วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2548) นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ต้อนรับคณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา ซึ่งนำโดยนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมคณะ จำนวน 19 คน ณ ห้องประชุม 201 กระทรวงการคลัง เวลา 13.30 น. ซึ่งกระทรวงการคลังได้รายงานให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบว่า ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 61 แห่ง ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ปรากฎยอดสินทรัพย์รวมจำนวน 5.52 ล้านล้านบาท หนี้เงินกู้รวมจำนวน 0.99 ล้านล้านบาท รายได้รวมจำนวน 1.12 ล้านล้านบาท (ไม่รวมข้อมูลของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดและ บริษัท ส่งเสริมธุรกิจเกษตรกรไทย จำกัด)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ยกระดับการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีพลัง
พลิกฟื้นรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนและแก้ไขปัญหาทางการเงิน โดยมีเป้าหมายให้
EBITDA เป็นบวกภายใน 3-5 ปี ดำเนินการแยกรายได้และค่าใช้จ่ายเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม
สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมให้แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการโดยการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการ (Directors’Pool) และสร้างกระบวนการสรรหาผู้บริหารตามระบบของเอกชนเพื่อให้ได้บุคลากรที่เป็น มืออาชีพ
2. ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลและสภาพแวดล้อม
จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจและ
หลักทรัพย์ของรัฐแทนกระทรวงการคลัง รวมทั้งเป็นเครื่องมือของรัฐในการลงทุนในกิจการที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
พัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
พัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เป็นให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของกระทรวงการคลังใช้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
จัดตั้งองค์กรกำกับดูแล โดยกระทรวงการคลังจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดองค์กรกำกับดูแลรายสาขาตามโครงสร้างอุตสาหกรรม
3. สร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ กระทรวงเจ้าสังกัด และประชาชน
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน และกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน กระทรวงการคลัง จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ และลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีกำไรสูงขึ้น ทั้งนี้ จะนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินสำหรับใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และสังคมได้มากขึ้น
สำหรับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้กำหนดบทบาทให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศตามขอบเขตของภารกิจ โดยมีโครงการสำคัญๆ เช่น โครงการธนาคารประชาชน โครงการบ้านเอื้ออาทร การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ SME และส่งเสริมผู้ส่งออก เป็นต้น
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (SFI-Special Financial Institution)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 100/2548 10 พฤศจิกายน 48--
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดแนวทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ สรุปได้ดังนี้
1. ยกระดับการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีพลัง
พลิกฟื้นรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนและแก้ไขปัญหาทางการเงิน โดยมีเป้าหมายให้
EBITDA เป็นบวกภายใน 3-5 ปี ดำเนินการแยกรายได้และค่าใช้จ่ายเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม
สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมให้แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการโดยการจัดทำบัญชีรายชื่อกรรมการ (Directors’Pool) และสร้างกระบวนการสรรหาผู้บริหารตามระบบของเอกชนเพื่อให้ได้บุคลากรที่เป็น มืออาชีพ
2. ปรับโครงสร้างการกำกับดูแลและสภาพแวดล้อม
จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจและ
หลักทรัพย์ของรัฐแทนกระทรวงการคลัง รวมทั้งเป็นเครื่องมือของรัฐในการลงทุนในกิจการที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
พัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
พัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เป็นให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของกระทรวงการคลังใช้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
จัดตั้งองค์กรกำกับดูแล โดยกระทรวงการคลังจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดองค์กรกำกับดูแลรายสาขาตามโครงสร้างอุตสาหกรรม
3. สร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ กระทรวงเจ้าสังกัด และประชาชน
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน และกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน กระทรวงการคลัง จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ และลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีกำไรสูงขึ้น ทั้งนี้ จะนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินสำหรับใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และสังคมได้มากขึ้น
สำหรับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้กำหนดบทบาทให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศตามขอบเขตของภารกิจ โดยมีโครงการสำคัญๆ เช่น โครงการธนาคารประชาชน โครงการบ้านเอื้ออาทร การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการ SME และส่งเสริมผู้ส่งออก เป็นต้น
รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง
รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (SFI-Special Financial Institution)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 100/2548 10 พฤศจิกายน 48--