สศข.5 เตือนเกษตรกรระงับการปลูกพืชฤดูแล้ง ปีเพาะปลูก 2548/49 พร้อมชะลอการปลูกพืชฤดูฝนปีหน้าออกไปก่อน เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำค่อนข้างจำกัด เกรงส่งผลต่อภาคการเกษตร แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคและบริโภค
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ของปริมาณน้ำฝนในจังหวัดว่า แม้ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเดือนที่มีฝนตกค่อนข้างชุกแทบตลอดทั้งเดือนก็ตาม แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกและได้ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำเขายายเที่ยง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำลำสำลาย อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ อ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ และอ่างเก็บน้ำห้วยเตย ซึ่งถือว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมา สามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณ 992.69 ล้านลูกบาศก์เมตร และในขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาวและฤดูเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปริมาณฝนตกเริ่มลดลง แต่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าว ที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตและชุมชนชาวเมืองนครราชสีมา ณ ปัจจุบันนี้ กลับเก็บกักน้ำได้ในปริมาณพียง 486.10 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 48.97 ของปริมาณความจุทั้งหมด นอกจากนี้ยังไม่นับรวมอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีกจำนวน 16 แห่ง ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด มีปริมาณเก็บกักน้ำได้เพียง 49.53 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30.45 ของความจุทั้งหมด
ดังนั้น ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่จะมาถึงระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึง มีนาคม 2549 ขอแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบ และระงับการปลูกพืชฤดูแล้งในช่วงดังกล่าว พร้อมชะลอการปลูกพืชฤดูฝนปีหน้าออกไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มีปริมาณค่อนข้างจำกัดคืออยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของปริมาณความจุทั้งหมด โดยเฉพาะในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ลำพระเพลิง และลำมูลบน ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก จึงไม่สามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรได้ แต่จะสามารถจัดสรรน้ำเพื่อการประปา อุตสาหกรรม บริโภคและอุปโภคได้อย่างเพียงพอเท่านั้น หากเกษตรกรยังคงยืนยันที่จะทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเช่นเดียวกับปีเพาะปลูกที่ผ่านมา คาดว่าพืชผลทางด้านการเกษตรอาจจะได้รับผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน จึงขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งจัดเตรียมหาภาชนะต่าง ๆ เพื่อรองรับและจัดเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็นและขาดแคลนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ของปริมาณน้ำฝนในจังหวัดว่า แม้ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเดือนที่มีฝนตกค่อนข้างชุกแทบตลอดทั้งเดือนก็ตาม แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกและได้ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำเขายายเที่ยง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำลำสำลาย อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ อ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ และอ่างเก็บน้ำห้วยเตย ซึ่งถือว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมา สามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณ 992.69 ล้านลูกบาศก์เมตร และในขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาวและฤดูเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปริมาณฝนตกเริ่มลดลง แต่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ดังกล่าว ที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตและชุมชนชาวเมืองนครราชสีมา ณ ปัจจุบันนี้ กลับเก็บกักน้ำได้ในปริมาณพียง 486.10 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 48.97 ของปริมาณความจุทั้งหมด นอกจากนี้ยังไม่นับรวมอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีกจำนวน 16 แห่ง ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด มีปริมาณเก็บกักน้ำได้เพียง 49.53 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30.45 ของความจุทั้งหมด
ดังนั้น ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่จะมาถึงระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึง มีนาคม 2549 ขอแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบ และระงับการปลูกพืชฤดูแล้งในช่วงดังกล่าว พร้อมชะลอการปลูกพืชฤดูฝนปีหน้าออกไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มีปริมาณค่อนข้างจำกัดคืออยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของปริมาณความจุทั้งหมด โดยเฉพาะในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ลำพระเพลิง และลำมูลบน ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก จึงไม่สามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรได้ แต่จะสามารถจัดสรรน้ำเพื่อการประปา อุตสาหกรรม บริโภคและอุปโภคได้อย่างเพียงพอเท่านั้น หากเกษตรกรยังคงยืนยันที่จะทำการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเช่นเดียวกับปีเพาะปลูกที่ผ่านมา คาดว่าพืชผลทางด้านการเกษตรอาจจะได้รับผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน จึงขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งจัดเตรียมหาภาชนะต่าง ๆ เพื่อรองรับและจัดเก็บน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็นและขาดแคลนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-