ความต้องการใช้
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,245 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.7 ล้านลิตร หรือ 658,390 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากที่สุดปริมาณ 1,348 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41.5 ของความต้องการใช้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันเตา, น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจีและเจพี 1 มีปริมาณการใช้ 704, 631, 272 และ 264 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.7, 19.4, 8.4 และ 8.1 ตามลำดับ
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาประมาณ 89 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.8
- เพิ่มขึ้นจาก ก.ค. ปีก่อนประมาณ 172 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 5.6
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนกรกฎาคม 2542 อันดับ 1 ได้แก่ ปตท. อันดับ 2, 3, 4, และ 5 ได้แก่ เอสโซ่, เชลล์, คาลเท็กซ์ และบางจาก โดยมียอดจำหน่าย ดังนี้
ปตท. วันละ 38.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.0
เอสโซ่ วันละ 13.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.9
เชลล์ วันละ 13.3 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.7
คาลเท็กซ์ วันละ 7.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.4
บางจาก วันละ 6.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.6
และเป็นของผู้ค้ารายอื่น ๆ รวมกัน วันละ 24.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 23.4
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 648 ล้านลิตร โดยแยกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 543 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 17.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 83.8 ของน้ำมันที่ส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่ส่งออกไปแถบเอเซีย ยกเว้นน้ำมันเจพี 1 มีบางส่วนส่งไปยังสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาลดลงประมาณ 50 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 8.4 ลดลงจาก ก.ค. ปีก่อน 147 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.3
- น้ำมันองค์ประกอบ 26 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 79 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเวียดนาม
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,581 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.5 ล้านลิตร หรือ 726,579 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดถึงร้อยละ 38.0 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21.9 น้ำมันเตา ร้อยละ 18.0 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 10.8 เจพี 1 ร้อยละ 9.8 และน้ำมันชนิดอื่นรวมกันร้อยละ 1.5
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,369 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108.7 ล้านลิตร หรือ 683,496 บาร์เรล/วัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา วันละ 1.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.3 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 6.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 5.5
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 107 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3.5 พันเมตริกตัน หรือ 40,277 บาร์เรล/วัน ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. ที่ผ่านมาและ ก.ค. ของปีก่อนเพียงเล็กน้อย
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 7 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 241 เมตริกตัน หรือ 2,806 บาร์เรล/วัน ลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 50 เมตริกตัน และเพิ่มขึ้นจากกรกฎาคมปีก่อน 18 เมตริกตัน
2. การนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้นปริมาณ 3,103 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.1 ล้านลิตร หรือ 629,550 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 12,453 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันเบนซิน และแนฟธ่า ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ มูลค่ารวม 763 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,922 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 94.3 ล้านลิตร หรือ 592,864 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 11,659 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,295 16.66 78.5
ตะวันออกไกล 514 18.90 17.6
อื่น ๆ 113 16.89 3.9
รวม 2,922 17.06 100.0
- ปริมาณลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 132 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.3 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 205 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 1.8 มีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
2. มีการนำเข้าจากตะวันออกไกลซึ่งเป็นแหล่งที่มีราคาสูงเพิ่มมากขึ้น
- ปริมาณลดลงจาก ก.ค. ปีก่อน 422 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 490 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีการนำเข้าจากตะวันออกไกลเพิ่มมากขึ้น
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 181 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.8 ล้านลิตร หรือ 36,685 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 795 ล้านบาท โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการนำเข้าสูงสุด ร้อยละ 51.7 รองลงมาได้แก่น้ำมันเตา ร้อยละ 46.5 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1.8
- ปริมาณลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 1.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 0.9
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ก.ค. ปีก่อน 29.4 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 19.4
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กรกฎาคม 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 21,720 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.5 ล้านลิตร หรือ 644,434 บาร์เรล/วัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87 ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 1.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 1.6
1.2 การส่งออก มีปริมาณ 4,025 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.0 ล้านลิตร หรือ 119,413 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 24.0
2. การจัดหา
การจัดหาปริมาณรวมทั้งสิ้น 25,931 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 122.3 ล้านลิตร หรือ 769,357 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 24.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.5
2.1 การผลิตภายในประเทศ มีปริมาณรวม 24,854 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.2 ล้านลิตร หรือ 737,420 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 3.2
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,076 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.1 ล้านลิตร หรือ 31,937 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 12.3
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวม 23,474 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.7 ล้านลิตร หรือ 696,470 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 76,057 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 1.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.3 มูลค่าการนำเข้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12,547 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ความต้องการใช้ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,245 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.7 ล้านลิตร หรือ 658,390 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีความต้องการใช้มากที่สุดปริมาณ 1,348 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 41.5 ของความต้องการใช้ทั้งหมด ส่วนน้ำมันเตา, น้ำมันเบนซิน, ก๊าซแอลพีจีและเจพี 1 มีปริมาณการใช้ 704, 631, 272 และ 264 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.7, 19.4, 8.4 และ 8.1 ตามลำดับ
