4.8.2 การดำเนินการตามแผนงานภาคความร่วมมือ
แผนงานภาคความร่วมมือเป็นแผนงานเกี่ยวกับการให้การสนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่จะมีผลทำให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยมีโครงการภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือแบ่งออกเป็น 3 โครงการใหญ่ๆ ดังนี้
โครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบท โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนา โดยมีผลการดำเนินงานในแต่ละโครงการ ดังนี้
(1) โครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบท มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุน จากกองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 526.494 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในระยะที่ 1 แล้ว จำนวน 3 โครงการ และอยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการในระยะที่ 2 จำนวน 3 โครงการ โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
(1.1) โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมส่วนที่ 1 : ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 22,401,439 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยาย การสร้างระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวน 10,000 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย นครปฐม ราชบุรี และนครราชสีมา เพื่อผลิตและใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์ โดยเฉพาะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากก๊าซเชื้อเพลิง (LPG) น้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2541 และเมื่อระบบก๊าซชีวภาพใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ เทียบเท่าก๊าซหุงต้ม 12 ล้านกิโลกรัม สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 100,000 ตัน และลดปริมาณน้ำเสียได้ 11 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นจำนวนเงินสำหรับพลังงานที่ประหยัดได้ 160.8 ล้านบา ท
จากผลสำเร็จของโครงการจึงได้มีการขยายโครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 101,322,980 บาท เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพอีกจำนวน 40,000 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2545 เมื่อระบบใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซ ชีวภาพได้ปีละ 109.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 8 ราย คิดเป็นระบบก๊าซชีวภาพปริมาตรรวม 25,000 ลูกบาศก์เมตร
(1.2) โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 10,653,200 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ มูลสัตว์ โดยเฉพาะจากสุกรและโคนม นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อทดแทนพลังงานจากก๊าซหุงต้ม (LPG) หรือไม้ฟืนในครัวเรือน โดยส่งเสริมการขยายการสร้างระบบก๊าซชีวภาพแบบ Fixed Dome ขนาดไม่เกิน 100 ลูกบาศก์เมตร ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ให้ได้ปริมาตรรวมของระบบจำนวน 5,000 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่งการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2541 สามารถก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพให้เกษตรกรได้จำนวน 263 ราย คิดเป็นปริมาตรของระบบ 6,056 ลูกบาศก์เมตร หลังจากระบบก๊าซชีวภาพใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ประมาณ 9.15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่าก๊าซหุงต้ม 3.94 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นจำนวนเงินสำหรับพลังงานที่ประหยัดได้ 52.8 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยทิ้งก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เลย และควบคุมน้ำเสียและกลิ่นที่ปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์
จากผลสำเร็จของโครงการจึงได้มีการขยายโครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 โดย ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 55,480,000 บาท เพื่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพขนาดเล็กให้ได้ปริมาตรรวมไม่ต่ำกว่า 22,000 ลูกบาศก์เมตร โดยกระจายไปทุกส่วนทั่วประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์รวมกัน หนาแน่น คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณปี 2545 ขณะนี้มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการแล้ว 687 ราย คิดเป็นปริมาตรของระบบก๊าซชีวภาพรวม 21,176 ลูกบาศก์เมตร เป็นระบบที่สร้างเสร็จแล้วใน ขณะนี้รวม 74 ราย คิดเป็นปริมาตรรวม 1,892 ลูกบาศก์เมตร
(1.3) โครงการประหยัดพลังงานในการบ่มใบยาสูบ ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 10,637,400 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายระบบการบ่มใบยาสูบแบบความร้อนรวมศูนย์ให้มีการใช้งานมากขึ้น และเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และการจัดการระบบใบยาสูบของประเทศอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยดำเนินการส่งเสริมให้มีการติดตั้ง หรือเพิ่มกำลังผลิตระบบบ่มใบยาสูบ แบบความร้อนรวมศูนย์ อย่างน้อย 9 ล้านกิโลกรัมใบยาแห้ง ในจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคเหนือ ซึ่งการใช้ระบบใหม่จะทำให้ใบยาที่บ่มได้มีคุณภาพดี และช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในการบ่มใบยาสูบ และเนื่องจากเชื้อเพลิงที่เลือกใช้เป็นลิกไนต์ ที่มีคุณภาพสูงมีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ ต่ำกว่าลิกไนต์ที่ใช้อยู่ในโรงบ่มแบบดั้งเดิม จึงช่วยลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ลงได้
การใช้โรงบ่มระบบนี้จะประหยัดการใช้เชื้อเพลิงลิกไนต์ได้ประมาณร้อยละ 67 ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน 2541 โดยได้ติดตั้งโรงบ่มใบยาสูบแบบความร้อนรวมศูนย์ รวม 5 ชุด ที่จังหวัดลำพูน 2 ชุด จังหวัดเชียงราย 2 ชุด และจังหวัดน่าน 1 ชุด หลังจากใช้งานโรงบ่มใบยาสูบครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถลดการใช้ลิกไนต์จากแบบเดิมร้อยละ 67 คิดเป็นลิกไนต์ปริมาณ 29,362.5 ตัน และลดมลภาวะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จำนวน 1,174.5 ตัน เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินในการประหยัดพลังงานสามารถประหยัดได้ 20.6 ล้านบาท
ในขณะนี้ได้มีการดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 223,567,520 บาท เพื่อส่งเสริมให้มีการติดตั้งหรือปรับปรุงโรงบ่ม เป็นระบบความร้อนแบบรวมศูนย์อย่างน้อย 9 ล้านกิโลกรัมใบยาแห้ง ในจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันมีโรงบ่มฯ ที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จรวม 13 ชุด ในพื้นที่จังหวัดน่าน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา มีกำลังผลิตรวม 2,250,000 กิโลกรัมใบยาแห้ง/ปี คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณ ปี 2543
