ประมง
1. สถานการณ์การผลิต
กรมประมงกำหนดโซนเลี้ยงหอยปลอดสารพิษ
ข่าวจากกรมประมง โดยนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมในอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้ตั้งเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าประมงอย่างเข้มงวดทำให้ที่ผ่านมากรมประมงต้องกำหนดเขตในการผลิตสินค้าประมงประเภทหอย เพื่อการส่งออกในตลาดอียูขึ้นมาโดยเฉพาะใน 3 จังหวัด คือ ตราด ชุมพรและสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้เขตการผลิตดังกล่าว จะต้องมีขบวนการผลิตหรือเลี้ยงหอยอย่างถูกสุขอามัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารเคมีทุกชนิด
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการวัดคุณภาพน้ำอีกด้วย โดยปีหนึ่ง ๆ จะมีการส่งออกหอยประเภทต่าง ๆ ไปยังตลาดอียูประมาณ 70/80 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นหากไทยยังคงรักษามาตรฐานการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีเกษตรกรบางรายนำหอยจากแหล่งผลิตอื่นมาสวมโควตาส่งออกไปยังอียู ส่งผลให้เสียตลาดไประยะหนึ่ง แต่หลังจากที่กรมประมงเข้าไปเข้มงวดกวดขันมากขึ้นปัญหาดังกล่าวจึงหมดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-8 ต.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,565.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 815.80 ตัน สัตว์น้ำจืด หกรณ์ประมงปลาทูน่าลึกไทย จำกัด รายงานผลการดำเนินงานนอก น่านน้ำของเรือมุกมณีว่า ได้มีการออกจับปลามาแล้ว4 ครั้ง ได้ผลที่น่าพอใจ โดยสามารถจับปลาทูน่าได้ประมาณ 1,026 ตัน คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท ซึ่งสหกรณ์ได้ทำการจำหน่ายโดยเปิดการประมูล นอกจากนี้ในต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางสหกรณ์ยังได้ปล่อยเรือมุกมณีออกไปทำการประมงอีก เพื่อจับปลาในฝรั่งจะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่ปลาย้ายถิ่นฐานไปทางประเทศซีเซล คาดว่าการออกจับปลาครั้งนี้จะได้ปลาประมาณ 500 ตัน หลังจากนั้นจะต้องหยุดซ่อมบำรุงเรือเพื่อเตรียมการสำหรับออกทำประมงตามแผนงานในปีต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 สค.- 3 กย.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 983.84ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 465.75 ตัน สัตว์น้ำจืด 518.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.75 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.58 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.16 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.74 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.70 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ผู้เลี้ยงกุ้งขอให้รัฐทบทวนเก็บภาษีนำเข้ากุ้งแช่แข็ง
ทพ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวถึงมาตรการของรัฐบาลเกี่ยวกับการปรับปรุงพิกัดอัตราภาษีศุลกากรว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งรัฐบาลยอมที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าประเภทปลาจำพวกครัสตาเซีย โมมลุสก์และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เฉพาะที่มีการนำเข้าสำหรับทำพันธุ์ โดยเฉพาะยกเว้นภาษีนำเข้าแม่พันธุ์ กุ้งกุลาดำจากเดิมที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีถึง 60% ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการประกาศมาตรการด้านภาษี ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้รัฐบาลจัดระบบภาษีการนำเข้ากุ้งแช่แข็งให้อยู่ในระบบภาษี เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนมากมีการนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีการนำเข้า ซึ่งเป็นการทำลายผู้เลี้ยงในประเทศ เพราะกุ้งที่นำเข้ามาราคาต่ำกว่ากุ้งในประเทศ ที่สำคัญรัฐฯก็ไม่ได้ผลประโยชน์จากภาษีนำเข้าและมาตรการที่ออกมาโดยยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าพันธุ์กุ้งกุลาดำให้นั้น มาตรการนี้แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเพราะแม้จะมีการเก็บภาษีนำเข้าพันธุ์กุ้งกุลาดำในอดีตถึง 60% แต่ผู้นำเข้าก็ไม่เคยเสียภาษีเพราะมีการลักลอบนำเข้า
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.22 บาท ลดลงจาก30.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาทลดลงจาก 33.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.57 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท ลดลงจาก 54.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.00 บาท ลดลงจาก 80.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 273.00 บาท ลดลงจาก 279.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 314.00 บาท ลดลงจาก 322.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.86 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.57 บาท สูงขึ้นจาก 18.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.20 บาท ลดลงจาก 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจาก 46.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ลดลงจาก 63.00 บาท สัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.78บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.74 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.80 บาท สูงขึ้นจาก 20.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 11 - 17 ต.ค. 2542--
1. สถานการณ์การผลิต
กรมประมงกำหนดโซนเลี้ยงหอยปลอดสารพิษ
