เรื่อง การออกพระราชกำหนดการจัดการเกี่ยวกับภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ....
กระทรวงการคลังขอแถลงข่าวให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ กระทรวงการคลังได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการให้มีการออกฏหมายว่าด้วยการจัดการเกี่ยวกับภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีระบบ อันจะมีส่วนช่วยฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนจากต่างประเทศได้ทางหนึ่ง มีการปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนให้เหมาะสม รวมทั้งมีการกำหนดแหล่งเงินเพื่อนำมาใช้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ออกพระราชกำหนดการจัดการเกี่ยวกับภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.... และเห็นชอบในมาตรการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับโครงสร้างหนี้ที่กองทุนกู้ยืมจากธนาคารให้เหมาะสมด้วย
กระทรวงการคลังขอชี้แจงความเป็นมาและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. เรื่องเดิม
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เห็นชอบให้กองทุนเป็นผู้ดำเนินการแทนกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังมีหนังสือยืนยันว่า รัฐบาลรับรองดูแลมิให้กองทุนได้รับความเสียหายจากการดำเนินการจัดหาสภาพคล่องเพื่อใช้ในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ 58 ราย ซึ่งกระทรวงการคลังได้ออกหนังสือรับรองความเสียหายให้แก่กองทุนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 แล้ว และต่อมา รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2540 ทั้งนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่สุจริตในกรณีสถาบันการเงินนั้นประสบปัญหา โดยการให้อำนาจหรือเพิ่มบทบาทของกองทุนในการดำเนินการเพื่อการดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนเพื่อรองรับความเสียหายทางการเงินที่พึงมีในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลรวม 4 ประการ ดังนี้
(1) ให้กองทุนมีอำนาจเพิ่มทุนในการคำนวณเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งเพื่อให้กองทุนสามารถรับภาระการประกันผู้ฝากและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน
(2) ให้กองทุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสมควรแก่กรณีสำหรับผู้ฝากเงิน หรือเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ต้องเสียหาย เนื่องจากสถาบันการเงินดังกล่าว ประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอย่างร้ายแรง
(3) ในกรณีที่กองทุนได้ประกันหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ตาม (2) และได้รับความเสียหาย ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นแก่กองทุน
(4) ในกรณีของหลักประกันที่กองทุนได้เรียกไว้ในการให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ถ้าคณะกรรมการจัดการกองทุนเห็นว่า มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเป็นธรรมและความมั่นคงของระบบการเงิน คณะกรรมการจัดการกองทุนจะสละหลักประกันดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหนี้อื่นของสถาบันการเงินนั้นได้รับเฉลี่ยหนี้ตามความเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดการกองทุนกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
2. ฐานะการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
2.1 ฐานะการเงินในปัจจุบัน
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 กองทุนมีสินทรัพย์ 874,307 ล้านบาท และหนี้สิน 903,327 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าสินทรัพย์อยู่ 29,020 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนยังมีภาระค้ำประกันโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) และภาระอาวัลตั๋วของสถาบันการเงิน กลุ่ม 56 ซึ่งมียอดคงค้างรวมทั้งสิ้น 284,934 ล้านบาท ดังนั้น หากรวมภาระนี้ กองทุนจะมีสินทรัพย์และภาระผูกพันในภายหน้ารวมทั้งสิ้น 1,159,241 ล้านบาท และมีหนี้สินและภาระผูกพันในภายหน้า รวมทั้งสิ้น 