สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--20 พ.ย.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ยางพารา : คาดว่าราคายางจะโน้มต่ำลง
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2539 เป็นต้นมา ประกอบกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียที่ทวีความรุนแรงและเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ รวมทั้งประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคต้องประหยัดรายจ่ายมากขึ้น ขณะเดียวกันยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ปี 2540 ลดลงกว่าร้อยละ 30 เป็นเหตุให้อุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติลดลงด้วย นอกจากนี้มีสต็อกยางพาราจากการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาด จำนวน 130,000 ตัน ซึ่งผู้ซื้อรอดูท่าทีในการระบายสต็อกยางดังกล่าว
ประกอบกับในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์จะเป็นช่วงฤดูกาลที่ยางจะออกสู่ตลาดมาก คาดว่าจะมีประมาณ 1 ล้านตัน อาจจะส่งผลให้ราคายางที่เกษตรกรขายได้ต่ำลง ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับราคากิโลกรัมละ 24.11 บาท เมื่อเทียบกับ 25.52 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ข้อคิดเห็น
1) เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกร เห็นควรเร่งศึกษาข้อมูลต้นทุนการผลิต ต้นทุนการตลาด และราคาในตลาดโลก เพื่อนำไปกำหนดนโยบายในการแทรกแซงตลาดยางพารา
2) ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและต่างประหยัดรายจ่ายนั้น การค้าระหว่าง-ประเทศ ควรเป็นการเจรจาซื้อ-ขายระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ในลักษณะการค้าต่าง-ตอบแทน (Bilateral Trade)
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : El Nino ส่งผลดีต่อข้าวไทยในตลาดโลก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้สรุปผลการสำรวจข้าวนาปรัง ปี 2540 ว่ามีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 6.437 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 5.946 ล้านไร่ ของปีก่อนร้อยละ 8.26 และได้ผลผลิต 4.550 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 4.289 ล้านตันข้าวเปลือก ของปีก่อนร้อยละ 6.09 เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลักมีมากพอ และราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจ ประกอบกับมีหลายพื้นที่ในแหล่งปลูกประสบภาวะน้ำท่วมข้าวนาปีเสียหาย เกษตรกรได้ปลูกซ้ำ
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยทั่วไปอ่อนตัวลง เนื่องจากความ-ต้องการของผู้ส่งออกลดน้อยลง ประกอบกับเริ่มมีข้าวใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกว่าในปี 2540/41 โลกจะผลิตข้าวได้ประมาณ 381.94 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 378.99 ล้านตันข้าวสารของปี 2539/40 ร้อยละ 0.78 ประเทศที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะมี 19.19 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 16.92 ล้านตันข้าวสาร ของปีก่อนร้อยละ 13.42 ทั้งนี้เป็นผลที่เกิดจากปรากฏการณ์ El Nino ทำให้สภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวน ส่งผลให้เกิดสภาพแห้งแล้งและภาวะน้ำท่วม ผลผลิตทางการเกษตรในหลายประเทศทั่วโลกได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะผลผลิตข้าว ซึ่งประเทศผู้ผลิตข้าวที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เป็นต้น
- อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ ปีใดที่ผลผลิตในประเทศเสียหายจะต้องนำเข้าข้าวเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภค จากรายงานข่าวว่าปีนี้อินโดนีเซียประสบปัญหาแห้งแล้งอย่างรุนแรงก่อให้เกิดไฟป่า เผาผลาญไปล้านกว่าไร่ ซึ่งเป็นผลของปรากฏการณ์ El Nino ดังกล่าวแล้ว คาดว่าผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียจะได้รับความเสียหาย โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนในเดือนพฤศจิกายน 2540 เบื้องต้นว่าในปี 2540/41 อินโดนีเซีย จะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.50 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 1.0 ล้านตันข้าวสาร ของเดือนก่อนร้อยละ 50 และเพิ่มจากปีที่แล้ว 1.5 เท่า