(2) โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 6 โครงการ โดยมีโครงการที่ดำเนินการ เสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 1 โครงการ ดังนี้
(2.1) โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่สำนักงานวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 4,774,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสาธิตเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ใช้เองภายในบ้านและขายส่วนเกินให้กับ กฟผ. รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตระบบเซลล์แสงอาทิตย์ บนหลังคาบ้าน ซึ่งประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน ภายในบ้านจะมีชุดแปลงกระแสไฟฟ้า พร้อมระบบควบคุมเพื่อจ่ายไฟฟ้า เข้าระบบร่วมกับไฟฟ้าเดิมที่ใช้อยู่ ดังนั้น ถ้าปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินความต้องการ จะจ่ายกระแสไฟฟ้าย้อนกลับให้การไฟฟ้าฯ ทำให้ระบบดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน การส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ จะเป็นการช่วยให้ราคาเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้ามีราคาถูกลงตามปริมาณการสั่งซื้อ และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด รวมทั้ง มีส่วนช่วยในการลดการทำลายสภาพแวดล้อม จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายโครงการออกไปในระยะที่ 2
(3) โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 52 โครงการ โดยมีโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วงปี 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
(3.1) โครงการจัดทำแผนโครงการสวนพลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในวงเงิน 300,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดการจัดทำโครงการเบื้องต้น และการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของการจัดทำสวนพลังงานในแง่การตลาด การร่วมลงทุนของเอกชน การจัดการในเชิงธุรกิจ และการกำหนดเป้าหมายทางการตลาด โดยการจัดตั้งสวนพลังงานขึ้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นศูนย์การทดสอบ การฝึกอบรม และการจัดแสดงสาธิตการใช้งานของอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งการดำเนินงานด้านธุรกิจของเอกชน ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการจะสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนหลัก (Master Plan) และแผนการดำเนินโครงการโดยละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดตั้งสวนพลังงาน เพื่อเป็นแหล่งกลางความร่วมมือด้านพลังงานในที่ต่างๆ ต่อไป
(3.2) โครงการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานจากข้อมูลที่ใช้ประเมินค่า OTTV และ RTTV ตามพระราชบัญญัติเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวงเงิน 4,252,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำโปรแกรมที่สามารถคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนของผนัง ด้านนอกอาคาร (Overall Thermal Transfer Value : OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนของหลังคา (Roof Thermal Transfer Value : RTTV) ที่มีความง่ายต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพสูง โดยจัดทำคู่มือ การใช้โปรแกรม ซึ่งจะเป็นเอกสารแสดงขั้นตอนการใช้ และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลของโปรแกรมโดยละเอียด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 โปรแกรมที่จัดทำขึ้น จะช่วยให้สถาปนิกเข้าใจภาพรวม ของการออกแบบอาคาร ว่ามีผลกระทบถึงการใช้พลังงานในอาคาร ค่าใช้จ่ายและการลงทุนเบื้องต้นอย่างไร
(3.3) โครงการจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวงเงิน 81,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงการเครือข่ายสารสนเทศ ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Thailand Energy and Environment Network; TEE-NET) ซึ่งเสนอโดยหน่วยงานต่างๆ จำนวน 8 หน่วยงาน และหาแนวทางวิธีการดำเนินการและสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการที่จะนำไปสู่การจัดตั้งเครือข่าย TEE-NET ที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้หน่วยงานที่เข้าร่วมในเครือข่าย สามารถสืบค้นข้อมูลทางด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมซึ่งกันและกันได้ และทำให้ลดต้นทุนในด้านต่างๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
(3.4) โครงการทดสอบเตาเผาอิฐชนิดประหยัดพลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวงเงิน 2,499,500 บาท เพื่อพัฒนา/สร้างเตาเผาอิฐแบบประหยัดพลังงานที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งการเผาอิฐด้วยเตาเผาแบบประหยัดพลังงานที่พัฒนาขึ้นนี้ จะมีลักษณะที่สามารถใช้พลังงานความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำความร้อนจากอิฐที่สุกแล้วมาใช้อุ่นอากาศ ที่จะใช้ในการเผาเชื้อเพลิง และนำก๊าซร้อนหลังการเผาไปอุ่นและอบแห้ง ด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้อิฐและก๊าซร้อนออกจากเตาเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ การเผาอิฐจึงมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2541 เตาเผาอิฐที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถลดการใช้พลังงานชีวมวล ในอุตสาหกรรมการเผาอิฐลงได้ประมาณร้อยละ 40 และลดการนำเข้าเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการเผาอิฐ รวมทั้งทำให้มีไม้ยางพารา และผลผลิตจากไม้ยางพาราที่ใช้เป็นสินค้าออกได้มากขึ้น
4.8.3 การดำเนินการตามแผนงานสนับสนุน
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการภายใต้แผนงานสนับสนุน โดยมีโครงการที่สำคัญซึ่งดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2541 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 ดังนี้
4.8.3.1 โครงการพัฒนาบุคลากรมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินงานตามแผนงานอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประกอบด้วยโครงการต่างๆ 6 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการพัฒนาหลักสูตรสื่อการสอน แบบเรียน คู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการฝึก อบรมและทำงาน และห้องปฏิบัติการ มีโครงการสำคัญๆ ที่ได้ดำเนินการดังนี้
(1.1) การบูรณาการกระบวนการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (โครงการรุ่งอรุณ)