1,188,261 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ทั้งสิ้น 82,238 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยรายการที่สำคัญ ได้แก่ ผลขาดทุนสะสมสำหรับปี 2540 จำนวน 33,914 ล้านบาท ผลขาดทุนจากการถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ 3 ราย ที่ทางการมีคำสั่งให้ลดทุน จำนวน 29,273 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าดอกเบี้ยรับสำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 18,546 ล้านบาท โดยคาดว่าจำนวนค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 191,720 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการที่กองทุนมีภาระด้านดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าดอกเบี้ยรับเป็นจำนวนมาก
2.2 โครงสร้างหนี้
(1) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 กองทุนมีโครงสร้างหนี้ที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย ดังนี้
วงเงิน อัตราดอกเบี้ย
ล้านบาท สัดส่วน ร้อยละต่อปี ระยะเงินกู้
เงินกู้ยืม Interbank- ปกติ 1,391.3 0.16 18.87 at call
ธนาคารพาณิชย์ 610.0 0.07
สถาบันการเงิน - -
กองทุนเปิด 75.0 0.01
อบส. 256.3 0.03
บริษัทหลักทรัพย์ 450.0 0.05
เงินกู้ยืม Interbank-Recycled 42,563.2 5.00 22.25 at call
ธนาคารพาณิชย์ 41,924.2 4.92
สถาบันการเงิน 639.0 0.08
พันธบัตรประมูล 47,091.0 5.53 13.96 ส่วนใหญ่
ธนาคารพาณิชย์ 36,513.0 4.29 3-6 เดือน
บริษัทเงินทุน,
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
และบริษัทหลักทรัพย์ 10,578.0 1.24
พันธบัตร R/P 714,931.0 83.93 21.05 ส่วนใหญ่
ธปท. 327,070.0 38.40 1 วัน -
สถาบันการเงิน 387,861.0 45.53 1 เดือน
เงินทดรอง ธปท. 45,788.0 5.38 9.71 1 ปี
รวม 851,764.5 100.00 20.43
(2) จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น การที่หนี้สินส่วนใหญ่ของกองทุนอยู่ในรูปพันธบัตร R/P ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 714,931 ล้านบาท หรือร้อยละ 84 ของหนี้สินสำคัญทั้งสิ้น (ประกอบด้วย ส่วนที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 387,861 ล้านบาท และธนาคารแห่งประเทศไทย 327,070 ล้านบาท) และเงินกู้ยืม Interbank - Recycled จำนวน 42,563.20 ล้านบาท ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 21.05 ต่อปี และร้อยละ 22.25 ต่อปี ตามลำดับ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ต้นทุนการกู้เงินของกองทุนมีอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 20.43 ต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นอยู่ในระดับสูง และเป็นผลกระทบต่อโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินทั้งระบบ
(3) จากข้อเท็จจริงตามนัยที่กล่าวข้างต้น หากทางการไม่เข้าไปแก้ไขจะเกิดวิกฤติอย่างใหญ่หลวง สร้างภาระในอนาคต กล่าวคือ กองทุนจะมียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 4 ปี และโดยที่กองทุนเป็นองค์กรของรัฐ หากเกิดความเสียหายรัฐบาลก็จะต้องเป็นผู้รับภาระนอกจากนั้น การที่กองทุนกู้เงินระยะสั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาอันเกิดจากวิกฤตการณ์ในสถาบันการเงินกลุ่ม 56 ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาว จึงไม่เป็นการเหมาะสม ทั้งยังทำให้เกิดการบิดเบือนในตลาดการเงินในประเทศ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปและมีแนวโน้มลดลงได้ยาก เนื่องจากสถาบันการเงินต่างมุ่งให้กู้ยืมแก่กองทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพราะได้อัตราดอกเบี้ยสูง ไม่มีความเสี่ยง มีสภาพคล่องสูง ไม่นับเป็นสินทรัพย์เสี่ยง และยังนำไปสำรองแทนเงินสดได้ด้วย ระบบการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจได้
3. การรับภาระความเสียหายโดยรัฐและการปรับโครงสร้างหนี้
(1) ตามกรอบความตกลงกับ IMF ทางการได้ตกลงในหลักการแก้ปัญหาทางการเงินของกองทุนโดยให้เป็นภาระของรัฐบาล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
1) ภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 1 และ 2 กำหนดให้ภาครัฐมีดุลเงินสดเกินดุลร้อยละ 1 ของ GDP เพื่อรองรับความเสียหายในภาคการเงิน
2) ภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 3 ได้มีการยกเลิกเงื่อนไขการรักษาดุลเงินสดเกินร้อยละ 1 ของ GDP และกำหนดให้รัฐบาลดำเนินการ (I) ปรับโครงสร้างหนี้สินของกองทุนให้อยู่ในรูปพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาว โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้และ (II) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันเกิดจากความเสียหายที่กองทุนได้รับจากการเข้าไปแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินโดยในส่วนดอกเบี้ยให้รัฐเริ่มรับภาระนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และจะสามารถชำระดอกเบี้ยทั้งหมดของหนี้สินส่วนที่เสียหายเริ่มจากปีงบประมาณ 2543 สำหรับในส่วนต้นเงินบางส่วนให้ชำระจากเงินที่จะได้รับจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(2) ประมาณการความเสียหายอันเกิดจากการดำเนินงานของกองทุนในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินกลุ่ม 56 โครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วฯ และผลขาดทุนจากการลดทุนของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 มียอดเงินวงเงินรวมทั้งสิ้น 727,762 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เมื่อการดำเนินงานขององค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เสร็จสิ้นแล้ว กองทุนจะได้รับเงินเฉลี่ยคืนบางส่วนจาก ปรส.ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นความเสียหายนั้น รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องเข้าไปรับภาระ
จากการประมาณการ วงเงินที่รัฐบาลต้องเข้าไปรับภาระความเสียหายจากส่วนของต้นเงินที่กองทุนเข้าไปให้ความช่วยเหลือฯ โดยอาศัยข้อมูลของ ปรส.คาดว่า ภาระความเสียหายจากส่วนของต้นเงินมีจำนวน 433,038 ล้านบาท และหากรวมภาระดอกเบี้ยจากความเสียหายของส่วนต้นเงิน จนถึงวันที่รัฐบาลจะชดใช้เงินให้แก่กองทุนเสร็จสิ้น (คาดว่าจะเป็นภายในเดือนธันวาคม 2541) อีกประมาณ 67,108 ล้านบาท จะเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 500,000 ล้านบาท
4. สาระสำคัญข้อเสนอกระทรวงการคลัง
เพื่อเป็นการรับภาระความเสียหายตามข้อ 3.(2) และสร้างความชัดเจนในมาตรการการแก้ไขปัญหาวิกฤตินี้ กระทรวงการคลังเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
(1) กู้เงินโดยการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้ระยะปานกลางและระยะยาวโดยกระทรวงการคลัง เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนในวงเงิน 500,000 ล้านบาท โดยจะทยอยกู้เป็นคราว ๆ ไป ภายในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน และในกรณีที่เห็นสมควร ก็ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือลดภาระหนี้เดิมได้
(2) เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ตาม (1) ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกระทรวงการคลังเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ดังกล่าว โดยให้นำส่งเงินเข้ากองทุน ดังนี้
- เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผลประกอบการในแต่ละปี
- เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังนำส่งในจำนวนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
(3) ให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ตาม (1) และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยชดใช้รายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว โดยการนำส่งเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผลกำไรจากการประกอบการในแต่ละปี เป็นรายได้นำส่งคลังจนกว่าจะครบกำหนด
(4) ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับโครงสร้างหนี้สินของกองทุนที่กู้จากธนาคารแห่งประเทศไทยจากหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
การดำเนินการตาม (1) - (3) กระทรวงการคลังได้เสนอให้ออกเป็นพระราชกำหนด
5. เหตุผลสนับสนุน
