สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--18 ส.ค.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ฝ้าย : ราคามีแนวโน้มลดลง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่า ปี 2542/43 จะมีผลผลิตฝ้ายประมาณ 35,530 ตัน ซึ่งจะเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม - มกราคม และฝ้ายที่ผลิตได้นี้คิดเป็นร้อยละ 5-7 ของความต้องการใช้ ทำให้ราคาฝ้ายดอกที่เกษตรกรขายได้ในแต่ละปีขึ้นอยู่กับราคาฝ้ายปุยในตลาดต่างประเทศ และตามที่กระทรวงเกษตร-สหรัฐ ประมาณการว่า อุปทานฝ้ายโลกในปี 2542/43 จะเพิ่มขึ้นเป็น 19.430 ล้านตัน สูงขึ้นจากปริมาณ 18.367 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 5.79 ขณะที่มีความต้องการใช้ 18.916 ล้านตันสูงขึ้นจาก 18.507 ล้านตัน ของปีก่อนเพียงเล็กน้อย ทำให้ปริมาณสต็อกฝ้ายโลก เพิ่มขึ้นจาก 8.930 ล้านตัน เป็น 9.460 ล้านตัน ส่งผลให้ราคาฝ้ายโลกโน้มลดลง โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์คในเดือนกรกฎาคม 2542 มีราคาเฉลี่ย 49.93 เซนต์/ปอนด์ (40.96 บาท/กก.) ลดลงจากราคา 72.89 เซนต์/ปอนด์ (66.94 บาท/กก.) ในช่วงเดียวกันของปี 2541 คิดเป็นร้อยละ 45.98 และราคาฝ้ายที่จะส่งมอบในเดือนตุลาคม และธันวาคม นั้น ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม มีราคา 51-52 เซนต์/ปอนด์ หรือคิดเป็นฝ้ายดอกกิโลกรัมละ 14 บาท ซึ่งคาดว่าราคาฝ้ายดอกที่เกษตรกรขายได้จะลดลงจากปีที่ผ่านมา
ประกอบกับสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ได้ยื่นหนังสือขอปรับลดอากรขาเข้าฝ้ายจากอัตราร้อยละ 5 แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 1 บาท ให้เป็นยกเว้นอากร และในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ครั้งที่ 4/2542 ได้มีการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอ รวมถึงฝ้าย ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ยินยอมรับซื้อฝ้ายจากเกษตรกรทั้งหมดในราคาตลาดสากล ขอให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาข้อเสนอลดภาษีฝ้ายลงเหลือศูนย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เชิญสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อเตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรหากมีการปรับลดภาษี ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าหากมีการปรับลดภาษีฝ้ายลงแล้ว ในกรณีที่เกษตรกรเกิดปัญหาไม่สามารถขายผลผลิตทั้งหมดได้ สมาคมฯ จะเข้ารับซื้อฝ้ายจำนวนนั้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะได้มีการหารืออีกครั้งเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ แต่ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะปรับระดับอัตราภาษีกลับไป ณ ระดับเดิม
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : น้ำท่วมหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียคาดว่าความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่ม
เกิดมรสุม น้ำท่วมหนัก ดินถล่ม คนเสียชีวิตจำนวนมากในประเทศต่าง ๆ ของเอเซีย ได้แก่ จีน อิหร่าน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เวียดนาม และไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนักสุดในรอบ 10 ปี โดยมีรายงานน้ำท่วมและผลความเสียหาย ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้
จีน ในปีนี้ ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกหนักตั้งแต่ต้นฤดู แม่น้ำแยงซีเกียง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2497 ซึ่งเคยเกิดน้ำท่วมหนัก เกิดน้ำท่วมในประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยอดผู้เสียชีวิตขณะนี้ร่วม 2,000 คน พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วม 133 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหาย 29 ล้านไร่ อิหร่าน เกิดน้ำท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พื้นที่ทำการเกษตรและนาข้าวเสียหายมากว่า 3 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วมในรอบ 20 ปีของประเทศ