โครงการรุ่งอรุณเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและองค์กรเอกชน ซึ่งได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สพช. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ ให้กับนักเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษา และนักเรียนของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้มีความรู้ เจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการอนุรักษ์พลังงาน และทรัพยากรอื่นที่ได้มาด้วยพลังงาน เพื่อยังผลต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคต โดยมีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างปี 2540-2543 ในวงเงินงบประมาณ 302,681,438 บาท ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ 6 กิจกรรมหลัก ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ โดยแยกตามประเภทของผลลัพธ์ได้ดังนี้
กิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนทดลอง 20 โรงเรียนแรก โครงการรุ่งอรุณได้นำเอาแนวคิด และกิจกรรมที่โครงการได้พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 20 แห่ง ในเขตกรุงเทพฯ นครปฐม และสมุทรปราการ โดยเริ่มทดลองในชั้น ป. 5 ม. 2 และ ม. 5 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 ซึ่งทางโครงการได้ จัดการอบรมในด้านการพัฒนา และผลิตสื่อให้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียนดังกล่าว และยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อตรวจเยี่ยม นิเทศกระบวนการเรียนการสอน และติดตามประเมินผลการทดลอง รวมทั้ง ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียน เพื่อปรับปรุงและวางแผนในการดำเนินงานในช่วงต่อไป กิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองกรอบหลักสูตรของโครงการ ได้ดำเนินการทดลองกรอบหลักสูตรของโครงการในโรงเรียนทั้งหมด 300 แห่ง โดยในโรงเรียน 20 แห่งแรกนั้น ได้มีการทดลองกรอบ หลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้น ป. 5 ม. 2 และ ม. 5 และจะขยายผลการ ทดลองอย่างเป็นลำดับต่อไป ในส่วนของโรงเรียนอีก 280 แห่งนั้น ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการฝึกอบรม รวมทั้งคู่มือ นิเทศให้แก่วิทยากรแกนนำระดับชาติ (National Mentor-NM) และ วิทยากรแกนนำระดับจังหวัด (Provincial Mentor-PM) เพื่อใช้ในการ ดำเนินการฝึกอบรมครูแกนนำ (Teacher Mentor-TM) ในโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการ 280 แห่ง ในจังหวัดต่างๆ 30 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค และขยายการอบรมไปสู่ ครูทั้งโรงเรียน (School Base-SB) ในโรงเรียน ดังกล่าว เพื่อให้มีการบูรณาการเนื้อหาเข้าสู่การเรียนการสอนและ กิจกรรมต่างๆ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและผลิตสื่อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อกำหนดแนวทางและวางต้นแบบสื่อ ที่จะใช้ในการเรียนการสอนสำหรับ ระดับการศึกษาต่างๆ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยม ศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ประมวลสื่อเพื่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมขึ้น พร้อมทั้งคำบรรยายสรุป และได้จัดพิมพ์ใน ลักษณะของบรรณานุกรมสื่อพร้อมคำบรรยายสรุป (Annotated Bibliography) ส่งให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาครูและบุคลากรได้ยึดหลัก บูรณาการฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินการอบรม รวมทั้ง การอบรมด้านการ พัฒนาและใช้สื่อ การนิเทศติดตามผล การดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน และการจัดกิจกรรมสมัชชาฯ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการอบรมครูแกนนำ 1,120 คน การอบรมครูในโรงเรียน 4,200 คน และการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในด้านต่างๆ แก่วิทยากรระดับชาติ และระดับจังหวัด กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมัชชาเยาวชนเพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการสำรวจองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินการเกี่ยวกับ เยาวชนที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเยาวชน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการติดต่อประสานงานการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานจัดตั้งสมัชชาเยาวชนประจำภูมิภาค 6 ภูมิภาค คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล นอกจากนี้ ยังได้มีการจัด สัมมนาในลักษณะของ “ค่ายความรู้” ให้แก่ผู้แทนนักเรียนและเยาวชน นอกระบบโรงเรียนในภาคต่างๆ เพื่อจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนภูมิภาค และได้มี การประชุมเยาวชนภูมิภาค เพื่อร่วมกันสรุปประเด็นปัญหาด้าน พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เยาวชนในแต่ละภูมิภาคเห็นว่ามีความสำคัญ และมีความจำเป็นเร่งด่วน การประเมินและติดตามผล ได้ดำเนินการประเมินและติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องในทุกกิจกรรมที่โครงการจัดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ ถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโครงการรุ่งอรุณ เพื่อให้ผู้บริหาร โครงการได้นำมากำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อการปรับปรุงการ ดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการติดตามผลการ ทดลองแนวคิดและกิจกรรมของโครงการในโรงเรียน 280 แห่ง โดย พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ ยังไม่มีความเข้าใจชัดเจนในเรื่องศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการในโรงเรียน 300 แห่ง โดยพบว่าโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม มักเป็นโรงเรียน ที่อยู่ในชุมชน ที่มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น และมีการทำกิจกรรมทางสังคมอยู่แล้ว หรือ ผ่านการดำเนินงานร่วมกับ NGO มาก่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างการเรียนรู้ ประสบการณ์ ระหว่างโรงเรียนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน (1.2) โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์
สพช. ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เกี่ยวกับการออกแบบอาคาร และวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินงาน ตามแผนงานอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง สพช. ได้ประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ แล้ว โดยในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง รวม 9 โครงการ ดังนี้
โครงการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการห้องปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการสร้างชุดประลองและ Software ประกอบการสอนการจัดการพลังงาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โครงการหลักสูตรพลังงานและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเป็นวิชาบังคับประจำภาคการศึกษาที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โครงการหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล/เคมี/ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมนิเวศวิทยา (Ecological Engineering) 3 หน่วยกิต โดยภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมพลังงาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพัฒนาการสอนและเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในวิชาการจัดการพลังงานในอาคาร โดยคณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โครงการเปิดหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ เรื่องพลังงานทดแทน โดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2) โครงการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ สำหรับโครงการของ สพช. กรมบัญชีกลาง และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 11,171,308 บาท และระหว่างเดือนตุลาคม 2541 - มีนาคม 2542 ในวงเงิน 12,211,270 บาท
(3) โครงการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมและดูงานระยะสั้นในต่างประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับส่งบุคลากรเข้ารับการ ฝึกอบรมระยะสั้นในต่างประเทศให้แก่ สพช. และ พพ. ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 1,930,680 บาท และระหว่างเดือนตุลาคม 2541 - มีนาคม 2542 ในวงเงิน 350,200 บาท
(4) โครงการส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 41,221,510 บาท โดยเป็นทุนการศึกษาในประเทศจำนวน 44 ทุน แบ่งเป็นปริญญาตรี 17 ทุน ปริญญาโท 25 ทุน และปริญญาเอก 2 ทุน และเป็นทุนการศึกษาในต่างประเทศจำนวน 12 ทุน แบ่งเป็นปริญญาโท 8 ทุน และปริญญาเอก 4 ทุน สำหรับปีงบประมาณ 2542 สพช. ได้ออกประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาในประเทศในสาขาวิชาที่กำหนด ในวงเงิน 9 ล้านบาท โดยกำหนดปิดรับสมัครวันที่ 2 เมษายน 2542 ส่วนทุนการศึกษาในต่างประเทศ สำนักงาน กพ. กำลังดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับทุนรวม 15 ทุน แบ่งเป็นปริญญาโท 10 ทุน ปริญญาเอก 5 ทุน ในวงเงิน 40 ล้านบาท
(5) โครงการให้ทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับทุนอุดหนุนการวิจัยแก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปีงบประมาณ 2541 จำนวน 63 โครงการ ในวงเงิน 4,974,476 บาท สำหรับปีงบประมาณ 2542 สพช. ได้ประกาศรับสมัครข้อเสนอโครงการทุนวิจัยแก่นักศึกษา ซึ่งในขณะนี้คณะทำงานทุนวิจัยนักศึกษาอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการที่มีนักศึกษาส่งเข้ามารวม 156 โครงการ
(6) โครงการอื่นๆ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นงบประมาณสมทบหากงบประมาณที่อนุมัติไว้สำหรับกิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนแม่บทฯ ไม่พอกับความต้องการ ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 15 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2542 ในวงเงิน 15 ล้านบาท
4.8.3.2 โครงการประชาสัมพันธ์สพช. ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบโดยผ่าน สื่อต่างๆ และการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ โดยในช่วงปี 2541 จนถึงมีนาคม 2542 มีโครงการสำคัญๆ คือ
(1) โครงการไทยช่วยไทย ร่วมใจประหยัดพลังงาน
สพช. ได้ดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานระดับชาติที่มุ่งให้เกิดการตื่นตัวต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยการเสนอแนะวิธีการประหยัดพลังงานที่ปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน และเรียกร้องความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน สื่อมวลชน และประชาชนทุกระดับทั่วประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกแขนง มาตรการรณรงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประหยัดน้ำมันและการประหยัดไฟฟ้าที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 - 7 พฤษภาคม 2541 ซึ่งวันสุดท้ายของการรณรงค์จะเป็นวาระสรุปของกิจกรรม โดยมีการเผยแพร่ออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ การจัดให้มีสัปดาห์ลดการสูญเสียพลังงานในอาคาร ระหว่างวันที่ 9-27 มีนาคม 2541 สัปดาห์ลดการสูญเสียพลังงานในการเดินทาง ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม ถึง 24 เมษายน 2541 และสัปดาห์ลดการรั่วไหลไฟฟ้าและน้ำประปา ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2541 การดำเนินโครงการดังกล่าว คาดว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท และลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าได้ร้อยละ 5 จากปี 2540 คิดเป็นเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ตลอดจนช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันได้อย่างน้อยร้อยละ 5 จากปี 2540 คิดเป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการประกวดประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า ในปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการไทยช่วยไทย ร่วมใจประหยัดพลังงาน โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนร่วมมือกันประหยัดพลังงาน และเข้าร่วมโครงการประกวดประหยัดไฟฟ้าและน้ำมันของจังหวัด โดยกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม 2541 เป็นวันเริ่มต้นการแข่งขันประหยัดน้ำมันและไฟฟ้าระหว่างจังหวัด ทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบันมีจังหวัดที่ส่งแผนงานเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 30 จังหวัด ซึ่งแผนงานที่ส่งเข้าร่วม จะมีกิจกรรมรณรงค์อนุรักษ์พลังงาน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับจังหวัดไปจนถึงระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งจังหวัดที่ชนะเลิศประเภทประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า จะได้รับศูนย์นิทัศน์พลังงานเพื่ออนาคตและแผ่นสำริดสลักบนแท่นหินประกาศเกียรติคุณ ส่วนจังหวัดที่ชนะเลิศประเภทประหยัดน้ำมัน จะได้รับเซลล์แสงอาทิตย์และ แผ่นสำริดสลักบนแท่นหินประกาศเกียรติคุณ โดยจะมีการแจ้งผลการแข่งขันในเดือนกันยายน 2542 นี้ แต่ก่อนจะถึงวันประกาศผล คือ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 จะมีการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันดับไฟอีกครั้งในเวลา 18.05 น. เป็นเวลา 15 นาที โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 9 อสมท. ผลจากการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้ประชาชนมีความตื่นตัว และร่วมใจกันประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ทำให้ลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้า ลดความต้องการพลังไฟฟ้า และความต้องการใช้น้ำมันของประเทศลง
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-
แผนงานภาคความร่วมมือเป็นแผนงานเกี่ยวกับการให้การสนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่จะมีผลทำให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยมีโครงการภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือแบ่งออกเป็น 3 โครงการใหญ่ๆ ดังนี้
โครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบท โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนา โดยมีผลการดำเนินงานในแต่ละโครงการ ดังนี้
(1) โครงการพลังงานหมุนเวียนและกิจกรรมการผลิตในชนบท มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุน จากกองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 526.494 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในระยะที่ 1 แล้ว จำนวน 3 โครงการ และอยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการในระยะที่ 2 จำนวน 3 โครงการ โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
(1.1) โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมส่วนที่ 1 : ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 22,401,439 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยาย การสร้างระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวน 10,000 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย นครปฐม ราชบุรี และนครราชสีมา เพื่อผลิตและใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์ โดยเฉพาะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและใหญ่ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากก๊าซเชื้อเพลิง (LPG) น้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าในฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2541 และเมื่อระบบก๊าซชีวภาพใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ เทียบเท่าก๊าซหุงต้ม 12 ล้านกิโลกรัม สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 100,000 ตัน และลดปริมาณน้ำเสียได้ 11 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นจำนวนเงินสำหรับพลังงานที่ประหยัดได้ 160.8 ล้านบา ท
จากผลสำเร็จของโครงการจึงได้มีการขยายโครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 101,322,980 บาท เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพอีกจำนวน 40,000 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2545 เมื่อระบบใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซ ชีวภาพได้ปีละ 109.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 8 ราย คิดเป็นระบบก๊าซชีวภาพปริมาตรรวม 25,000 ลูกบาศก์เมตร
(1.2) โครงการส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่กรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 10,653,200 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ มูลสัตว์ โดยเฉพาะจากสุกรและโคนม นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อทดแทนพลังงานจากก๊าซหุงต้ม (LPG) หรือไม้ฟืนในครัวเรือน โดยส่งเสริมการขยายการสร้างระบบก๊าซชีวภาพแบบ Fixed Dome ขนาดไม่เกิน 100 ลูกบาศก์เมตร ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย ให้ได้ปริมาตรรวมของระบบจำนวน 5,000 ลูกบาศก์เมตร ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่งการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2541 สามารถก่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพให้เกษตรกรได้จำนวน 263 ราย คิดเป็นปริมาตรของระบบ 6,056 ลูกบาศก์เมตร หลังจากระบบก๊าซชีวภาพใช้งานครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพ ได้ประมาณ 9.15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเท่าก๊าซหุงต้ม 3.94 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นจำนวนเงินสำหรับพลังงานที่ประหยัดได้ 52.8 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยทิ้งก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เลย และควบคุมน้ำเสียและกลิ่นที่ปล่อยออกจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์
จากผลสำเร็จของโครงการจึงได้มีการขยายโครงการดังกล่าวในระยะที่ 2 โดย ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 55,480,000 บาท เพื่อสร้างระบบก๊าซชีวภาพขนาดเล็กให้ได้ปริมาตรรวมไม่ต่ำกว่า 22,000 ลูกบาศก์เมตร โดยกระจายไปทุกส่วนทั่วประเทศที่มีการเลี้ยงสัตว์รวมกัน หนาแน่น คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณปี 2545 ขณะนี้มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการแล้ว 687 ราย คิดเป็นปริมาตรของระบบก๊าซชีวภาพรวม 21,176 ลูกบาศก์เมตร เป็นระบบที่สร้างเสร็จแล้วใน ขณะนี้รวม 74 ราย คิดเป็นปริมาตรรวม 1,892 ลูกบาศก์เมตร
(1.3) โครงการประหยัดพลังงานในการบ่มใบยาสูบ ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 (รวม 2 โครงการ)
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ในวงเงิน 10,637,400 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายระบบการบ่มใบยาสูบแบบความร้อนรวมศูนย์ให้มีการใช้งานมากขึ้น และเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และการจัดการระบบใบยาสูบของประเทศอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยดำเนินการส่งเสริมให้มีการติดตั้ง หรือเพิ่มกำลังผลิตระบบบ่มใบยาสูบ แบบความร้อนรวมศูนย์ อย่างน้อย 9 ล้านกิโลกรัมใบยาแห้ง ในจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคเหนือ ซึ่งการใช้ระบบใหม่จะทำให้ใบยาที่บ่มได้มีคุณภาพดี และช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในการบ่มใบยาสูบ และเนื่องจากเชื้อเพลิงที่เลือกใช้เป็นลิกไนต์ ที่มีคุณภาพสูงมีส่วนประกอบของซัลเฟอร์ ต่ำกว่าลิกไนต์ที่ใช้อยู่ในโรงบ่มแบบดั้งเดิม จึงช่วยลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ลงได้
การใช้โรงบ่มระบบนี้จะประหยัดการใช้เชื้อเพลิงลิกไนต์ได้ประมาณร้อยละ 67 ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน 2541 โดยได้ติดตั้งโรงบ่มใบยาสูบแบบความร้อนรวมศูนย์ รวม 5 ชุด ที่จังหวัดลำพูน 2 ชุด จังหวัดเชียงราย 2 ชุด และจังหวัดน่าน 1 ชุด หลังจากใช้งานโรงบ่มใบยาสูบครบ 15 ปี คาดว่าจะสามารถลดการใช้ลิกไนต์จากแบบเดิมร้อยละ 67 คิดเป็นลิกไนต์ปริมาณ 29,362.5 ตัน และลดมลภาวะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จำนวน 1,174.5 ตัน เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินในการประหยัดพลังงานสามารถประหยัดได้ 20.6 ล้านบาท
ในขณะนี้ได้มีการดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ในวงเงิน 223,567,520 บาท เพื่อส่งเสริมให้มีการติดตั้งหรือปรับปรุงโรงบ่ม เป็นระบบความร้อนแบบรวมศูนย์อย่างน้อย 9 ล้านกิโลกรัมใบยาแห้ง ในจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันมีโรงบ่มฯ ที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จรวม 13 ชุด ในพื้นที่จังหวัดน่าน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา มีกำลังผลิตรวม 2,250,000 กิโลกรัมใบยาแห้ง/ปี คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณ ปี 2543