(1) เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินภาครัฐตามภาระที่กำหนดในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 อย่างเบ็ดเสร็จ ตรงไปตรงมา ขจัดความไม่แน่นอน และสามารถสร้างความมั่นใจในตลาดการเงินระหว่างประเทศว่า รัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเงินที่สำคัญได้อย่างถูกต้อง
(2) ขณะนี้ กองทุนมียอดหนี้คงค้างกว่า 800,000 ล้านบาท เมื่อรวมหนี้ภายใต้โครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วอีก 400,000 กว่าล้านบาท จะเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านล้านบาท โดยหนี้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามภาระดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้มีอัตราโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ต่อปี ถ้าไม่แก้ไขจะเป็นมะเร็งร้าย จึงต้องตัดเพื่อไม่ให้โตขึ้น
(3) ขจัดความบิดเบือนในตลาดการเงินระยะสั้น โดย
- ปรับโครงสร้างหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว จะทำให้ตลาดเงินระยะสั้นของเอกชนสามารถทำงานตามกลไลของตลาด และสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ในที่สุด
- จากการที่สถาบันการเงินมุ่งให้กู้แก่กองทุนนั้น การปรับหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว จะทำให้สถาบันการเงินสามารถหวนกลับมาให้กู้ยืมแก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจเป็นปกติได้
(4) ปัจจุบันโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของกระทรวงการคลังที่จะออกจำหน่ายจึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กองทุนรับภาระตามภาวะตลาดปัจจุบันอันเป็นการลดภาระทางการเงินของรัฐบาล
(5) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐจากหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาวและจากหนี้ของกองทุนเป็นหนี้ของรัฐบาล ไม่ได้มีผลทำให้สภาพคล่องลดจากตลาดการเงินภาคเอกชนแต่อย่างใด (ไม่มี Crowding Out Effect)
(6) พันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลังเป็นจำนวนมากครั้งนี้ จะทำให้เกิดอุปทาน (Supply) ในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างตลาดเงินที่มีโครงสร้างตามมาตรฐานตลาดเงินต่างประเทศเป็นพื้นฐานส่งเสริมการพัฒนาตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่แท้จริงและนำไปสู่การสร้างเสถียรภาพต่อค่าของเงินบาทภายใต้กลไกตลาดในอนาคต
(7) การที่ชาวต่างประเทศนำเงินมาลงทุนในพันธบัตรของกระทรวงการคลัง เนื่องจากการลงทุนในพันธบัตรเงินบาทตามภาวะตลาดปัจจุบัน นักลงทุนจะได้กำไรทั้งส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ และในค่าเงินบาท ซึ่งในระยะยาวต้องปรับตัวสูงขึ้นตามผลการฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินดีขึ้น
(8) การจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยจะมีพื้นฐานการคำนวณที่ชัดเจน มีเหตุมีผล และสามารถชี้แจงได้
(9) การกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระหนี้ในส่วนเงินต้นจะช่วยผ่อนคลายภาระภาครัฐ
6. ข้อสรุป
กระทรวงการคลังขอเรียนย้ำโดยสรุปว่า
1. ภาระความเสียหายของกองทุนเป็นภาระความเสียหายภาครัฐ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยกระทรวงการคลัง และหากไม่ดำเนินการตามข้อเสนอหนี้ของกองทุนก็จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในเวลาไม่ช้า
2. การดำเนินการครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการลดภาระดอกเบี้ยต้นทุนการเงินของภาครัฐแล้ว ยังจะเกิดผลให้สถาบันการเงินหันกลับไปให้กู้ยืมแก่ธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้นและทำให้ตลาดเงินระยะสั้นเป็นไปตามกลไกตลาดโดยปกติได้ ซึ่งอาจมีผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลงได้ในที่สุด
3. การดำเนินการแก้ไขโดยทันทีตามเสนอเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากเพราะรัฐบาลจำต้องขจัดภัยทางเศรษฐกิจโดยเร็วและได้ประโยชน์ต่อระบบธุรกิจภาคเอกชนดังกล่าวข้างต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2541 วันที่ 28 เมษายน 2541--