ฟิลิปปินส์ เกิดมรสุม ฝนตกหนัก ใกล้กรุงมนิลา มีคนเสียชีวิตจากดินถล่ม บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก
เกาหลีใต้ เกิดพายุทำความเสียหายแก่พื้นที่ทางตะวันตกและทางเหนือของประเทศ ทำความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร 2.5 แสนไร่
เวียดนาม น้ำท่วมบ้านเรือนจมน้ำมากกว่า 11,000 หลังคาเรือน พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วม 1.3 แสนไร่ สำหรับประเทศไทยเกิดน้ำท่วมหนักในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลงแล้ว พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นไม้ผล และยางพารา คาดว่าไม่เสียหายมากนักการที่ประเทศผู้ผลิต และผู้นำเข้าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียประสบภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ทำการเกษตร คาดว่าจะทำให้ผลผลิตข้าวของโลกที่ได้มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีมากเป็นประวัติการณ์นั้นลดลง และความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่อการส่งออกและราคาข้าวไทย
2.2 ปาล์มน้ำมัน : ผลผลิตเริ่มลดลงดึงให้ราคาขยับตัวดีขึ้น
ปี 2542 คาดการณ์ผลปาล์มสดมีประมาณ 2.786 ล้านตัน ช่วงผลผลิตออกมากปีนี้ คือช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และหลังจากนั้นผลปาล์มสดจะลดลงเป็นลำดับ แต่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังนั้นในช่วงนี้ราคาผลปาล์มจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.46 บาทในเดือนกรกฎาคม เป็นกิโลกรัมละ 1.60 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม (2-8 สค.) และราคาน้ำมันปาล์มดิบ กทม. เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.75 บาทในเดือนกรกฎาคม เป็นกิโลกรัมละ 15.00 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตามจากการสอบถามสถานการณ์ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นว่า ราคาผลปาล์มและน้ำมันปาล์มในช่วง 2 เดือน (สค. - กย.) จะโน้มตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาผลปาล์มสดจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 1.80 - 2.00 บาท/กก. และหลังจากนั้นอาจจะลดลงอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากผลปาล์มจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาผลปาล์มตกต่ำของกระทรวงพาณิชย์นั้น ภาคเอกชนเห็นว่ารัฐไม่ควรส่งออกน้ำมันปาล์มไปตลาดต่างประเทศ แต่ควรเก็บสต็อกไว้ภายในและนำออกหมุนเวียนเข้าสู่ระบบในช่วงผลปาล์มออกน้อย คือปลายปีและต้นปีหน้า เพราะหากรัฐส่งออกจะประสบปัญหาขาดทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกโน้มตัวลดลง โดยปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงเหลือกิโลกรัมละ 9.48 บาท ขณะที่ อสค. รับซื้อไว้กิโลกรัมละ 16.50 — 19.50 บาท แต่ถ้ารัฐนำออกขายภายในช่วงปลายปี หรือต้นปีหน้า จะจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 13 - 14 บาท ซึ่งจะขาดทุนน้อยกว่าส่งออกขณะนี้ อีกทั้งการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปตลาดต่างประเทศเพื่อดึงราคาผลปาล์มให้เพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่คาดไว้ เพราะหากราคาภายในเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ราคาต่างประเทศลดลง ส่วนต่างของราคาจะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการลักลอบเพิ่มขึ้น และจะไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์จากมาตรการที่ดำเนินการในขณะนี้ และถ้าจำเป็นต้องส่งออกรัฐควรส่งออกน้ำมันปาล์มดิบบางส่วนเป็นครั้ง ๆ ไป มิใช่ส่งออกไปทั้งหมดตามปริมาณที่รับซื้อไว้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 2-8 ส.