วันนี้(30 มิ.ย.48) ที่อาคารัฐสภา ม.ล.อภิมลคล โสณกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหาภาคว่า ต้องยอมรับว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 มองพื้นฐานเศรษฐกิจ ยังเป็นขาขึ้น ดูได้จากการกำหนดผลิตภัณฑ์มวลรวมว่ามีการขยายตัว 4.5-5.5 % หรือจะเป็นสมมติฐานราคาน้ำมันว่า 14 ดอลลาร์ ต่อบาเรลโดยเฉลี่ย
ม.ล.อภิมลคล หล่าวอภิปรายต่อว่า การจัดงบประมาณรายจ่ายบนพื้นฐานเศรษฐกิจเช่นนี้ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะที่ผ่านมา มีตัวอย่างให้เห็นในงบประมาณฉบับก่อนๆ ที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับร้อยละ 6 แต่ในไตรมาศ4 ของปีนี้เศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน อัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ 5.3 และในไตรมาศ 1 ของปีนี้จะเห็นว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างฉับพลัน โดยที่มีการเจริญเติบโตเพียงร้อยละ 3.3
เหตุผลที่ตนหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย เพราะเห็นว่าการจัดงบประมาณเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือยบนพื้นฐานที่คาดเอาว่าเศรษฐกิจจะดีตลอดไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้เสียภาษีเป็นอย่างมาก ในช่วง1 ปีที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่าย ทั้งผู้ค้าขาย นิติบุคคล หรือประชาชนทั่วไป เพราะเป็นปีมีการเรียกเก็บภาษีสูงเป็นประวัติการ ซึ่งตนไม่อยากเห็นความไม่เป็นธรรมเช่นนี้เกิดขึ้นในปีต่อไป เนื่องจากว่ารัฐได้จัดสรรงบประมาณการรายจ่ายไว้เกินตัว
ส.ส.กทม. กล่าวอภิปรายในเรื่องภัยแล้งในนิคมอุตสาหกรรม ว่าในงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลฉบับปัจจุบันมีการลงในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ กว่า 1.77 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ ได้กระจายอยู่ในงบประมาณ โดยที่ยังไม่สามารถหาได้ โดยยังไม่มีโครงการใดที่จะเข้าไปช่วยเหลือภัยแล้งในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นงบประมาณของนิคมอุตสาหกรรม ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานี้อย่างไร พร้อมกันนี้ถึงแม้งบกลาง จะสามารถนำไปใช้ได้ ก็ยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุน หรือผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
เหตุผลที่ตนนำประเด็นนี้มาอภิปรายเพราะว่า1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นว่าข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวว่ากรมชลประทาน ได้รายงานว่าอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งหลักในภาคตะวันออก เกิดปัญหาน้ำใกล้หมด ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความกังวลมาก ซึ่งทางการนิคมอุตสาหกรรม ได้ประสานงานไปยังบริษัท และอุตสาหกรรม ต่างๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 110 ราย ให้มีการลดการใช้น้ำลง ทั้งที่งบประมาณตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการเข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ พร้อมกันนี้นายกฯยังออกมาประกาศว่าไม่มีปัญหาใดๆ ผู้ผลิตก็ทำในส่วนผู้ผลิต ก็จบไป
‘ขอนำเอกสารของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่แสดงความจำเป็นที่ต้องลงกำลังผลิตลง 40 % เพราะหากไม่ทำเช่นนั้นน้ำในระบบนิคมอุตสาหกรรมจะหมดไป ปัญหาที่เกิดตามมาคือผู้ประกอบการ ได้ประมาณการไว้ว่าหากมีการหยุดดำเนินของนิคมอุตสาหกรรมระยะเวลา 3 เดือน จะมีมูลค่าความเสียหาย 360,000 ล้านบาท นี่คือความเสียหายสืบเนื่องมากจากการบริหารงบประมาณของรัฐบาลที่ผิดพลาด’ส.ส.กทม.กล่าว
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหา โดยจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะ เช้นที่เคยมีตัวอย่างให้เห็นว่ากรณี บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยที่ผ่านมามีการพลักดันเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2544 อย่างชัดเจน โดยกระทรวงพลังงงานไม่ได้ติดตามอย่างละเอียด จึงไม่ได้ติดต่อให้มีการวางท่อก็ซเส้นที่ 3 ในอ่าวไทยในเวลานั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามีก๊าซในอ่าวไทยที่ใช้ได้ในราคาเหมาะสม แต่ไม่มีท่อก๊าซที่จะส่งไปยังโรงไฟฟ้า ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าในปีนี้ จึงมีการใช้น้ำมันเตาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.1 เป็น ร้อยละ 8 และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้มีการนำเข้าน้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตแล้วต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตไฟฟ้า จากน้ำมันเตา ประมาณ 2.20 บาท ต้นทุนจากก๊าซธรรมชาติ 1.36 บาท เฉพาะปี48 มีค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นประมาณ 13,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนี้ เป็นผลกดดันให้กับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ เป็นแรงกดดันในธุรกิจระยะสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก
กรณีของนิคมอุตสาหกรรมก็เช่นกัน เมื่อมีผู้ประกอบการออกมาเรียกร้อง ออกมาทำการาจัดการบริหารน้ำเอง แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสำคัญ และยังไม่มีความชัดเจน ว่าจะนำงบประมาณปี 2549 ไปแก้ไขอย่างไร ไม่ว่าเป็นปฏิบัติการฝนเทียม การผันน้ำแหล่งนำเอื่นเข้ามช่วยอุตสาหกรรมไทย ตรงนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบ เพราะหากนิคมอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลง มูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศนั้นจำนวนมหาศาล
