การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรป

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 21, 1999 16:40 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

          สหภาพยุโรป  (European  Union  :  EU)  เริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (European Union : EU) 
เริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences : GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาสำหรับสินค้า
เกษตรและอุตสาหกรรม นับตั้งแต่ปี 2514 โดยกำหนดอายุโครงการละ 10 ปีโครงการ GSP ของ EU ในปัจจุบัน (ปี 2538-2547)
ซึ่งกำหนดให้สิทธิ GSP โดยใช้วิธีการลดหย่อนภาษีตามความอ่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิด เทียบกับโครงการที่ 1 และ 2 ซึ่ง EU
ได้ให้ GSP ด้วยการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการ ตามปริมาณโควต้าที่ EU กำหนด และลดหย่อนภาษีนำเข้า
สำหรับสินค้าเกษตรกรรมบางรายการ ตามปริมาณโควตาที่ EU กำหนดขึ้น
ปัจจุบันประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ของ EU มีทั้งสิ้น 146 ประเทศ และดินแดนในอาณานิคมอีก 25 แห่ง สำหรับประโยชน์
ที่ประเทศผู้รับสิทธิจะได้รับ คือ การลดหย่อนอากรขาเข้าของ EU ซึ่งอัตราการลดหย่อนภาษีศุลกากรจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลกระทบ
ของสินค้าแต่ละชนิด ที่มีต่อผู้ผลิตของ EU สินที่ที่อ่อนไหวมากหรือกระทบต่อผู้ผลิตของ EU มาก จะได้ลดหย่อนภาษีน้อยกว่าสินค้าที่อ่อน
ไหวน้อยหรือไม่ค่อยมีผลกระทบต่อผู้ผลิตใน EU ทั้งนี้ EU ได้แบ่งประเภทความอ่อนไหวของสินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสินค้าอ่อนไหวมาก (Very-Sensitive : VS) ผู้นำเข้าจะต้องเสียภาษี 85% ของอัตราภาษีปกติ
(MFN Rate)
2. กลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive : S) ผู้นำเข้าจะต้องเสียภาษี 70% ของอัตราภาษีปกติ (MFN Rate)
3. กลุ่มสินค้ากึ่งอ่อนไหว (Semi-Sentitive : SS) ผู้นำเข้าจะต้องเสียภาษี 35% ของอัตราภาษีปกติ
(MFN Rate)
4. กลุ่มสินค้าไม่อ่อนไหว (Non-Sensitive : NS) ผู้นำเข้าไม่ต้องเสียภาษี
สำหรับประเทศผู้ส่งออกที่เป็นประเทศด้อยพัฒนา (least-developed countries) 48 ประเทศ และประเทศที่มี
นโยบายปราบปรามยาเสพติด 11 ประเทศ จะสามารถส่งสินค้าในรายการทั้ง 4 กลุ่มข้างต้นไปยัง EU ได้โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
อย่างไรก็ตาม EU จะทบทวนการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศต่างๆ เป็นระยะ ในการทบทวนนี้อาจยกเลิก GSP เป็นราย
ประเทศหรือรายกลุ่มสินค้า โดยได้กำหนดเกณฑ์การตัด GSP ไว้ดังนี้
* เกณฑ์การตัดสิทธิรายประเทศ พิจารณาจากรายได้ต่อประชากร (per-capita income) หากประเทศใดมีรายได้
ต่อประชากรมากกว่า 8,210 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ก็จะถูกตัด GSP ที่ EU เคยให้ทั้งหมดสำหรับสินค้าทุกชนิดของประเทศนั้น
* เกณฑ์การตัดสิทธิรายกลุ่มสินค้า กำหนดเกณฑ์การพิจารณาเป็น 2 ลักษณะ คือ
- พิจารณาส่วนแบ่งตลาดของสินค้านั้นใน EU โดยใช้สัดส่วนของมูลค่าสินค้าที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ส่งเข้าไปขายใน
EU เทียบกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าชนิดนั้น ที่ EU นำเข้าจากประเทศผู้ได้รับ GSP ทั้งหมด
- พิจารณาจากค่าดัชนีวัดระดับการพัฒนา (DI*) ของประเทศ และค่าดัชนีวัดระดับความสามารถ (SI**) ของ
แต่ละสินค้าควบคู่กัน หากค่า SI เกินที่ระดับ EU กำหนด สำหรับแต่ละระดับของ DI สินค้าในกลุ่มนั้นก็จะถูกตัดสิทธิ GSP จาก EU
นอกจากนี้ EU อาจระงับการให้สิทธิ GSP ชั่วคราว แก่ประเทศผู้รับสิทธิสำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน หากพิสูจน์
ได้ว่าประเทศผู้ผลิตั้นมีการใช้แรงงานเยี่ยงทาสหรือใช้แรงงานนักโทษหรือมีการฟอกเงินจากการค้ายาเสพติด หรือ ไม่ให้ความ
ร่วมมือในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า อีกทั้งไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีของ GATT และละเมิดข้อตกลงด้านการคุ้มครองและการจัด
การทรัพยากรทางทะเล เป็นต้น
สำหรับสินค้าที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิ GSP โดย EU ในขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 9 กลุ่มสินค้า โดยสินค้าทั้งหมดเป็นการ
ถูกตัดตามเกณฑ์ DI และ SI ดังนี้
รายชื่อสินค้า ตั้งแต่ ตั้งแต่ ตั้งแต่ ประเทศที่ถูกตัด GSP แล้ว
1 ม.ค.2540 1 ม.ค.2541 1 ม.ค.2542
พลาสติกและยางธรรมชาติ ตัด 50% ตัด 100% มาเลเซีย,ไทย
ผลิตภัณฑ์ทำจากหนัง ตัด 50% ตัด 100% จีน,อินเดีย,ปากีสถาน,ไทย