กระทรวงการคลังขอแถลงข่าวให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ กระทรวงการคลังได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการให้มีการออกฏหมายว่าด้วยการจัดการเกี่ยวกับภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีระบบ อันจะมีส่วนช่วยฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนจากต่างประเทศได้ทางหนึ่ง มีการปรับโครงสร้างแหล่งเงินทุนของกองทุนให้เหมาะสม รวมทั้งมีการกำหนดแหล่งเงินเพื่อนำมาใช้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ออกพระราชกำหนดการจัดการเกี่ยวกับภาระทางการเงินที่รัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.... และเห็นชอบในมาตรการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับโครงสร้างหนี้ที่กองทุนกู้ยืมจากธนาคารให้เหมาะสมด้วย
กระทรวงการคลังขอชี้แจงความเป็นมาและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. เรื่องเดิม
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เห็นชอบให้กองทุนเป็นผู้ดำเนินการแทนกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังมีหนังสือยืนยันว่า รัฐบาลรับรองดูแลมิให้กองทุนได้รับความเสียหายจากการดำเนินการจัดหาสภาพคล่องเพื่อใช้ในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ 58 ราย ซึ่งกระทรวงการคลังได้ออกหนังสือรับรองความเสียหายให้แก่กองทุนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 แล้ว และต่อมา รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ซึ่งมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2540 ทั้งนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่สุจริตในกรณีสถาบันการเงินนั้นประสบปัญหา โดยการให้อำนาจหรือเพิ่มบทบาทของกองทุนในการดำเนินการเพื่อการดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนเพื่อรองรับความเสียหายทางการเงินที่พึงมีในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลรวม 4 ประการ ดังนี้
(1) ให้กองทุนมีอำนาจเพิ่มทุนในการคำนวณเงินที่สถาบันการเงินต้องนำส่งเพื่อให้กองทุนสามารถรับภาระการประกันผู้ฝากและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน
(2) ให้กองทุนให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสมควรแก่กรณีสำหรับผู้ฝากเงิน หรือเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ต้องเสียหาย เนื่องจากสถาบันการเงินดังกล่าว ประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินอย่างร้ายแรง
(3) ในกรณีที่กองทุนได้ประกันหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ตาม (2) และได้รับความเสียหาย ให้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นแก่กองทุน
(4) ในกรณีของหลักประกันที่กองทุนได้เรียกไว้ในการให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ถ้าคณะกรรมการจัดการกองทุนเห็นว่า มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเป็นธรรมและความมั่นคงของระบบการเงิน คณะกรรมการจัดการกองทุนจะสละหลักประกันดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหนี้อื่นของสถาบันการเงินนั้นได้รับเฉลี่ยหนี้ตามความเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดการกองทุนกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
2. ฐานะการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
2.1 ฐานะการเงินในปัจจุบัน
ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 กองทุนมีสินทรัพย์ 874,307 ล้านบาท และหนี้สิน 903,327 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าสินทรัพย์อยู่ 29,020 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนยังมีภาระค้ำประกันโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) และภาระอาวัลตั๋วของสถาบันการเงิน กลุ่ม 56 ซึ่งมียอดคงค้างรวมทั้งสิ้น 284,934 ล้านบาท ดังนั้น หากรวมภาระนี้ กองทุนจะมีสินทรัพย์และภาระผูกพันในภายหน้ารวมทั้งสิ้น 1,159,241 ล้านบาท และมีหนี้สินและภาระผูกพันในภายหน้า รวมทั้งสิ้น 1,188,261 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ทั้งสิ้น 82,238 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยรายการที่สำคัญ ได้แก่ ผลขาดทุนสะสมสำหรับปี 2540 จำนวน 33,914 ล้านบาท ผลขาดทุนจากการถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์ 3 ราย ที่ทางการมีคำสั่งให้ลดทุน จำนวน 29,273 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าดอกเบี้ยรับสำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปี 2541 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 18,546 ล้านบาท โดยคาดว่าจำนวนค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 191,720 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2541 ซึ่งมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการที่กองทุนมีภาระด้านดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าดอกเบี้ยรับเป็นจำนวนมาก
2.2 โครงสร้างหนี้
(1) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2541 กองทุนมีโครงสร้างหนี้ที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย ดังนี้
วงเงิน อัตราดอกเบี้ย
ล้านบาท สัดส่วน ร้อยละต่อปี ระยะเงินกู้
เงินกู้ยืม Interbank- ปกติ 1,391.3 0.16 18.87 at call
ธนาคารพาณิชย์ 610.0 0.07
สถาบันการเงิน - -
กองทุนเปิด 75.0 0.01
อบส. 256.3 0.03
บริษัทหลักทรัพย์ 450.0 0.05
เงินกู้ยืม Interbank-Recycled 42,563.2 5.00 22.25 at call
ธนาคารพาณิชย์ 41,924.2 4.92
สถาบันการเงิน 639.0 0.08
พันธบัตรประมูล 47,091.0 5.53 13.96 ส่วนใหญ่
ธนาคารพาณิชย์ 36,513.0 4.29 3-6 เดือน
บริษัทเงินทุน,
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
และบริษัทหลักทรัพย์ 10,578.0 1.24
พันธบัตร R/P 714,931.0 83.93 21.05 ส่วนใหญ่
ธปท. 327,070.0 38.40 1 วัน -
สถาบันการเงิน 387,861.0 45.53 1 เดือน
เงินทดรอง ธปท. 45,788.0 5.38 9.71 1 ปี
รวม 851,764.5 100.00 20.43
(2) จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น การที่หนี้สินส่วนใหญ่ของกองทุนอยู่ในรูปพันธบัตร R/P ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 714,931 ล้านบาท หรือร้อยละ 84 ของหนี้สินสำคัญทั้งสิ้น (ประกอบด้วย ส่วนที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 387,861 ล้านบาท และธนาคารแห่งประเทศไทย 327,070 ล้านบาท) และเงินกู้ยืม Interbank - Recycled จำนวน 42,563.20 ล้านบาท ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 21.05 ต่อปี และร้อยละ 22.25 ต่อปี ตามลำดับ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ต้นทุนการกู้เงินของกองทุนมีอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 20.43 ต่อปี นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้นอยู่ในระดับสูง และเป็นผลกระทบต่อโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินทั้งระบบ
(3) จากข้อเท็จจริงตามนัยที่กล่าวข้างต้น หากทางการไม่เข้าไปแก้ไขจะเกิดวิกฤติอย่างใหญ่หลวง สร้างภาระในอนาคต กล่าวคือ กองทุนจะมียอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวภายในเวลาไม่ถึง 4 ปี และโดยที่กองทุนเป็นองค์กรของรัฐ หากเกิดความเสียหายรัฐบาลก็จะต้องเป็นผู้รับภาระนอกจากนั้น การที่กองทุนกู้เงินระยะสั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาอันเกิดจากวิกฤตการณ์ในสถาบันการเงินกลุ่ม 56 ซึ่งเป็นปัญหาระยะยาว จึงไม่เป็นการเหมาะสม ทั้งยังทำให้เกิดการบิดเบือนในตลาดการเงินในประเทศ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปและมีแนวโน้มลดลงได้ยาก เนื่องจากสถาบันการเงินต่างมุ่งให้กู้ยืมแก่กองทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพราะได้อัตราดอกเบี้ยสูง ไม่มีความเสี่ยง มีสภาพคล่องสูง ไม่นับเป็นสินทรัพย์เสี่ยง และยังนำไปสำรองแทนเงินสดได้ด้วย ระบบการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงไม่สามารถหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจได้
3. การรับภาระความเสียหายโดยรัฐและการปรับโครงสร้างหนี้
(1) ตามกรอบความตกลงกับ IMF ทางการได้ตกลงในหลักการแก้ปัญหาทางการเงินของกองทุนโดยให้เป็นภาระของรัฐบาล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
1) ภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 1 และ 2 กำหนดให้ภาครัฐมีดุลเงินสดเกินดุลร้อยละ 1 ของ GDP เพื่อรองรับความเสียหายในภาคการเงิน
2) ภายใต้หนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 3 ได้มีการยกเลิกเงื่อนไขการรักษาดุลเงินสดเกินร้อยละ 1 ของ GDP และกำหนดให้รัฐบาลดำเนินการ (I) ปรับโครงสร้างหนี้สินของกองทุนให้อยู่ในรูปพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาว โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้และ (II) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันเกิดจากความเสียหายที่กองทุนได้รับจากการเข้าไปแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินโดยในส่วนดอกเบี้ยให้รัฐเริ่มรับภาระนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 และจะสามารถชำระดอกเบี้ยทั้งหมดของหนี้สินส่วนที่เสียหายเริ่มจากปีงบประมาณ 2543 สำหรับในส่วนต้นเงินบางส่วนให้ชำระจากเงินที่จะได้รับจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(2) ประมาณการความเสียหายอันเกิดจากการดำเนินงานของกองทุนในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินกลุ่ม 56 โครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วฯ และผลขาดทุนจากการลดทุนของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 มียอดเงินวงเงินรวมทั้งสิ้น 727,762 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เมื่อการดำเนินงานขององค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เสร็จสิ้นแล้ว กองทุนจะได้รับเงินเฉลี่ยคืนบางส่วนจาก ปรส.ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นความเสียหายนั้น รัฐบาลมีพันธะที่จะต้องเข้าไปรับภาระ
จากการประมาณการ วงเงินที่รัฐบาลต้องเข้าไปรับภาระความเสียหายจากส่วนของต้นเงินที่กองทุนเข้าไปให้ความช่วยเหลือฯ โดยอาศัยข้อมูลของ ปรส.คาดว่า ภาระความเสียหายจากส่วนของต้นเงินมีจำนวน 433,038 ล้านบาท และหากรวมภาระดอกเบี้ยจากความเสียหายของส่วนต้นเงิน จนถึงวันที่รัฐบาลจะชดใช้เงินให้แก่กองทุนเสร็จสิ้น (คาดว่าจะเป็นภายในเดือนธันวาคม 2541) อีกประมาณ 67,108 ล้านบาท จะเป็นเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 500,000 ล้านบาท
4. สาระสำคัญข้อเสนอกระทรวงการคลัง
เพื่อเป็นการรับภาระความเสียหายตามข้อ 3.(2) และสร้างความชัดเจนในมาตรการการแก้ไขปัญหาวิกฤตินี้ กระทรวงการคลังเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
(1) กู้เงินโดยการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้ระยะปานกลางและระยะยาวโดยกระทรวงการคลัง เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนในวงเงิน 500,000 ล้านบาท โดยจะทยอยกู้เป็นคราว ๆ ไป ภายในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน และในกรณีที่เห็นสมควร ก็ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ หรือลดภาระหนี้เดิมได้
(2) เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้ตาม (1) ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกระทรวงการคลังเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ดังกล่าว โดยให้นำส่งเงินเข้ากองทุน ดังนี้
- เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผลประกอบการในแต่ละปี
- เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังนำส่งในจำนวนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
(3) ให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ตาม (1) และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยชดใช้รายจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว โดยการนำส่งเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของผลกำไรจากการประกอบการในแต่ละปี เป็นรายได้นำส่งคลังจนกว่าจะครบกำหนด
(4) ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับโครงสร้างหนี้สินของกองทุนที่กู้จากธนาคารแห่งประเทศไทยจากหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
การดำเนินการตาม (1) - (3) กระทรวงการคลังได้เสนอให้ออกเป็นพระราชกำหนด
5. เหตุผลสนับสนุน
