1. สถานการณ์การผลิต
โรคเรืองแสงในกุ้งเพราะอากาศร้อนระบาดในภาคใต้
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ แจ้งว่า ขณะนี้การเลี้ยงกุ้งที่ จังหวัดตรัง โดยเฉพาะที่กันตังและปะเหลียน ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 13,000 ไร่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อำเภอปากพนัง หัวไทร และอำเภอระโนต จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 60,000 ไร่ กำลังประสบปัญหาโรคเรืองแสงระบาดในกุ้ง ซึ่งเกิดจากภาวะอากาศร้อนและไม่มีน้ำฝนมาชะล้างความเค็มของน้ำในบ่อ ทำให้กุ้งกินอาหารน้อยลง ลอกคราบช้า และมีแสงเรืองข้างลำตัว ทั้งนี้ หลายบ่อในพื้นที่กันตัง และปะเหลียน ภาวะการเกิดโรครุนแรงมาก ทำให้กุ้งตายเป็นจำนวนมาก โอกาสรอดมีเพียงร้อยละ 50 ชาวนากุ้งต้องรีบจับกุ้งขาย แม้จะได้ขนาดกุ้ง 50-60 ตัว/กิโลกรัม ก็ตาม
ทางด้านผู้จำหน่ายอาหารกุ้งและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดตรัง ก็ได้ รับผลกระทบเช่นกัน โดยยอดจำหน่ายลดลงกว่าร้อยละ 60 อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลังจากฝนตกลงมาเกษตรกรจะทำการเลี้ยงกันมากขึ้น และกุ้งจะมีโอกาสรอดสูงขึ้นด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22-30 เม.ย. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,772.42 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,500.80 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,271.62 ตัน ประกอบด้วยสัตวน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.87 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 16.10 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.70 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 499.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 94.73 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
การส่งออกกุ้งของไทย 2 เดือนแรกของปี 41 เพิ่มจากปีก่อน
สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้ 39 ประเทศ รวมทั้งไทยส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐได้ โดยระบุว่ามี 16 ประเทศ ที่มีการติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเลออกจากอวนลากกุ้งหรือเท็ดส์ ที่จะช่วยป้องกันเต่าทะเลไม่ให้เป็นอันตราย โดยประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนอีก 23 ประเทศ ใช้อุปกรณ์จับกุ้งที่ไม่เป็นอันตราย ต่อเต่าทะเลแล้ว สำหรับกรณีที่องค์การค้าโลก ได้ตัดสินให้สหรัฐละเมิดกติกาการค้าเสรีเนื่องจากเพิกถอนสิทธิส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐ ขณะนี้สหรัฐยังไม่อุธรณ์แต่ประการใด
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541 ประเทศไทยส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งได้ ปริมาณ 23,112 ตัน มูลค่า 12,046.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ส่งออกได้ 19,324 ตัน มูลค่า 5,088.46 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.60 และ 136.74 ตามลำดับ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
21.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวกับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 335.00 บาท สูงขึ้นจาก 330.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 572.00 บาท สูงขึ้นจาก 562.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.79 บาท ลดลงจาก 18.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.75 บาท สูงขึ้นจาก 34.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.61 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ลดลงจาก 65.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.62 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 17.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 11-17 พ.ค. 2541--
โรคเรืองแสงในกุ้งเพราะอากาศร้อนระบาดในภาคใต้
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ แจ้งว่า ขณะนี้การเลี้ยงกุ้งที่ จังหวัดตรัง โดยเฉพาะที่กันตังและปะเหลียน ซึ่งมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 13,000 ไร่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อำเภอปากพนัง หัวไทร และอำเภอระโนต จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งประมาณ 60,000 ไร่ กำลังประสบปัญหาโรคเรืองแสงระบาดในกุ้ง ซึ่งเกิดจากภาวะอากาศร้อนและไม่มีน้ำฝนมาชะล้างความเค็มของน้ำในบ่อ ทำให้กุ้งกินอาหารน้อยลง ลอกคราบช้า และมีแสงเรืองข้างลำตัว ทั้งนี้ หลายบ่อในพื้นที่กันตัง และปะเหลียน ภาวะการเกิดโรครุนแรงมาก ทำให้กุ้งตายเป็นจำนวนมาก โอกาสรอดมีเพียงร้อยละ 50 ชาวนากุ้งต้องรีบจับกุ้งขาย แม้จะได้ขนาดกุ้ง 50-60 ตัว/กิโลกรัม ก็ตาม
ทางด้านผู้จำหน่ายอาหารกุ้งและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดตรัง ก็ได้ รับผลกระทบเช่นกัน โดยยอดจำหน่ายลดลงกว่าร้อยละ 60 อย่างไรก็ตาม คาดว่าหลังจากฝนตกลงมาเกษตรกรจะทำการเลี้ยงกันมากขึ้น และกุ้งจะมีโอกาสรอดสูงขึ้นด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22-30 เม.ย. 41) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,772.42 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,500.80 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,271.62 ตัน ประกอบด้วยสัตวน้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 14.87 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 16.10 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.70 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 499.28 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 94.73 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
การส่งออกกุ้งของไทย 2 เดือนแรกของปี 41 เพิ่มจากปีก่อน
สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้ 39 ประเทศ รวมทั้งไทยส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐได้ โดยระบุว่ามี 16 ประเทศ ที่มีการติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเลออกจากอวนลากกุ้งหรือเท็ดส์ ที่จะช่วยป้องกันเต่าทะเลไม่ให้เป็นอันตราย โดยประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนอีก 23 ประเทศ ใช้อุปกรณ์จับกุ้งที่ไม่เป็นอันตราย ต่อเต่าทะเลแล้ว สำหรับกรณีที่องค์การค้าโลก ได้ตัดสินให้สหรัฐละเมิดกติกาการค้าเสรีเนื่องจากเพิกถอนสิทธิส่งออกกุ้งเข้าสหรัฐ ขณะนี้สหรัฐยังไม่อุธรณ์แต่ประการใด
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2541 ประเทศไทยส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งได้ ปริมาณ 23,112 ตัน มูลค่า 12,046.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่ส่งออกได้ 19,324 ตัน มูลค่า 5,088.46 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.60 และ 136.74 ตามลำดับ
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
21.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ทรงตัวกับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 335.00 บาท สูงขึ้นจาก 330.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 572.00 บาท สูงขึ้นจาก 562.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.79 บาท ลดลงจาก 18.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.75 บาท สูงขึ้นจาก 34.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.61 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ลดลงจาก 65.62 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.62 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 17.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 11-17 พ.ค. 2541--