สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--27 พ.ย.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ปาล์มน้ำมัน : การจัดเตรียมพันธุ์และพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน
การประชุมปรึกษาหารือการจัดหาพันธุ์และกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2540 ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันเพื่อรองรับเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต โดยได้มีการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ
1. การผลิตปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
กรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทยูนิวานิช จำกัด ผลิตเมล็ดปาล์มพันธุ์ดีภาย-ในประเทศหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคาดว่าบริษัทเอกชนจะเป็นผู้นำเข้าโดยประมาณการจำนวนเมล็ดพันธุ์ และพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดี ดังนี้
กรมวิชาการเกษตร บริษัทเอกชนนำเข้า รวม พ.ท.ปลูกเพิ่มในแต่ละปี
ปี ร่วมกับบริษัทยูวานิช (เมล็ด) (เมล็ด) (ไร่)
(เมล็ด)
2541 962,000 2,000,000 2,962,000 98,700
2542 1,546,000 2,000,000 3,546,000 118,200
2543 1,895,000 2,000,000 3,895,000 129,800
2544 2,074,000 2,000,000 4,074,000 135,800
คาดว่าพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดีเพิ่มขึ้นประมาณ 482,500 ไร่ รวมกับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในขณะนี้ประมาณ 1.3 ล้านไร่ ดังนั้นเมื่อสิ้นปี 2544 จะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด 1.8 ล้านไร่
2. พื้นที่ที่เหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันในแหล่งปลูกทางภาคใต้ โดยใช้ภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ และพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เป็นตัวร่วมในการกำหนด เช่น ปริมาณน้ำฝน ดินฟ้าอากาศ ลักษณะดิน เป็นต้น การศึกษาได้ดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ 80 กรอบการศึกษาจะออกมาในลักษณะจำนวนพื้นที่ที่เหมาะสม โดยมีรายละเอียดลงลึกถึงระดับตำบล อำเภอ ของจังหวัดต่างๆ คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2541
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นไม้ยืนต้น การจัดหาพันธุ์ดีสำหรับเกษตรกรปลูกตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล จึงได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการของแผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน โดยเริ่มปี 2542 และสิ้นสุดโครงการในปี 2546 ส่วนรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จะดำเนินการต่อไป
2.2 สุกร : ผลจากการให้เงิน คชก. ช่วยเหลือผู้เลี้ยงสุกร
รายการ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาลูกสุกร (บาท/กก.) (บาท/ตัว)
ตุลาคม 2540 36.40 550
พฤศจิกายน 2540
- สัปดาห์ที่ 1 34.00 250
- สัปดาห์ที่ 2 32.32 250
- สัปดาห์ที่ 3 30.93 300
จากการที่ราคาสุกรมีชีวิตได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทำให้มีปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก รวมทั้งราคาสุกรในปีก่อนที่ค่อนข้างสูงมาก ได้จูงใจให้มีการขยายการผลิตกันมากขึ้น ต่อมาได้มีการพิจารณาแก้ไขปัญหาโดยคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งได้อนุมัติเงินจำนวน 20 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในนำไปดำเนินการเพื่อเพิ่มความต้องการบริโภคเนื้อสุกรให้มากขึ้น โดยร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร ในการจำหน่ายเนื้อสุกรในราคา 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท และจำหน่ายสุกรหันตัวละ 250 บาท ซึ่งผลจากการติดตามการดำเนินงานพบว่า มี 28 จังหวัด เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูกให้แก่ประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ซึ่งใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการซื้อขายกันมาขึ้นโดยเฉพาะสุกรที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป แม้ว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ในสัปดาห์นี้จะยังคงอ่อนตัวลงอีก แต่คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้เลี้ยงได้บางส่วน และช่วยตรึงราคาไม่ให้ลดต่ำลงไปอีก มากนัก อย่างไรก็ตามในส่วนของการตัดวงจรลูกสุกรนั้น ได้มีการซื้อขายกันสูงขึ้น เพราะบริษัทต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือผู้เลี้ยงในการรับซื้อลูกสุกรไปทำสุกรหัน ทำให้ราคาลูกสุกรในสัปดาห์นี้ปรับเพิ่มตัวขึ้นเป็นตัวละ 300 บาท จากที่เคยขายได้ตัวละ 250 บาท ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
2.3 อาหารทะเล : สหรัฐจะนำระบบ HACCP มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารทะเล
HACCP : Hazard Analysis Critical Control Point เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตสินค้าอาหาร โดยจะทำการควบคุมตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การแปรรูป การเก็บรักษาสินค้า และการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภคหรืออีกนัยหนึ่ง HACCP เป็นระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอาหารที่ประเทศต้นทาง โดยให้ทำการผลิตเป็นระบบที่สามารถเข้าไปควบคุมได้ เพื่อที่จะลดหรือขจัดอันตราย ที่เกิดจากสิ่งปลอมปนต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ผู้ผลิตจะต้องทำการบันทึกและรายงานเกี่ยวกับขบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การผลิตนั้นมีความปลอดภัยและได้คุณภาพที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ
ในระบบ HACCP นี้ ได้กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลจะต้องมีโปรแกรมการตรวจสอบคุณภาพของโรงงานผลิตสินค้าในเรื่องของสุขอนามัยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ HACCP ถ้าโรงงานใดไม่ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบและรับรองดังกล่าว จะไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศที่นำระบบ HACCP มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารทะเลได้
ปัจจุบัน แคนาดาและประเทศในยุโรปบางประเทศได้นำระบบ HACCP มาใช้กับสินค้าอาหารนำเข้าบ้างแล้ว และญี่ปุ่นได้นำมาใช้กับสินค้าซูริมิ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้ความร้อนในการบรรจุเพื่อทำให้ปิดสนิท สำหรับสหรัฐอเมริกาจะนำระบบ HACCP มาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเท่านั้น โดยจะเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของประเทศไทยนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมาย Seafood HACCP Program ในปี 2538 กรมประมงได้เร่งรัดให้ผู้ผลิตจัดระบบคุณภาพ HACCP ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหรัฐ ฯ โดยได้จัดการฝึกอบรมให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดระบบและการตรวจสอบคุณภาพ (HACCP) อย่างต่อเนื่องมาตลอด
จากผลการดำเนินการของกรมประมงดังกล่าว ปรากฎว่า ขณะนี้ผู้ผลิตของไทยประมาณร้อยละ 65 มีความพร้อมทั้งในการปฏิบัติและการจัดทำเอกสารได้ครบถ้วน อีกร้อยละ 25 จะต้องปรับปรุงเอกสารระบบคุณภาพให้สมบูรณ์ ส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมือง จะมีปัญหาด้านการจัดระบบควบคุมคุณภาพ เนื่องจากขาดบุคคลากร ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินการช่วยเหลืออยู่แล้ว รวมทั้งการให้บริการออกหนังสือรับรองระบบ HACCP ซึ่งสามารถนำหนังสือรับรองนี้แสดงต่อผู้นำเข้าและสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ ฯ ได้ นอกจากนั้น กรมประมงกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมระบบการตรวจสอบกับสหรัฐ ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้อยู่ผลิตไทย ให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้าสู่สหรัฐ ฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบเอกสาร ซึ่งคาดว่าจะบรรลุผลภายในปี 2541 นี้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2540--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ปาล์มน้ำมัน : การจัดเตรียมพันธุ์และพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน
การประชุมปรึกษาหารือการจัดหาพันธุ์และกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2540 ได้ข้อสรุปเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันเพื่อรองรับเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต โดยได้มีการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ
1. การผลิตปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
กรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทยูนิวานิช จำกัด ผลิตเมล็ดปาล์มพันธุ์ดีภาย-ในประเทศหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคาดว่าบริษัทเอกชนจะเป็นผู้นำเข้าโดยประมาณการจำนวนเมล็ดพันธุ์ และพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดี ดังนี้
กรมวิชาการเกษตร บริษัทเอกชนนำเข้า รวม พ.ท.ปลูกเพิ่มในแต่ละปี
ปี ร่วมกับบริษัทยูวานิช (เมล็ด) (เมล็ด) (ไร่)
(เมล็ด)
2541 962,000 2,000,000 2,962,000 98,700
2542 1,546,000 2,000,000 3,546,000 118,200
2543 1,895,000 2,000,000 3,895,000 129,800
2544 2,074,000 2,000,000 4,074,000 135,800
คาดว่าพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดีเพิ่มขึ้นประมาณ 482,500 ไร่ รวมกับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในขณะนี้ประมาณ 1.3 ล้านไร่ ดังนั้นเมื่อสิ้นปี 2544 จะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด 1.8 ล้านไร่
2. พื้นที่ที่เหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน
ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินดำเนินการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันในแหล่งปลูกทางภาคใต้ โดยใช้ภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ และพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เป็นตัวร่วมในการกำหนด เช่น ปริมาณน้ำฝน ดินฟ้าอากาศ ลักษณะดิน เป็นต้น การศึกษาได้ดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ 80 กรอบการศึกษาจะออกมาในลักษณะจำนวนพื้นที่ที่เหมาะสม โดยมีรายละเอียดลงลึกถึงระดับตำบล อำเภอ ของจังหวัดต่างๆ คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2541
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นไม้ยืนต้น การจัดหาพันธุ์ดีสำหรับเกษตรกรปลูกตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล จึงได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการของแผนพัฒนาปาล์มน้ำมัน โดยเริ่มปี 2542 และสิ้นสุดโครงการในปี 2546 ส่วนรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จะดำเนินการต่อไป