เปรียบเทียบความต้องการใช้โดยรวม
- เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาประมาณ 89 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 2.8
- เพิ่มขึ้นจาก ก.ค. ปีก่อนประมาณ 172 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 5.6
ส่วนแบ่งการตลาดของผู้ค้าน้ำมันประจำเดือนกรกฎาคม 2542 อันดับ 1 ได้แก่ ปตท. อันดับ 2, 3, 4, และ 5 ได้แก่ เอสโซ่, เชลล์, คาลเท็กซ์ และบางจาก โดยมียอดจำหน่าย ดังนี้
ปตท. วันละ 38.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 37.0
เอสโซ่ วันละ 13.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.9
เชลล์ วันละ 13.3 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.7
คาลเท็กซ์ วันละ 7.8 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 7.4
บางจาก วันละ 6.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.6
และเป็นของผู้ค้ารายอื่น ๆ รวมกัน วันละ 24.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 23.4
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป, น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 648 ล้านลิตร โดยแยกเป็น
- น้ำมันสำเร็จรูป 543 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 17.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 83.8 ของน้ำมันที่ส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่ส่งออกไปแถบเอเซีย ยกเว้นน้ำมันเจพี 1 มีบางส่วนส่งไปยังสหรัฐอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาลดลงประมาณ 50 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 8.4 ลดลงจาก ก.ค. ปีก่อน 147 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 21.3
- น้ำมันองค์ประกอบ 26 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) 79 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเวียดนาม
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,581 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115.5 ล้านลิตร หรือ 726,579 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตมากที่สุดถึงร้อยละ 38.0 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 21.9 น้ำมันเตา ร้อยละ 18.0 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 10.8 เจพี 1 ร้อยละ 9.8 และน้ำมันชนิดอื่นรวมกันร้อยละ 1.5
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,369 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108.7 ล้านลิตร หรือ 683,496 บาร์เรล/วัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา วันละ 1.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.3 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 6.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 5.5
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 107 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3.5 พันเมตริกตัน หรือ 40,277 บาร์เรล/วัน ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. ที่ผ่านมาและ ก.ค. ของปีก่อนเพียงเล็กน้อย
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีปริมาณ 7 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 241 เมตริกตัน หรือ 2,806 บาร์เรล/วัน ลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 50 เมตริกตัน และเพิ่มขึ้นจากกรกฎาคมปีก่อน 18 เมตริกตัน
2. การนำเข้า มีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้นปริมาณ 3,103 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.1 ล้านลิตร หรือ 629,550 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 12,453 ล้านบาท (ไม่รวม MTBE ที่นำมาผสมเป็นน้ำมันเบนซิน และแนฟธ่า ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ มูลค่ารวม 763 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,922 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 94.3 ล้านลิตร หรือ 592,864 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 11,659 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,295 16.66 78.5
ตะวันออกไกล 514 18.90 17.6
อื่น ๆ 113 16.89 3.9
รวม 2,922 17.06 100.0
- ปริมาณลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 132 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.3 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 205 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 1.8 มีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1. ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
2. มีการนำเข้าจากตะวันออกไกลซึ่งเป็นแหล่งที่มีราคาสูงเพิ่มมากขึ้น
- ปริมาณลดลงจาก ก.ค. ปีก่อน 422 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.6 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 490 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีการนำเข้าจากตะวันออกไกลเพิ่มมากขึ้น
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 181 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.8 ล้านลิตร หรือ 36,685 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 795 ล้านบาท โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการนำเข้าสูงสุด ร้อยละ 51.7 รองลงมาได้แก่น้ำมันเตา ร้อยละ 46.5 และน้ำมันเบนซิน ร้อยละ 1.8
- ปริมาณลดลงจาก มิ.ย. ที่ผ่านมา 1.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 0.9
- ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ก.ค. ปีก่อน 29.4 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 19.4
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กรกฎาคม 2542
น้ำมันสำเร็จรูป
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณ 21,720 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.5 ล้านลิตร หรือ 644,434 บาร์เรล/วัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87 ของปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 1.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 1.6
1.2 การส่งออก มีปริมาณ 4,025 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.0 ล้านลิตร หรือ 119,413 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 24.0
2. การจัดหา
การจัดหาปริมาณรวมทั้งสิ้น 25,931 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 122.3 ล้านลิตร หรือ 769,357 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 24.2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.5
2.1 การผลิตภายในประเทศ มีปริมาณรวม 24,854 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.2 ล้านลิตร หรือ 737,420 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 3.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 3.2
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 1,076 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 5.1 ล้านลิตร หรือ 31,937 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 0.6 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 12.3
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวม 23,474 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.7 ล้านลิตร หรือ 696,470 บาร์เรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 76,057 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 1.5 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.3 มูลค่าการนำเข้าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12,547 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--