ความต้องการใช้
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,070 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.3 ล้านลิตร หรือ 643,655 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนน้ำมันเบนซิน, น้ำมันเตา, น้ำมันอากาศยาน และก๊าซแอลพีจี เป็นอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนการใช้ดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41.6 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 20.4 น้ำมันเตา ร้อยละ 20.2 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 8.8 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 8.4 โดยความต้องการใช้ภายในประเทศคิดเป็น ร้อยละ 85 ของน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- ลดลงจากเดือนก่อนวันละ 3.5 ล้านลิตร หรือ 22,015 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 6.4 โดยปริมาณการจำหน่ายให้ กฟผ.เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงถึงวันละ 2.6 ล้านลิตร
- ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนวันละ 4.1 ล้านลิตร หรือ 25,773 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 3.8
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนเมษายน 2542 ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยยอดจำหน่าย จำนวน 1,048 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 34.1 ส่วนเอสโซ่, เชลล์, คาลเท็กซ์ และบางจาก เป็นอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ โดยมียอดจำหน่าย 494, 420, 235 และ 211 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 16.1, 13.7, 7.6 และ 6.9 ตามลำดับ ส่วนผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มียอดจำหน่ายรวม 663 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.6
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบ ไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 565 ล้านลิตร โดยแยกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 481 ล้านลิตร เนื่องจาก ความต้องการใช้ภายในประเทศมีเพียงร้อยละ 85 ของน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งหมด ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศประมาณวันละ 16.1 ล้านลิตร ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปแถบเอเชีย ยกเว้น เจพี.1 ส่งไปยังออสเตรเลีย และน้ำมันเตาบางส่วนส่งไปซาอุดิอารเบีย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีก่อนจะเห็นว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 แต่ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 20.5
- น้ำมันองค์ประกอบ 18 ล้านลิตร
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 66 ล้านลิตร
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,627 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120.9 ล้านลิตร หรือ 760,535 บาร์เรล/วัน โดยมีสัดส่วนการผลิตดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 40.5 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22.7 น้ำมันเตา ร้อยละ 18.4 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9.2
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,427 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114.2 ล้านลิตร หรือ 718,556 บาร์เรล ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 114 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.2 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 97 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.8 ในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่นๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,712 ล้านลิตร หรือ 778,275 บาร์เรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 101 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,366 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 110 เมตริกตัน หรือร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 685 เมตริกตัน หรือร้อยละ 25.5
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 7 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 238 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนวันละ 70 เมตริกตัน หรือร้อยละ 37.3 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 106 เมตริกตัน หรือร้อยละ 80.3
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,969 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 132 ล้านลิตร หรือ 832,224 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 13,510 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน จำนวน 15 ล้านลิตร มูลค่า 82 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,793 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 126.4 ล้านลิตร หรือ 795,307 บาร์เรล/วัน มูลค่านำเข้า 12,897 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,152 14.09 83.1
ตะวันออกไกล 593 15.37 15.6
อื่น ๆ 48 16.86 1.3
รวม 3,793 14.33 100.0
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 2.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.0 มูลค่าการนำเข้าเพิ่ม 2,115 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เนื่องจากประการแรก ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ประการที่ 2 สัดส่วนการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกไกล ซึ่งน้ำมันดิบราคาแพงเพิ่มสูงขึ้น และประการสุดท้ายคือค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเล็กน้อย 37.62 บาท/เหรียญสหรัฐฯ เป็น 37.72 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนนี้
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 2.3 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 504 ล้านบาท ร้อยละ 4.2
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 176 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.9 ล้านลิตร หรือ 36,936 บาร์เรล/วัน มูลค่า 613 ล้านบาท โดยมีน้ำมันเตาเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 56.4 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42.5 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 0.9 ตามลำดับ
- เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนวันละ 1.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 19.8 มูลค่าเพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 32.3
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 24.8 มูลค่าเพิ่มขึ้น 63 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11.4
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - เมษายน 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 12,139 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.2 ล้านลิตร หรือ 636,259 บาร์เรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 3.1
1.2 การส่งออก ปริมาณ 2,278 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.0 ล้านลิตร หรือ 119,405 บาร์เรล/วัน โดยเป็นน้ำมันเบนซินร้อยละ 31.3 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 30.4 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 18.9 น้ำมันเตาร้อยละ 9.8 เจพี.1 ร้อยละ 7.0 และน้ำมันอื่นๆ ร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 5.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 42.9
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 14,572 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121.4 ล้านลิตรหรือ 763,820 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 8.4 หรือร้อยละ 7.5 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวม 14,106 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.6 ล้านลิตร หรือ 739,396 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 6.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 6.0
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 466 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 3.9 ล้านลิตร หรือ 24,424 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 89.7
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 13,657 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.8 ล้านลิตร หรือ 715,846 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 38,649 ล้านบาท โดยนำเข้าจากตะวันออกกลางร้อยละ 82.1 ตะวันออกไกล ร้อยละ 14.4 และจากแหล่งอื่นๆ อีกร้อยละ 3.4 ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนวันละ 3.9 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3.6 มูลค่าการนำเข้าลดลง 13,321 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.6
