กรุงเทพ--26 ก.พ.-กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของ ARF(ARF Intersessional Support Group on Confidence Building Measures: ISG on CBMs)
1. ไทยและสหรัฐอเมริกาจะเป็นประธานร่วมในการจัดการประชุมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Intersessional Support Group on Confidence Building Measures: ISG on CBMs) ครั้งที่ 2 ในปีกิจกรรม 2541-2542 ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) ระหว่าง 3-5 มีนาคม 2542 การประชุมครั้งนี้จะสานต่อจากการประชุมครั้งแรกในปีกิจกรรม 2541-2542 ที่จัดขึ้นที่เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย เมื่อ 4-6 พฤศจิกายน 2541
2. การประชุม ISG on CBMs นับเป็นหัวใจของการดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบ ARF ซึ่งเป็นเวทีการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค กิจกรรมของ ISG on CBMs สะท้อนถึงการประเทศผู้เข้าร่วมเห็นพ้องกันว่าในขั้นต้น ARF ควรเน้นการสร้างความไว้วางใจและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้เข้าร่วมและเสริมสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยต่อการรักษาสันติภาพและความผาสุกของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การประชุม ISG ได้มีขึ้นมาแล้ว 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งมีอินโดนีเซียและญี่ปุ่นเป็นประธานร่วม ต่อมาในปี 2539 ฟิลิปปินส์และจีนเป็นประธานร่วม และในปี 2540 บรูไนและออสเตรเลียเป็นประธานร่วม โดยการประชุม ISG on CBMs ครั้งนี้จะมีนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานร่วมฝ่ายไทยและนาย Ralph L.Boyce, Jr. รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านกิจการเอเชียและแปซิฟิก เป็นประธานร่วมฝ่ายสหรัฐฯ
3. เป้าหมายหลักของการประชุม ISG on CBMs ที่กรุงเทพฯ ได้แก่
3.1 การสานต่อการหารือระหว่างผู้เข้าร่วม ARF ถึงพัฒนาการด้านความมั่นคงใน ภูมิภาค รวมทั้งการควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายร้ายแรงในระดับภูมิภาคและในระดับโลก เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
3.2 ขยายการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายป้องกันประเทศและพัฒนาการในประเทศต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง
3.3 หารือเรื่องความคาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building: CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy: PD) เพื่อหาข้อเสนอแนะสำหรับที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งในการหารือที่ประชุมจะพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศผู้เข้าร่วม
3.4 หารือเรื่องกิจกรรมด้านการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของ ARF รวมทั้งในด้านความร่วมมือทางทะเล ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่า การหารือเรื่องความคาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูตเชิงป้องกันจะเป็นจุดเน้นสำคัญของการประชุมที่กรุงเทพฯ การหารือเรื่องนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพิจารณาของรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในอนาคตของ ARF เพื่อเสริมสร้างบทบาทและประสิทธิภาพของ ARF ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
4. ผู้เข้าร่วมการประชุมคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมจาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ออสเตรเลีย กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปาปัวนิวกีนี นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ) และอีก 1 กลุ่มคือสหภาพยุโรป การประชุมจะจัดขึ้นที่โรงแรม Marriott Royal Garden Riverside กรุงเทพฯ การประชุมจะเป็นการประชุมในสถานที่ 2 วันและอีก 1 วันเป็นการเดินทางไปดูงานนอกสถานที่ ซึ่งจะเป็นการเยี่ยมชมฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศรและศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล ทั้งนี้ การเยี่ยมชมฐานทัพเรือสัตหีบจะเป็นการเน้นภารกิจของกองทัพไทยในการบรรเทาภัยพิบัติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวทางโปรงใสของกองทัพไทย
5. นับตั้งแต่การประชุม ARF ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2537 ประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมของ ARF ในหลายสาขา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือ โดยได้เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การค้นหาและกู้ภัยและการบรรเทาภัยพิบัติ ในฐานะประธานร่วมจัดการประชุม ISG on CBMs ไทยจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้กระบวนการ ARF มีความคืบหน้า และจะเป็นการสนองนโยบายต่างประเทศไทยที่จะเสริมสร้างบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศและในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาชาติ อาทิ การแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และความร่วมมือทางทะเลรวมทั้งการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเล ทั้งนี้ การที่ผู้แทนไทยในการประชุม ISG on CBMs ครั้งผ่านๆ มาได้บรรยายถึงความคืบหน้าของรัฐบาลไทยในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (Thailand Mine Action Centre: TMAC) ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากผู้เข้าร่วม ARF นอกจากนั้น การหารือจะเกื้อกูลบรรยากาศของสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อันจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งไทยด้วย--จบ--
การประชุมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของ ARF(ARF Intersessional Support Group on Confidence Building Measures: ISG on CBMs)
1. ไทยและสหรัฐอเมริกาจะเป็นประธานร่วมในการจัดการประชุมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Intersessional Support Group on Confidence Building Measures: ISG on CBMs) ครั้งที่ 2 ในปีกิจกรรม 2541-2542 ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) ระหว่าง 3-5 มีนาคม 2542 การประชุมครั้งนี้จะสานต่อจากการประชุมครั้งแรกในปีกิจกรรม 2541-2542 ที่จัดขึ้นที่เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย เมื่อ 4-6 พฤศจิกายน 2541
2. การประชุม ISG on CBMs นับเป็นหัวใจของการดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบ ARF ซึ่งเป็นเวทีการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค กิจกรรมของ ISG on CBMs สะท้อนถึงการประเทศผู้เข้าร่วมเห็นพ้องกันว่าในขั้นต้น ARF ควรเน้นการสร้างความไว้วางใจและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้เข้าร่วมและเสริมสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยต่อการรักษาสันติภาพและความผาสุกของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การประชุม ISG ได้มีขึ้นมาแล้ว 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งมีอินโดนีเซียและญี่ปุ่นเป็นประธานร่วม ต่อมาในปี 2539 ฟิลิปปินส์และจีนเป็นประธานร่วม และในปี 2540 บรูไนและออสเตรเลียเป็นประธานร่วม โดยการประชุม ISG on CBMs ครั้งนี้จะมีนายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานร่วมฝ่ายไทยและนาย Ralph L.Boyce, Jr. รองผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านกิจการเอเชียและแปซิฟิก เป็นประธานร่วมฝ่ายสหรัฐฯ
3. เป้าหมายหลักของการประชุม ISG on CBMs ที่กรุงเทพฯ ได้แก่
3.1 การสานต่อการหารือระหว่างผู้เข้าร่วม ARF ถึงพัฒนาการด้านความมั่นคงใน ภูมิภาค รวมทั้งการควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายร้ายแรงในระดับภูมิภาคและในระดับโลก เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
3.2 ขยายการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายป้องกันประเทศและพัฒนาการในประเทศต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง
3.3 หารือเรื่องความคาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building: CBMs) และการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy: PD) เพื่อหาข้อเสนอแนะสำหรับที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งในการหารือที่ประชุมจะพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศผู้เข้าร่วม
3.4 หารือเรื่องกิจกรรมด้านการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของ ARF รวมทั้งในด้านความร่วมมือทางทะเล ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่า การหารือเรื่องความคาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูตเชิงป้องกันจะเป็นจุดเน้นสำคัญของการประชุมที่กรุงเทพฯ การหารือเรื่องนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพิจารณาของรัฐมนตรีต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในอนาคตของ ARF เพื่อเสริมสร้างบทบาทและประสิทธิภาพของ ARF ในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
4. ผู้เข้าร่วมการประชุมคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมจาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ออสเตรเลีย กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปาปัวนิวกีนี นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ) และอีก 1 กลุ่มคือสหภาพยุโรป การประชุมจะจัดขึ้นที่โรงแรม Marriott Royal Garden Riverside กรุงเทพฯ การประชุมจะเป็นการประชุมในสถานที่ 2 วันและอีก 1 วันเป็นการเดินทางไปดูงานนอกสถานที่ ซึ่งจะเป็นการเยี่ยมชมฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศรและศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล ทั้งนี้ การเยี่ยมชมฐานทัพเรือสัตหีบจะเป็นการเน้นภารกิจของกองทัพไทยในการบรรเทาภัยพิบัติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวทางโปรงใสของกองทัพไทย
5. นับตั้งแต่การประชุม ARF ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2537 ประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมของ ARF ในหลายสาขา เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือ โดยได้เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ การค้นหาและกู้ภัยและการบรรเทาภัยพิบัติ ในฐานะประธานร่วมจัดการประชุม ISG on CBMs ไทยจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้กระบวนการ ARF มีความคืบหน้า และจะเป็นการสนองนโยบายต่างประเทศไทยที่จะเสริมสร้างบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศและในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาชาติ อาทิ การแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และความร่วมมือทางทะเลรวมทั้งการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางทะเล ทั้งนี้ การที่ผู้แทนไทยในการประชุม ISG on CBMs ครั้งผ่านๆ มาได้บรรยายถึงความคืบหน้าของรัฐบาลไทยในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (Thailand Mine Action Centre: TMAC) ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากผู้เข้าร่วม ARF นอกจากนั้น การหารือจะเกื้อกูลบรรยากาศของสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อันจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งไทยด้วย--จบ--