ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์การซื้อหนี้ NPL และ NPA ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL) และสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ของ ธ.พาณิชย์ออกมาเป็นแนวทางในการซื้อขายหนี้สินและหลักทรัพย์ค้ำ
ประกันเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งยังมีการคัดเลือกบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (AMC) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือ
หุ้นอยู่ที่จะเข้ามาดำเนินนโยบายได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ เนื่องจากกำลังส่งเรื่องให้ ก.คลัง
พิจารณา โดย ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล ทั้งนี้ AMC ที่ ธปท. เลือกนำมาใช้จะเป็นแห่งใดแห่งหนึ่งระหว่าง
บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชยการ (BAM) หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้น
ใหญ่ โดย NPL และ NPA ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเป็น NPL รวมของระบบ ธ.พาณิชย์ซึ่งลดลงช้ามากในช่วงหลัง
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มาตรการดังกล่าวออกมาใช้ได้แล้วเชื่อว่าปริมาณ NPL จะลดได้รวดเร็วขึ้น โดยจะเหลือ
ร้อยละ 2 ภายในปี 49 และจะทำให้ ธ.พาณิชย์ของไทยมี NPL ลดลงอยู่ในระดับที่เป็นคลีนแบงก์ตามหลักสากลในที่สุด (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. เงินฝากภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 2 ปีนี้มียอดรวม 5.41 ล้านล้านบาท
รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงสถิติเงินรับฝากภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาว่า มี
ยอดรวม 5.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 138,671 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 2.62 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
47 ที่มียอดรวม 5.27 ล้านล้านบาท โดยเงินฝากใน ธ.อาคารสงเคราะห์ มีจำนวน 163,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
36,669 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.95 มากที่สุดในระบบ รองลงมาคือเงินฝากใน บง. และ บงล. 151,515
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27,411 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.08 และอันดับ 3 ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต 442,985 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้น 70,147 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.81 ขณะที่เงินฝากใน ธกส. มีจำนวน 186,680 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น 17,883 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.59 เงินฝากใน ธ.พาณิชย์ 3.97 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,279 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 0.33 เงินฝากใน บค. 969 ล้านบาท ลดลง 384 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.38 และ ธ.
ออมสิน 502,391 ล้านบาท ลดลง 26,334 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.98 อย่างไรก็ตาม หากดูอัตราการขยาย
ตัวของเงินฝากในสถาบันการเงินแต่ละประเภทตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 47 — ไตรมาส 2 ปี 48 พบว่าเงินฝากใน
บง. และ บงล. กับบริษัทประกันชีวิต มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส แต่คาดว่าในอนาคตเงินฝาก
ใน บง. และ บงล. น่าจะลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บง. และ บค. ที่ได้รับการยกระดับ
เป็น ธ.พาณิชย์หรือ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เริ่มดำเนินกิจการแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการกระตุ้นให้
ภาคครัวเรือนออมเงินฝากเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไม่ให้เกินร้อย
ละ 2.5 ของจีดีพี โดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี จึงจะสามารถกระตุ้นเงินออมได้ตามเป้าหมาย (เดลินิวส์)
3. ธ.พาณิชย์เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งทั้งเงินฝากและเงินกู้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.
ผจก. ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ภายใน 2 วันนี้ธนาคารจะปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากประจำอีกร้อยละ
0.25-0.50 เพื่อรักษาฐานลูกค้าของธนาคารไว้ หลังจาก ธ.กรุงเทพได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 ต.ค.
ที่ผ่านมา ด้าน นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ใน 1-2 วันนี้ ธนาคารจะ
พิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรและภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งแนว
โน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่อาวุโส ธ.กรุง
ศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ธนาคารอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยภายใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งต้องมีการพิจารณาว่าจะปรับขึ้น
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำก่อนหรือปรับขึ้นพร้อมกับเงินกู้ตามธนาคารขนาดใหญ่ ส่วน น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วย
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารเพิ่งปรับดอกเบี้ยเงินกู้เป็นร้อยละ 6.25 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.