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ตัด 50% ตัด 100% มาเลเซีย,ไทย,มาเก๊า,จีน
รองเท้า ตัด 50% ตัด 100% บราซิล,ไทย,จีน,อินโดนีเซีย
อัญมณีและเครื่องประดับ ตัด 50% ตัด 100% ไทย,บรูไน,คาซัคสถาน
เบ็ดเตล็ด ตัด 50% ตัด 100% ไทย,จีน
ประมง ตัด 50% ตัด 100% ไทย
พืช ผัก ผลไม้ ตัด 50% ตัด 100% ชิลี,เม็กซิโก,ไทย
ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง ตัด 50% ตัด 100% อาร์เจนตินา,บราซิล,ไทย
หมายเหตุ : ประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ถูกตัดสิทธิ GSP ตามเกณฑ์รายประเทศ นับ
ตั้งแต่ พ.ย. 2541
* วันที่ 1 มกราคม 2540 สินค้า 9 กลุ่มถูกตัด GSP ร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกไป EU ในปี 2540
ของสินค้าบางกลุ่มที่ถูกตัด GSP ยังคงเพิ่มขึ้น อาทิ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งอยู่ในกลุ่มพลาสติกและยางธรรมชาติ มีมูลค่า
การส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 122.6 ร้อยละ 24 ตามลำดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มร้อยละ 27 อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่มร้อยละ
8.4 ฯลฯ ขณะที่การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ในสินค้ากลุ่มประมง และยางพารา มีมูลค่าลดลงร้อยละ 8.5 และ 1.41 ฯลฯ
ตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตและการส่งออกกุ้งสดของไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งรายสำคัญ คือ เอกวาดอร์ อินเดียและอาร์เจนตินา ซึ่งยังได้
รับ GSP อยู่ ทำให้เสียภาษีนำเข้าในตลาด EU ต่ำกว่าไทยถึงร้อยละ 4-6 นอกจากนั้นการผลิตกุ้งสดของไทยยังเผชิญกับปัญหาโรค
ระบาด ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงด้วย
* วันที่ 1 มกราคม 2541 สินค้า 6 กลุ่ม ใน 9 กลุ่มที่ได้ถูกตัด GSP แล้ว ร้อยละ 50 ปี 2540 ถูกตัด GSP เพิ่มอีก
ในปี 2541 เป็นถูกตัด GSP ทั้งหมดร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม สินค้าส่วนใหญ่ที่ถูกตัด GSP ทั้งหมดในปี 2541 นี้ ยังคงมีมูลค่าการ
ส่งออกไป EU เพิ่มขึ้นในเทอมของเงินบาท เมื่อเทียบกับปี 2540 อาทิ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 203.1
และร้อยละ 16.6 ตามลำดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 รองเท้าหนังในกลุ่มรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8 อัญมณีและ
เครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ฯลฯ สำหรับสินค้าที่มูลค่าส่งออกในเทอมของเงินบาทลดลงต่อเนื่องจากปี 2540 คือยางพารา
ลดลงร้อยละ 4.1 การส่งออกยางพาราของไทยที่ลดลงนี้ นอกจากเป็นผลมาจากการตัดสิทธิ GSP แล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นผลมาจาก
ความต้องการใช้ยางในตลาด EU เปลี่ยนมานิยมใช้ทางแท่งมากขึ้น แต่ยางแท่งของไทยค่อนข้างเสียเปรียบ มาเลเซียและอินโดนีเซีย
ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เป็นผลให้การส่งออกยางพาราของไทยไป EU ลดลงอย่างต่อเนื่อง
* วันที่ 1 มกราคม 2542 สินค้า 3 กลุ่มใน 9 กลุ่มที่ถูกตัด GSP ลงร้อยละ 50 ในปี 2540 ได้แก่ สินค้าประมง พืช
ผัก ผลไม้ และ ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง ถูกตัด GSP เพิ่มอีกในปี 2542 เป็นถูกตัดทั้งหมดร้อยละ 100 สินค้าสำคัญ 2 รายการใน 3
กลุ่มนี้ คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งและสับปะรดกระป๋อง ยังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในปี 2541 ในอัตราร้อยละ 54.8 และร้อยละ
41.2 ตามลำดับ ภายหลังการถูกตัด GSP ลงร้อยละ 50 เมื่อปี 2540 แล้ว อย่างไรก็ตามการถูกตัด GSP ทั้งหมดในปี 2542 นี้
ย่อมทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยทั้ง 3 กลุ่มนี้ลดลง โดยเฉพาะสินค้าประมงที่คู่แข่งรายสำคัญของไทย คือ
เอกวาดอร์ และอินเดีย ยังได้รับ GSP อยู่ ทำให้เสียภาษีนำเข้าในตลาด EU ต่ำกว่าไทย
แม้ว่าไทยจะขอให้ EU ทบทวนการตัดสิทธิ GSP ใหม่ โดยให้คำนวณค่า DI และ SI ใหม่อีกครั้งจากข้อมูลในช่วง
ปลายปี 2542 นี้ก็ตาม แต่โอกาสที่จะได้รับ GSP กลับคืนมามีอยู่น้อยมาก ดังนั้นการปรับตัวของผู้ผลิตภายในประเทศนับเป็นสิ่งจำเป็น
หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะปัจจุบันโดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับ
มาตรฐาน ทั้งทางด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ทาง EU ได้ให้ความสำคัญ และ เริ่มเข้มงวดกับเรื่องดังกล่าว
มากขึ้นเป็นลำดับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