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,070 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.3 ล้านลิตร หรือ 643,655 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนน้ำมันเบนซิน, น้ำมันเตา, น้ำมันอากาศยาน และก๊าซแอลพีจี เป็นอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ ซึ่งมีสัดส่วนการใช้ดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 41.6 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 20.4 น้ำมันเตา ร้อยละ 20.2 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 8.8 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 8.4 โดยความต้องการใช้ภายในประเทศคิดเป็น ร้อยละ 85 ของน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- ลดลงจากเดือนก่อนวันละ 3.5 ล้านลิตร หรือ 22,015 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 6.4 โดยปริมาณการจำหน่ายให้ กฟผ.เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงถึงวันละ 2.6 ล้านลิตร
- ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนวันละ 4.1 ล้านลิตร หรือ 25,773 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 3.8
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนเมษายน 2542 ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยยอดจำหน่าย จำนวน 1,048 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 34.1 ส่วนเอสโซ่, เชลล์, คาลเท็กซ์ และบางจาก เป็นอันดับ 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ โดยมียอดจำหน่าย 494, 420, 235 และ 211 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 16.1, 13.7, 7.6 และ 6.9 ตามลำดับ ส่วนผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มียอดจำหน่ายรวม 663 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.6
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบ ไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 565 ล้านลิตร โดยแยกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 481 ล้านลิตร เนื่องจาก ความต้องการใช้ภายในประเทศมีเพียงร้อยละ 85 ของน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งหมด ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศประมาณวันละ 16.1 ล้านลิตร ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปแถบเอเชีย ยกเว้น เจพี.1 ส่งไปยังออสเตรเลีย และน้ำมันเตาบางส่วนส่งไปซาอุดิอารเบีย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีก่อนจะเห็นว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.2 แต่ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 20.5
- น้ำมันองค์ประกอบ 18 ล้านลิตร
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 66 ล้านลิตร
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,627 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 120.9 ล้านลิตร หรือ 760,535 บาร์เรล/วัน โดยมีสัดส่วนการผลิตดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 40.5 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22.7 น้ำมันเตา ร้อยละ 18.4 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 9.2
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,427 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114.2 ล้านลิตร หรือ 718,556 บาร์เรล ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 114 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.2 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 97 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.8 ในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่นๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,712 ล้านลิตร หรือ 778,275 บาร์เรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 101 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,366 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 110 เมตริกตัน หรือร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 685 เมตริกตัน หรือร้อยละ 25.5
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 7 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 238 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนวันละ 70 เมตริกตัน หรือร้อยละ 37.3 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 106 เมตริกตัน หรือร้อยละ 80.3
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,969 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 132 ล้านลิตร หรือ 832,224 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 13,510 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน จำนวน 15 ล้านลิตร มูลค่า 82 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,793 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 126.4 ล้านลิตร หรือ 795,307 บาร์เรล/วัน มูลค่านำเข้า 12,897 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 3,152 14.09 83.1
ตะวันออกไกล 593 15.37 15.6
อื่น ๆ 48 16.86 1.3
รวม 3,793 14.33 100.0
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 2.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.0 มูลค่าการนำเข้าเพิ่ม 2,115 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เนื่องจากประการแรก ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ประการที่ 2 สัดส่วนการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกไกล ซึ่งน้ำมันดิบราคาแพงเพิ่มสูงขึ้น และประการสุดท้ายคือค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเล็กน้อย 37.62 บาท/เหรียญสหรัฐฯ เป็น 37.72 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนนี้
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 2.3 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 504 ล้านบาท ร้อยละ 4.2
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 176 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.9 ล้านลิตร หรือ 36,936 บาร์เรล/วัน มูลค่า 613 ล้านบาท โดยมีน้ำมันเตาเป็นอันดับ 1 ร้อยละ 56.4 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 42.5 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 0.9 ตามลำดับ
- เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนวันละ 1.2 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 19.8 มูลค่าเพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 32.3
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.2 ล้านลิตร หรือร้อยละ 24.8 มูลค่าเพิ่มขึ้น 63 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11.4
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - เมษายน 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 12,139 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.2 ล้านลิตร หรือ 636,259 บาร์เรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 3.1
1.2 การส่งออก ปริมาณ 2,278 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.0 ล้านลิตร หรือ 119,405 บาร์เรล/วัน โดยเป็นน้ำมันเบนซินร้อยละ 31.3 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 30.4 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 18.9 น้ำมันเตาร้อยละ 9.8 เจพี.1 ร้อยละ 7.0 และน้ำมันอื่นๆ ร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 5.7 ล้านลิตร หรือร้อยละ 42.9
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 14,572 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121.4 ล้านลิตรหรือ 763,820 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 8.4 หรือร้อยละ 7.5 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวม 14,106 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.6 ล้านลิตร หรือ 739,396 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 6.7 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 6.0
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 466 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 3.9 ล้านลิตร หรือ 24,424 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 89.7
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 13,657 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113.8 ล้านลิตร หรือ 715,846 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 38,649 ล้านบาท โดยนำเข้าจากตะวันออกกลางร้อยละ 82.1 ตะวันออกไกล ร้อยละ 14.4 และจากแหล่งอื่นๆ อีกร้อยละ 3.4 ปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนวันละ 3.9 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3.6 มูลค่าการนำเข้าลดลง 13,321 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.6
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--