กรุงเทพ--22 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (22 ธันวาคม 2541) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ ได้แถลงข่าวต่อ สื่อมวลชน เกี่ยวกับกรณีการยิงต่อสู้ระหว่างเรือรบของกองทัพเรือไทยกับเรือไม่ปรากฎสัญชาติ เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2541 ในน่านน้ำไทย จังหวัดระนอง ตามที่ได้ประสานข้อมูลกับกองบัญชาการทหารสูงสุด ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2541 เวลาประมาณ 12.00 น. เรือตรวจการณ์ (ต. 98) ของไทย ได้รับแจ้งจากเรือประมงไทยว่า มีเรือไม่ปรากฎสัญชาติเข้ามาแสดงอาการคุกคามและตัดอวนเรือประมงไทยที่ทำการประมงบริเวณทิศตะวันตกของกระโจมไฟเกาะโคม จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ในเขต น่านน้ำไทย เรือ ต.98 ซึ่งกำลังลาดตระเวนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจึงได้เข้าไปตรวจสอบ และได้พบเรือประมงไม่ปรากฎสัญชาติ (ไม่ได้ชักธงของชาติใด) บริเวณทิศตะวันตก ห่างจากเกาะโคมประมาณ 3 ไมล์ ซึ่งอยู่ในทะเลอาณาเขตของไทย
2. ผู้บังคับการเรือ ต. 98 จึงได้สั่งการประจำสถานีตรวจค้นตามขั้นตอน และแสดงสัญญาณขอเข้าทำการตรวจค้น ขณะที่เรือ ต.98 อยู่ห่างจากเรือประมงดังกล่าวประมาณ 1000 หลา เรือลำนั้นได้ใช้อาวุธปืนกลไม่ทราบชนิดยิงมายังเรือ ต.98 เรือ ต.98 จึงได้ใช้อาวุธประจำเรือยิงโต้ตอบกลับไป ซึ่งคาดว่าได้ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายจำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจพิสูจน์ทราบได้ เนื่องจากเรือประมงติดอาวุธดังกล่าวได้ล่าถอยเข้าน่านน้ำพม่าไป
3. การปฏิบัติการครั้งนี้ เรือ ต.98ประสบความสำเร็จในการให้ความคุ้มครองเรือประมงไทยได้อย่างทันท่วงที เรือประมงไทยทุกลำสามารถกลับคืนฝั่งได้อย่างปลอดภัย
4. ทางการไทยเห็นว่า การปฏิบัติการของเรือประมงติดอาวุธไม่ปรากฎสัญชาติดังกล่าว เข้าข่ายการกระทำเยี่ยงโจรสลัด โดยทหารเรือ 2 นายเสียชีวิตจากการต่อสู้ ซึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุด จะได้ประสานงานกับฝ่ายพม่ากำหนดการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
5. ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก กระทรวงการต่างประเทศจะหยิบยกปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในบริเวณแนวเขตแดนทางทะเลนี้ขึ้นหารือกับทางการพม่า ในโอกาสต่าง ๆ คือ
5.1 การหารือกับเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยในวาระต่าง ๆ
5.2 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า (Joint Commission — JC) ซึ่งกำหนดว่าพม่าจะเป็นเจ้าภาพในต้นปี พ.ศ. 2542 โดยไทยกำลังพิจารณาที่จะเสนอให้มีการกำหนด แนวทางปฏิบัติร่วมกัน ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเอเชียตะวันออก กำลังพิจารณาจัดทำแนวทางความร่วมมือกับระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบของสองประเทศ เช่นเดียวกับที่ไทยมีกับ เวียดนาม อาทิ การติดตั้งโทรศัพท์สายตรง (hot line) การลาดตระเวนร่วมกัน (joint naval patrol) เป็นต้น
5.3 การหารือในระดับคณะกรรมการท้องถิ่น (Regional Border Committee — RBC) ซึ่งมีแม่ทัพภาค 3 เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และกำหนดจะประชุมในเดือนมีนาคม 2542 ที่ประเทศไทย
5.4 การหารือในคณะกรรมการร่วมชายแดน (Joint Border Committee — JBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย คาดว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้จะประชุมกันในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2542 ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างอำนาจหน้าที่ (terms of reference) ของคณะสำรวจปักปัน และหลักการปักปันเขตแดน (principles of demarcation) คณะกรรมการร่วมฯ ได้ตกลงเมื่อปีที่แล้วว่าจะปักปันแนวชายแดนไทย-พม่า ตลอดแนว ซึ่งรวมถึงดอยลาง ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
