วันนี้(12ก.ย.) เวลา 14.00 น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่าจากการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างหลังคาผ้าใบติดตั้งที่อาคารเทียบอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากวัสดุ ออกอาการไม่ได้คุณภาพตามสเป๊กหรือข้อกำหนดทางเทคนิคของสัญญาจนต้องสั่งเปลี่ยนใหม่เกือบทั้งหมดแม้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และบทม. ออกมาชี้แจงก็ยังไม่ชัดเจนในหลายประเด็น และมีหลายประเด็น ที่ รมว.และรมช.กระทรวงคมนาคม รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ ของบทม.ยังไม่ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ดังต่อไปนี้
1. เคยถามไปว่าทำไมต้องซื้อผ่านตัวกลางหลายทอด คำตอบที่ผ่านสื่อออกมากลับกลายเป็นว่า “เป็นสิทธิของผู้รับเหมา”ต้องยอมรับว่าการที่ปล่อยให้มีการซื้อผ่านตัวกลางหลายทอดโดยไม่มี เหตุผลเป็นการเปิดช่องให้มีการสร้างส่วนต่างราคาได้ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติเจ้าของเงินหรือผู้ว่าจ้าง จะไม่มีสิทธิอะไรเลยหรืออย่างไร?ถ้าสัญญาที่ลงนามไปแล้วมีช่องโหว่ให้เกิดความไม่ชอบมาพากล ได้ จะไม่ตรวจสอบเลยหรืออย่างไร ? รัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงอย่างละเอียดอีกครั้ง ควรเลิกตอบอย่างทนายแก้ต่างให้ผู้รับเหมา
2. รัฐมนตรีตอบเรื่องความผิดปกติของหลังคาผ้าใบว่า “เป็นฝุ่นละออง เป็นรอยขาดจากการเกี่ยว กับนั่งร้าน” และยืนยันว่าหลังคาที่ต้องสั่งเปลี่ยนถึง 84 ผืนจากทั้งหมด 102 ผืน เป็นของที่ถูก ต้องตามสเป๊ก ใช้สเป๊กอะไรเป็นบรรทัดฐานในการชี้แจง ที่อ้างว่ามีผลแล๊ปจากเยอรมัน ทำไม ไม่เอามาแสดง การที่ต้องเปลี่ยนวัสดุกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมดไม่ใช่เรื่องปกติในทางวิศวกรรม ผลแล๊ปทั้งหมดตามตารางแนบชี้ให้เห็นแล้วว่าหลังคาผ้าใบผิดสเป๊ก รัฐมนตรีจะชี้แจงอย่างไร?และถ้ายอมรับวัสดุที่ได้ติดตั้งไปแล้วไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม หมายความว่าจะต้อง ติดตั้งไฟแสงสว่างเพิ่มขึ้น และต้องเพิ่มกำลังเครื่องปรับอากาศ ใครรับผิดชอบค่าลงทุน และค่าไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุการใช้งานของสนามบิน
3. รัฐมนตรีชี้แจงว่ามีการปรับสเป๊ก เพราะหาของไม่ได้ ในกรณีนี้ต้องหาของคุณภาพเทียบเท่ามาใช้ เรื่องนี้ยังไม่เคยชี้แจง นอกจากนั้นได้เคยตั้งคำถามไว้ว่าการปรับสเป๊กจากระยะเวลาประกัน 20 ปี เป็น 5 ปี เพื่อลดราคาลงมา ข้อเท็จจริงตรงนี้เป็นอย่างไร หมายความว่าหลังคาผ้าใบต้องเปลี่ยนทุก 5 ปีหรือไม่?
