กรุงเทพ--25 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2541 มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยอ่าวไทยของ SEAPOL ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจาก CIDA (Canadian International Development Agency) โดยมีผู้แทนจากประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ UNEP IOC/WESTPAC, SEAFDEC และนักวิชาการจากประเทศสวีเดน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร และแคนาดา เข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเชิงวิชาการ มีสาระสำคัญและผลสรุปใน 4 ประการ ดังนี้
1. เห็นควรให้มีการร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของทุกประเทศในอ่าวไทยเพื่อทำการวิจัยทางทะเล เช่น การสำรวจและประเมินทรัพยากรที่มีชีวิต และเห็นควรให้มีการติดต่อระหว่างกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กับผู้ตัดสินใจทางการเมืองในประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น
2. เห็นควรให้มีการแก้ไขปัญหาการลดลงของทรัพยากรปลาในอ่าวไทยซึ่งเกิดจากการทำประมงเกินกว่าที่ควร อันเนื่องจากการเพิ่มปริมาณการจับปลาและเพิ่มความสามารถในการจับปลา มลภาวะทางทะเล และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้นที่มีผลต่อการทำลายพื้นที่เพาะพันธุ์และพื้นที่อยู่อาศัยของปลาบริเวณขอบฝั่ง ที่ประชุมจึงเห็นพ้องว่า ความร่วมมือใด ๆ ในเรื่องนี้ ควรดำเนินไปบนพื้นฐานของกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เรียกร้องให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีกองเรือประมงใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยมีบทบาทนำในการแก้ไไขปํญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้พยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจับสัตว์น้ำของชาวประมง อีกทั้งได้พยายามเสริมร้างและฟื้นฟูทรัพยากรโดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวไทยให้มีมากขึ้นอยู่แล้ว
3. เตรียมการแก้ปัญหาอุทกภัยซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการที่น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับสูงขึ้นในอนาคต โดยการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการวางแผนป้องกันด้วยการวางผังเมือง
4. เห็นควรให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในอ่าวไทยให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับความร่วมมือของประเทศชายฝั่งทะเลในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น The Mediterranean Action Plan ค.ศ. 1989, The Helsinki Commission (HELCOM) ค.ศ. 1974, The International Baltic Sea Fishery Commission (BISFC) เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2541 มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยอ่าวไทยของ SEAPOL ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจาก CIDA (Canadian International Development Agency) โดยมีผู้แทนจากประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ UNEP IOC/WESTPAC, SEAFDEC และนักวิชาการจากประเทศสวีเดน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร และแคนาดา เข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมเชิงวิชาการ มีสาระสำคัญและผลสรุปใน 4 ประการ ดังนี้
1. เห็นควรให้มีการร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ของทุกประเทศในอ่าวไทยเพื่อทำการวิจัยทางทะเล เช่น การสำรวจและประเมินทรัพยากรที่มีชีวิต และเห็นควรให้มีการติดต่อระหว่างกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กับผู้ตัดสินใจทางการเมืองในประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น
2. เห็นควรให้มีการแก้ไขปัญหาการลดลงของทรัพยากรปลาในอ่าวไทยซึ่งเกิดจากการทำประมงเกินกว่าที่ควร อันเนื่องจากการเพิ่มปริมาณการจับปลาและเพิ่มความสามารถในการจับปลา มลภาวะทางทะเล และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้นที่มีผลต่อการทำลายพื้นที่เพาะพันธุ์และพื้นที่อยู่อาศัยของปลาบริเวณขอบฝั่ง ที่ประชุมจึงเห็นพ้องว่า ความร่วมมือใด ๆ ในเรื่องนี้ ควรดำเนินไปบนพื้นฐานของกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เรียกร้องให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีกองเรือประมงใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยมีบทบาทนำในการแก้ไไขปํญหาดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทยก็ได้พยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจับสัตว์น้ำของชาวประมง อีกทั้งได้พยายามเสริมร้างและฟื้นฟูทรัพยากรโดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวไทยให้มีมากขึ้นอยู่แล้ว
3. เตรียมการแก้ปัญหาอุทกภัยซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการที่น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับสูงขึ้นในอนาคต โดยการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการวางแผนป้องกันด้วยการวางผังเมือง
4. เห็นควรให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในอ่าวไทยให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับความร่วมมือของประเทศชายฝั่งทะเลในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น The Mediterranean Action Plan ค.ศ. 1989, The Helsinki Commission (HELCOM) ค.ศ. 1974, The International Baltic Sea Fishery Commission (BISFC) เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--