ดังนั้น จะยังไม่มีการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง จนกว่าธนาคารขนาดใหญ่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบก่อนหมดสิ้น
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.กรุงเทพได้ตำแหน่งธนาคารแห่งปี 48 วารสารการเงินธนาคาร ประกาศผลการจัดอันดับ
ธนาคารแห่งปี 48 ปรากฎว่า ธ.กรุงเทพได้ตำแหน่งธนาคารแห่งปี 48 จากตัวเลขผลประกอบการที่โดดเด่น ซึ่ง
สะท้อนศักยภาพความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของธนาคาร และมีรายได้สูงเป็นอันดับ 1 ถึง 70,193.61 ล้าน
บาท และมีกำไรสูงเป็นอันดับ 1 เช่นกัน โดยมีกำไรสุทธิ 21,584.65 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 11.31
บาท ส่วนอันดับรองลงมา ได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.นครหลวงไทย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ธนชาต ธ.ไทยธนาคาร ธ.ยูโอบี รัตนสิน ส่วนอันดับสุดท้ายมี 2
ธนาคาร คือ ธ.เอเชีย และ ธ.ทหารไทย โดยเกณฑ์การพิจารณาอันดับธนาคารแห่งปียังใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
สากล โดยการนำผลประกอบการในช่วงเดือน ก.ค.47 — มิ.ย.48 ของ ธ.พาณิชย์ทั้ง 12 แห่ง มาคำนวณอัตรา
ส่วนทางการเงินที่วัดประสิทธิภาพการทำงานของธนาคารในด้านต่าง ๆ และโดยรวม (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีหน้าจะ
เพิ่มขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 11 ต.ค.48 IEA ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่เฝ้าติดตามความ
เคลื่อนไหวของตลาดพลังงานรายงานในรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือน ต.ค.48 โดยคาดว่าความต้องการใช้
น้ำมันของโลกในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 1.75 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากIEA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้จะ
ชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.26 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
83.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลจากความต้องการใช้น้ำมันของจีนเริ่มฟื้นตัวและผลกระทบจากพายุเฮอริเคน ในส่วน
ของปริมาณการผลิตน้ำมัน IEA คาดว่าปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ OPEC จะ
เพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรลต่อวันในปลายปีนี้และต่อไปจนถึงปีหน้า และคาดว่าผลกระทบจากพายุเฮอริเคนที่สร้าง
ความเสียหายต่อกำลังการผลิตของ สรอ.จะทำให้ความต้องการน้ำมันจาก OPEC เพิ่มขึ้น 800,000 บาร์เรลต่อวัน
เป็น 29.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจาก OPEC ในปีนี้
และปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรลต่อวันเป็นเฉลี่ย 28.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่คาดว่าปริมาณการผลิต
น้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม OPEC ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดในรอบ 6 ปีจากผลกระทบ
ของพายุเฮอริเคน อย่างไรก็ดี คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม OPEC จะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้าน
บาร์เรลต่อวันในปีหน้า ผลจากรายงานของ IEA ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 50 เซนต์ต่อบาร์เรลโดยมีราคาคงที่อยู่ที่
ระดับสูงกว่า 62.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.2 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 11 ต.ค.48 The Cabinet Office เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ส.
ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2
อันแสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายเงินทุนในอนาคตจะแข็งแกร่งอย่างมาก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า จากตัวเลขดัง
กล่าวสามารถคาดการณ์ได้ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาส 3 ปี 48 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และอาจขยายตัวต่อเนื่อง
ติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเครื่องจักรเป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายเงินทุนในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า และ
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าคำสั่งซื้อเครื่องจักรหลัก ซึ่งไม่นับรวมถึงอุปกรณ์สำหรับเรือขนส่งและอุปกรณ์ที่
เกี่ยวกับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
อนึ่ง ดัชนีชี้วัดดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตร
มาส 2 ปี 48 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการเติบโตแบบสมดุล โดยมีสาเหตุมาจากความ
ต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวในปีก่อน (รอยเตอร์)
3. เดือน ส.ค.48 อังกฤษขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอนเมื่อ
11 ต.ค.48 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้า (Goods trade
balance) ของอังกฤษในเดือน ส.ค.48 ขาดดุลเป็นจำนวน 5.6 พัน ล.ปอนด์ จาก 5.5 พัน ล.ปอนด์ในเดือน
ก่อนหน้า สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลเพียง 4.9 พัน ล.ปอนด์ เนื่องจากการส่ง
ออกมีจำนวน 17.8 พัน ล.ปอนด์ ขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 23.4 พัน ล.ปอนด์ ซึ่งการที่ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้น
มากมีสาเหตุจากในเดือนดังกล่าวเป็นช่วงการปิดโรงงานชั่วคราวของบริษัทผลิตน้ำมัน เพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์การ
ผลิต ประกอบกับมีเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตน้ำมันในบริเวณทะเลเหนือของประเทศ ทำให้การผลิตและส่งออกน้ำมัน
ลดลง สำหรับยอดขาดดุลการค้าและบริการ (Goods and services trade deficit) ในเดือนเดียวกันขาด
ดุลเป็นจำนวน 5.3 พัน ล.ปอนด์ เพิ่มขึ้นมากจากจำนวน 3.9 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการ
ที่บริษัทประกันต้องจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1.4 พัน ล.ปอนด์เพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากพา
ยุเฮอร์ริเคนแคทรีนาที่ก่อความเสียหายให้กับ สรอ.ในช่วงที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 11 ต.
