3. ด้านการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน
3.1 การทบทวนกฎเกณฑ์ในภาคธุรกิจยางมะตอย
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจยางมะตอย ในปัจจุบันซึ่งยังขาดการแข่งขันอย่างเสรี บนพื้นฐานความเป็นธรรม โดยได้พิจารณาให้มีการปรับปรุงแก้ไข ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ข้อ 16 (5) เพื่อไม่ให้เกิดสภาพการผูกขาด และได้ยกเลิกกฎระเบียบปฏิบัติของกรมทางหลวง และหน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้ผู้รับเหมาที่ประมูลงานของรัฐ หรือผู้จำหน่ายยางมะตอยให้กับรัฐ ต้องมีใบรับรองผลคุณภาพยางมะตอย ของกรมทางหลวง และคำสั่งกรมทางหลวง ที่ 45/2539 ซึ่งกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ ยางมะตอยที่โรงงานเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการอำนวยประโยชน์ในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรม
3.2 การจัดตั้งบริษัทตัวกลาง เพื่อบริหารงานของบริษัทโรงกลั่นน้ำมัน 2 ราย
สพช. ได้พิจารณาคำร้องของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (RRC) ซึ่งเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนแผนการจัดตั้งบริษัทตัวกลาง เพื่อบริหารงานของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) และบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (RRC) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและเพื่อเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 บริษัท และได้จัดทำข้อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบในหลักการแผนการจัดตั้งบริษัทตัวกลาง และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาให้การสนับสนุนการรวมโรงกลั่นดังกล่าว
3.3 มาตรการส่งเสริมคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.)
สพช. ได้จัดทำข้อเสนอมาตรการส่งเสริม คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.) ในด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการคลังน้ำมัน และได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบตามข้อเสนอให้คลังสินค้าทัณฑ์บน สามารถรับฝากน้ำมันที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ หรือผู้นำเข้ามาเพื่อรอการส่งออกได้ และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสามารถดำเนินการได้
3.4 การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
เนื่องจากอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยต้องประสบกับภาวะความต้องการเชื้อเพลิง ลดลงอย่างมากภายในประเทศ และภายในภูมิภาคเอเซีย ทำให้การส่งออกเป็นไปได้น้อย เกิดภาวะน้ำมันเตาล้นตลาดและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยคาดว่าภาวะน้ำมันเตาล้นตลาดจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลืออุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศ สพช. จึงได้จัดทำข้อเสนอการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาจาก 17.5% เหลือ 5% โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบิดเบือน ของอัตราภาษีเชื้อเพลิงและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะมีผลทำให้กำลังซื้อของประเทศเพิ่มขึ้น และเป็นการช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ แต่เพื่อมิให้รายได้ภาษีของรัฐต้องลดลง ในข้อเสนอนี้ จึงเสนอให้เพิ่มอัตราภาษี สรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซล เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่ลดลง โดยให้ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลคงเดิม
ในการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาดังกล่าว จะทำให้ราคาขายส่งน้ำมันเตาลดลง 52 สตางค์/ลิตร หรือลดลง 11% จากราคาเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตไฟฟ้าลดลง รวม 1,874 ล้านบาท และ 2,576 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2542 และ 2543 ตามลำดับ ซึ่งต้นทุนการผลิตที่ลดลงนี้ จะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2542 ประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือ 0.07% จากกรณีที่ไม่มีการลดภาษี
3.5 การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน
เพื่อให้การแปรรูปด้านพลังงานดำเนินการได้เร็ว และเป็นการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ สพช. จึงได้จัดทำแนวทางในการเร่งแปรรูปกิจการด้านพลังงาน เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 โดยแนวทางหนึ่งคือ การดำเนินการขายหุ้นของรัฐที่ดำเนินการได้เร็วในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท. สผ.) และ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด โดย สพช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับมอบหมายให้ไปจัดทำรายละเอียดการขายหุ้นดังกล่าว
ต่อมาได้มีการดำเนินการขายหุ้นของรัฐในบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด และบริษัท ปตท. สผ. จำกัด สรุปได้ดังนี้
