กรุงเทพ--16 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (16 ตุลาคม 2541) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนดังนี้
ประเทศไทยขอแสดงความห่วงใยและความผิดหวัง (concern and dissappointment) ที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ยกร่างข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยประเทศไทยเห็นว่า การยกร่างข้อระเบียบใหม่เกี่ยวกับระบบ GSP ของคณะกรรมาธิการยุโรปมีข้อบกพร่องใน 2 ประเด็นใหญ่ คือ
1. ในเรื่องหลักการทางกรรมาธิการยุโรปได้ใช้ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจของปี 2539 (ค.ศ. 1996) ในการคำนวณ ว่าสินค้าใดควรจะได้รับสิทธิ GSP โดยที่ประเทศไทยเคยได้เรียกร้องแล้วว่า เมื่อให้การพิจารณาสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ควรใช้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของปี 2540 เพราะว่า ตามหลักของการให้สิทธิ GSP นั้น จะต้องพิจารณาระดับการพัฒนาการเศรษฐกิจ และขีดความสามารถทางการแข่งขัน ดังนั้นการใช้ตัวเลขของปี 2539 นั้น จึงถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักการของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงในปัจจุบันของไทย
2. มีการเลือกประติบัติเนื่องจากข้อเสนอระเบียบใหม่ของคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว กลับมีบางกลุ่มบางประเทศที่ได้สิทธิพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประเทศตลาดร่วมในอเมริกากลาง (Central American Common Market หรือ CACM) ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่ได้ประสบภาวะเศรษฐกิจรุนแรงเช่นไทย หรือประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
ประเทศไทยจึงถือว่าการกระทำของคณะกรรมาธิการยุโรปในครั้งนี้ไม่สอดคล้องกันกับเจตนารมย์และคำแถลงของผู้นำยุโรป ซึ่งได้กล่าวในหลายโอกาส เช่น ในการประชุม ASEM และการประชุมระหว่างประเทศอื่นๆ ว่ามีความต้องการจะเข้าช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในเอเชีย เพราะแทนที่จะให้โอกาสและความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น กลับมีข้อเสนอที่ริดรอนสิทธิต่างๆ ของสินค้าของไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดยุโรป
อนึ่ง สินค้าอุตสาหกรรม 6 สาขา ที่จะได้รับผลกระทบนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมาได้แก่ พลาสติก ยาง เครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า อัญมณี และเครื่องประดับ รวมทั้งหมวดรายการสินค้าอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าหลักของไทยทั้งสิ้น ส่วนสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน ได้แก่ พืช ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ประมงและอาหาร ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 90 % ของสินค้าไทยที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP จาสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
วันนี้ (16 ตุลาคม 2541) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนดังนี้
ประเทศไทยขอแสดงความห่วงใยและความผิดหวัง (concern and dissappointment) ที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ยกร่างข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยประเทศไทยเห็นว่า การยกร่างข้อระเบียบใหม่เกี่ยวกับระบบ GSP ของคณะกรรมาธิการยุโรปมีข้อบกพร่องใน 2 ประเด็นใหญ่ คือ
1. ในเรื่องหลักการทางกรรมาธิการยุโรปได้ใช้ตัวเลขข้อมูลทางเศรษฐกิจของปี 2539 (ค.ศ. 1996) ในการคำนวณ ว่าสินค้าใดควรจะได้รับสิทธิ GSP โดยที่ประเทศไทยเคยได้เรียกร้องแล้วว่า เมื่อให้การพิจารณาสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ควรใช้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของปี 2540 เพราะว่า ตามหลักของการให้สิทธิ GSP นั้น จะต้องพิจารณาระดับการพัฒนาการเศรษฐกิจ และขีดความสามารถทางการแข่งขัน ดังนั้นการใช้ตัวเลขของปี 2539 นั้น จึงถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักการของสหภาพยุโรป ซึ่งไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงในปัจจุบันของไทย
2. มีการเลือกประติบัติเนื่องจากข้อเสนอระเบียบใหม่ของคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว กลับมีบางกลุ่มบางประเทศที่ได้สิทธิพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มประเทศตลาดร่วมในอเมริกากลาง (Central American Common Market หรือ CACM) ซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่ได้ประสบภาวะเศรษฐกิจรุนแรงเช่นไทย หรือประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
ประเทศไทยจึงถือว่าการกระทำของคณะกรรมาธิการยุโรปในครั้งนี้ไม่สอดคล้องกันกับเจตนารมย์และคำแถลงของผู้นำยุโรป ซึ่งได้กล่าวในหลายโอกาส เช่น ในการประชุม ASEM และการประชุมระหว่างประเทศอื่นๆ ว่ามีความต้องการจะเข้าช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจในเอเชีย เพราะแทนที่จะให้โอกาสและความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น กลับมีข้อเสนอที่ริดรอนสิทธิต่างๆ ของสินค้าของไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดยุโรป
อนึ่ง สินค้าอุตสาหกรรม 6 สาขา ที่จะได้รับผลกระทบนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมาได้แก่ พลาสติก ยาง เครื่องหนัง เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า อัญมณี และเครื่องประดับ รวมทั้งหมวดรายการสินค้าอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าหลักของไทยทั้งสิ้น ส่วนสินค้าเกษตรที่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน ได้แก่ พืช ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ประมงและอาหาร ซึ่งมีสัดส่วนกว่า 90 % ของสินค้าไทยที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP จาสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--