ค. 48 ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.50 หรือปรับเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.25 นับเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 3 ปี เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสอดคล้อง
กับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ส่วนตลาดการเงินได้รับผลกระทบเพียง
เล็กน้อย นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าธ.กลางเกาหลีใต้ควรจะติดตามดูแลภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามธ.กลางเกาหลีใต้ส่งสัญญานว่าจะยังคงไม่รีบร้อนปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะถึงปีหน้าเนื่องจากต้องสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีความเสี่ยง
จากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก Daewoo Securities ที่
คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในราวต้นปีหน้า(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ต.ค. 48 11 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.9 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7064/40.9920 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47306 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.13/ 12.95 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,200/9,300 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.37 53.47 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์การซื้อหนี้ NPL และ NPA ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL) และสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ของ ธ.พาณิชย์ออกมาเป็นแนวทางในการซื้อขายหนี้สินและหลักทรัพย์ค้ำ
ประกันเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งยังมีการคัดเลือกบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (AMC) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือ
หุ้นอยู่ที่จะเข้ามาดำเนินนโยบายได้แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ เนื่องจากกำลังส่งเรื่องให้ ก.คลัง
พิจารณา โดย ก.คลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล ทั้งนี้ AMC ที่ ธปท. เลือกนำมาใช้จะเป็นแห่งใดแห่งหนึ่งระหว่าง
บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชยการ (BAM) หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้น
ใหญ่ โดย NPL และ NPA ที่ต้องการแก้ไขปัญหาเป็น NPL รวมของระบบ ธ.พาณิชย์ซึ่งลดลงช้ามากในช่วงหลัง
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มาตรการดังกล่าวออกมาใช้ได้แล้วเชื่อว่าปริมาณ NPL จะลดได้รวดเร็วขึ้น โดยจะเหลือ
ร้อยละ 2 ภายในปี 49 และจะทำให้ ธ.พาณิชย์ของไทยมี NPL ลดลงอยู่ในระดับที่เป็นคลีนแบงก์ตามหลักสากลในที่สุด (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
2. เงินฝากภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 2 ปีนี้มียอดรวม 5.41 ล้านล้านบาท
รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงสถิติเงินรับฝากภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาว่า มี
ยอดรวม 5.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 138,671 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 2.62 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
47 ที่มียอดรวม 5.27 ล้านล้านบาท โดยเงินฝากใน ธ.อาคารสงเคราะห์ มีจำนวน 163,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
36,669 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.95 มากที่สุดในระบบ รองลงมาคือเงินฝากใน บง. และ บงล. 151,515
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27,411 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.08 และอันดับ 3 ได้แก่ บริษัทประกันชีวิต 442,985 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้น 70,147 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.81 ขณะที่เงินฝากใน ธกส. มีจำนวน 186,680 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น 17,883 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.59 เงินฝากใน ธ.พาณิชย์ 3.97 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,279 ล้าน
บาท หรือร้อยละ 0.33 เงินฝากใน บค. 969 ล้านบาท ลดลง 384 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.38 และ ธ.