- ฟิลิปปินส์ ปรากฏการณ์ El Nino ทำให้เกิดฝนทิ้งช่วงเกิดภาวะความแห้งแล้ง และทำให้ผลผลิตข้าวลดลงเหลือ 11.4 ล้านตัน จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 11.9 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.20 ในแต่ละปีฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีถึง 22,000 ตันต่อวัน สำหรับปี 2540 นี้ คาดว่าจะนำเข้าเป็นจำนวน 720,000 ตัน ส่วนในปี 2541 คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.0 - 1.2 ล้านตัน
- เวียดนาม ผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นลินดา ได้ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวได้รับความเสียหายประมาณ 6.5 ล้านไร่ คิดเป็นผลผลิตข้าว 1.0 ล้านตัน จากผลลิตข้าวที่คาดว่าจะได้ทั้งหมดในปี 2541 จำนวน 18.0 ล้านตัน และคาดว่าจะส่งออกได้ 3.5 ล้านตัน ได้ลดลงจากที่ตั้งเป้าหมายส่งออกไว้ 3.7 ล้านตัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากสต็อกภายในประเทศลดลง และผลผลิตที่ลดลงดังกล่าวแล้ว
สำหรับประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงเช่นกัน แต่ความเสียหายมีไม่มาก ในปี 2540/41 ผลผลิตคาดว่าจะมี 17.839 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 17.782 ล้านตันข้าวเปลือกของปี 2539/40 ร้อยละ 0.32 และจากสถานการณ์การผลิตข้าวในภูมิ-ภาคเอเซียที่ลดลงดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะส่งผลดีต่อข้าวไทยในตลาดโลก โดยแนวโน้มการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ข้าวไทยจะได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่น ๆ โดยเฉพาะเวียดนาม เพราะการลดค่าเงินบาททำให้ราคาข้าวไทยถูกลงกว่าเดิม
2.2 มันสำปะหลัง : คาดว่าราคาหัวมันสด ปี 2540/41 จะดีกว่าปีก่อน
หน่วย : บาท/กก.
ปี 2540 ปี 2539
ตุลาคม 0.67 0.76
สัปดาห์ที่ 1 0.70 0.83
สัปดาห์ที่ 2 0.69 0.78
สัปดาห์ที่ 3 0.71 0.72
สัปดาห์ที่ 4 0.74 0.72
พฤศจิกายน
สัปดาห์ที่ 1 0.83 0.72
สัปดาห์ที่ 2 0.88 0.67
ในปี 2540/41 นี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดจะมีแนวโน้มที่ดี เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการคือ
1) ในปี 2540/41 คาดว่าทั่วประเทศจะผลิตหัวมันสำปะหลังสดได้ 16.969 ล้านตัน ต่ำกว่า 17.388 ล้านตัน ในปีก่อนประมาณร้อยละ 2.41 ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาหัวมันสดมีราคาตกต่ำอย่างรุนแรง ในปีที่ผ่านมา จึงได้ลดการเพาะปลูกลง
2) อินโดนีเซีย ซึ่งเคยเป็นประเทศคู่แข่งขันของไทย ในการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจำหน่ายในตลาดโลก แต่ในปีนี้ผลผลิตประสบความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะเกิดสภาวะอากาศผิดปกติมีความแห้งแล้งจากวิกฤตการณ์เอล-นีโน่ และเกิดไฟไหม้ป่า ทำลายแหล่งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งมันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้มันสำปะหลังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของอินโดนีเซีย จึงต้องนำเข้าแป้งมันจากไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะนำเข้าจนถึงประมาณเดือนมิถุนายน 2541
3) จีน ได้ประกาศลดอัตราภาษีการนำเข้าแป้งมันสำปะหลัง จากเดิมร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 20 ซึ่งจะช่วยให้การค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยในประเทศ มีโอกาสในการแข่งขันได้ดีขึ้นและคาดว่า การค้าจะขยายตัวในปริมาณที่มากขึ้นด้วย
จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในปี 2540/41 ตลาดส่งออกแป้งมัน-สำปะหลัง มีลู่ทางแจ่มใส ส่วนตลาดมันอัดเม็ดก็ยังคงส่งไปสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทยและยังมีโควตามากเพียงพอที่จะรองรับผลผลิตได้
ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขอแนะนำเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังว่า ในฤดูการเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึงนี้ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องเร่งขุดหัวมันสดออกมาจำหน่าย แต่ควรจะทยอยขุดออกมาขายเป็นระยะ ๆ ให้มีปริมาณพอเหมาะกับกำลังการผลิตของโรงงานแปรรูปในแต่ละวัน
สำหรับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ในขณะนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 0.86 บาท ซึ่งสูงกว่า กิโลกรัมละ 0.70 บาท ในปีก่อนถึงร้อยละ 22.86 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มราคากำลังปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2540--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ยางพารา : คาดว่าราคายางจะโน้มต่ำลง
