แท็ก
อาร์ ซี แอล
ย้อนหลังไป 20-30 ปีก่อน การดำเนินธุรกิจพาณิชย์นาวีในประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะของการเป็นตัวแทนเรือ ทำหน้าที่จัดหาสินค้าให้บริษัทเรือต่างประเทศที่เข้ามาให้บริการขนสินค้าในประเทศไปยังต่างประเทศ หลังจากนั้นรัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมให้คนไทยเป็นเจ้าของเรืออย่างจริงจัง
บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) บริษัทเดินเรือที่ดำเนินธุรกิจบริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลก็เริ่มเข้ามาในวงการเรือโดยผู้ก่อตั้งดำเนินธุรกิจด้วยการเริ่มจากการเป็นตัวแทนเรือต่างประเทศก่อน จากนั้นจึงหาลู่ทางที่จะยกระดับเป็นเจ้าของบริษัทเดินเรือ โดยมีคุณสุเมธ ตันธุวนิตย์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวขึ้นด้วยความอดทน มุมานะ จน ปัจจุบันมีกองเรือสินค้ารวม 30 กว่าลำ ระวางบรรทุกระหว่าง 5,000-20,000 เดดเวทตัน ซี่งทุกลำเป็นเรือที่ต่อขึ้นใหม่ทั้งสิ้น อู่ต่อเรือที่ติดต่อมี 3 แห่งด้วยกัน คืออู่ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีและสิงคโปร์
ขณะนี้ อาร์ ซี แอล เป็นบริษัทเดินเรือประเภทบรรทุกสินค้าแบบประจำเส้นทางเพียงบริษัทเดียวในประเทศที่ได้รับประกาศนียบัตรแนวปฏิบัติระหว่างประเทศด้านการจัดการความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ (ISM CODE) ซี่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดให้เรือเดินทะเลมีระบบควบคุมการเดินทางที่ดีปลอดภัย มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เข้าไปขนสินค้า และยังเป็นบริษัทเดินเรือแบบกำหนดเส้นทางประจำหรือที่เรียกว่า "แบบฟีดเดอร์" ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเส้นทางเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ เป็นหลัก ยังความภูมิใจให้กับคุณสุเมธและพนักงานในบริษัทอย่างยิ่ง
ในการประกอบธุรกิจเดินเรือ "ลูกเรือ" เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อเริ่มทำธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังมีปริมาณเรือไม่มากนัก อาร์ ซี แอล มีลูกเรือคนไทยทั้ง 100% แต่เมื่อกองเรือเริ่มขยายมากขึ้นทำให้ลูกเรือไทยมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องว่าจ้างชาวต่างชาติมาเสริม และมีจำนวนถึง 30% คุณสุเมธกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วจะพยายามจ้างคนไทยให้มากที่สุด แต่ก็มีคนไทยจำนวนหนึ่งที่เมื่อเรียนรู้งานได้ระดับหนึ่งแล้วก็จะลาออกไปสมัครงานกับเรือต่างประเทศเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ ทำให้บริษัทต้องสอนงานให้แก่พนักงานใหม่อยู่เสนอ แต่หากมองในแง่ดี บุคลากรที่ทำงานกับเรือต่างประเทศจะมีคามรู้กว้างขวางขึ้น ได้พัฒนาความรู้ความสามารถมากขึ้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่คนไทยต้องการเดินเรือทางไกลไปยังแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาประสบการณ์ของบุคคลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มาก
คุณสุเมธเปรียบธุรกิจพาณิชย์นาวีเหมือนกับการปลูกต้นสัก ต้องอาศัยทุนและเวลาสูงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์จากรัฐบาล และสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการต้องมีความอดทน เมื่อทีมงานถามถึงศักยภาพของกองเรือไทยในปัจจุบัน คุณสุเมธตอบว่า "ภาพรวมของกองเรือพาณิชย์นาวีไทยยังสู้กับกองเรือต่างชาติไม่ได้ เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศเรายังขาดประสบการณ์ที่กว้างไกลเช่นในประเทศอื่น ขาดบุคลากรที่ชำนาญงาน ถึงแม้จะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามสร้างบุคคลากรขึ้นมาแต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนจบหลายๆ คนกลับไม่ต้องการทำงานด้านเดินเรือ หรือเจ้าของเรือมีอยู่ไม่มากจึงหางานทำยาก มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องยุบแผนกพาณิชย์นาวีลงทำให้ขาดบุคลากรที่จะเข้ามาเรียนรู้อย่างจริงจัง นอกจากนั้นยังขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลในทางที่ถูก เช่น การกู้เงินจาก EXIM BANK ซึ่งดูเหมือนกับดอกเบี้ยถูกเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นในประเทศ แต่ก็ยังแพงกว่าที่ผู้ประกอบการด้านพาณิชย์นาวีในต่างประเทศกู้จากประเทศของเขา ผมก็ไม่สามารถไปบอก EXIM BANK ว่าคุณต้องขาดทุนเพื่อธุรกิจเรือ มันไม่ถูกต้อง ทุกคนต้องอยู่ในสถานะที่อยู่รอดได้ด้วยตัวเอง ก็คงจะต้องค่อยทำค่อยไป หลังจากที่เรือไทยเจริญเติบโตถึงระดับหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับของต่างชาติแล้ว เราอาจจะหาเงินกู้ที่ถูกกว่านี้ได้ แล้วหาคนเก่งเข้ามาทำงาน เราก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ"
สำหรับสถานการณ์ของกิจการพาณิชย์นาวีไทยในอนาคต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล ให้ความเห็นว่าหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว แต่ละประเทศจะเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางอุตสาหกรรมใหม่ จากแบบเดิมที่พยายามผลิตสินค้าหลายๆ ชนิดด้วยตนเองไปเป็นการผลิตในสิ่งที่ตนเองถนัด เช่น ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตอาหารก็จะมุ่งผลิตอาหารเพื่อส่งออก ใน ขณะที่อินโดนีเซียผลิตพลังงานได้ในราคาถูกก็มุ่งผลิตพลังงานขาย แล้วหันมาแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันมากขึ้น ส่งผลให้มีการขนส่งทางทะเลมากขึ้น กิจการพาณิชย์นาวีจะเติบโตขึ้นอีกมาก
สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำในขณะนี้คือ เตรียมปรับปรุงกฎหมายพาณิชย์นาวีเดิมทั้งหมดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อสนับสนุนให้กิจการของบริษัทเรือในประเทศไทยสามารถแข่งขันกับบริษัทเรือต่างชาติได้ รวมทั้งเร่งเพิ่มและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายตัวของกิจการพาณิชย์นาวีไทยในอนาคต
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 5 ประจำเดือน พฤษภาคม--
บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) บริษัทเดินเรือที่ดำเนินธุรกิจบริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลก็เริ่มเข้ามาในวงการเรือโดยผู้ก่อตั้งดำเนินธุรกิจด้วยการเริ่มจากการเป็นตัวแทนเรือต่างประเทศก่อน จากนั้นจึงหาลู่ทางที่จะยกระดับเป็นเจ้าของบริษัทเดินเรือ โดยมีคุณสุเมธ ตันธุวนิตย์ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวขึ้นด้วยความอดทน มุมานะ จน ปัจจุบันมีกองเรือสินค้ารวม 30 กว่าลำ ระวางบรรทุกระหว่าง 5,000-20,000 เดดเวทตัน ซี่งทุกลำเป็นเรือที่ต่อขึ้นใหม่ทั้งสิ้น อู่ต่อเรือที่ติดต่อมี 3 แห่งด้วยกัน คืออู่ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีและสิงคโปร์
ขณะนี้ อาร์ ซี แอล เป็นบริษัทเดินเรือประเภทบรรทุกสินค้าแบบประจำเส้นทางเพียงบริษัทเดียวในประเทศที่ได้รับประกาศนียบัตรแนวปฏิบัติระหว่างประเทศด้านการจัดการความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ (ISM CODE) ซี่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดให้เรือเดินทะเลมีระบบควบคุมการเดินทางที่ดีปลอดภัย มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศที่เข้าไปขนสินค้า และยังเป็นบริษัทเดินเรือแบบกำหนดเส้นทางประจำหรือที่เรียกว่า "แบบฟีดเดอร์" ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเส้นทางเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ เป็นหลัก ยังความภูมิใจให้กับคุณสุเมธและพนักงานในบริษัทอย่างยิ่ง