ออมสิน 502,391 ล้านบาท ลดลง 26,334 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.98 อย่างไรก็ตาม หากดูอัตราการขยาย
ตัวของเงินฝากในสถาบันการเงินแต่ละประเภทตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 47 — ไตรมาส 2 ปี 48 พบว่าเงินฝากใน
บง. และ บงล. กับบริษัทประกันชีวิต มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส แต่คาดว่าในอนาคตเงินฝาก
ใน บง. และ บงล. น่าจะลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บง. และ บค. ที่ได้รับการยกระดับ
เป็น ธ.พาณิชย์หรือ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยได้เริ่มดำเนินกิจการแล้ว ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการกระตุ้นให้
ภาคครัวเรือนออมเงินฝากเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไม่ให้เกินร้อย
ละ 2.5 ของจีดีพี โดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี จึงจะสามารถกระตุ้นเงินออมได้ตามเป้าหมาย (เดลินิวส์)
3. ธ.พาณิชย์เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งทั้งเงินฝากและเงินกู้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.
ผจก. ธ.กรุงไทย เปิดเผยว่า ภายใน 2 วันนี้ธนาคารจะปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากประจำอีกร้อยละ
0.25-0.50 เพื่อรักษาฐานลูกค้าของธนาคารไว้ หลังจาก ธ.กรุงเทพได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 ต.ค.
ที่ผ่านมา ด้าน นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ใน 1-2 วันนี้ ธนาคารจะ
พิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรและภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งแนว
โน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่อาวุโส ธ.กรุง
ศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ธนาคารอาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยภายใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งต้องมีการพิจารณาว่าจะปรับขึ้น
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำก่อนหรือปรับขึ้นพร้อมกับเงินกู้ตามธนาคารขนาดใหญ่ ส่วน น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วย
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารเพิ่งปรับดอกเบี้ยเงินกู้เป็นร้อยละ 6.25 เมื่อวันที่ 1 ต.ค.
ดังนั้น จะยังไม่มีการพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง จนกว่าธนาคารขนาดใหญ่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบก่อนหมดสิ้น
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.กรุงเทพได้ตำแหน่งธนาคารแห่งปี 48 วารสารการเงินธนาคาร ประกาศผลการจัดอันดับ
ธนาคารแห่งปี 48 ปรากฎว่า ธ.กรุงเทพได้ตำแหน่งธนาคารแห่งปี 48 จากตัวเลขผลประกอบการที่โดดเด่น ซึ่ง
สะท้อนศักยภาพความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของธนาคาร และมีรายได้สูงเป็นอันดับ 1 ถึง 70,193.61 ล้าน
บาท และมีกำไรสูงเป็นอันดับ 1 เช่นกัน โดยมีกำไรสุทธิ 21,584.65 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 11.31
บาท ส่วนอันดับรองลงมา ได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.นครหลวงไทย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ธนชาต ธ.ไทยธนาคาร ธ.ยูโอบี รัตนสิน ส่วนอันดับสุดท้ายมี 2
ธนาคาร คือ ธ.เอเชีย และ ธ.ทหารไทย โดยเกณฑ์การพิจารณาอันดับธนาคารแห่งปียังใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
สากล โดยการนำผลประกอบการในช่วงเดือน ก.ค.47 — มิ.ย.48 ของ ธ.พาณิชย์ทั้ง 12 แห่ง มาคำนวณอัตรา
ส่วนทางการเงินที่วัดประสิทธิภาพการทำงานของธนาคารในด้านต่าง ๆ และโดยรวม (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีหน้าจะ
เพิ่มขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 11 ต.ค.48 IEA ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่เฝ้าติดตามความ
เคลื่อนไหวของตลาดพลังงานรายงานในรายงานตลาดน้ำมันประจำเดือน ต.ค.48 โดยคาดว่าความต้องการใช้
น้ำมันของโลกในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 1.75 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากIEA คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้จะ
ชะลอลงโดยเพิ่มขึ้นเพียง 1.26 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของโลกในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
83.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลจากความต้องการใช้น้ำมันของจีนเริ่มฟื้นตัวและผลกระทบจากพายุเฮอริเคน ในส่วน
ของปริมาณการผลิตน้ำมัน IEA คาดว่าปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศที่ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ OPEC จะ
เพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรลต่อวันในปลายปีนี้และต่อไปจนถึงปีหน้า และคาดว่าผลกระทบจากพายุเฮอริเคนที่สร้าง
ความเสียหายต่อกำลังการผลิตของ สรอ.จะทำให้ความต้องการน้ำมันจาก OPEC เพิ่มขึ้น 800,000 บาร์เรลต่อวัน
เป็น 29.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจาก OPEC ในปีนี้
และปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรลต่อวันเป็นเฉลี่ย 28.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่คาดว่าปริมาณการผลิต
น้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม OPEC ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียง 170,000 บาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดในรอบ 6 ปีจากผลกระทบ
ของพายุเฮอริเคน อย่างไรก็ดี คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม OPEC จะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้าน
บาร์เรลต่อวันในปีหน้า ผลจากรายงานของ IEA ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 50 เซนต์ต่อบาร์เรลโดยมีราคาคงที่อยู่ที่
ระดับสูงกว่า 62.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.2 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 11 ต.ค.48 The Cabinet Office เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ส.
