นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยว่า การจัดงาน ASEAN Finance Ministers’ Investor Seminar ครั้งที่ 2 ในช่วง Individual Country Breakout Session เป็นการจัด Roadshow ของแต่ละประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนที่ร่วมจัดงานทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ ในส่วนของประเทศไทยมีการแบ่งออกเป็น 2 workshops ได้แก่ workshop 1 เป็นการพบปะระหว่างนักลงทุนยุโรปและผู้แทนจากภาครัฐในช่วงบ่ายของวันที่ 21 กันยายน 2548 และ workshop 2 เป็นการหารือ one-on-one ระหว่างนักลงทุนยุโรปกับบริษัทเอกชนไทย ซึ่งจัดในวันที่ 21 และ 22 กันยายน 2548
สำหรับ workshop 1 เป็นการพบปะระหว่างนักลงทุนยุโรปและผู้แทนจากภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้บริหารกองทุนในสหราชอาณาจักรและภูมิภาคยุโรปที่สนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ในโอกาสนี้ ดร. ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แถลงเกี่ยวกับภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ของประเทศ รวมถึงโอกาสในการลงทุนและมาตรการการพัฒนาตลาดทุนของไทย และได้มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และตอบข้อซักถามแก่นักลงทุนโดยมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย ดร. วีระพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. อรรชกา บริมเบิล ที่ปรึกษาการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การจัดงานในช่วงนี้ ได้มีการชี้แจงถึงสถานะการคลัง และการเงินที่แข็งแกร่งของประเทศไทย โดยในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องมาจากการลงทุนภาครัฐ และการเพิ่มขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน โดยจะเป็นการขยายตัวที่อยู่บนพื้นฐานของเสถียรภาพภายใน และภายนอกที่มั่นคง รวมทั้งยังเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน สำหรับแนวนโยบายในการปรับโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเติบโต อย่างมั่นคงของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาด (Market capitalization) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) และนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่มีแผนการนำรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
สำหรับ workshop 2 เป็นการหารือ one-on-one ระหว่างนักลงทุนยุโรปกับผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทจากประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นักลงทุนได้ซักถามผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวในประเด็นที่สนใจ และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
การจัด Individual Country Breakout Session ของประเทศไทยในครั้งนี้เป็น การประชาสัมพันธ์ และสามารถสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่มีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว รวมถึงสร้างความพร้อมให้แก่นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งรูปแบบของการลงทุน ทางตรง และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินอื่นๆ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78/2548 21 กันยายน 48--
สำหรับ workshop 1 เป็นการพบปะระหว่างนักลงทุนยุโรปและผู้แทนจากภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นผู้บริหารกองทุนในสหราชอาณาจักรและภูมิภาคยุโรปที่สนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย ในโอกาสนี้ ดร. ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แถลงเกี่ยวกับภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ของประเทศ รวมถึงโอกาสในการลงทุนและมาตรการการพัฒนาตลาดทุนของไทย และได้มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และตอบข้อซักถามแก่นักลงทุนโดยมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย ดร. วีระพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. อรรชกา บริมเบิล ที่ปรึกษาการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และนายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การจัดงานในช่วงนี้ ได้มีการชี้แจงถึงสถานะการคลัง และการเงินที่แข็งแกร่งของประเทศไทย โดยในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวมากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องมาจากการลงทุนภาครัฐ และการเพิ่มขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน โดยจะเป็นการขยายตัวที่อยู่บนพื้นฐานของเสถียรภาพภายใน และภายนอกที่มั่นคง รวมทั้งยังเป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน สำหรับแนวนโยบายในการปรับโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเติบโต อย่างมั่นคงของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาด (Market capitalization) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) และนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่มีแผนการนำรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
สำหรับ workshop 2 เป็นการหารือ one-on-one ระหว่างนักลงทุนยุโรปกับผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทจากประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นักลงทุนได้ซักถามผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวในประเด็นที่สนใจ และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
การจัด Individual Country Breakout Session ของประเทศไทยในครั้งนี้เป็น การประชาสัมพันธ์ และสามารถสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่มีการลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว รวมถึงสร้างความพร้อมให้แก่นักลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั้งรูปแบบของการลงทุน ทางตรง และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินอื่นๆ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78/2548 21 กันยายน 48--