กรุงเทพ--18 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS)
1.1 ที่ประชุมตกลงว่าอาเซียนควรเป็นแกนนำและผู้ขับเคลื่อนการประชุม EAS
1.2 การประชุม EAS จะจัดแบบ Retreat โดยเน้นประเด็นยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
1.3 การประชุม EAS ครั้งแรกจะจัดต่อเนื่องกับการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 ในปลายปีนี้ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
1.4 มีหลักเกณฑ์การรับประเทศเข้าร่วม EAS นอกเหนือจากประเทศ+3 ได้แก่
1.4.1 เป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียน
1.4.2 มีมิติความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและหลากหลายกับอาเซียน (substantial relations)
1.4.3 ได้ภาคยานุวัติหรือแสดงเจตจำนงที่จะภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
2.1 ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการจัดทำกฎบัตรอาเซียนซึ่งจะเป็นเสมือนธรรมนูญ (constitution) และมีลักษณะมองไปข้างหน้า (forward-looking) ตามแนวทางที่ไทยเสนออันจะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2563 ที่เข้มแข็ง
2.2 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการออกปฏิญญาว่าด้วยกฎบัตรอาเซียนในการประชุมสุดยอด
อาเซียน ครั้งที่ 11 ที่กัวลาลัมเปอร์ ธันวาคมศกนี้ โดยให้จัดตั้ง Eminent Persons Group (EPG) เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการจัดทำกฎบัตรอาเซียน
3. การขยายประเทศที่เข้าร่วม ARF (ARF Enlargement)
ที่ประชุมสนับสนุนติมอร์ เลสเตเข้าร่วมในการประชุม ARF ในปีนี้พร้อมกับให้พักการ รับประเทศเข้าร่วม ARF ภายหลังการรับติมอร์ เลสเตไปก่อน
4. การจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangement for Disaster Relief and Emergency Response
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยในการจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangement for Disaster Relief and Emergency Response เพื่อเป็นกลไกระดับภูมิภาคในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศอาเซียนให้สามารถที่จะร่วมกันช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติกรณีเกิดความจำเป็นต่อไป
5. ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UNSG)
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยให้อาเซียนผลักดันให้เอกสารสุดท้ายของการประชุม สุดยอดอเชีย-แอฟริกา ที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศอินโดนีเซียปลายเดือนนี้ บรรจุประเด็นการสนับสนุนให้ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติวาระต่อไปเป็นของภูมิภาคเอเชีย
6. พม่า
ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องพัฒนาการในพม่าและเรื่องการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่าในปี 2549 โดยประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยต่างได้สะท้อนความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพม่า และสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ โดยตั้งอยู่บน พื้นฐานการไม่ก้าวก่ายกิจการภายใน ซึ่งพม่าได้แสดงเจตนาชัดเจนว่าพม่าให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของอาเซียนเป็นหลัก และรัฐมนตรีต่างประเทศพม่ารับที่จะนำความเห็นของประเทศอาเซียนในการประชุมครั้งนี้ไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS)
1.1 ที่ประชุมตกลงว่าอาเซียนควรเป็นแกนนำและผู้ขับเคลื่อนการประชุม EAS
1.2 การประชุม EAS จะจัดแบบ Retreat โดยเน้นประเด็นยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
1.3 การประชุม EAS ครั้งแรกจะจัดต่อเนื่องกับการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 11 ในปลายปีนี้ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
1.4 มีหลักเกณฑ์การรับประเทศเข้าร่วม EAS นอกเหนือจากประเทศ+3 ได้แก่
1.4.1 เป็นประเทศคู่เจรจากับอาเซียน
1.4.2 มีมิติความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและหลากหลายกับอาเซียน (substantial relations)
1.4.3 ได้ภาคยานุวัติหรือแสดงเจตจำนงที่จะภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
2.1 ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการจัดทำกฎบัตรอาเซียนซึ่งจะเป็นเสมือนธรรมนูญ (constitution) และมีลักษณะมองไปข้างหน้า (forward-looking) ตามแนวทางที่ไทยเสนออันจะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2563 ที่เข้มแข็ง
2.2 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการออกปฏิญญาว่าด้วยกฎบัตรอาเซียนในการประชุมสุดยอด
อาเซียน ครั้งที่ 11 ที่กัวลาลัมเปอร์ ธันวาคมศกนี้ โดยให้จัดตั้ง Eminent Persons Group (EPG) เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการจัดทำกฎบัตรอาเซียน
3. การขยายประเทศที่เข้าร่วม ARF (ARF Enlargement)
ที่ประชุมสนับสนุนติมอร์ เลสเตเข้าร่วมในการประชุม ARF ในปีนี้พร้อมกับให้พักการ รับประเทศเข้าร่วม ARF ภายหลังการรับติมอร์ เลสเตไปก่อน
4. การจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangement for Disaster Relief and Emergency Response
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยในการจัดตั้ง ASEAN Standby Arrangement for Disaster Relief and Emergency Response เพื่อเป็นกลไกระดับภูมิภาคในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศอาเซียนให้สามารถที่จะร่วมกันช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติกรณีเกิดความจำเป็นต่อไป
5. ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ (UNSG)
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของไทยให้อาเซียนผลักดันให้เอกสารสุดท้ายของการประชุม สุดยอดอเชีย-แอฟริกา ที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศอินโดนีเซียปลายเดือนนี้ บรรจุประเด็นการสนับสนุนให้ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติวาระต่อไปเป็นของภูมิภาคเอเชีย
6. พม่า
ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องพัฒนาการในพม่าและเรื่องการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่าในปี 2549 โดยประเทศอาเซียนรวมทั้งไทยต่างได้สะท้อนความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพม่า และสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ โดยตั้งอยู่บน พื้นฐานการไม่ก้าวก่ายกิจการภายใน ซึ่งพม่าได้แสดงเจตนาชัดเจนว่าพม่าให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของอาเซียนเป็นหลัก และรัฐมนตรีต่างประเทศพม่ารับที่จะนำความเห็นของประเทศอาเซียนในการประชุมครั้งนี้ไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-