ค. 2542--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ฝ้าย : ราคามีแนวโน้มลดลง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่า ปี 2542/43 จะมีผลผลิตฝ้ายประมาณ 35,530 ตัน ซึ่งจะเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม - มกราคม และฝ้ายที่ผลิตได้นี้คิดเป็นร้อยละ 5-7 ของความต้องการใช้ ทำให้ราคาฝ้ายดอกที่เกษตรกรขายได้ในแต่ละปีขึ้นอยู่กับราคาฝ้ายปุยในตลาดต่างประเทศ และตามที่กระทรวงเกษตร-สหรัฐ ประมาณการว่า อุปทานฝ้ายโลกในปี 2542/43 จะเพิ่มขึ้นเป็น 19.430 ล้านตัน สูงขึ้นจากปริมาณ 18.367 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 5.79 ขณะที่มีความต้องการใช้ 18.916 ล้านตันสูงขึ้นจาก 18.507 ล้านตัน ของปีก่อนเพียงเล็กน้อย ทำให้ปริมาณสต็อกฝ้ายโลก เพิ่มขึ้นจาก 8.930 ล้านตัน เป็น 9.460 ล้านตัน ส่งผลให้ราคาฝ้ายโลกโน้มลดลง โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์คในเดือนกรกฎาคม 2542 มีราคาเฉลี่ย 49.93 เซนต์/ปอนด์ (40.96 บาท/กก.) ลดลงจากราคา 72.89 เซนต์/ปอนด์ (66.94 บาท/กก.) ในช่วงเดียวกันของปี 2541 คิดเป็นร้อยละ 45.98 และราคาฝ้ายที่จะส่งมอบในเดือนตุลาคม และธันวาคม นั้น ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม มีราคา 51-52 เซนต์/ปอนด์ หรือคิดเป็นฝ้ายดอกกิโลกรัมละ 14 บาท ซึ่งคาดว่าราคาฝ้ายดอกที่เกษตรกรขายได้จะลดลงจากปีที่ผ่านมา
ประกอบกับสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ได้ยื่นหนังสือขอปรับลดอากรขาเข้าฝ้ายจากอัตราร้อยละ 5 แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 1 บาท ให้เป็นยกเว้นอากร และในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ครั้งที่ 4/2542 ได้มีการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอ รวมถึงฝ้าย ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ยินยอมรับซื้อฝ้ายจากเกษตรกรทั้งหมดในราคาตลาดสากล ขอให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาข้อเสนอลดภาษีฝ้ายลงเหลือศูนย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เชิญสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อเตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรหากมีการปรับลดภาษี ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าหากมีการปรับลดภาษีฝ้ายลงแล้ว ในกรณีที่เกษตรกรเกิดปัญหาไม่สามารถขายผลผลิตทั้งหมดได้ สมาคมฯ จะเข้ารับซื้อฝ้ายจำนวนนั้นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะได้มีการหารืออีกครั้งเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ แต่ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะปรับระดับอัตราภาษีกลับไป ณ ระดับเดิม
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : น้ำท่วมหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียคาดว่าความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่ม
เกิดมรสุม น้ำท่วมหนัก ดินถล่ม คนเสียชีวิตจำนวนมากในประเทศต่าง ๆ ของเอเซีย ได้แก่ จีน อิหร่าน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เวียดนาม และไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนักสุดในรอบ 10 ปี โดยมีรายงานน้ำท่วมและผลความเสียหาย ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้
จีน ในปีนี้ ฤดูฝนมาเร็วกว่าปกติ และมีฝนตกหนักตั้งแต่ต้นฤดู แม่น้ำแยงซีเกียง มีระดับน้ำสูงสุดเมื่อเทียบกับปี 2497 ซึ่งเคยเกิดน้ำท่วมหนัก เกิดน้ำท่วมในประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยอดผู้เสียชีวิตขณะนี้ร่วม 2,000 คน พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วม 133 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่เสียหาย 29 ล้านไร่ อิหร่าน เกิดน้ำท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ พื้นที่ทำการเกษตรและนาข้าวเสียหายมากว่า 3 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วมในรอบ 20 ปีของประเทศ
