กรุงเทพ--10 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีรายงานข่าวเรื่อง New Territories Domestic Animal Association ประท้วงเกี่ยวกับเนื้อสุกรที่นำเข้าจากประเทศไทยว่า มีเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย และต่อมากรมอนามัยของฮ่องกงได้ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มีการตรวจพบเชื้อโรคดังกล่าวในเนื้อสุกรที่นำเข้าจากประเทศไทย นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 คณะผู้แทนกองสัตวแพทย์สาธารณสุข กระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางไปเจรจาหารือกับกรมอนามัยฮ่องกง มีผลสรุปว่า ทางการฮ่องกงได้ตรวจสอบพบสารตกค้าง Beta Agonists ในเนื้อหมูจากประเทศไทย สารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบยาแก้หอบหืด ซึ่งมีการใช้ในการเลี้ยงสุกรเพื่อเร่งเนื้อแดงและลดไขมัน ซึ่งหากทางการฮ่องกงพบว่ามีสารตกค้างดังกล่าวปะปนอยู่ในเนื้อสุกร ทางการฮ่องกงจะไม่อนุญาตให้นำเนื้อสุกรนั้นเข้าไปในฮ่องกงและขณะนี้ก็มีการตรวจสอบเนื้อสุกรนำเข้าจากประเทศไทยทุกล็อตสินค้า ณ บริเวณด้านพรมแดน ซึ่งจะต้องใช้เวลา 2-3 วัน ในการตรวจสอบเนื้อสุกรจากไทย
อนึ่ง นับตั้งแต่มิถุนายน 2541 ฮ่องกงมีการนำเข้าเนื้อสุกรจากไทยเป็นจำนวนมาก โดยเพิ่มจาก5-6 ตัวในเดือนมิถุนายน 2541 เป็น 600-700 ตัวในปัจจุบัน และปัจจุบันมีบริษัทของไทยที่ส่งเนื้อสุกรไปฮ่องกง 3 บริษัท โดยจากการตรวจสอบสุ่มเนื้อสุกรในชั้นแรกมีเพียงบริษัทเดียวที่ผ่านการตรวจสอบ โดยไม่สอบสารตกค้าง
ในเรื่องนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ร่วมมือกับกงสุลฝ่ายการพาณิชย์ฯ และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเดินทางไปจากประเทศไทยเพื่อเจรจาหาข้อยุติกับทางการฮ่องกง มีผลการหารือสรุปว่า ฮ่องกงยืนยันใช้มาตรการตรวจสอบด้านสุขอนามัย โดยอิงมาตรฐานสากลและไม่เลือกประติบัติ กับเสนอให้มีระบบการตรวจสอบสารตกค้างดังกล่าวในประเทศไทย โดยควรทำเป็นระบบ licensing หรือการจัดทำทะเบียนฟาร์มเลี้ยงสุกร (registered farms) ที่ปลอดสารตกค้าง และให้หน่วยราชการไทยมีมาตรการตรวจสอบสารตกค้างในปัสสาวะ ของสุกรก่อนฆ่าและหลังฆ่า ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงก็ใช้มาตรการเดียวกันกับการนำเข้าสุกรมีชีวิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม ทางการฮ่องกงก็จะต้องมีมาตรการตรวจสอบเนื้อสุกรนำเข้าที่ชายแดนของตนด้วยเช่นกัน
ทางฮ่องกงเสนอเพิ่มเติมว่า หากไทยยังประสงค์ที่จะส่งเนื้อสุกรไปจำหน่ายในฮ่องกงต่อไปในอนาคต หน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้เลี้ยงสุกรจะต้องพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างจริงจังอย่างเร่งด่วน
- อนุญาตให้เฉพาะฟาร์มสุกรที่มีมาตรฐานที่จดทะเบียนไว้กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้นส่งออกสุกรและเนื้อสุกรได้