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2539 เป็นต้นมา ประกอบกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียที่ทวีความรุนแรงและเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ รวมทั้งประเทศไทย ทำให้ผู้บริโภคต้องประหยัดรายจ่ายมากขึ้น ขณะเดียวกันยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ปี 2540 ลดลงกว่าร้อยละ 30 เป็นเหตุให้อุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ซึ่งมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติลดลงด้วย นอกจากนี้มีสต็อกยางพาราจากการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาด จำนวน 130,000 ตัน ซึ่งผู้ซื้อรอดูท่าทีในการระบายสต็อกยางดังกล่าว
ประกอบกับในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์จะเป็นช่วงฤดูกาลที่ยางจะออกสู่ตลาดมาก คาดว่าจะมีประมาณ 1 ล้านตัน อาจจะส่งผลให้ราคายางที่เกษตรกรขายได้ต่ำลง ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับราคากิโลกรัมละ 24.11 บาท เมื่อเทียบกับ 25.52 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ข้อคิดเห็น
1) เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกร เห็นควรเร่งศึกษาข้อมูลต้นทุนการผลิต ต้นทุนการตลาด และราคาในตลาดโลก เพื่อนำไปกำหนดนโยบายในการแทรกแซงตลาดยางพารา
2) ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและต่างประหยัดรายจ่ายนั้น การค้าระหว่าง-ประเทศ ควรเป็นการเจรจาซื้อ-ขายระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ในลักษณะการค้าต่าง-ตอบแทน (Bilateral Trade)
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ข้าว : El Nino ส่งผลดีต่อข้าวไทยในตลาดโลก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้สรุปผลการสำรวจข้าวนาปรัง ปี 2540 ว่ามีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 6.437 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 5.946 ล้านไร่ ของปีก่อนร้อยละ 8.26 และได้ผลผลิต 4.550 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 4.289 ล้านตันข้าวเปลือก ของปีก่อนร้อยละ 6.09 เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลักมีมากพอ และราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจ ประกอบกับมีหลายพื้นที่ในแหล่งปลูกประสบภาวะน้ำท่วมข้าวนาปีเสียหาย เกษตรกรได้ปลูกซ้ำ
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวโดยทั่วไปอ่อนตัวลง เนื่องจากความ-ต้องการของผู้ส่งออกลดน้อยลง ประกอบกับเริ่มมีข้าวใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนผลผลิตข้าวโลกว่าในปี 2540/41 โลกจะผลิตข้าวได้ประมาณ 381.94 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 378.99 ล้านตันข้าวสารของปี 2539/40 ร้อยละ 0.78 ประเทศที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะมี 19.19 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 16.92 ล้านตันข้าวสาร ของปีก่อนร้อยละ 13.42 ทั้งนี้เป็นผลที่เกิดจากปรากฏการณ์ El Nino ทำให้สภาพอากาศทั่วโลกแปรปรวน ส่งผลให้เกิดสภาพแห้งแล้งและภาวะน้ำท่วม ผลผลิตทางการเกษตรในหลายประเทศทั่วโลกได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะผลผลิตข้าว ซึ่งประเทศผู้ผลิตข้าวที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เป็นต้น
- อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ ปีใดที่ผลผลิตในประเทศเสียหายจะต้องนำเข้าข้าวเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภค จากรายงานข่าวว่าปีนี้อินโดนีเซียประสบปัญหาแห้งแล้งอย่างรุนแรงก่อให้เกิดไฟป่า เผาผลาญไปล้านกว่าไร่ ซึ่งเป็นผลของปรากฏการณ์ El Nino ดังกล่าวแล้ว คาดว่าผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียจะได้รับความเสียหาย โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนในเดือนพฤศจิกายน 2540 เบื้องต้นว่าในปี 2540/41 อินโดนีเซีย จะมีการนำเข้าข้าวประมาณ 1.50 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 1.0 ล้านตันข้าวสาร ของเดือนก่อนร้อยละ 50 และเพิ่มจากปีที่แล้ว 1.5 เท่า
