ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของภาคตะวันออก/เหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2548
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมกราคม 2548 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 332 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เท่ากับ 100 และเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เท่ากับ 106.8 สำหรับเดือนมกราคม 2548 เท่ากับ 106.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เทียบกับ
2.1 เดือนมกราคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.5
2.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2547 สูงขึ้นร้อยละ 2.9
2.3 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547 สูงขึ้นร้อยละ 3.1
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เทียบกับเดือนมกราคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.6 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
-เนื้อสุกร ความต้องการบริโภคมีเพิ่มขึ้นมากว่าปกติ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน
-ไก่สด การรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยการบริโภคของภาครัฐ ตามโครงการไก่เนื้อปลอดภัย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้ปริมาณการบริโภคมีมาก
-ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อย
-ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวลุ้ย ผักชี มะละกอดิบ มะนาว ต้นหอม หัวผักกาดขาว ถั่วลันเตา เป็นต้น
-ผลไม้สด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า ราคาปรับสูงขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เครื่องประกอบอาหาร ได้แก่ น้ำตาลทรายขาว น้ำมันพืช เนื่องจากการแข่งขันทางการค้าของผู้ค้าปลีก
3.2 สินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.3
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
-เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เครื่องแบบข้าราชการหญิง ค่าจ้างตัดเสื้อสตรี
-วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ แผ่นไม้อัด ปูนซีเมนต์ ผู้ค้าปลีกได้ปรับราคาสูงขึ้น แต่ไม่เกินราคาควบคุมของทางราชการ
-น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ซึ่งมีการปรับตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5850 โทรสาร.0-2507-5825