กรุงเทพ--16 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (16 ก.พ.) ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เรื่องผลการเยือนเบลเยี่ยม ออสเตรีย ฝรั่งเศส และซาอุดิอาระเบีย ภายหลังจากเดินทางถึงประเทศไทย สรุปได้ดังนี้
1. การเยือนเบลเยี่ยม ออสเตรีย และ ฝรั่งเศส
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า เบลเยี่ยม ออสเตรีย และ ฝรั่งเศสได้แสดงความมั่นใจว่าประเทศไทยจะรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ในเวลาไม่ช้านี้ และจากการที่ประเทศไทยได้ผ่าน พ.ร.บ. ล้มละลาย ทำให้ทุกฝ่ายชื่นชม ยินดีว่าจะนำไปสู่การที่บริษัท นักธุรกิจ และนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค การปรับปรุงสถาบันการเงินด้วย
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวถึงความพยายามของฝ่ายไทยที่จะขอให้สหภาพยุโรป (EU) ทบทวนระบบ GSP ในปลายปีนี้ แทนที่จะต้องรออีก 1 ปี เนื่องจากการตัด GSP สินค้าเกษตรส่งผลกระทบต่อไทยอย่างมาก ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบรับด้วยดี โดยประเทศทั้งสามรับที่จะนำไปหารือกับสมาชิก สหภาพยุโรปประเทศอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการเสนอให้ใช้กลไกต่างๆ ของ EU ในการเสริมสร้างการพัฒนาสินค้า การยกระดับคุณภาพการแปรรูปสินค้าเกษตรของไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
ส่วนประเด็นเรื่องการสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ของ ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งสามประเทศมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ดร. ศุภชัยฯ มีคุณสมบัติเหนือผู้สมัครรายอื่นๆ ทั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องความ จำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาควรเข้ามามีบทบาทในตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ WTO เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนา และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกที่ว่าจะเป็นการชี้นำโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการที่ควรจะได้มีการผลักดันให้กระบวนการเลือกผู้อำนวยการใหญ่ WTO เสร็จสิ้นลงโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้มี ผู้สมัครรายที่ 5 เกิดขึ้น ซึ่งทั้งสามประเทศรับที่จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือกับประเทศสมาชิก EU และเพื่อให้เกิดเสียงเอกฉันท์ใน EU ต่อไป
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ ดร. ศุภชัยฯ มีคะแนนเสียงนำผู้สมัครรายอื่นๆ และคาดว่าจะทราบผลการเลือกตั้งในเร็ววันนี้
2. การเยือนซาอุดิอาระเบีย
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ในการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียครั้งนี้ ได้เดินทางในฐานะผู้นำฮัจย์อย่างเป็นทางการของประเทศไทย โดยได้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเตรียมการเรื่องพิธีฮัจย์ อย่างไรก็ตามในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่หลายระดับของทางการซาอุดิอาระเบีย เพื่อหารือเกี่ยวกับลู่ทางการขยายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ทางการซาอุฯ ยินดีที่จะให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ กลับสู่สภาพปกติดังเดิม อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ทางการไทยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการลอบสังหารนักการทูตซาอุฯ ทั้งนี้ ฝ่ายซาอุฯ ยินดีที่จะให้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมหากได้รับการร้องขอ ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้ทางฝ่ายซาอุฯ ทราบถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วง ตั้งแต่ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่แล้ว และรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันก็มิได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้ทางการซาอุฯ ทราบถึงความต้องการที่จะให้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และแรงงานระดับสูง (แรงงานฝีมือ) ซึ่งยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานของซาอุฯ อยู่
ในระหว่างการเยือนซาอุฯ ครั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้เข้าพบกับประธาน Islamic Development Bank (IDB) ด้วย โดย IDB ได้แสดงความสนใจเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจภาคใต้ ฮาลาลฟู้ด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ IDB จะได้จัดส่งคณะผู้แทนเยือนไทยในโอกาสต่อไป ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า IDB จะเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ไทยอาจพิจารณาขอความร่วมมือ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ ทั้งนี้ จะได้มีการหารือในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศต่อไป--จบ--