(1) กฟผ. ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 14.9 ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน โดยคณะกรรมการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน ได้คัดเลือกผู้เสนอซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ซึ่งผู้ชนะการคัดเลือก คือ บริษัท China Light & Power ซึ่งเสนอราคาสูงสุดด้วยมูลค่า 239.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,838 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 40.99 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นราคาหุ้น 126 บาทต่อหุ้น โดย กฟผ. และบริษัทดังกล่าวได้ส่งมอบใบหุ้นและชำระค่าหุ้นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541
(2) ปตท. ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) โดยได้เปิดให้มีการซื้อขายหุ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ซึ่งประกอบด้วย หุ้นเดิมของ ปตท. 16.5 ล้านหุ้น และหุ้นเพิ่มทุนอีก 16 ล้านหุ้น รวมเป็น 32.5 ล้านหุ้น ซึ่งประมาณร้อยละ 92 เป็นการขายให้นักลงทุนจากต่างประเทศ โดย ปตท. ได้รับเงินจากการขายหุ้นครั้งนี้ คิดเป็นเงินประมาณ 11,000 ล้านบาท หลังจากการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ใน ปตท.สผ. ลดลงเหลือร้อยละ 60 และนักลงทุนทั่วไปเหลือร้อยละ 39
3.6 แผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เสนอต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขต ทิศทางการแปรรูปและปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ โดยในส่วนของพลังงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา คือ สาขาไฟฟ้า สาขาก๊าซธรรมชาติ และสาขาน้ำมัน โดยมีความก้าวหน้าในแต่ละสาขา ดังนี้
(1) สาขาไฟฟ้า ในแผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้ กฟผ. แปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี ภายในปี 2542 และให้ กฟผ. แปลงสภาพโรงไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดอย่างน้อย 2 กลุ่ม รวมทั้ง ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ในบริษัทผลิตไฟฟ้าลง เพื่อให้พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจภายในปี 2544 โดยในส่วนของการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี สพช. ได้นำแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีของ กฟผ. เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 (2) เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตามแผนฯ ให้แล้วเสร็จตามกำหนด และเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
(2) สาขาก๊าซธรรมชาติ ได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีในกิจการก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป โดยแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซฯ ท่อจำหน่าย และกิจการจำหน่ายก๊าซฯ ออกจากกัน เพื่อให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ ต่อมา สพช. ได้จัดทำแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เห็นชอบโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และมอบหมายให้ ปตท. ใช้เป็น แนวทางในการแปรสภาพ ปตท. เป็นบริษัทจำกัด ตามโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการแยกระบบท่อส่งและท่อจำหน่าย (Transportation & Distribution Pipelines) และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Gas Traders) ออกจากกัน โดยการจัดตั้งบริษัทที่ดำเนินการด้านท่อส่งก๊าซฯ ออกต่างหาก รวมทั้งการส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ โดยการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ
(3) สาขาน้ำมัน ในแผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้มีการปรับโครงสร้างและแปรรูปกิจการของ ปตท. เป็น ปตท. จำกัด / (มหาชน) โดยการจัดตั้งโครงสร้างภายในแบบ Operating Company ซึ่งกิจการก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน จะเป็นหน่วยธุรกิจที่อยู่ภายใต้องค์กรทางกฎหมายเดียวกัน โดยมีบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซฯ และบริษัท ในเครืออื่นๆ เป็นบริษัทลูก
4. ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน
ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน สพช. ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานด้านพลังงานในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (APEC) และกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับกลุ่มองค์กร ดังกล่าว รวมทั้ง มีบทบาทในการกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเจรจา และพัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านพลังงาน โดยในปี 2541 มีการพัฒนาความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
4.1 ความร่วมมือกับกลุ่มเอเปคด้านพลังงาน
ในช่วงปี 2541 ได้มีการประชุมที่สำคัญของกลุ่มเอเปคด้านพลังงาน คือ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ณ เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่ประชุมได้มีการหารือถึงบทบาทของสาขาพลังงาน ในการช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย โดยมุ่งเน้นนโยบายการแปรรูป การเปิดเสรีตลาดพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ ดังนี้