(2) โครงการส่งเสริมธุรกิจด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 6 โครงการ โดยมีโครงการที่ดำเนินการ เสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 1 โครงการ ดังนี้
(2.1) โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่สำนักงานวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 4,774,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสาธิตเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ใช้เองภายในบ้านและขายส่วนเกินให้กับ กฟผ. รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตระบบเซลล์แสงอาทิตย์ บนหลังคาบ้าน ซึ่งประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน ภายในบ้านจะมีชุดแปลงกระแสไฟฟ้า พร้อมระบบควบคุมเพื่อจ่ายไฟฟ้า เข้าระบบร่วมกับไฟฟ้าเดิมที่ใช้อยู่ ดังนั้น ถ้าปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินความต้องการ จะจ่ายกระแสไฟฟ้าย้อนกลับให้การไฟฟ้าฯ ทำให้ระบบดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน การส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ จะเป็นการช่วยให้ราคาเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้ามีราคาถูกลงตามปริมาณการสั่งซื้อ และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด รวมทั้ง มีส่วนช่วยในการลดการทำลายสภาพแวดล้อม จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาขยายโครงการออกไปในระยะที่ 2
(3) โครงการศึกษา วิจัย และพัฒนา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวนทั้งสิ้น 52 โครงการ โดยมีโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วงปี 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
(3.1) โครงการจัดทำแผนโครงการสวนพลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในวงเงิน 300,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดการจัดทำโครงการเบื้องต้น และการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของการจัดทำสวนพลังงานในแง่การตลาด การร่วมลงทุนของเอกชน การจัดการในเชิงธุรกิจ และการกำหนดเป้าหมายทางการตลาด โดยการจัดตั้งสวนพลังงานขึ้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นศูนย์การทดสอบ การฝึกอบรม และการจัดแสดงสาธิตการใช้งานของอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งการดำเนินงานด้านธุรกิจของเอกชน ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการจะสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนหลัก (Master Plan) และแผนการดำเนินโครงการโดยละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดตั้งสวนพลังงาน เพื่อเป็นแหล่งกลางความร่วมมือด้านพลังงานในที่ต่างๆ ต่อไป
(3.2) โครงการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานจากข้อมูลที่ใช้ประเมินค่า OTTV และ RTTV ตามพระราชบัญญัติเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวงเงิน 4,252,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำโปรแกรมที่สามารถคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนของผนัง ด้านนอกอาคาร (Overall Thermal Transfer Value : OTTV) และค่าการถ่ายเทความร้อนของหลังคา (Roof Thermal Transfer Value : RTTV) ที่มีความง่ายต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพสูง โดยจัดทำคู่มือ การใช้โปรแกรม ซึ่งจะเป็นเอกสารแสดงขั้นตอนการใช้ และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลของโปรแกรมโดยละเอียด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 โปรแกรมที่จัดทำขึ้น จะช่วยให้สถาปนิกเข้าใจภาพรวม ของการออกแบบอาคาร ว่ามีผลกระทบถึงการใช้พลังงานในอาคาร ค่าใช้จ่ายและการลงทุนเบื้องต้นอย่างไร
(3.3) โครงการจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวงเงิน 81,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงการเครือข่ายสารสนเทศ ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (Thailand Energy and Environment Network; TEE-NET) ซึ่งเสนอโดยหน่วยงานต่างๆ จำนวน 8 หน่วยงาน และหาแนวทางวิธีการดำเนินการและสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการที่จะนำไปสู่การจัดตั้งเครือข่าย TEE-NET ที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้หน่วยงานที่เข้าร่วมในเครือข่าย สามารถสืบค้นข้อมูลทางด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมซึ่งกันและกันได้ และทำให้ลดต้นทุนในด้านต่างๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
(3.4) โครงการทดสอบเตาเผาอิฐชนิดประหยัดพลังงาน
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวงเงิน 2,499,500 บาท เพื่อพัฒนา/สร้างเตาเผาอิฐแบบประหยัดพลังงานที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งการเผาอิฐด้วยเตาเผาแบบประหยัดพลังงานที่พัฒนาขึ้นนี้ จะมีลักษณะที่สามารถใช้พลังงานความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำความร้อนจากอิฐที่สุกแล้วมาใช้อุ่นอากาศ ที่จะใช้ในการเผาเชื้อเพลิง และนำก๊าซร้อนหลังการเผาไปอุ่นและอบแห้ง ด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้อิฐและก๊าซร้อนออกจากเตาเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ การเผาอิฐจึงมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งการดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2541 เตาเผาอิฐที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถลดการใช้พลังงานชีวมวล ในอุตสาหกรรมการเผาอิฐลงได้ประมาณร้อยละ 40 และลดการนำเข้าเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการเผาอิฐ รวมทั้งทำให้มีไม้ยางพารา และผลผลิตจากไม้ยางพาราที่ใช้เป็นสินค้าออกได้มากขึ้น
4.8.3 การดำเนินการตามแผนงานสนับสนุน
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการภายใต้แผนงานสนับสนุน โดยมีโครงการที่สำคัญซึ่งดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2541 จนถึงเดือนมีนาคม 2542 ดังนี้
4.8.3.1 โครงการพัฒนาบุคลากรมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินงานตามแผนงานอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประกอบด้วยโครงการต่างๆ 6 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการพัฒนาหลักสูตรสื่อการสอน แบบเรียน คู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ประกอบการฝึก อบรมและทำงาน และห้องปฏิบัติการ มีโครงการสำคัญๆ ที่ได้ดำเนินการดังนี้
(1.1) การบูรณาการกระบวนการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (โครงการรุ่งอรุณ)