4. ในเรื่องขั้นตอนในการตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ ที่ผ่านมาชี้แจงเพียงว่า บริษัทที่ปรึกษาได้ตรวจรับแล้ว จึงมีการอนุมัติจ่ายเงิน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงยิ่งน่าวิตก เพราะหากบริษัทที่ปรึกษาไม่บกพร่อง ในการตรวจรับงาน ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์โดยการอนุมัติให้นำเอาของที่มีคุณสมบัติ ต่ำกว่าสเป๊กมาติดตั้ง หากความบกพร่องอยู่ที่การตรวจรับงานเช่นนี้ ก็เชื่อได้ว่าความผิดปกติเช่น เดียวกันจะเกิดกับวัสดุอุปกรณ์อื่นๆในสนามบินด้วย ถามในสภาฯว่าจะทำอย่างไรต่อไป ก็ไม่ตอบ
5. ผลแล๊ปผ้าใบล๊อตใหม่ที่ตรวจสอบโดยบริษัทที่ปรึกษา TCS รายงานผลมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 และได้แจ้งในหนังสือลงเลขที่ TCS/ITO/TC/-/1303 พบว่าหลังคาผ้าใบทั้งระบบ รวมไปถึงผ้าใบล๊อต ใหม่มีค่าการส่งผ่านรังสี (Solar transmission) ต่ำกว่าสเป๊กทั้งหมด เรื่องนี้เป็นปัญหาใหม่ต้องชี้แจง ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
6. ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะค่ารื้อ และค่าติดตั้งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความล่าช้าที่เกิดขึ้น ประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งกระทบต่อเอกชนที่ได้ลงทุนเพื่อรองรับการเปิดสนามบินไปแล้ว ล่าสุด หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 กันยายน 2548 ระบุว่าหากเปิดช้าไป 9 เดือน เฉพาะภาระ ดอกเบี้ยของบริษัทบางกอกแอร์เวย์รายเดียวก็ประมาณ 500 ล้านบาทแล้ว การที่รัฐมนตรีออกมา ชี้แจงว่า “ไอทีโอต้องรับค่าใช้จ่ายในการรื้อ และติดตั้งใหม่ทั้งหมด” ไม่เพียงพอ และเป็นการกล่าว อย่างไม่รับผิดชอบ หากความล่าช้าที่เกิดขึ้นมาจากเหตุสุดวิสัยคงจะไม่มีใครตำหนิ แต่หากความ ล่าช้าเกิดจากการทุจริต คอร์รัปชั่น สร้างความเสียหายให้กับประเทศ รัฐมนตรีต้องเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยว ข้องทั้งหมด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2548--จบ--
1. เคยถามไปว่าทำไมต้องซื้อผ่านตัวกลางหลายทอด คำตอบที่ผ่านสื่อออกมากลับกลายเป็นว่า “เป็นสิทธิของผู้รับเหมา”ต้องยอมรับว่าการที่ปล่อยให้มีการซื้อผ่านตัวกลางหลายทอดโดยไม่มี เหตุผลเป็นการเปิดช่องให้มีการสร้างส่วนต่างราคาได้ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติเจ้าของเงินหรือผู้ว่าจ้าง จะไม่มีสิทธิอะไรเลยหรืออย่างไร?ถ้าสัญญาที่ลงนามไปแล้วมีช่องโหว่ให้เกิดความไม่ชอบมาพากล ได้ จะไม่ตรวจสอบเลยหรืออย่างไร ? รัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงอย่างละเอียดอีกครั้ง ควรเลิกตอบอย่างทนายแก้ต่างให้ผู้รับเหมา