(1) เห็นชอบให้ใช้หลักนโยบายที่ไม่ผูกพันด้านพลังงาน 14 ประการ เป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนาพลังงานจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้การพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคเป็นไปอย่างยั่งยืน
(2) เห็นชอบให้มีการกระจายประเภทของพลังงาน และส่งเสริมการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านพลังงาน โดยใช้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนด ตลอดจนให้มีการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานในภูมิภาค
(3) เห็นชอบตามแนวคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาก๊าซธรรมชาติ โดยส่งเสริมให้เร่งรัดการลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติ บริการพื้นฐานต่างๆ และเครือข่ายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงท่อส่งก๊าซ คลังก๊าซ และระบบการจัดจำหน่าย
(4) เห็นชอบในหลักการเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยเสริมสร้างให้มีการปรับปรุงการผลิต การจัดส่ง และการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้แต่ละประเทศเสนอแผนงาน และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานด้วยความสมัครใจ รวมทั้งดำเนินการแจ้งมาตรฐานที่จะประกาศใช้ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อสร้างความโปร่งใสให้แก่ภาคธุรกิจ และอำนวยความสะดวกทางการค้า
(5) เห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมด้านพลังงานของเอเปคมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้มีการเจรจากันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ให้มากและแน่นแฟ้นขึ้น
แนวทางที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ในเรื่องของกลไกตลาด ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในกิจการพลังงาน ดังนั้น แนวทางความร่วมมือดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการดำเนินนโยบายของประเทศที่ถูกต้อง และยังมีความสอดคล้องกับแนวนโยบายการค้าเสรี ในระดับภูมิภาคของโลกอีกด้วย
4.2 ความร่วมมือกับอาเซียนด้านพลังงาน
สำหรับความก้าวหน้าของความร่วมมือทางด้านพลังงานกับกลุ่มอาเซียนในช่วงปี 2541 นั้น ได้มีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมได้รับทราบแผนงานของคณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม (ASCOPE) ที่จะดำเนินการในปี 2541 และได้รับรองมติของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน (SOME) ในการแปลงแผนวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 สาขาพลังงานไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งรับรองแผนปฏิบัติการของคณะทำงาน (Sub sector Network) สามด้าน คือ ด้านถ่านหิน ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน และด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน ระหว่างปี 2542-2547 ซึ่งจะผนวกผลการดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบกับโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าใหม่ 2 โครงการ คือ โครงการระหว่างประเทศไทย-ลาว และประเทศเวียตนาม-ลาว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power grid) ตามข้อเสนอของคณะผู้ว่าการไฟฟ้าของอาเซียน (HAPUA)
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--
-ยก-
3.1 การทบทวนกฎเกณฑ์ในภาคธุรกิจยางมะตอย
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจยางมะตอย ในปัจจุบันซึ่งยังขาดการแข่งขันอย่างเสรี บนพื้นฐานความเป็นธรรม โดยได้พิจารณาให้มีการปรับปรุงแก้ไข ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ข้อ 16 (5) เพื่อไม่ให้เกิดสภาพการผูกขาด และได้ยกเลิกกฎระเบียบปฏิบัติของกรมทางหลวง และหน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้ผู้รับเหมาที่ประมูลงานของรัฐ หรือผู้จำหน่ายยางมะตอยให้กับรัฐ ต้องมีใบรับรองผลคุณภาพยางมะตอย ของกรมทางหลวง และคำสั่งกรมทางหลวง ที่ 45/2539 ซึ่งกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ ยางมะตอยที่โรงงานเพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการอำนวยประโยชน์ในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอย่างเป็นธรรม
3.2 การจัดตั้งบริษัทตัวกลาง เพื่อบริหารงานของบริษัทโรงกลั่นน้ำมัน 2 ราย
สพช. ได้พิจารณาคำร้องของบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (RRC) ซึ่งเสนอให้รัฐบาลสนับสนุนแผนการจัดตั้งบริษัทตัวกลาง เพื่อบริหารงานของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) และบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (RRC) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและเพื่อเพิ่มผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 บริษัท และได้จัดทำข้อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบในหลักการแผนการจัดตั้งบริษัทตัวกลาง และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาให้การสนับสนุนการรวมโรงกลั่นดังกล่าว
3.3 มาตรการส่งเสริมคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.)