วันนี้ (16 ก.พ.) ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานกรุงเทพ เรื่องผลการเยือนเบลเยี่ยม ออสเตรีย ฝรั่งเศส และซาอุดิอาระเบีย ภายหลังจากเดินทางถึงประเทศไทย สรุปได้ดังนี้
1. การเยือนเบลเยี่ยม ออสเตรีย และ ฝรั่งเศส
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า เบลเยี่ยม ออสเตรีย และ ฝรั่งเศสได้แสดงความมั่นใจว่าประเทศไทยจะรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ในเวลาไม่ช้านี้ และจากการที่ประเทศไทยได้ผ่าน พ.ร.บ. ล้มละลาย ทำให้ทุกฝ่ายชื่นชม ยินดีว่าจะนำไปสู่การที่บริษัท นักธุรกิจ และนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค การปรับปรุงสถาบันการเงินด้วย
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้กล่าวถึงความพยายามของฝ่ายไทยที่จะขอให้สหภาพยุโรป (EU) ทบทวนระบบ GSP ในปลายปีนี้ แทนที่จะต้องรออีก 1 ปี เนื่องจากการตัด GSP สินค้าเกษตรส่งผลกระทบต่อไทยอย่างมาก ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบรับด้วยดี โดยประเทศทั้งสามรับที่จะนำไปหารือกับสมาชิก สหภาพยุโรปประเทศอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการเสนอให้ใช้กลไกต่างๆ ของ EU ในการเสริมสร้างการพัฒนาสินค้า การยกระดับคุณภาพการแปรรูปสินค้าเกษตรของไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
ส่วนประเด็นเรื่องการสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ของ ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งสามประเทศมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ดร. ศุภชัยฯ มีคุณสมบัติเหนือผู้สมัครรายอื่นๆ ทั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องความ จำเป็นที่ประเทศกำลังพัฒนาควรเข้ามามีบทบาทในตำแหน่ง ผู้อำนวยการใหญ่ WTO เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่มาจากประเทศกำลังพัฒนา และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความรู้สึกที่ว่าจะเป็นการชี้นำโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการที่ควรจะได้มีการผลักดันให้กระบวนการเลือกผู้อำนวยการใหญ่ WTO เสร็จสิ้นลงโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้มี ผู้สมัครรายที่ 5 เกิดขึ้น ซึ่งทั้งสามประเทศรับที่จะนำประเด็นดังกล่าวเข้าหารือกับประเทศสมาชิก EU และเพื่อให้เกิดเสียงเอกฉันท์ใน EU ต่อไป
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ ดร. ศุภชัยฯ มีคะแนนเสียงนำผู้สมัครรายอื่นๆ และคาดว่าจะทราบผลการเลือกตั้งในเร็ววันนี้
2. การเยือนซาอุดิอาระเบีย
ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ในการเดินทางเยือนซาอุดิอาระเบียครั้งนี้ ได้เดินทางในฐานะผู้นำฮัจย์อย่างเป็นทางการของประเทศไทย โดยได้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเตรียมการเรื่องพิธีฮัจย์ อย่างไรก็ตามในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่หลายระดับของทางการซาอุดิอาระเบีย เพื่อหารือเกี่ยวกับลู่ทางการขยายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า ทางการซาอุฯ ยินดีที่จะให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ กลับสู่สภาพปกติดังเดิม อย่างไรก็ตาม ต้องการให้ทางการไทยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการลอบสังหารนักการทูตซาอุฯ ทั้งนี้ ฝ่ายซาอุฯ ยินดีที่จะให้ข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมหากได้รับการร้องขอ ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้ทางฝ่ายซาอุฯ ทราบถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วง ตั้งแต่ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่แล้ว และรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันก็มิได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้ทางการซาอุฯ ทราบถึงความต้องการที่จะให้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และแรงงานระดับสูง (แรงงานฝีมือ) ซึ่งยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานของซาอุฯ อยู่
ในระหว่างการเยือนซาอุฯ ครั้งนี้ ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ ได้เข้าพบกับประธาน Islamic Development Bank (IDB) ด้วย โดย IDB ได้แสดงความสนใจเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจภาคใต้ ฮาลาลฟู้ด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ IDB จะได้จัดส่งคณะผู้แทนเยือนไทยในโอกาสต่อไป ซึ่ง ฯพณฯ นายสุรินทร์ฯ กล่าวว่า IDB จะเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ไทยอาจพิจารณาขอความร่วมมือ โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ ทั้งนี้ จะได้มีการหารือในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศต่อไป--จบ--