บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
และครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ได้พิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัว
นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ คดีอาญาหมายเลขดำที่ ๑๑๐๕/๒๕๔๖ เรื่อง หมิ่นประมาท
ออกจากระเบียบวาระการประชุม เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยอนุโลมตามข้อบังคับการ
ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไขตามมาตรา ๖๑
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไข
ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการติดตามการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายนริศ ขำนุรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
ตอบชี้แจงเหตุผลแล้ว ที่ประชุมจึงพิจารณาเรื่องด่วนในลำดับถัดไป
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายกริช กงเพชร ๐๒. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๐๓. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๔. ศาสตราจารย์อดุลย์ วิริยะเวชกุล
๐๕. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๐๖. นายขจร จิตสุขุมมงคล
๐๗. นายสฤต สันติเมทนีดล ๐๘. นายสุทิน คลังแสง
๐๙. นายเอกพร รักความสุข ๑๐. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๐๒. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๐๓. นายนพคุณ รัฐผไท ๐๔. ศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
๐๕. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๖. นายวิทยา ทรงคำ
๐๗. นายโอภาส เขียววิชัย ๐๘. พันเอก วินัย สมพงษ์
๐๙. นายสฤต สันติเมทนีดล ๑๐. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๑๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฐม ปฐมธนพงศ์ ๑๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔ คือ
ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำเรื่องทำนองเดียวกัน
ซึ่งอยู่ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕ และ ๘ ขึ้นมาพิจารณาพร้อมกันไป แต่ให้ลงมติ ทีละเรื่อง ตามลำดับ คือ
๑. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๒. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๓. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติอนุญาตให้ศาลพิจารณาคดีอาญา นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
และไม่อนุญาตให้ศาลพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ในระหว่างสมัยประชุม
โดยในระหว่างการพิจารณาขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายอนุทิน ชาญวีรกูล ๐๒. นายปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์
๐๓. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ๐๔. นายประทีป ธนกิจเจริญ
๐๕. นางสาวอัญชลิตา กองอรรถ ๐๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๐๗. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ ๐๘. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร
๐๙. นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม ๑๐. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๑๑. นายประเสริฐ ประเสริฐโสภา ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายสนั่น สบายเมือง ๑๔. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๕. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๖. นายไชยา พรหมา
๑๗. นางนันทนา ทิมสุวรรณ ๑๘. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๑๙. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๒๐. นายปวีณ แซ่จึง
๒๑. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๒๔. นายธนกร นันที
๒๕. นายสุนัย จุลพงศธร ๒๖. นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์
๒๗. นายวิทิต อรรถเวชกุล ๒๘. นายอสิ มะหะมัดยังกี
๒๙. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ๓๐. นางนิภา พริ้งศุลกะ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายพินิจ กุลละวณิชย์
๓๓. นายเจษฎา อนุจารี ๓๔. นายวินัย วิริยกิจจา
๓๕. นายประสาท ตันประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณา
รวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. .... ซึ่ง
นายวราวุธ ศิลปอาชา และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายประวิช รัตนเพียร)
และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายประวิช รัตนเพียร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติ
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายประวิช รัตนเพียร ๐๒. นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
๐๓. ศาสตราจารย์ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ๐๔. นางกอบแก้ว อัครคุปต์
๐๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๐๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๗. นายประจวบ อึ้งภากรณ์ ๐๘. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๐๙. นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ๑๐. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์
๑๑. นายวันชัย ธีระสัตยกุล ๑๒. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน
๑๓. นายหัสนัยน์ สอนสิทธิ์ ๑๔. นางมยุรา มนะสิการ
๑๕. นายปัญญา จีนาคำ ๑๖. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
๑๗. นายสุรศักดิ์ นาคดี ๑๘. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๑๙. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๐. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
๒๑. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. นายประเวช รัตนเพียร ๒๔. นายวีระกร คำประกอบ
๒๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๒๖. นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม
๒๗. รองศาสตราจารย์ญาณเดช ทองสิมา ๒๘. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายบุญมาก ศิริเนาวกุล
๓๑. นายศุภชัย ศรีหล้า ๓๒. นายกมล อรชร
๓๓. นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ๓๔. นางสาวอรุณี ปริศนานันทกุล
๓๕. นายปิยเมธิ ยอดเณร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๐๗ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไขตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
*************************
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
และครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ได้พิจารณาและลงมติให้ความเห็นชอบ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัว
นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ คดีอาญาหมายเลขดำที่ ๑๑๐๕/๒๕๔๖ เรื่อง หมิ่นประมาท
ออกจากระเบียบวาระการประชุม เนื่องจากเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยอนุโลมตามข้อบังคับการ
ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไขตามมาตรา ๖๑
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๓ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไข
ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการติดตามการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายนริศ ขำนุรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือขอถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
ตอบชี้แจงเหตุผลแล้ว ที่ประชุมจึงพิจารณาเรื่องด่วนในลำดับถัดไป
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายกริช กงเพชร ๐๒. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๐๓. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๔. ศาสตราจารย์อดุลย์ วิริยะเวชกุล
๐๕. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๐๖. นายขจร จิตสุขุมมงคล
๐๗. นายสฤต สันติเมทนีดล ๐๘. นายสุทิน คลังแสง
๐๙. นายเอกพร รักความสุข ๑๐. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๑๑. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๑๒. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. ....
ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
โดยมีมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน
และตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๐๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๐๒. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๐๓. นายนพคุณ รัฐผไท ๐๔. ศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
๐๕. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๐๖. นายวิทยา ทรงคำ
๐๗. นายโอภาส เขียววิชัย ๐๘. พันเอก วินัย สมพงษ์
๐๙. นายสฤต สันติเมทนีดล ๑๐. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๑๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฐม ปฐมธนพงศ์ ๑๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔ คือ
ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำเรื่องทำนองเดียวกัน
ซึ่งอยู่ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕ และ ๘ ขึ้นมาพิจารณาพร้อมกันไป แต่ให้ลงมติ ทีละเรื่อง ตามลำดับ คือ
๑. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
๒. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
๓. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติอนุญาตให้ศาลพิจารณาคดีอาญา นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
และไม่อนุญาตให้ศาลพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ และนายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ในระหว่างสมัยประชุม
โดยในระหว่างการพิจารณาขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายอนุทิน ชาญวีรกูล ๐๒. นายปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์
๐๓. นายสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ๐๔. นายประทีป ธนกิจเจริญ
๐๕. นางสาวอัญชลิตา กองอรรถ ๐๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๐๗. นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ ๐๘. นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร
๐๙. นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม ๑๐. นายวรัญญู เทพหัสดิน ณ อยุธยา
๑๑. นายประเสริฐ ประเสริฐโสภา ๑๒. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๓. นายสนั่น สบายเมือง ๑๔. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๕. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๖. นายไชยา พรหมา
๑๗. นางนันทนา ทิมสุวรรณ ๑๘. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๑๙. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๒๐. นายปวีณ แซ่จึง
๒๑. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๒๔. นายธนกร นันที
๒๕. นายสุนัย จุลพงศธร ๒๖. นายพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์
๒๗. นายวิทิต อรรถเวชกุล ๒๘. นายอสิ มะหะมัดยังกี
๒๙. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ๓๐. นางนิภา พริ้งศุลกะ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายพินิจ กุลละวณิชย์
๓๓. นายเจษฎา อนุจารี ๓๔. นายวินัย วิริยกิจจา
๓๕. นายประสาท ตันประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณา
รวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. .... ซึ่ง
นายวราวุธ ศิลปอาชา และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายประวิช รัตนเพียร)
และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายประวิช รัตนเพียร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติ
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายประวิช รัตนเพียร ๐๒. นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
๐๓. ศาสตราจารย์ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ๐๔. นางกอบแก้ว อัครคุปต์
๐๕. นายวราสิทธิ์ กาญจนสูตร ๐๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๐๗. นายประจวบ อึ้งภากรณ์ ๐๘. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๐๙. นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ๑๐. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์
๑๑. นายวันชัย ธีระสัตยกุล ๑๒. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน
๑๓. นายหัสนัยน์ สอนสิทธิ์ ๑๔. นางมยุรา มนะสิการ
๑๕. นายปัญญา จีนาคำ ๑๖. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
๑๗. นายสุรศักดิ์ นาคดี ๑๘. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๑๙. นายประดุจ มั่นหมาย ๒๐. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
๒๑. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. นายประเวช รัตนเพียร ๒๔. นายวีระกร คำประกอบ
๒๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๒๖. นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม
๒๗. รองศาสตราจารย์ญาณเดช ทองสิมา ๒๘. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายบุญมาก ศิริเนาวกุล
๓๑. นายศุภชัย ศรีหล้า ๓๒. นายกมล อรชร
๓๓. นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ๓๔. นางสาวอรุณี ปริศนานันทกุล
๓๕. นายปิยเมธิ ยอดเณร
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๐๗ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการนำระยะเวลาและเงื่อนไขตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์มาใช้บังคับแก่ผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติ พ.ศ. ....
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ....
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
*************************