สพช. ได้จัดทำข้อเสนอมาตรการส่งเสริม คลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปสำหรับเก็บน้ำมัน (คสน.) ในด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการคลังน้ำมัน และได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบตามข้อเสนอให้คลังสินค้าทัณฑ์บน สามารถรับฝากน้ำมันที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ หรือผู้นำเข้ามาเพื่อรอการส่งออกได้ และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสามารถดำเนินการได้
3.4 การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
เนื่องจากอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต โดยต้องประสบกับภาวะความต้องการเชื้อเพลิง ลดลงอย่างมากภายในประเทศ และภายในภูมิภาคเอเซีย ทำให้การส่งออกเป็นไปได้น้อย เกิดภาวะน้ำมันเตาล้นตลาดและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยคาดว่าภาวะน้ำมันเตาล้นตลาดจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลืออุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศ สพช. จึงได้จัดทำข้อเสนอการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาจาก 17.5% เหลือ 5% โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบิดเบือน ของอัตราภาษีเชื้อเพลิงและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะมีผลทำให้กำลังซื้อของประเทศเพิ่มขึ้น และเป็นการช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้ แต่เพื่อมิให้รายได้ภาษีของรัฐต้องลดลง ในข้อเสนอนี้ จึงเสนอให้เพิ่มอัตราภาษี สรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซล เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่ลดลง โดยให้ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลคงเดิม
ในการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาดังกล่าว จะทำให้ราคาขายส่งน้ำมันเตาลดลง 52 สตางค์/ลิตร หรือลดลง 11% จากราคาเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตไฟฟ้าลดลง รวม 1,874 ล้านบาท และ 2,576 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2542 และ 2543 ตามลำดับ ซึ่งต้นทุนการผลิตที่ลดลงนี้ จะส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น เป็นการช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะขยายตัวในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2542 ประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือ 0.07% จากกรณีที่ไม่มีการลดภาษี
3.5 การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน
เพื่อให้การแปรรูปด้านพลังงานดำเนินการได้เร็ว และเป็นการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ สพช. จึงได้จัดทำแนวทางในการเร่งแปรรูปกิจการด้านพลังงาน เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 โดยแนวทางหนึ่งคือ การดำเนินการขายหุ้นของรัฐที่ดำเนินการได้เร็วในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท. สผ.) และ บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด โดย สพช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับมอบหมายให้ไปจัดทำรายละเอียดการขายหุ้นดังกล่าว
ต่อมาได้มีการดำเนินการขายหุ้นของรัฐในบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด และบริษัท ปตท. สผ. จำกัด สรุปได้ดังนี้
(1) กฟผ. ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 14.9 ให้แก่พันธมิตรร่วมทุน โดยคณะกรรมการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน ได้คัดเลือกผู้เสนอซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ซึ่งผู้ชนะการคัดเลือก คือ บริษัท China Light & Power ซึ่งเสนอราคาสูงสุดด้วยมูลค่า 239.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,838 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 40.99 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ) คิดเป็นราคาหุ้น 126 บาทต่อหุ้น โดย กฟผ. และบริษัทดังกล่าวได้ส่งมอบใบหุ้นและชำระค่าหุ้นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541
(2) ปตท. ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) โดยได้เปิดให้มีการซื้อขายหุ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2541 ซึ่งประกอบด้วย หุ้นเดิมของ ปตท. 16.5 ล้านหุ้น และหุ้นเพิ่มทุนอีก 16 ล้านหุ้น รวมเป็น 32.5 ล้านหุ้น ซึ่งประมาณร้อยละ 92 เป็นการขายให้นักลงทุนจากต่างประเทศ โดย ปตท. ได้รับเงินจากการขายหุ้นครั้งนี้ คิดเป็นเงินประมาณ 11,000 ล้านบาท หลังจากการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ใน ปตท.สผ. ลดลงเหลือร้อยละ 60 และนักลงทุนทั่วไปเหลือร้อยละ 39
3.6 แผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจสาขาพลังงาน
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เสนอต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขต ทิศทางการแปรรูปและปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ โดยในส่วนของพลังงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา คือ สาขาไฟฟ้า สาขาก๊าซธรรมชาติ และสาขาน้ำมัน โดยมีความก้าวหน้าในแต่ละสาขา ดังนี้
(1) สาขาไฟฟ้า ในแผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้ กฟผ. แปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี ภายในปี 2542 และให้ กฟผ. แปลงสภาพโรงไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดอย่างน้อย 2 กลุ่ม รวมทั้ง ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ กฟผ. ในบริษัทผลิตไฟฟ้าลง เพื่อให้พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจภายในปี 2544 โดยในส่วนของการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี สพช. ได้นำแผนระดมทุนจากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรีของ กฟผ. เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มาตรา 9 (2) เพื่อให้ กฟผ. สามารถดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการตามแผนฯ ให้แล้วเสร็จตามกำหนด และเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รับไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