2. รัฐมนตรีตอบเรื่องความผิดปกติของหลังคาผ้าใบว่า “เป็นฝุ่นละออง เป็นรอยขาดจากการเกี่ยว กับนั่งร้าน” และยืนยันว่าหลังคาที่ต้องสั่งเปลี่ยนถึง 84 ผืนจากทั้งหมด 102 ผืน เป็นของที่ถูก ต้องตามสเป๊ก ใช้สเป๊กอะไรเป็นบรรทัดฐานในการชี้แจง ที่อ้างว่ามีผลแล๊ปจากเยอรมัน ทำไม ไม่เอามาแสดง การที่ต้องเปลี่ยนวัสดุกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมดไม่ใช่เรื่องปกติในทางวิศวกรรม ผลแล๊ปทั้งหมดตามตารางแนบชี้ให้เห็นแล้วว่าหลังคาผ้าใบผิดสเป๊ก รัฐมนตรีจะชี้แจงอย่างไร?และถ้ายอมรับวัสดุที่ได้ติดตั้งไปแล้วไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม หมายความว่าจะต้อง ติดตั้งไฟแสงสว่างเพิ่มขึ้น และต้องเพิ่มกำลังเครื่องปรับอากาศ ใครรับผิดชอบค่าลงทุน และค่าไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นตลอดอายุการใช้งานของสนามบิน
3. รัฐมนตรีชี้แจงว่ามีการปรับสเป๊ก เพราะหาของไม่ได้ ในกรณีนี้ต้องหาของคุณภาพเทียบเท่ามาใช้ เรื่องนี้ยังไม่เคยชี้แจง นอกจากนั้นได้เคยตั้งคำถามไว้ว่าการปรับสเป๊กจากระยะเวลาประกัน 20 ปี เป็น 5 ปี เพื่อลดราคาลงมา ข้อเท็จจริงตรงนี้เป็นอย่างไร หมายความว่าหลังคาผ้าใบต้องเปลี่ยนทุก 5 ปีหรือไม่?
4. ในเรื่องขั้นตอนในการตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ ที่ผ่านมาชี้แจงเพียงว่า บริษัทที่ปรึกษาได้ตรวจรับแล้ว จึงมีการอนุมัติจ่ายเงิน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงยิ่งน่าวิตก เพราะหากบริษัทที่ปรึกษาไม่บกพร่อง ในการตรวจรับงาน ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์โดยการอนุมัติให้นำเอาของที่มีคุณสมบัติ ต่ำกว่าสเป๊กมาติดตั้ง หากความบกพร่องอยู่ที่การตรวจรับงานเช่นนี้ ก็เชื่อได้ว่าความผิดปกติเช่น เดียวกันจะเกิดกับวัสดุอุปกรณ์อื่นๆในสนามบินด้วย ถามในสภาฯว่าจะทำอย่างไรต่อไป ก็ไม่ตอบ
5. ผลแล๊ปผ้าใบล๊อตใหม่ที่ตรวจสอบโดยบริษัทที่ปรึกษา TCS รายงานผลมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548 และได้แจ้งในหนังสือลงเลขที่ TCS/ITO/TC/-/1303 พบว่าหลังคาผ้าใบทั้งระบบ รวมไปถึงผ้าใบล๊อต ใหม่มีค่าการส่งผ่านรังสี (Solar transmission) ต่ำกว่าสเป๊กทั้งหมด เรื่องนี้เป็นปัญหาใหม่ต้องชี้แจง ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
6. ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเฉพาะค่ารื้อ และค่าติดตั้งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความล่าช้าที่เกิดขึ้น ประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งกระทบต่อเอกชนที่ได้ลงทุนเพื่อรองรับการเปิดสนามบินไปแล้ว ล่าสุด หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 กันยายน 2548 ระบุว่าหากเปิดช้าไป 9 เดือน เฉพาะภาระ ดอกเบี้ยของบริษัทบางกอกแอร์เวย์รายเดียวก็ประมาณ 500 ล้านบาทแล้ว การที่รัฐมนตรีออกมา ชี้แจงว่า “ไอทีโอต้องรับค่าใช้จ่ายในการรื้อ และติดตั้งใหม่ทั้งหมด” ไม่เพียงพอ และเป็นการกล่าว อย่างไม่รับผิดชอบ หากความล่าช้าที่เกิดขึ้นมาจากเหตุสุดวิสัยคงจะไม่มีใครตำหนิ แต่หากความ ล่าช้าเกิดจากการทุจริต คอร์รัปชั่น สร้างความเสียหายให้กับประเทศ รัฐมนตรีต้องเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยว ข้องทั้งหมด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ก.ย. 2548--จบ--