ฟิลิปปินส์ เกิดมรสุม ฝนตกหนัก ใกล้กรุงมนิลา มีคนเสียชีวิตจากดินถล่ม บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก
เกาหลีใต้ เกิดพายุทำความเสียหายแก่พื้นที่ทางตะวันตกและทางเหนือของประเทศ ทำความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร 2.5 แสนไร่
เวียดนาม น้ำท่วมบ้านเรือนจมน้ำมากกว่า 11,000 หลังคาเรือน พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วม 1.3 แสนไร่ สำหรับประเทศไทยเกิดน้ำท่วมหนักในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำได้เริ่มลดลงแล้ว พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นไม้ผล และยางพารา คาดว่าไม่เสียหายมากนักการที่ประเทศผู้ผลิต และผู้นำเข้าหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียประสบภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ทำการเกษตร คาดว่าจะทำให้ผลผลิตข้าวของโลกที่ได้มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีมากเป็นประวัติการณ์นั้นลดลง และความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลดีต่อการส่งออกและราคาข้าวไทย
2.2 ปาล์มน้ำมัน : ผลผลิตเริ่มลดลงดึงให้ราคาขยับตัวดีขึ้น
ปี 2542 คาดการณ์ผลปาล์มสดมีประมาณ 2.786 ล้านตัน ช่วงผลผลิตออกมากปีนี้ คือช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และหลังจากนั้นผลปาล์มสดจะลดลงเป็นลำดับ แต่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังนั้นในช่วงนี้ราคาผลปาล์มจึงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.46 บาทในเดือนกรกฎาคม เป็นกิโลกรัมละ 1.60 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม (2-8 สค.) และราคาน้ำมันปาล์มดิบ กทม. เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.75 บาทในเดือนกรกฎาคม เป็นกิโลกรัมละ 15.00 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตามจากการสอบถามสถานการณ์ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต่างให้ความเห็นว่า ราคาผลปาล์มและน้ำมันปาล์มในช่วง 2 เดือน (สค. - กย.) จะโน้มตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาผลปาล์มสดจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 1.80 - 2.00 บาท/กก. และหลังจากนั้นอาจจะลดลงอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากผลปาล์มจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาผลปาล์มตกต่ำของกระทรวงพาณิชย์นั้น ภาคเอกชนเห็นว่ารัฐไม่ควรส่งออกน้ำมันปาล์มไปตลาดต่างประเทศ แต่ควรเก็บสต็อกไว้ภายในและนำออกหมุนเวียนเข้าสู่ระบบในช่วงผลปาล์มออกน้อย คือปลายปีและต้นปีหน้า เพราะหากรัฐส่งออกจะประสบปัญหาขาดทุนค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกโน้มตัวลดลง โดยปัจจุบันนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลงเหลือกิโลกรัมละ 9.48 บาท ขณะที่ อสค. รับซื้อไว้กิโลกรัมละ 16.50 — 19.50 บาท แต่ถ้ารัฐนำออกขายภายในช่วงปลายปี หรือต้นปีหน้า จะจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 13 - 14 บาท ซึ่งจะขาดทุนน้อยกว่าส่งออกขณะนี้ อีกทั้งการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบไปตลาดต่างประเทศเพื่อดึงราคาผลปาล์มให้เพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรอาจไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่คาดไว้ เพราะหากราคาภายในเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ราคาต่างประเทศลดลง ส่วนต่างของราคาจะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการลักลอบเพิ่มขึ้น และจะไม่มีฝ่ายใดได้ประโยชน์จากมาตรการที่ดำเนินการในขณะนี้ และถ้าจำเป็นต้องส่งออกรัฐควรส่งออกน้ำมันปาล์มดิบบางส่วนเป็นครั้ง ๆ ไป มิใช่ส่งออกไปทั้งหมดตามปริมาณที่รับซื้อไว้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 2-8 ส.ค. 2542--