับภาคเอกชนที่ต้องการระดมทุนจากตลาดการเงินระหว่างประเทศในอนาคตอีกด้วย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 4 ประจำเดือน เมษายน--