ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ปี 48 จะเกินเป้าหมาย 7 หมื่น ล.บาท แหล่งข่าวจาก ก.
คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประเมินการจัดเก็บรายได้จากกรมภาษีทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพ
สามิต และกรมศุลกากร คาดว่าในปี 48 งปม.จะเกินเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 7 หมื่น ล.บาท จากวงเงิน งปม.ที่
กำหนดไว้เดิม 1.2 ล้านล้านบาท โดยกรมสรรพากรจะเก็บภาษีได้เกินเป้า 1 แสน ล.บาท กรมสรรพสามิตต่ำกว่า
เป้า 3 หมื่น ล.บาท และกรมศุลกากรเกินเป้า 6 พัน ล.บาท ส่วนการส่งรายได้หน่วยงานอื่นจากกรมธนารักษ์และ
รัฐวิสาหกิจจะสูงกว่าเป้าประมาณ 2 หมื่น ล.บาท (โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธพ.ในช่วงครึ่งหลังปี 48 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น กรรมการผู้
จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธพ.ว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี หาก ธพ.
ทั้งระบบสามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมีเม็ดเงินสินเชื่อปล่อยใหม่สุทธิ 1.5 แสน ล.บาท อาจ
ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น รวมทั้งดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งเป็นฐานเงินฝากที่ใหญ่ที่สุดของ ธพ. หรือมีสัดส่วน
ประมาณ 75% ของฐานเงินฝากทั้งหมด ปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 0.50-1.00% และส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้นใน
อัตราที่เท่ากัน ทั้งนี้ สภาพตลาดเงินภายในประเทศขณะนี้ เงินฝากมีการไหลออกจาก ธพ.ไทยขนาดใหญ่เป็น
ระยะๆ ไปยังสาขา ธพ.ต่างชาติ หรือ ธพ.ขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ผ่านการลง
ทุนในกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า ส่วนความต้องการสินเชื่อในตลาดเงินยังคงมีต่อเนื่องตาม
การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบลดลง (กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะขยายตัวในระดับสูงกว่า 5% รายงานข่าว
จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลัง
ปี 48 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงกว่า 5% จากการปรับฐานของราคาพลังงานและการปล่อยให้ราคาน้ำมันค้า
ปลีกลอยตัว ซึ่งจะเป็นผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่ 4.3-4.8% นอกจากนี้ เพื่อควบ
คุมระดับราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราผลตอบแทนจากการออมของประชาชนสูง
ขึ้น คาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกอย่างต่ำ
0.5% (ข่าวสด)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ขณะนี้ทีมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอแนวคิดการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ซึ่งจะเป็นการ
ระดมเงินออมจากประชาชนเข้ามายังกองทุนดังกล่าว เพื่อนำเงินที่ได้ไปลงทุนในหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ ก.คลังถือหุ้น
อยู่แล้ว และในหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากทีมที่
ปรึกษา รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการวางกรอบวงเงินเบื้องต้นของกองทุนวายุภักษ์ 2 โดยมีวงเงินประมาณ
1.2 แสน ล.บาท (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจและภาวะการเงิน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) และคณะกรรมาธิการการเงินกล่าวว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก ภาวะการ
เงินที่ตึงตัวได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ผู้ดำเนินนโยบายการเงิน
ของ IMF กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าช่องว่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านั้น IMF ได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวยังคงขยายตัวได้ดีทั้งปีนี้
และปีหน้าโดยจะขยายตัวสูงกว่าสถิติสูงสุดร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม IMF เสริมว่าผู้ส่งออกน้ำมัน บริษัทน้ำมันและ
ผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมเพื่อให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพ รวมทั้งเรียกร้องให้ลงทุนในพลังงานทางเลือกให้มากขึ้น ซึ่ง
IMF จะเตรียมพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยากจนจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันที่
เพิ่มขึ้นสูงมาก และเมื่อเร็วๆนี้ IMF เห็นด้วยกับมาตรการในการดำเนินการกับความไม่สมดุลทางการค้าและการลง
ทุนของโลกรวมทั้งเห็นว่าต้องดำเนินการให้มีความคืบหน้าต่อไป (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีสร้าง
ความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone จะสูงขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.