วันนี้ (22 ธันวาคม 2541) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อธิบดีกรมสารนิเทศ ได้แถลงข่าวต่อ สื่อมวลชน เกี่ยวกับกรณีการยิงต่อสู้ระหว่างเรือรบของกองทัพเรือไทยกับเรือไม่ปรากฎสัญชาติ เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2541 ในน่านน้ำไทย จังหวัดระนอง ตามที่ได้ประสานข้อมูลกับกองบัญชาการทหารสูงสุด ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2541 เวลาประมาณ 12.00 น. เรือตรวจการณ์ (ต. 98) ของไทย ได้รับแจ้งจากเรือประมงไทยว่า มีเรือไม่ปรากฎสัญชาติเข้ามาแสดงอาการคุกคามและตัดอวนเรือประมงไทยที่ทำการประมงบริเวณทิศตะวันตกของกระโจมไฟเกาะโคม จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ในเขต น่านน้ำไทย เรือ ต.98 ซึ่งกำลังลาดตระเวนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจึงได้เข้าไปตรวจสอบ และได้พบเรือประมงไม่ปรากฎสัญชาติ (ไม่ได้ชักธงของชาติใด) บริเวณทิศตะวันตก ห่างจากเกาะโคมประมาณ 3 ไมล์ ซึ่งอยู่ในทะเลอาณาเขตของไทย
2. ผู้บังคับการเรือ ต. 98 จึงได้สั่งการประจำสถานีตรวจค้นตามขั้นตอน และแสดงสัญญาณขอเข้าทำการตรวจค้น ขณะที่เรือ ต.98 อยู่ห่างจากเรือประมงดังกล่าวประมาณ 1000 หลา เรือลำนั้นได้ใช้อาวุธปืนกลไม่ทราบชนิดยิงมายังเรือ ต.98 เรือ ต.98 จึงได้ใช้อาวุธประจำเรือยิงโต้ตอบกลับไป ซึ่งคาดว่าได้ก่อให้เกิดความสูญเสียและความเสียหายจำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจพิสูจน์ทราบได้ เนื่องจากเรือประมงติดอาวุธดังกล่าวได้ล่าถอยเข้าน่านน้ำพม่าไป
3. การปฏิบัติการครั้งนี้ เรือ ต.98ประสบความสำเร็จในการให้ความคุ้มครองเรือประมงไทยได้อย่างทันท่วงที เรือประมงไทยทุกลำสามารถกลับคืนฝั่งได้อย่างปลอดภัย
4. ทางการไทยเห็นว่า การปฏิบัติการของเรือประมงติดอาวุธไม่ปรากฎสัญชาติดังกล่าว เข้าข่ายการกระทำเยี่ยงโจรสลัด โดยทหารเรือ 2 นายเสียชีวิตจากการต่อสู้ ซึ่งกองบัญชาการทหารสูงสุด จะได้ประสานงานกับฝ่ายพม่ากำหนดการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก
5. ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก กระทรวงการต่างประเทศจะหยิบยกปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในบริเวณแนวเขตแดนทางทะเลนี้ขึ้นหารือกับทางการพม่า ในโอกาสต่าง ๆ คือ
5.1 การหารือกับเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยในวาระต่าง ๆ
5.2 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า (Joint Commission — JC) ซึ่งกำหนดว่าพม่าจะเป็นเจ้าภาพในต้นปี พ.ศ. 2542 โดยไทยกำลังพิจารณาที่จะเสนอให้มีการกำหนด แนวทางปฏิบัติร่วมกัน ขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเอเชียตะวันออก กำลังพิจารณาจัดทำแนวทางความร่วมมือกับระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบของสองประเทศ เช่นเดียวกับที่ไทยมีกับ เวียดนาม อาทิ การติดตั้งโทรศัพท์สายตรง (hot line) การลาดตระเวนร่วมกัน (joint naval patrol) เป็นต้น
5.3 การหารือในระดับคณะกรรมการท้องถิ่น (Regional Border Committee — RBC) ซึ่งมีแม่ทัพภาค 3 เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และกำหนดจะประชุมในเดือนมีนาคม 2542 ที่ประเทศไทย
5.4 การหารือในคณะกรรมการร่วมชายแดน (Joint Border Committee — JBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย คาดว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้จะประชุมกันในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2542 ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการยกร่างอำนาจหน้าที่ (terms of reference) ของคณะสำรวจปักปัน และหลักการปักปันเขตแดน (principles of demarcation) คณะกรรมการร่วมฯ ได้ตกลงเมื่อปีที่แล้วว่าจะปักปันแนวชายแดนไทย-พม่า ตลอดแนว ซึ่งรวมถึงดอยลาง ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--