กรุงเทพ--23 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 ได้มีนักศึกษาและประชาชนจำนวนประมาณ 100 คน รวมตัวกันหน้าสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เรียกร้องให้ประชาชนร่วมรณรงค์คัดค้านการใช้สินค้าของฝรั่งเศสและกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อประท้วงการที่ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้ากุ้งของไทยเพียงประเทศเดียว นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. การขอเปิดโควต้าภาษีสินค้ากุ้งซึ่งฝรั่งเศสคัดค้านและการทบทวนระบบ GSP เป็นคนละเรื่องกัน
2. ตามข้อเท็จจริงแล้ว ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวที่คัดค้านการเปิดโควต้าภาษีเป็นการทั่วไปสำหรับสินค้ากุ้งเขตร้อน จำนวน 6,300 ตัน (global tariff quota for tropical shrimps) ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมาธิการยุโรป และขณะนี้จึงยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งภาคเอกชนและวงการต่าง ๆ ทราบเรื่องนี้ สาธารณชนจึงเข้าใจรวมว่า ฝรั่งเศสเป็นประเทศหลักที่คัดค้านข้อเสนอของไทยในการทบทวนระบบ GSP รอบใหม่ด้วย ซึ่งความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนจากความจริง
3. ในการทบทวนระบบ GSP รอบใหม่นั้น ประเทศฝรั่งเศสคงมิใช่ประเทศเดียวที่คัดค้านข้อเสนอของไทย แต่เชื่อว่าอาจมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่คัดค้านข้อเสนอของไทย รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรปเองด้วย จึงแจ้งมาเพื่อโปรดทราบทั่วกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามที่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 ได้มีนักศึกษาและประชาชนจำนวนประมาณ 100 คน รวมตัวกันหน้าสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เรียกร้องให้ประชาชนร่วมรณรงค์คัดค้านการใช้สินค้าของฝรั่งเศสและกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อประท้วงการที่ฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้ากุ้งของไทยเพียงประเทศเดียว นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
1. การขอเปิดโควต้าภาษีสินค้ากุ้งซึ่งฝรั่งเศสคัดค้านและการทบทวนระบบ GSP เป็นคนละเรื่องกัน
2. ตามข้อเท็จจริงแล้ว ฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวที่คัดค้านการเปิดโควต้าภาษีเป็นการทั่วไปสำหรับสินค้ากุ้งเขตร้อน จำนวน 6,300 ตัน (global tariff quota for tropical shrimps) ซึ่งเสนอโดยคณะกรรมาธิการยุโรป และขณะนี้จึงยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งภาคเอกชนและวงการต่าง ๆ ทราบเรื่องนี้ สาธารณชนจึงเข้าใจรวมว่า ฝรั่งเศสเป็นประเทศหลักที่คัดค้านข้อเสนอของไทยในการทบทวนระบบ GSP รอบใหม่ด้วย ซึ่งความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนจากความจริง
3. ในการทบทวนระบบ GSP รอบใหม่นั้น ประเทศฝรั่งเศสคงมิใช่ประเทศเดียวที่คัดค้านข้อเสนอของไทย แต่เชื่อว่าอาจมีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่คัดค้านข้อเสนอของไทย รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรปเองด้วย จึงแจ้งมาเพื่อโปรดทราบทั่วกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--