- พิจารณาตรวจปัสสาวะสุกรก่อนฆ่าและตรวจเนื้อสุกรที่ฆ่าแล้วเพื่อหาสารตกค้าง รวมทั้งมีการควบคุมการตรวจเชื้อโรคที่เข้มงวดมากขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามที่มีรายงานข่าวเรื่อง New Territories Domestic Animal Association ประท้วงเกี่ยวกับเนื้อสุกรที่นำเข้าจากประเทศไทยว่า มีเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย และต่อมากรมอนามัยของฮ่องกงได้ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มีการตรวจพบเชื้อโรคดังกล่าวในเนื้อสุกรที่นำเข้าจากประเทศไทย นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 คณะผู้แทนกองสัตวแพทย์สาธารณสุข กระทรวงเกษตรฯ ได้เดินทางไปเจรจาหารือกับกรมอนามัยฮ่องกง มีผลสรุปว่า ทางการฮ่องกงได้ตรวจสอบพบสารตกค้าง Beta Agonists ในเนื้อหมูจากประเทศไทย สารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบยาแก้หอบหืด ซึ่งมีการใช้ในการเลี้ยงสุกรเพื่อเร่งเนื้อแดงและลดไขมัน ซึ่งหากทางการฮ่องกงพบว่ามีสารตกค้างดังกล่าวปะปนอยู่ในเนื้อสุกร ทางการฮ่องกงจะไม่อนุญาตให้นำเนื้อสุกรนั้นเข้าไปในฮ่องกงและขณะนี้ก็มีการตรวจสอบเนื้อสุกรนำเข้าจากประเทศไทยทุกล็อตสินค้า ณ บริเวณด้านพรมแดน ซึ่งจะต้องใช้เวลา 2-3 วัน ในการตรวจสอบเนื้อสุกรจากไทย
อนึ่ง นับตั้งแต่มิถุนายน 2541 ฮ่องกงมีการนำเข้าเนื้อสุกรจากไทยเป็นจำนวนมาก โดยเพิ่มจาก5-6 ตัวในเดือนมิถุนายน 2541 เป็น 600-700 ตัวในปัจจุบัน และปัจจุบันมีบริษัทของไทยที่ส่งเนื้อสุกรไปฮ่องกง 3 บริษัท โดยจากการตรวจสอบสุ่มเนื้อสุกรในชั้นแรกมีเพียงบริษัทเดียวที่ผ่านการตรวจสอบ โดยไม่สอบสารตกค้าง
ในเรื่องนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ร่วมมือกับกงสุลฝ่ายการพาณิชย์ฯ และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเดินทางไปจากประเทศไทยเพื่อเจรจาหาข้อยุติกับทางการฮ่องกง มีผลการหารือสรุปว่า ฮ่องกงยืนยันใช้มาตรการตรวจสอบด้านสุขอนามัย โดยอิงมาตรฐานสากลและไม่เลือกประติบัติ กับเสนอให้มีระบบการตรวจสอบสารตกค้างดังกล่าวในประเทศไทย โดยควรทำเป็นระบบ licensing หรือการจัดทำทะเบียนฟาร์มเลี้ยงสุกร (registered farms) ที่ปลอดสารตกค้าง และให้หน่วยราชการไทยมีมาตรการตรวจสอบสารตกค้างในปัสสาวะ ของสุกรก่อนฆ่าและหลังฆ่า ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงก็ใช้มาตรการเดียวกันกับการนำเข้าสุกรมีชีวิตจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม ทางการฮ่องกงก็จะต้องมีมาตรการตรวจสอบเนื้อสุกรนำเข้าที่ชายแดนของตนด้วยเช่นกัน
ทางฮ่องกงเสนอเพิ่มเติมว่า หากไทยยังประสงค์ที่จะส่งเนื้อสุกรไปจำหน่ายในฮ่องกงต่อไปในอนาคต หน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้เลี้ยงสุกรจะต้องพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้อย่างจริงจังอย่างเร่งด่วน
- อนุญาตให้เฉพาะฟาร์มสุกรที่มีมาตรฐานที่จดทะเบียนไว้กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้นส่งออกสุกรและเนื้อสุกรได้
- พิจารณาตรวจปัสสาวะสุกรก่อนฆ่าและตรวจเนื้อสุกรที่ฆ่าแล้วเพื่อหาสารตกค้าง รวมทั้งมีการควบคุมการตรวจเชื้อโรคที่เข้มงวดมากขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--