- ฟิลิปปินส์ ปรากฏการณ์ El Nino ทำให้เกิดฝนทิ้งช่วงเกิดภาวะความแห้งแล้ง และทำให้ผลผลิตข้าวลดลงเหลือ 11.4 ล้านตัน จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 11.9 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 4.20 ในแต่ละปีฟิลิปปินส์จะต้องนำเข้าข้าวเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศที่มีถึง 22,000 ตันต่อวัน สำหรับปี 2540 นี้ คาดว่าจะนำเข้าเป็นจำนวน 720,000 ตัน ส่วนในปี 2541 คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 1.0 - 1.2 ล้านตัน
- เวียดนาม ผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นลินดา ได้ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวได้รับความเสียหายประมาณ 6.5 ล้านไร่ คิดเป็นผลผลิตข้าว 1.0 ล้านตัน จากผลลิตข้าวที่คาดว่าจะได้ทั้งหมดในปี 2541 จำนวน 18.0 ล้านตัน และคาดว่าจะส่งออกได้ 3.5 ล้านตัน ได้ลดลงจากที่ตั้งเป้าหมายส่งออกไว้ 3.7 ล้านตัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากสต็อกภายในประเทศลดลง และผลผลิตที่ลดลงดังกล่าวแล้ว
สำหรับประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วงเช่นกัน แต่ความเสียหายมีไม่มาก ในปี 2540/41 ผลผลิตคาดว่าจะมี 17.839 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 17.782 ล้านตันข้าวเปลือกของปี 2539/40 ร้อยละ 0.32 และจากสถานการณ์การผลิตข้าวในภูมิ-ภาคเอเซียที่ลดลงดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะส่งผลดีต่อข้าวไทยในตลาดโลก โดยแนวโน้มการส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ข้าวไทยจะได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่น ๆ โดยเฉพาะเวียดนาม เพราะการลดค่าเงินบาททำให้ราคาข้าวไทยถูกลงกว่าเดิม
2.2 มันสำปะหลัง : คาดว่าราคาหัวมันสด ปี 2540/41 จะดีกว่าปีก่อน
หน่วย : บาท/กก.
ปี 2540 ปี 2539
ตุลาคม 0.67 0.76
สัปดาห์ที่ 1 0.70 0.83
สัปดาห์ที่ 2 0.69 0.78
สัปดาห์ที่ 3 0.71 0.72
สัปดาห์ที่ 4 0.74 0.72
พฤศจิกายน
สัปดาห์ที่ 1 0.83 0.72
สัปดาห์ที่ 2 0.88 0.67
ในปี 2540/41 นี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดจะมีแนวโน้มที่ดี เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการคือ
1) ในปี 2540/41 คาดว่าทั่วประเทศจะผลิตหัวมันสำปะหลังสดได้ 16.969 ล้านตัน ต่ำกว่า 17.388 ล้านตัน ในปีก่อนประมาณร้อยละ 2.41 ทั้งนี้ เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาหัวมันสดมีราคาตกต่ำอย่างรุนแรง ในปีที่ผ่านมา จึงได้ลดการเพาะปลูกลง
2) อินโดนีเซีย ซึ่งเคยเป็นประเทศคู่แข่งขันของไทย ในการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจำหน่ายในตลาดโลก แต่ในปีนี้ผลผลิตประสบความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะเกิดสภาวะอากาศผิดปกติมีความแห้งแล้งจากวิกฤตการณ์เอล-นีโน่ และเกิดไฟไหม้ป่า ทำลายแหล่งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งมันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้มันสำปะหลังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของอินโดนีเซีย จึงต้องนำเข้าแป้งมันจากไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะนำเข้าจนถึงประมาณเดือนมิถุนายน 2541
3) จีน ได้ประกาศลดอัตราภาษีการนำเข้าแป้งมันสำปะหลัง จากเดิมร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 20 ซึ่งจะช่วยให้การค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยในประเทศ มีโอกาสในการแข่งขันได้ดีขึ้นและคาดว่า การค้าจะขยายตัวในปริมาณที่มากขึ้นด้วย
จากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในปี 2540/41 ตลาดส่งออกแป้งมัน-สำปะหลัง มีลู่ทางแจ่มใส ส่วนตลาดมันอัดเม็ดก็ยังคงส่งไปสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทยและยังมีโควตามากเพียงพอที่จะรองรับผลผลิตได้
ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขอแนะนำเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังว่า ในฤดูการเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึงนี้ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องเร่งขุดหัวมันสดออกมาจำหน่าย แต่ควรจะทยอยขุดออกมาขายเป็นระยะ ๆ ให้มีปริมาณพอเหมาะกับกำลังการผลิตของโรงงานแปรรูปในแต่ละวัน
สำหรับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ในขณะนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 0.86 บาท ซึ่งสูงกว่า กิโลกรัมละ 0.70 บาท ในปีก่อนถึงร้อยละ 22.86 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มราคากำลังปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ก็ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 10-16 พฤศจิกายน 2540--