ในการประกอบธุรกิจเดินเรือ "ลูกเรือ" เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อเริ่มทำธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังมีปริมาณเรือไม่มากนัก อาร์ ซี แอล มีลูกเรือคนไทยทั้ง 100% แต่เมื่อกองเรือเริ่มขยายมากขึ้นทำให้ลูกเรือไทยมีไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องว่าจ้างชาวต่างชาติมาเสริม และมีจำนวนถึง 30% คุณสุเมธกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วจะพยายามจ้างคนไทยให้มากที่สุด แต่ก็มีคนไทยจำนวนหนึ่งที่เมื่อเรียนรู้งานได้ระดับหนึ่งแล้วก็จะลาออกไปสมัครงานกับเรือต่างประเทศเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ ทำให้บริษัทต้องสอนงานให้แก่พนักงานใหม่อยู่เสนอ แต่หากมองในแง่ดี บุคลากรที่ทำงานกับเรือต่างประเทศจะมีคามรู้กว้างขวางขึ้น ได้พัฒนาความรู้ความสามารถมากขึ้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่คนไทยต้องการเดินเรือทางไกลไปยังแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาประสบการณ์ของบุคคลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มาก
คุณสุเมธเปรียบธุรกิจพาณิชย์นาวีเหมือนกับการปลูกต้นสัก ต้องอาศัยทุนและเวลาสูงจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์จากรัฐบาล และสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการต้องมีความอดทน เมื่อทีมงานถามถึงศักยภาพของกองเรือไทยในปัจจุบัน คุณสุเมธตอบว่า "ภาพรวมของกองเรือพาณิชย์นาวีไทยยังสู้กับกองเรือต่างชาติไม่ได้ เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศเรายังขาดประสบการณ์ที่กว้างไกลเช่นในประเทศอื่น ขาดบุคลากรที่ชำนาญงาน ถึงแม้จะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งพยายามสร้างบุคคลากรขึ้นมาแต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนจบหลายๆ คนกลับไม่ต้องการทำงานด้านเดินเรือ หรือเจ้าของเรือมีอยู่ไม่มากจึงหางานทำยาก มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องยุบแผนกพาณิชย์นาวีลงทำให้ขาดบุคลากรที่จะเข้ามาเรียนรู้อย่างจริงจัง นอกจากนั้นยังขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลในทางที่ถูก เช่น การกู้เงินจาก EXIM BANK ซึ่งดูเหมือนกับดอกเบี้ยถูกเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นในประเทศ แต่ก็ยังแพงกว่าที่ผู้ประกอบการด้านพาณิชย์นาวีในต่างประเทศกู้จากประเทศของเขา ผมก็ไม่สามารถไปบอก EXIM BANK ว่าคุณต้องขาดทุนเพื่อธุรกิจเรือ มันไม่ถูกต้อง ทุกคนต้องอยู่ในสถานะที่อยู่รอดได้ด้วยตัวเอง ก็คงจะต้องค่อยทำค่อยไป หลังจากที่เรือไทยเจริญเติบโตถึงระดับหนึ่งจนเป็นที่ยอมรับของต่างชาติแล้ว เราอาจจะหาเงินกู้ที่ถูกกว่านี้ได้ แล้วหาคนเก่งเข้ามาทำงาน เราก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ"
สำหรับสถานการณ์ของกิจการพาณิชย์นาวีไทยในอนาคต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ ซี แอล ให้ความเห็นว่าหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกแล้ว แต่ละประเทศจะเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางอุตสาหกรรมใหม่ จากแบบเดิมที่พยายามผลิตสินค้าหลายๆ ชนิดด้วยตนเองไปเป็นการผลิตในสิ่งที่ตนเองถนัด เช่น ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตอาหารก็จะมุ่งผลิตอาหารเพื่อส่งออก ใน ขณะที่อินโดนีเซียผลิตพลังงานได้ในราคาถูกก็มุ่งผลิตพลังงานขาย แล้วหันมาแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันมากขึ้น ส่งผลให้มีการขนส่งทางทะเลมากขึ้น กิจการพาณิชย์นาวีจะเติบโตขึ้นอีกมาก
สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำในขณะนี้คือ เตรียมปรับปรุงกฎหมายพาณิชย์นาวีเดิมทั้งหมดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อสนับสนุนให้กิจการของบริษัทเรือในประเทศไทยสามารถแข่งขันกับบริษัทเรือต่างชาติได้ รวมทั้งเร่งเพิ่มและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายตัวของกิจการพาณิชย์นาวีไทยในอนาคต
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 4 ฉบับ 5 ประจำเดือน พฤษภาคม--