ข่าวจากกรมประมง โดยนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมในอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ได้ตั้งเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าประมงอย่างเข้มงวดทำให้ที่ผ่านมากรมประมงต้องกำหนดเขตในการผลิตสินค้าประมงประเภทหอย เพื่อการส่งออกในตลาดอียูขึ้นมาโดยเฉพาะใน 3 จังหวัด คือ ตราด ชุมพรและสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้เขตการผลิตดังกล่าว จะต้องมีขบวนการผลิตหรือเลี้ยงหอยอย่างถูกสุขอามัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารเคมีทุกชนิด
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการวัดคุณภาพน้ำอีกด้วย โดยปีหนึ่ง ๆ จะมีการส่งออกหอยประเภทต่าง ๆ ไปยังตลาดอียูประมาณ 70/80 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นหากไทยยังคงรักษามาตรฐานการผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีเกษตรกรบางรายนำหอยจากแหล่งผลิตอื่นมาสวมโควตาส่งออกไปยังอียู ส่งผลให้เสียตลาดไประยะหนึ่ง แต่หลังจากที่กรมประมงเข้าไปเข้มงวดกวดขันมากขึ้นปัญหาดังกล่าวจึงหมดไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1-8 ต.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,565.38 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 815.80 ตัน สัตว์น้ำจืด หกรณ์ประมงปลาทูน่าลึกไทย จำกัด รายงานผลการดำเนินงานนอก น่านน้ำของเรือมุกมณีว่า ได้มีการออกจับปลามาแล้ว4 ครั้ง ได้ผลที่น่าพอใจ โดยสามารถจับปลาทูน่าได้ประมาณ 1,026 ตัน คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท ซึ่งสหกรณ์ได้ทำการจำหน่ายโดยเปิดการประมูล นอกจากนี้ในต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางสหกรณ์ยังได้ปล่อยเรือมุกมณีออกไปทำการประมงอีก เพื่อจับปลาในฝรั่งจะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่ปลาย้ายถิ่นฐานไปทางประเทศซีเซล คาดว่าการออกจับปลาครั้งนี้จะได้ปลาประมาณ 500 ตัน หลังจากนั้นจะต้องหยุดซ่อมบำรุงเรือเพื่อเตรียมการสำหรับออกทำประมงตามแผนงานในปีต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 สค.- 3 กย.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 983.84ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 465.75 ตัน สัตว์น้ำจืด 518.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.75 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.58 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.16 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 29.74 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 50.70 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ผู้เลี้ยงกุ้งขอให้รัฐทบทวนเก็บภาษีนำเข้ากุ้งแช่แข็ง
ทพ.สุรพล ประเทืองธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย กล่าวถึงมาตรการของรัฐบาลเกี่ยวกับการปรับปรุงพิกัดอัตราภาษีศุลกากรว่า ในส่วนของอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งรัฐบาลยอมที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าประเภทปลาจำพวกครัสตาเซีย โมมลุสก์และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เฉพาะที่มีการนำเข้าสำหรับทำพันธุ์ โดยเฉพาะยกเว้นภาษีนำเข้าแม่พันธุ์ กุ้งกุลาดำจากเดิมที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีถึง 60% ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการประกาศมาตรการด้านภาษี ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้รัฐบาลจัดระบบภาษีการนำเข้ากุ้งแช่แข็งให้อยู่ในระบบภาษี เพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำนวนมากมีการนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียภาษีการนำเข้า ซึ่งเป็นการทำลายผู้เลี้ยงในประเทศ เพราะกุ้งที่นำเข้ามาราคาต่ำกว่ากุ้งในประเทศ ที่สำคัญรัฐฯก็ไม่ได้ผลประโยชน์จากภาษีนำเข้าและมาตรการที่ออกมาโดยยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าพันธุ์กุ้งกุลาดำให้นั้น มาตรการนี้แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเพราะแม้จะมีการเก็บภาษีนำเข้าพันธุ์กุ้งกุลาดำในอดีตถึง 60% แต่ผู้นำเข้าก็ไม่เคยเสียภาษีเพราะมีการลักลอบนำเข้า
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.22 บาท ลดลงจาก30.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาทลดลงจาก 33.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.57 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท ลดลงจาก 54.41 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.00 บาท ลดลงจาก 80.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 273.00 บาท ลดลงจาก 279.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 314.00 บาท ลดลงจาก 322.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.86 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.57 บาท สูงขึ้นจาก 18.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.20 บาท ลดลงจาก 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.80 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจาก 46.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ลดลงจาก 63.00 บาท สัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.78บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.74 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.80 บาท สูงขึ้นจาก 20.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 11 - 17 ต.ค. 2542--