วันนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท S&P (Standard and Poor’s) Mr.Ping Chew ตำแหน่ง Director and Team Leader ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายทนง พิทยะ เพื่อสอบถามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการคลังของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพรวมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ฐานะการคลัง และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) ซึ่งการเข้าพบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเยือนประเทศไทยประจำปี (Annual Visit)
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของไทย โดยทางเจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายด้านการคลังที่มีวินัย และสถานการณ์คลัง ที่มีความแข็งแกร่ง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P ได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ในระดับสูง และมีความเห็นว่าการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงนี้ จะมีส่วนสำคัญในการลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจภายนอก
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้การยืนยันว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่อง ภาคการคลังของรัฐบาลมั่นคง จะสามารถช่วยสนับสนุนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ดีกว่าที่ประมาณการไว้ หนี้สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป โดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเด็นเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยภายนอก คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมากทั้งด้านการส่งออก และนำเข้า โดยจากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจากผู้ส่งออกรายใหญ่ ที่แจ้งว่าจะมีการส่งออกได้ในระดับสูงในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ และมาตรการส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลที่เริ่มส่งผลอย่างชัดเจน ขณะที่การนำเข้าก็มีแนวโน้มที่ชะลอลง โดยพบว่าปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลดลงอย่างมากในเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจในระยะสั้นนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจกับผู้มีรายปานกลาง และรายได้น้อย ซึ่งมาตรการหนึ่ง คือ มาตรการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน
การหารือเป็นไปภายใต้บรรยากาศที่ดี ทางบริษัท S&P เห็นว่าการหารือนี้เป็นประโยชน์ และจะใช้ข้อมูลที่ได้รับจากกระทรวงการคลัง ตลอดจนหน่วยงานและบุคคลในแวดวงต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาในการวิเคราะห์อันดับความน่าเชื่อถือของไทยในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2548 11 สิงหาคม 48--
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ การคลัง และการเงินของไทย โดยทางเจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายด้านการคลังที่มีวินัย และสถานการณ์คลัง ที่มีความแข็งแกร่ง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของบริษัท S&P ได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่ในระดับสูง และมีความเห็นว่าการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงนี้ จะมีส่วนสำคัญในการลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจภายนอก
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้การยืนยันว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่อง ภาคการคลังของรัฐบาลมั่นคง จะสามารถช่วยสนับสนุนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ดีกว่าที่ประมาณการไว้ หนี้สาธารณะลดลงอย่างต่อเนื่อง และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป โดยกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเด็นเรื่องการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยภายนอก คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมากทั้งด้านการส่งออก และนำเข้า โดยจากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจากผู้ส่งออกรายใหญ่ ที่แจ้งว่าจะมีการส่งออกได้ในระดับสูงในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ และมาตรการส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลที่เริ่มส่งผลอย่างชัดเจน ขณะที่การนำเข้าก็มีแนวโน้มที่ชะลอลง โดยพบว่าปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลดลงอย่างมากในเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับนโยบายเศรษฐกิจในระยะสั้นนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจกับผู้มีรายปานกลาง และรายได้น้อย ซึ่งมาตรการหนึ่ง คือ มาตรการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน
การหารือเป็นไปภายใต้บรรยากาศที่ดี ทางบริษัท S&P เห็นว่าการหารือนี้เป็นประโยชน์ และจะใช้ข้อมูลที่ได้รับจากกระทรวงการคลัง ตลอดจนหน่วยงานและบุคคลในแวดวงต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาในการวิเคราะห์อันดับความน่าเชื่อถือของไทยในระยะต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2548 11 สิงหาคม 48--