(2) สาขาก๊าซธรรมชาติ ได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีในกิจการก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป โดยแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซฯ ท่อจำหน่าย และกิจการจำหน่ายก๊าซฯ ออกจากกัน เพื่อให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ ต่อมา สพช. ได้จัดทำแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เห็นชอบโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และมอบหมายให้ ปตท. ใช้เป็น แนวทางในการแปรสภาพ ปตท. เป็นบริษัทจำกัด ตามโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำหนดให้มีการแยกระบบท่อส่งและท่อจำหน่าย (Transportation & Distribution Pipelines) และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Gas Traders) ออกจากกัน โดยการจัดตั้งบริษัทที่ดำเนินการด้านท่อส่งก๊าซฯ ออกต่างหาก รวมทั้งการส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ โดยการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้จะต้องมีการกำกับดูแลโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดราคาที่เป็นธรรม และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการใช้บริการ
(3) สาขาน้ำมัน ในแผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้มีการปรับโครงสร้างและแปรรูปกิจการของ ปตท. เป็น ปตท. จำกัด / (มหาชน) โดยการจัดตั้งโครงสร้างภายในแบบ Operating Company ซึ่งกิจการก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน จะเป็นหน่วยธุรกิจที่อยู่ภายใต้องค์กรทางกฎหมายเดียวกัน โดยมีบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซฯ และบริษัท ในเครืออื่นๆ เป็นบริษัทลูก
4. ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน
ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน สพช. ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานด้านพลังงานในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (APEC) และกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับกลุ่มองค์กร ดังกล่าว รวมทั้ง มีบทบาทในการกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเจรจา และพัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านพลังงาน โดยในปี 2541 มีการพัฒนาความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
4.1 ความร่วมมือกับกลุ่มเอเปคด้านพลังงาน
ในช่วงปี 2541 ได้มีการประชุมที่สำคัญของกลุ่มเอเปคด้านพลังงาน คือ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ณ เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่ประชุมได้มีการหารือถึงบทบาทของสาขาพลังงาน ในการช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย โดยมุ่งเน้นนโยบายการแปรรูป การเปิดเสรีตลาดพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ ดังนี้
(1) เห็นชอบให้ใช้หลักนโยบายที่ไม่ผูกพันด้านพลังงาน 14 ประการ เป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนาพลังงานจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้การพัฒนาภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคเป็นไปอย่างยั่งยืน
(2) เห็นชอบให้มีการกระจายประเภทของพลังงาน และส่งเสริมการพัฒนาบริการพื้นฐานด้านพลังงาน โดยใช้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนด ตลอดจนให้มีการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานในภูมิภาค
(3) เห็นชอบตามแนวคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาก๊าซธรรมชาติ โดยส่งเสริมให้เร่งรัดการลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติ บริการพื้นฐานต่างๆ และเครือข่ายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงท่อส่งก๊าซ คลังก๊าซ และระบบการจัดจำหน่าย
(4) เห็นชอบในหลักการเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยเสริมสร้างให้มีการปรับปรุงการผลิต การจัดส่ง และการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้แต่ละประเทศเสนอแผนงาน และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานด้วยความสมัครใจ รวมทั้งดำเนินการแจ้งมาตรฐานที่จะประกาศใช้ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อสร้างความโปร่งใสให้แก่ภาคธุรกิจ และอำนวยความสะดวกทางการค้า
(5) เห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมด้านพลังงานของเอเปคมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้มีการเจรจากันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ให้มากและแน่นแฟ้นขึ้น
แนวทางที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ในเรื่องของกลไกตลาด ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในกิจการพลังงาน ดังนั้น แนวทางความร่วมมือดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการดำเนินนโยบายของประเทศที่ถูกต้อง และยังมีความสอดคล้องกับแนวนโยบายการค้าเสรี ในระดับภูมิภาคของโลกอีกด้วย
4.2 ความร่วมมือกับอาเซียนด้านพลังงาน
สำหรับความก้าวหน้าของความร่วมมือทางด้านพลังงานกับกลุ่มอาเซียนในช่วงปี 2541 นั้น ได้มีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยที่ประชุมได้รับทราบแผนงานของคณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม (ASCOPE) ที่จะดำเนินการในปี 2541 และได้รับรองมติของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านพลังงาน (SOME) ในการแปลงแผนวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 สาขาพลังงานไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งรับรองแผนปฏิบัติการของคณะทำงาน (Sub sector Network) สามด้าน คือ ด้านถ่านหิน ด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน และด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน ระหว่างปี 2542-2547 ซึ่งจะผนวกผลการดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบกับโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าใหม่ 2 โครงการ คือ โครงการระหว่างประเทศไทย-ลาว และประเทศเวียตนาม-ลาว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power grid) ตามข้อเสนอของคณะผู้ว่าการไฟฟ้าของอาเซียน (HAPUA)
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--
-ยก-