ค.48 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.2 เทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2
อันแสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายเงินทุนในอนาคตจะแข็งแกร่งอย่างมาก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า จากตัวเลขดัง
กล่าวสามารถคาดการณ์ได้ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาส 3 ปี 48 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และอาจขยายตัวต่อเนื่อง
ติดต่อกันถึง 4 ไตรมาส ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเครื่องจักรเป็นตัวชี้วัดการใช้จ่ายเงินทุนในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า และ
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าคำสั่งซื้อเครื่องจักรหลัก ซึ่งไม่นับรวมถึงอุปกรณ์สำหรับเรือขนส่งและอุปกรณ์ที่
เกี่ยวกับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1
อนึ่ง ดัชนีชี้วัดดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตร
มาส 2 ปี 48 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการเติบโตแบบสมดุล โดยมีสาเหตุมาจากความ
ต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวในปีก่อน (รอยเตอร์)
3. เดือน ส.ค.48 อังกฤษขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอนเมื่อ
11 ต.ค.48 The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้า (Goods trade
balance) ของอังกฤษในเดือน ส.ค.48 ขาดดุลเป็นจำนวน 5.6 พัน ล.ปอนด์ จาก 5.5 พัน ล.ปอนด์ในเดือน
ก่อนหน้า สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลเพียง 4.9 พัน ล.ปอนด์ เนื่องจากการส่ง
ออกมีจำนวน 17.8 พัน ล.ปอนด์ ขณะที่การนำเข้ามีจำนวน 23.4 พัน ล.ปอนด์ ซึ่งการที่ดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้น
มากมีสาเหตุจากในเดือนดังกล่าวเป็นช่วงการปิดโรงงานชั่วคราวของบริษัทผลิตน้ำมัน เพื่อบำรุงรักษาอุปกรณ์การ
ผลิต ประกอบกับมีเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตน้ำมันในบริเวณทะเลเหนือของประเทศ ทำให้การผลิตและส่งออกน้ำมัน
ลดลง สำหรับยอดขาดดุลการค้าและบริการ (Goods and services trade deficit) ในเดือนเดียวกันขาด
ดุลเป็นจำนวน 5.3 พัน ล.ปอนด์ เพิ่มขึ้นมากจากจำนวน 3.9 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุจากการ
ที่บริษัทประกันต้องจ่ายเงินชดเชยเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1.4 พัน ล.ปอนด์เพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากพา
ยุเฮอร์ริเคนแคทรีนาที่ก่อความเสียหายให้กับ สรอ.ในช่วงที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 11 ต.
ค. 48 ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.50 หรือปรับเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.25 นับเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 3 ปี เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสอดคล้อง
กับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ส่วนตลาดการเงินได้รับผลกระทบเพียง
เล็กน้อย นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าธ.กลางเกาหลีใต้ควรจะติดตามดูแลภาวะเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดก่อนที่จะมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามธ.กลางเกาหลีใต้ส่งสัญญานว่าจะยังคงไม่รีบร้อนปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะถึงปีหน้าเนื่องจากต้องสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีความเสี่ยง
จากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก Daewoo Securities ที่
คาดว่าธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในราวต้นปีหน้า(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ต.ค. 48 11 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.9 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7064/40.9920 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47306 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.13/ 12.95 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,200/9,300 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.37 53.47 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--