2.2 สุกร : ผลจากการให้เงิน คชก. ช่วยเหลือผู้เลี้ยงสุกร
รายการ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาลูกสุกร (บาท/กก.) (บาท/ตัว)
ตุลาคม 2540 36.40 550
พฤศจิกายน 2540
- สัปดาห์ที่ 1 34.00 250
- สัปดาห์ที่ 2 32.32 250
- สัปดาห์ที่ 3 30.93 300
จากการที่ราคาสุกรมีชีวิตได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทำให้มีปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก รวมทั้งราคาสุกรในปีก่อนที่ค่อนข้างสูงมาก ได้จูงใจให้มีการขยายการผลิตกันมากขึ้น ต่อมาได้มีการพิจารณาแก้ไขปัญหาโดยคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งได้อนุมัติเงินจำนวน 20 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในนำไปดำเนินการเพื่อเพิ่มความต้องการบริโภคเนื้อสุกรให้มากขึ้น โดยร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร ในการจำหน่ายเนื้อสุกรในราคา 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท และจำหน่ายสุกรหันตัวละ 250 บาท ซึ่งผลจากการติดตามการดำเนินงานพบว่า มี 28 จังหวัด เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูกให้แก่ประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ซึ่งใน 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการซื้อขายกันมาขึ้นโดยเฉพาะสุกรที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไป แม้ว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ในสัปดาห์นี้จะยังคงอ่อนตัวลงอีก แต่คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้เลี้ยงได้บางส่วน และช่วยตรึงราคาไม่ให้ลดต่ำลงไปอีก มากนัก อย่างไรก็ตามในส่วนของการตัดวงจรลูกสุกรนั้น ได้มีการซื้อขายกันสูงขึ้น เพราะบริษัทต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือผู้เลี้ยงในการรับซื้อลูกสุกรไปทำสุกรหัน ทำให้ราคาลูกสุกรในสัปดาห์นี้ปรับเพิ่มตัวขึ้นเป็นตัวละ 300 บาท จากที่เคยขายได้ตัวละ 250 บาท ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
2.3 อาหารทะเล : สหรัฐจะนำระบบ HACCP มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารทะเล
HACCP : Hazard Analysis Critical Control Point เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตสินค้าอาหาร โดยจะทำการควบคุมตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การแปรรูป การเก็บรักษาสินค้า และการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภคหรืออีกนัยหนึ่ง HACCP เป็นระบบการตรวจสอบคุณภาพสินค้าอาหารที่ประเทศต้นทาง โดยให้ทำการผลิตเป็นระบบที่สามารถเข้าไปควบคุมได้ เพื่อที่จะลดหรือขจัดอันตราย ที่เกิดจากสิ่งปลอมปนต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ผู้ผลิตจะต้องทำการบันทึกและรายงานเกี่ยวกับขบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การผลิตนั้นมีความปลอดภัยและได้คุณภาพที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ
ในระบบ HACCP นี้ ได้กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารทะเลจะต้องมีโปรแกรมการตรวจสอบคุณภาพของโรงงานผลิตสินค้าในเรื่องของสุขอนามัยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ HACCP ถ้าโรงงานใดไม่ผ่านโปรแกรมการตรวจสอบและรับรองดังกล่าว จะไม่สามารถส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศที่นำระบบ HACCP มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารทะเลได้
ปัจจุบัน แคนาดาและประเทศในยุโรปบางประเทศได้นำระบบ HACCP มาใช้กับสินค้าอาหารนำเข้าบ้างแล้ว และญี่ปุ่นได้นำมาใช้กับสินค้าซูริมิ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้ความร้อนในการบรรจุเพื่อทำให้ปิดสนิท สำหรับสหรัฐอเมริกาจะนำระบบ HACCP มาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเท่านั้น โดยจะเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของประเทศไทยนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมาย Seafood HACCP Program ในปี 2538 กรมประมงได้เร่งรัดให้ผู้ผลิตจัดระบบคุณภาพ HACCP ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหรัฐ ฯ โดยได้จัดการฝึกอบรมให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดระบบและการตรวจสอบคุณภาพ (HACCP) อย่างต่อเนื่องมาตลอด
จากผลการดำเนินการของกรมประมงดังกล่าว ปรากฎว่า ขณะนี้ผู้ผลิตของไทยประมาณร้อยละ 65 มีความพร้อมทั้งในการปฏิบัติและการจัดทำเอกสารได้ครบถ้วน อีกร้อยละ 25 จะต้องปรับปรุงเอกสารระบบคุณภาพให้สมบูรณ์ ส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นผู้ผลิตขนาดเล็กและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมือง จะมีปัญหาด้านการจัดระบบควบคุมคุณภาพ เนื่องจากขาดบุคคลากร ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินการช่วยเหลืออยู่แล้ว รวมทั้งการให้บริการออกหนังสือรับรองระบบ HACCP ซึ่งสามารถนำหนังสือรับรองนี้แสดงต่อผู้นำเข้าและสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ ฯ ได้ นอกจากนั้น กรมประมงกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมระบบการตรวจสอบกับสหรัฐ ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้อยู่ผลิตไทย ให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้าสู่สหรัฐ ฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบเอกสาร ซึ่งคาดว่าจะบรรลุผลภายในปี 2541 นี้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 17-23 พฤศจิกายน 2540--