(1) เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินภาครัฐตามภาระที่กำหนดในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 อย่างเบ็ดเสร็จ ตรงไปตรงมา ขจัดความไม่แน่นอน และสามารถสร้างความมั่นใจในตลาดการเงินระหว่างประเทศว่า รัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเงินที่สำคัญได้อย่างถูกต้อง
(2) ขณะนี้ กองทุนมียอดหนี้คงค้างกว่า 800,000 ล้านบาท เมื่อรวมหนี้ภายใต้โครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วอีก 400,000 กว่าล้านบาท จะเป็นเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านล้านบาท โดยหนี้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามภาระดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้มีอัตราโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ต่อปี ถ้าไม่แก้ไขจะเป็นมะเร็งร้าย จึงต้องตัดเพื่อไม่ให้โตขึ้น
(3) ขจัดความบิดเบือนในตลาดการเงินระยะสั้น โดย
- ปรับโครงสร้างหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว จะทำให้ตลาดเงินระยะสั้นของเอกชนสามารถทำงานตามกลไลของตลาด และสามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ในที่สุด
- จากการที่สถาบันการเงินมุ่งให้กู้แก่กองทุนนั้น การปรับหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาว จะทำให้สถาบันการเงินสามารถหวนกลับมาให้กู้ยืมแก่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจเป็นปกติได้
(4) ปัจจุบันโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของกระทรวงการคลังที่จะออกจำหน่ายจึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กองทุนรับภาระตามภาวะตลาดปัจจุบันอันเป็นการลดภาระทางการเงินของรัฐบาล
(5) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาครัฐจากหนี้ระยะสั้นเป็นหนี้ระยะยาวและจากหนี้ของกองทุนเป็นหนี้ของรัฐบาล ไม่ได้มีผลทำให้สภาพคล่องลดจากตลาดการเงินภาคเอกชนแต่อย่างใด (ไม่มี Crowding Out Effect)
(6) พันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลังเป็นจำนวนมากครั้งนี้ จะทำให้เกิดอุปทาน (Supply) ในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างตลาดเงินที่มีโครงสร้างตามมาตรฐานตลาดเงินต่างประเทศเป็นพื้นฐานส่งเสริมการพัฒนาตลาดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่แท้จริงและนำไปสู่การสร้างเสถียรภาพต่อค่าของเงินบาทภายใต้กลไกตลาดในอนาคต
(7) การที่ชาวต่างประเทศนำเงินมาลงทุนในพันธบัตรของกระทรวงการคลัง เนื่องจากการลงทุนในพันธบัตรเงินบาทตามภาวะตลาดปัจจุบัน นักลงทุนจะได้กำไรทั้งส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ และในค่าเงินบาท ซึ่งในระยะยาวต้องปรับตัวสูงขึ้นตามผลการฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศทำให้สภาพคล่องในระบบการเงินดีขึ้น
(8) การจัดสรรงบประมาณเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยจะมีพื้นฐานการคำนวณที่ชัดเจน มีเหตุมีผล และสามารถชี้แจงได้
(9) การกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระหนี้ในส่วนเงินต้นจะช่วยผ่อนคลายภาระภาครัฐ
6. ข้อสรุป
กระทรวงการคลังขอเรียนย้ำโดยสรุปว่า
1. ภาระความเสียหายของกองทุนเป็นภาระความเสียหายภาครัฐ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยกระทรวงการคลัง และหากไม่ดำเนินการตามข้อเสนอหนี้ของกองทุนก็จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในเวลาไม่ช้า
2. การดำเนินการครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการลดภาระดอกเบี้ยต้นทุนการเงินของภาครัฐแล้ว ยังจะเกิดผลให้สถาบันการเงินหันกลับไปให้กู้ยืมแก่ธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้นและทำให้ตลาดเงินระยะสั้นเป็นไปตามกลไกตลาดโดยปกติได้ ซึ่งอาจมีผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลงได้ในที่สุด
3. การดำเนินการแก้ไขโดยทันทีตามเสนอเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากเพราะรัฐบาลจำต้องขจัดภัยทางเศรษฐกิจโดยเร็วและได้ประโยชน์ต่อระบบธุรกิจภาคเอกชนดังกล่าวข้างต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2541 วันที่ 28 เมษายน 2541--