และยังจะส่งผลกระทบในอนาตคต คือนักลงทุนที่จะไม่กล้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องสร้างความชัดเจน ในการจัดสรรงบประมาณ ในการบริหารเงิน ว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาในนิคมอุตสาหกรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--
ม.ล.อภิมลคล หล่าวอภิปรายต่อว่า การจัดงบประมาณรายจ่ายบนพื้นฐานเศรษฐกิจเช่นนี้ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะที่ผ่านมา มีตัวอย่างให้เห็นในงบประมาณฉบับก่อนๆ ที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับร้อยละ 6 แต่ในไตรมาศ4 ของปีนี้เศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างชัดเจน อัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ 5.3 และในไตรมาศ 1 ของปีนี้จะเห็นว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างฉับพลัน โดยที่มีการเจริญเติบโตเพียงร้อยละ 3.3
เหตุผลที่ตนหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย เพราะเห็นว่าการจัดงบประมาณเป็นไปอย่างฟุ่มเฟือยบนพื้นฐานที่คาดเอาว่าเศรษฐกิจจะดีตลอดไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้เสียภาษีเป็นอย่างมาก ในช่วง1 ปีที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่าย ทั้งผู้ค้าขาย นิติบุคคล หรือประชาชนทั่วไป เพราะเป็นปีมีการเรียกเก็บภาษีสูงเป็นประวัติการ ซึ่งตนไม่อยากเห็นความไม่เป็นธรรมเช่นนี้เกิดขึ้นในปีต่อไป เนื่องจากว่ารัฐได้จัดสรรงบประมาณการรายจ่ายไว้เกินตัว
ส.ส.กทม. กล่าวอภิปรายในเรื่องภัยแล้งในนิคมอุตสาหกรรม ว่าในงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลฉบับปัจจุบันมีการลงในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ กว่า 1.77 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ ได้กระจายอยู่ในงบประมาณ โดยที่ยังไม่สามารถหาได้ โดยยังไม่มีโครงการใดที่จะเข้าไปช่วยเหลือภัยแล้งในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นงบประมาณของนิคมอุตสาหกรรม ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหานี้อย่างไร พร้อมกันนี้ถึงแม้งบกลาง จะสามารถนำไปใช้ได้ ก็ยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับนักลงทุน หรือผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
เหตุผลที่ตนนำประเด็นนี้มาอภิปรายเพราะว่า1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นว่าข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวว่ากรมชลประทาน ได้รายงานว่าอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งหลักในภาคตะวันออก เกิดปัญหาน้ำใกล้หมด ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความกังวลมาก ซึ่งทางการนิคมอุตสาหกรรม ได้ประสานงานไปยังบริษัท และอุตสาหกรรม ต่างๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 110 ราย ให้มีการลดการใช้น้ำลง ทั้งที่งบประมาณตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนในการเข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ พร้อมกันนี้นายกฯยังออกมาประกาศว่าไม่มีปัญหาใดๆ ผู้ผลิตก็ทำในส่วนผู้ผลิต ก็จบไป
‘ขอนำเอกสารของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่แสดงความจำเป็นที่ต้องลงกำลังผลิตลง 40 % เพราะหากไม่ทำเช่นนั้นน้ำในระบบนิคมอุตสาหกรรมจะหมดไป ปัญหาที่เกิดตามมาคือผู้ประกอบการ ได้ประมาณการไว้ว่าหากมีการหยุดดำเนินของนิคมอุตสาหกรรมระยะเวลา 3 เดือน จะมีมูลค่าความเสียหาย 360,000 ล้านบาท นี่คือความเสียหายสืบเนื่องมากจากการบริหารงบประมาณของรัฐบาลที่ผิดพลาด’ส.ส.กทม.กล่าว
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลไม่เร่งแก้ปัญหา โดยจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะ เช้นที่เคยมีตัวอย่างให้เห็นว่ากรณี บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยที่ผ่านมามีการพลักดันเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2544 อย่างชัดเจน โดยกระทรวงพลังงงานไม่ได้ติดตามอย่างละเอียด จึงไม่ได้ติดต่อให้มีการวางท่อก็ซเส้นที่ 3 ในอ่าวไทยในเวลานั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามีก๊าซในอ่าวไทยที่ใช้ได้ในราคาเหมาะสม แต่ไม่มีท่อก๊าซที่จะส่งไปยังโรงไฟฟ้า ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าในปีนี้ จึงมีการใช้น้ำมันเตาในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.1 เป็น ร้อยละ 8 และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้มีการนำเข้าน้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตแล้วต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตไฟฟ้า จากน้ำมันเตา ประมาณ 2.20 บาท ต้นทุนจากก๊าซธรรมชาติ 1.36 บาท เฉพาะปี48 มีค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นประมาณ 13,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนี้ เป็นผลกดดันให้กับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ เป็นแรงกดดันในธุรกิจระยะสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก
กรณีของนิคมอุตสาหกรรมก็เช่นกัน เมื่อมีผู้ประกอบการออกมาเรียกร้อง ออกมาทำการาจัดการบริหารน้ำเอง แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสำคัญ และยังไม่มีความชัดเจน ว่าจะนำงบประมาณปี 2549 ไปแก้ไขอย่างไร ไม่ว่าเป็นปฏิบัติการฝนเทียม การผันน้ำแหล่งนำเอื่นเข้ามช่วยอุตสาหกรรมไทย ตรงนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาให้รอบคอบ เพราะหากนิคมอุตสาหกรรมต้องปิดตัวลง มูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศนั้นจำนวนมหาศาล
และยังจะส่งผลกระทบในอนาตคต คือนักลงทุนที่จะไม่กล้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องสร้างความชัดเจน ในการจัดสรรงบประมาณ ในการบริหารเงิน ว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหาในนิคมอุตสาหกรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--