ย.48 ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ 4 ใน 6 รัฐของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.6
และ 0.9 ต่อปีจากเดือนก่อน ทำให้อัตราเงินเฟ้อของทั้ง 4 รัฐของเยอรมนีอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี โดย
เฉพาะรัฐ Saxony ที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี โดยหากเทียบต่อเดือนแล้ว อัตราเงินเฟ้อ
ของทั้ง 4 รัฐนี้เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.3 และ 0.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.48 จากเดือนก่อน โดยเป็นผล
จากราคาน้ำมัน, บุหรี่, เสื้อผ้าและรองเท้าที่สูงขึ้น ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอีก 2 รัฐที่เหลือจะประกาศ
ในวันที่ 26 ก.ย.48 นี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของ 4 รัฐในเยอรมนีสอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี หลังจากคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปีใน
เดือน ส.ค.48 ซึ่งสูงกว่าเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB กำหนดไว้ให้ใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ
2.0 ต่อปี โดยก่อนหน้านี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ก.ย.48 โดยอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีไม่เคยถึงร้อยละ
2.1 ต่อปีนับตั้งแต่เริ่มใช้เงินสกุลยูโรเมื่อต้นปี 45 โดยครั้งสุดท้ายที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.3
ต่อปีคือเดือน มิ.ย.44 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 6.4 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 26 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
การผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +6.4 จากระดับ —2.4 ในไตรมาส 2 ปี 48
และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นระดับ +11.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และระดับ +9.0 สำหรับไตรมาสแรกปี 49 ซึ่ง
เป็นมุมมองที่ยืนยันว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความต้องการในประเทศที่แข็งแกร่งและภาวะการส่งออกที่
สูงขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก HSBC Securities กล่าวเพิ่มเติมว่า นักธุรกิจกลับมามีความเชื่อมั่นเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้นในเดือน ส.ค.48 หลังจากที่ชะลอตัวเมื่อเดือน ก.ค. รวมทั้ง
ตลาดหุ้นโตเกียวก็พุ่งทะยานสูงขึ้นด้วย สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่โดยรวมในไตรมาส
3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +9.7 จากระดับ +0.9 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของผู้ประกอบการนอกภาค
อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +11.6 จากระดับ +2.9 ในไตรมาสก่อน อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาวะธุรกิจได้จากการนำร้อยละของธุรกิจที่เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะดีขึ้นหักออกจากที่เชื่อมั่นว่าจะเลว
ร้ายลง เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางจีนคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 9.2 รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศ
จีน เมื่อวันที่ 25 ก.ย.48 ธ.กลางจีนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 9.2 ในปีนี้ และจะขยายตัว
ร้อยละ 8.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 ทั้งนี้ ข้อมูลเทียบต่อปีชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลง โดยจีดีพีขยายตัว
ร้อยละ 9.5 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งรัฐจะต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง
ขึ้น และป้องกันการลดลงอย่างต่อเนื่องของดัชนีราคาผู้บริโภคในภาพรวม ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเริ่มชะลอตัว
ลงนับตั้งแต่เดือน มี.ค. โดยมีสาเหตุหลักจากราคาอาหารที่ลดลงอย่างรุนแรง ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง และ
มีการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาลที่จะชะลอการขยายตัวของ
เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปนับตั้งแต่ปลายปีก่อน ด้านนักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่ว่า มาตรการเข้ม
งวดหลายอย่างที่รัฐบาลนำออกมาใช้เพื่อควบคุมเศรษฐกิจไม่ให้เติบโตร้อนแรงเกินไป อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ลง รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจหดตัวภายในปี 2551 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ย. 48 23 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.074 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8748/41.1632 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38333 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 725.31/ 15.85 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,000/9,100 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 57.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ปี 48 จะเกินเป้าหมาย 7 หมื่น ล.บาท แหล่งข่าวจาก ก.
คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประเมินการจัดเก็บรายได้จากกรมภาษีทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพ
สามิต และกรมศุลกากร คาดว่าในปี 48 งปม.จะเกินเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 7 หมื่น ล.บาท จากวงเงิน งปม.ที่
กำหนดไว้เดิม 1.2 ล้านล้านบาท โดยกรมสรรพากรจะเก็บภาษีได้เกินเป้า 1 แสน ล.บาท กรมสรรพสามิตต่ำกว่า
เป้า 3 หมื่น ล.บาท และกรมศุลกากรเกินเป้า 6 พัน ล.บาท ส่วนการส่งรายได้หน่วยงานอื่นจากกรมธนารักษ์และ
รัฐวิสาหกิจจะสูงกว่าเป้าประมาณ 2 หมื่น ล.บาท (โพสต์ทูเดย์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธพ.ในช่วงครึ่งหลังปี 48 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น กรรมการผู้
จัดการใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระบบ ธพ.ว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี หาก ธพ.
ทั้งระบบสามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมีเม็ดเงินสินเชื่อปล่อยใหม่สุทธิ 1.5 แสน ล.บาท อาจ
ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น รวมทั้งดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งเป็นฐานเงินฝากที่ใหญ่ที่สุดของ ธพ. หรือมีสัดส่วน
ประมาณ 75% ของฐานเงินฝากทั้งหมด ปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 0.50-1.00% และส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ปรับเพิ่มขึ้นใน
อัตราที่เท่ากัน ทั้งนี้ สภาพตลาดเงินภายในประเทศขณะนี้ เงินฝากมีการไหลออกจาก ธพ.ไทยขนาดใหญ่เป็น
ระยะๆ ไปยังสาขา ธพ.ต่างชาติ หรือ ธพ.ขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ผ่านการลง
ทุนในกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า ส่วนความต้องการสินเชื่อในตลาดเงินยังคงมีต่อเนื่องตาม
การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบลดลง (กรุงเทพธุรกิจ)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะขยายตัวในระดับสูงกว่า 5% รายงานข่าว
จากฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลัง
ปี 48 มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงกว่า 5% จากการปรับฐานของราคาพลังงานและการปล่อยให้ราคาน้ำมันค้า
ปลีกลอยตัว ซึ่งจะเป็นผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่ 4.3-4.8% นอกจากนี้ เพื่อควบ
คุมระดับราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราผลตอบแทนจากการออมของประชาชนสูง
ขึ้น คาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วัน ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีกอย่างต่ำ
0.5% (ข่าวสด)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ขณะนี้ทีมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอแนวคิดการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 ซึ่งจะเป็นการ
ระดมเงินออมจากประชาชนเข้ามายังกองทุนดังกล่าว เพื่อนำเงินที่ได้ไปลงทุนในหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ ก.คลังถือหุ้น
อยู่แล้ว และในหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากทีมที่
ปรึกษา รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการวางกรอบวงเงินเบื้องต้นของกองทุนวายุภักษ์ 2 โดยมีวงเงินประมาณ
1.2 แสน ล.บาท (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความไม่สมดุลของ
เศรษฐกิจและภาวะการเงิน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 48 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) และคณะกรรมาธิการการเงินกล่าวว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก ภาวะการ
เงินที่ตึงตัวได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ผู้ดำเนินนโยบายการเงิน
ของ IMF กล่าวว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าช่องว่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
จะเพิ่มขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านั้น IMF ได้คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวยังคงขยายตัวได้ดีทั้งปีนี้
และปีหน้าโดยจะขยายตัวสูงกว่าสถิติสูงสุดร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม IMF เสริมว่าผู้ส่งออกน้ำมัน บริษัทน้ำมันและ
ผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมเพื่อให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพ รวมทั้งเรียกร้องให้ลงทุนในพลังงานทางเลือกให้มากขึ้น ซึ่ง
IMF จะเตรียมพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยากจนจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันที่
เพิ่มขึ้นสูงมาก และเมื่อเร็วๆนี้ IMF เห็นด้วยกับมาตรการในการดำเนินการกับความไม่สมดุลทางการค้าและการลง
ทุนของโลกรวมทั้งเห็นว่าต้องดำเนินการให้มีความคืบหน้าต่อไป (รอยเตอร์)
2. ตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีสร้าง
ความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone จะสูงขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.
