แท็ก
สุกร
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายยังทรงตัวเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก แต่ก็มีอัตราลดลงจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้เงินคชก.ช่วยเหลือในการเพิ่มความต้องการบริโภค โดยการจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูกซึ่งช่วยเหลือผู้เลี้ยงได้ในระดับหนึ่ง คาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้หรือถ้าจะลดต่ำลงเนื่องจากผลผลิตที่ยังมีปริมาณมากก็คงจะลดลงไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม ได้มีการหารือเพื่อหามาตรการแก้ปัญหาราคาสุกรตกต่ำของกลุ่มผู้เลี้ยงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่กรมการค้าภายใน ผลจากการหารือสรุปได้ว่า 1) จะดำเนินการนำสุกรมาชำแหละขายในราคา 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาทต่อไป แต่จะควบคุมให้เป็นสุกรที่มีคุณภาพดีและจะควบคุมเขียงธงฟ้าให้ขายปลีกในราคาที่กำหนด เขียงที่ขายเกินราคาให้ดำเนินการริบธงฟ้า2) ลดปริมาณผลผลิตโดยชำแหละสุกรขุนผ่าซีก แล้วเก็บในห้องเย็นและนำออกจำหน่ายหรือส่งโรงงานแปรรูปในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป 3) เร่งระบายสุกรทั้งที่มีชีวิตและสุกรชำแหละลงสู่ภาคใต้ให้มากขึ้นโดยอาจพิจารณายกเลิกโควตาชั่วคราว ทั้งนี้ได้มอบเรื่องนี้ให้กรมปศุสัตว์รับไปพิจารณาโดยด่วนแล้ว 4) จัดหาเงินทุนหมุนเวียน เป็นสินเชื่อให้แก่ผู้เลี้ยงเพื่อชะลอการเร่งระบายสุกรขุนออกสู่ตลาดก่อนกำหนด เพราะขณะนี้ฟาร์มเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ อยู่ในภาวะที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงต้องเร่งขายสุกร ทำให้มีสุกรออกสู่ตลาดมากขึ้น 5) สำหรับมาตรการตัดวงจร โดยการคัดเลือกแม่พันธุ์ส่งโรงฆ่าและนำลูกสุกรมาเป็นสุกรหันนั้นจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการเมื่อใช้มาตรการอื่นแล้วไม่ได้ผล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุกรขาดแคลนและมีราคาแพงในอนาคต
สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินการทั้งหมด กรมการค้าภายในจะได้จัดทำโครงการเสนอคชก.เพื่อขอใช้งบเร่งด่วนต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.93 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 31.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.54 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.24 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 450 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 300 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาในสัปดาห์นี้ยังคงปรับเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ แม้ว่าผลผลิตไก่เนื้อจะทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการก็ยังคงมีมากโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดในประเทศค่อนข้างแจ่มใส คาดว่าราคาจะทรงตัวไปจนถึงปรับเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 28.85 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.47 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ30.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.24 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.99 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.05 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 9 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรับละ 37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.71
ไข่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไข่ไก่
ราคาไข่ไก่ยังค่อนข้างทรงตัวและอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ขณะเดียวกันความต้องการเลี้ยงก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งนอกจากราคาที่ดีแล้ว การให้เงินคชก.ช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่จูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 161 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 162 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 162 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 167 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 156 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ169 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี อยู่ที่ตัวละ 16 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 14 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.28
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 164 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 190 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 196 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 172 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 24.83 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 14.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.43 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.28
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 24-30 พ.ย. 2540--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายยังทรงตัวเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก แต่ก็มีอัตราลดลงจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้เงินคชก.ช่วยเหลือในการเพิ่มความต้องการบริโภค โดยการจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูกซึ่งช่วยเหลือผู้เลี้ยงได้ในระดับหนึ่ง คาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้หรือถ้าจะลดต่ำลงเนื่องจากผลผลิตที่ยังมีปริมาณมากก็คงจะลดลงไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม ได้มีการหารือเพื่อหามาตรการแก้ปัญหาราคาสุกรตกต่ำของกลุ่มผู้เลี้ยงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่กรมการค้าภายใน ผลจากการหารือสรุปได้ว่า 1) จะดำเนินการนำสุกรมาชำแหละขายในราคา 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาทต่อไป แต่จะควบคุมให้เป็นสุกรที่มีคุณภาพดีและจะควบคุมเขียงธงฟ้าให้ขายปลีกในราคาที่กำหนด เขียงที่ขายเกินราคาให้ดำเนินการริบธงฟ้า2) ลดปริมาณผลผลิตโดยชำแหละสุกรขุนผ่าซีก แล้วเก็บในห้องเย็นและนำออกจำหน่ายหรือส่งโรงงานแปรรูปในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป 3) เร่งระบายสุกรทั้งที่มีชีวิตและสุกรชำแหละลงสู่ภาคใต้ให้มากขึ้นโดยอาจพิจารณายกเลิกโควตาชั่วคราว ทั้งนี้ได้มอบเรื่องนี้ให้กรมปศุสัตว์รับไปพิจารณาโดยด่วนแล้ว 4) จัดหาเงินทุนหมุนเวียน เป็นสินเชื่อให้แก่ผู้เลี้ยงเพื่อชะลอการเร่งระบายสุกรขุนออกสู่ตลาดก่อนกำหนด เพราะขณะนี้ฟาร์มเลี้ยงสุกรโดยเฉพาะฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ อยู่ในภาวะที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงต้องเร่งขายสุกร ทำให้มีสุกรออกสู่ตลาดมากขึ้น 5) สำหรับมาตรการตัดวงจร โดยการคัดเลือกแม่พันธุ์ส่งโรงฆ่าและนำลูกสุกรมาเป็นสุกรหันนั้นจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการเมื่อใช้มาตรการอื่นแล้วไม่ได้ผล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุกรขาดแคลนและมีราคาแพงในอนาคต
สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินการทั้งหมด กรมการค้าภายในจะได้จัดทำโครงการเสนอคชก.เพื่อขอใช้งบเร่งด่วนต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.93 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 31.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.54 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.24 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 450 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 300 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.90 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาในสัปดาห์นี้ยังคงปรับเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ แม้ว่าผลผลิตไก่เนื้อจะทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการก็ยังคงมีมากโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดในประเทศค่อนข้างแจ่มใส คาดว่าราคาจะทรงตัวไปจนถึงปรับเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 28.85 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.47 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ30.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 27.24 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.99 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.05 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 9 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.45 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรับละ 37 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.71
ไข่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไข่ไก่
ราคาไข่ไก่ยังค่อนข้างทรงตัวและอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ขณะเดียวกันความต้องการเลี้ยงก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งนอกจากราคาที่ดีแล้ว การให้เงินคชก.ช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่จูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 161 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 162 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 162 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 167 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 156 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ169 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี อยู่ที่ตัวละ 16 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 14 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.28
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 164 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 190 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 193 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 196 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 172 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 24.83 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 14.77 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.43 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.28
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 24-30 พ.ย. 2540--