โครงการรุ่งอรุณเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและองค์กรเอกชน ซึ่งได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สพช. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ ให้กับนักเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษา และนักเรียนของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้มีความรู้ เจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการอนุรักษ์พลังงาน และทรัพยากรอื่นที่ได้มาด้วยพลังงาน เพื่อยังผลต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคต โดยมีระยะเวลาดำเนินงานระหว่างปี 2540-2543 ในวงเงินงบประมาณ 302,681,438 บาท ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ 6 กิจกรรมหลัก ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ โดยแยกตามประเภทของผลลัพธ์ได้ดังนี้
กิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนทดลอง 20 โรงเรียนแรก โครงการรุ่งอรุณได้นำเอาแนวคิด และกิจกรรมที่โครงการได้พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 20 แห่ง ในเขตกรุงเทพฯ นครปฐม และสมุทรปราการ โดยเริ่มทดลองในชั้น ป. 5 ม. 2 และ ม. 5 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 ซึ่งทางโครงการได้ จัดการอบรมในด้านการพัฒนา และผลิตสื่อให้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียนดังกล่าว และยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อตรวจเยี่ยม นิเทศกระบวนการเรียนการสอน และติดตามประเมินผลการทดลอง รวมทั้ง ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียน เพื่อปรับปรุงและวางแผนในการดำเนินงานในช่วงต่อไป กิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองกรอบหลักสูตรของโครงการ ได้ดำเนินการทดลองกรอบหลักสูตรของโครงการในโรงเรียนทั้งหมด 300 แห่ง โดยในโรงเรียน 20 แห่งแรกนั้น ได้มีการทดลองกรอบ หลักสูตรสำหรับนักเรียนชั้น ป. 5 ม. 2 และ ม. 5 และจะขยายผลการ ทดลองอย่างเป็นลำดับต่อไป ในส่วนของโรงเรียนอีก 280 แห่งนั้น ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการฝึกอบรม รวมทั้งคู่มือ นิเทศให้แก่วิทยากรแกนนำระดับชาติ (National Mentor-NM) และ วิทยากรแกนนำระดับจังหวัด (Provincial Mentor-PM) เพื่อใช้ในการ ดำเนินการฝึกอบรมครูแกนนำ (Teacher Mentor-TM) ในโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการ 280 แห่ง ในจังหวัดต่างๆ 30 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค และขยายการอบรมไปสู่ ครูทั้งโรงเรียน (School Base-SB) ในโรงเรียน ดังกล่าว เพื่อให้มีการบูรณาการเนื้อหาเข้าสู่การเรียนการสอนและ กิจกรรมต่างๆ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและผลิตสื่อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อกำหนดแนวทางและวางต้นแบบสื่อ ที่จะใช้ในการเรียนการสอนสำหรับ ระดับการศึกษาต่างๆ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยม ศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ประมวลสื่อเพื่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมขึ้น พร้อมทั้งคำบรรยายสรุป และได้จัดพิมพ์ใน ลักษณะของบรรณานุกรมสื่อพร้อมคำบรรยายสรุป (Annotated Bibliography) ส่งให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโครงการ กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาครูและบุคลากรได้ยึดหลัก บูรณาการฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินการอบรม รวมทั้ง การอบรมด้านการ พัฒนาและใช้สื่อ การนิเทศติดตามผล การดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน และการจัดกิจกรรมสมัชชาฯ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการอบรมครูแกนนำ 1,120 คน การอบรมครูในโรงเรียน 4,200 คน และการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในด้านต่างๆ แก่วิทยากรระดับชาติ และระดับจังหวัด กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมัชชาเยาวชนเพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการสำรวจองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินการเกี่ยวกับ เยาวชนที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายเยาวชน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการติดต่อประสานงานการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานจัดตั้งสมัชชาเยาวชนประจำภูมิภาค 6 ภูมิภาค คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดในปริมณฑล นอกจากนี้ ยังได้มีการจัด สัมมนาในลักษณะของ “ค่ายความรู้” ให้แก่ผู้แทนนักเรียนและเยาวชน นอกระบบโรงเรียนในภาคต่างๆ เพื่อจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนภูมิภาค และได้มี การประชุมเยาวชนภูมิภาค เพื่อร่วมกันสรุปประเด็นปัญหาด้าน พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เยาวชนในแต่ละภูมิภาคเห็นว่ามีความสำคัญ และมีความจำเป็นเร่งด่วน การประเมินและติดตามผล ได้ดำเนินการประเมินและติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องในทุกกิจกรรมที่โครงการจัดขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ ถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโครงการรุ่งอรุณ เพื่อให้ผู้บริหาร โครงการได้นำมากำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อการปรับปรุงการ ดำเนินงานในระยะต่อไป ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการติดตามผลการ ทดลองแนวคิดและกิจกรรมของโครงการในโรงเรียน 280 แห่ง โดย พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ ยังไม่มีความเข้าใจชัดเจนในเรื่องศูนย์ส่งเสริม การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการในโรงเรียน 300 แห่ง โดยพบว่าโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม มักเป็นโรงเรียน ที่อยู่ในชุมชน ที่มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น และมีการทำกิจกรรมทางสังคมอยู่แล้ว หรือ ผ่านการดำเนินงานร่วมกับ NGO มาก่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างการเรียนรู้ ประสบการณ์ ระหว่างโรงเรียนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน (1.2) โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์
สพช. ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เกี่ยวกับการออกแบบอาคาร และวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินงาน ตามแผนงานอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง สพช. ได้ประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ แล้ว โดยในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง รวม 9 โครงการ ดังนี้
โครงการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการห้องปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการสร้างชุดประลองและ Software ประกอบการสอนการจัดการพลังงาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โครงการหลักสูตรพลังงานและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเป็นวิชาบังคับประจำภาคการศึกษาที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โครงการหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล/เคมี/ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมนิเวศวิทยา (Ecological Engineering) 3 หน่วยกิต โดยภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมพลังงาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพัฒนาการสอนและเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในวิชาการจัดการพลังงานในอาคาร โดยคณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โครงการเปิดหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ เรื่องพลังงานทดแทน โดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2) โครงการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้นในประเทศ สำหรับโครงการของ สพช. กรมบัญชีกลาง และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 11,171,308 บาท และระหว่างเดือนตุลาคม 2541 - มีนาคม 2542 ในวงเงิน 12,211,270 บาท
(3) โครงการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมและดูงานระยะสั้นในต่างประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับส่งบุคลากรเข้ารับการ ฝึกอบรมระยะสั้นในต่างประเทศให้แก่ สพช. และ พพ. ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 1,930,680 บาท และระหว่างเดือนตุลาคม 2541 - มีนาคม 2542 ในวงเงิน 350,200 บาท
(4) โครงการส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 41,221,510 บาท โดยเป็นทุนการศึกษาในประเทศจำนวน 44 ทุน แบ่งเป็นปริญญาตรี 17 ทุน ปริญญาโท 25 ทุน และปริญญาเอก 2 ทุน และเป็นทุนการศึกษาในต่างประเทศจำนวน 12 ทุน แบ่งเป็นปริญญาโท 8 ทุน และปริญญาเอก 4 ทุน สำหรับปีงบประมาณ 2542 สพช. ได้ออกประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้ารับการศึกษาในประเทศในสาขาวิชาที่กำหนด ในวงเงิน 9 ล้านบาท โดยกำหนดปิดรับสมัครวันที่ 2 เมษายน 2542 ส่วนทุนการศึกษาในต่างประเทศ สำนักงาน กพ. กำลังดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับทุนรวม 15 ทุน แบ่งเป็นปริญญาโท 10 ทุน ปริญญาเอก 5 ทุน ในวงเงิน 40 ล้านบาท
(5) โครงการให้ทุนวิจัยแก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับทุนอุดหนุนการวิจัยแก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในปีงบประมาณ 2541 จำนวน 63 โครงการ ในวงเงิน 4,974,476 บาท สำหรับปีงบประมาณ 2542 สพช. ได้ประกาศรับสมัครข้อเสนอโครงการทุนวิจัยแก่นักศึกษา ซึ่งในขณะนี้คณะทำงานทุนวิจัยนักศึกษาอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการที่มีนักศึกษาส่งเข้ามารวม 156 โครงการ
(6) โครงการอื่นๆ
กองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนเงินเพื่อเป็นงบประมาณสมทบหากงบประมาณที่อนุมัติไว้สำหรับกิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนแม่บทฯ ไม่พอกับความต้องการ ปีงบประมาณ 2541 ในวงเงิน 15 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2542 ในวงเงิน 15 ล้านบาท
4.8.3.2 โครงการประชาสัมพันธ์สพช. ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบโดยผ่าน สื่อต่างๆ และการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ โดยในช่วงปี 2541 จนถึงมีนาคม 2542 มีโครงการสำคัญๆ คือ
(1) โครงการไทยช่วยไทย ร่วมใจประหยัดพลังงาน
สพช. ได้ดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานระดับชาติที่มุ่งให้เกิดการตื่นตัวต่อการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยการเสนอแนะวิธีการประหยัดพลังงานที่ปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน และเรียกร้องความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน สื่อมวลชน และประชาชนทุกระดับทั่วประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกแขนง มาตรการรณรงค์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประหยัดน้ำมันและการประหยัดไฟฟ้าที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้ง่ายในชีวิตประจำวัน โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 - 7 พฤษภาคม 2541 ซึ่งวันสุดท้ายของการรณรงค์จะเป็นวาระสรุปของกิจกรรม โดยมีการเผยแพร่ออกอากาศทางเครือข่ายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ การจัดให้มีสัปดาห์ลดการสูญเสียพลังงานในอาคาร ระหว่างวันที่ 9-27 มีนาคม 2541 สัปดาห์ลดการสูญเสียพลังงานในการเดินทาง ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม ถึง 24 เมษายน 2541 และสัปดาห์ลดการรั่วไหลไฟฟ้าและน้ำประปา ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2541 การดำเนินโครงการดังกล่าว คาดว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท และลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าได้ร้อยละ 5 จากปี 2540 คิดเป็นเงินประมาณ 12,000 ล้านบาท ตลอดจนช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันได้อย่างน้อยร้อยละ 5 จากปี 2540 คิดเป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการประกวดประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า ในปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการไทยช่วยไทย ร่วมใจประหยัดพลังงาน โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนร่วมมือกันประหยัดพลังงาน และเข้าร่วมโครงการประกวดประหยัดไฟฟ้าและน้ำมันของจังหวัด โดยกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม 2541 เป็นวันเริ่มต้นการแข่งขันประหยัดน้ำมันและไฟฟ้าระหว่างจังหวัด ทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบันมีจังหวัดที่ส่งแผนงานเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 30 จังหวัด ซึ่งแผนงานที่ส่งเข้าร่วม จะมีกิจกรรมรณรงค์อนุรักษ์พลังงาน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับจังหวัดไปจนถึงระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งจังหวัดที่ชนะเลิศประเภทประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า จะได้รับศูนย์นิทัศน์พลังงานเพื่ออนาคตและแผ่นสำริดสลักบนแท่นหินประกาศเกียรติคุณ ส่วนจังหวัดที่ชนะเลิศประเภทประหยัดน้ำมัน จะได้รับเซลล์แสงอาทิตย์และ แผ่นสำริดสลักบนแท่นหินประกาศเกียรติคุณ โดยจะมีการแจ้งผลการแข่งขันในเดือนกันยายน 2542 นี้ แต่ก่อนจะถึงวันประกาศผล คือ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 จะมีการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันดับไฟอีกครั้งในเวลา 18.05 น. เป็นเวลา 15 นาที โดยจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 9 อสมท. ผลจากการดำเนินการดังกล่าว จะทำให้ประชาชนมีความตื่นตัว และร่วมใจกันประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ทำให้ลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้า ลดความต้องการพลังไฟฟ้า และความต้องการใช้น้ำมันของประเทศลง
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-