ย.48 ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ 4 ใน 6 รัฐของเยอรมนีในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.6
และ 0.9 ต่อปีจากเดือนก่อน ทำให้อัตราเงินเฟ้อของทั้ง 4 รัฐของเยอรมนีอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี โดย
เฉพาะรัฐ Saxony ที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี โดยหากเทียบต่อเดือนแล้ว อัตราเงินเฟ้อ
ของทั้ง 4 รัฐนี้เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.3 และ 0.6 ต่อเดือนในเดือน ก.ย.48 จากเดือนก่อน โดยเป็นผล
จากราคาน้ำมัน, บุหรี่, เสื้อผ้าและรองเท้าที่สูงขึ้น ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของอีก 2 รัฐที่เหลือจะประกาศ
ในวันที่ 26 ก.ย.48 นี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของ 4 รัฐในเยอรมนีสอดคล้องกับความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี หลังจากคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปีใน
เดือน ส.ค.48 ซึ่งสูงกว่าเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB กำหนดไว้ให้ใกล้เคียงแต่ต่ำกว่าร้อยละ
2.0 ต่อปี โดยก่อนหน้านี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ก.ย.48 โดยอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีไม่เคยถึงร้อยละ
2.1 ต่อปีนับตั้งแต่เริ่มใช้เงินสกุลยูโรเมื่อต้นปี 45 โดยครั้งสุดท้ายที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 2.3
ต่อปีคือเดือน มิ.ย.44 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 6.4 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 26 ก.ย.48 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
การผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +6.4 จากระดับ —2.4 ในไตรมาส 2 ปี 48
และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นระดับ +11.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และระดับ +9.0 สำหรับไตรมาสแรกปี 49 ซึ่ง
เป็นมุมมองที่ยืนยันว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความต้องการในประเทศที่แข็งแกร่งและภาวะการส่งออกที่
สูงขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก HSBC Securities กล่าวเพิ่มเติมว่า นักธุรกิจกลับมามีความเชื่อมั่นเพิ่ม
ขึ้นในไตรมาสนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้นในเดือน ส.ค.48 หลังจากที่ชะลอตัวเมื่อเดือน ก.ค. รวมทั้ง
ตลาดหุ้นโตเกียวก็พุ่งทะยานสูงขึ้นด้วย สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่โดยรวมในไตรมาส
3 ปี 48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +9.7 จากระดับ +0.9 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจของผู้ประกอบการนอกภาค
อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +11.6 จากระดับ +2.9 ในไตรมาสก่อน อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่น
ภาวะธุรกิจได้จากการนำร้อยละของธุรกิจที่เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะดีขึ้นหักออกจากที่เชื่อมั่นว่าจะเลว
ร้ายลง เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางจีนคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 9.2 รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศ
จีน เมื่อวันที่ 25 ก.ย.48 ธ.กลางจีนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 9.2 ในปีนี้ และจะขยายตัว
ร้อยละ 8.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 49 ทั้งนี้ ข้อมูลเทียบต่อปีชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวลง โดยจีดีพีขยายตัว
ร้อยละ 9.5 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งรัฐจะต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งในเรื่องผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง
ขึ้น และป้องกันการลดลงอย่างต่อเนื่องของดัชนีราคาผู้บริโภคในภาพรวม ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเริ่มชะลอตัว
ลงนับตั้งแต่เดือน มี.ค. โดยมีสาเหตุหลักจากราคาอาหารที่ลดลงอย่างรุนแรง ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลง และ
มีการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการ ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาลที่จะชะลอการขยายตัวของ
เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปนับตั้งแต่ปลายปีก่อน ด้านนักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่ว่า มาตรการเข้ม
งวดหลายอย่างที่รัฐบาลนำออกมาใช้เพื่อควบคุมเศรษฐกิจไม่ให้เติบโตร้อนแรงเกินไป อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ลง รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจหดตัวภายในปี 2551 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.ย. 48 23 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.074 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.8748/41.1632 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38333 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 725.31/ 15.85 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,000/9,100 9,050/9,150 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 57.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--