การส่งออกสินค้าไทยโดยใช้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP ในปี 2548(ม.ค.-มี.ค.) นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิ GSP (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ออก ฟอร์ม เอ) ในปี 2548(ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่ารวม 11,457.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับการส่งออกในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า 10,536.45ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ปี 2548 (ม.ค.-มี.ค.) ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP มีมูลค่า 2,368.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 2,261.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.75 ตลาดสำคัญที่มีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP แบ่งเป็น 3 ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 44 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 32 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 ซึ่งทั้ง 3 ตลาดหลักมีการใช้สิทธิพิเศษฯ รวมคิดเป็นร้อยละ 92 ของการใช้สิทธิพิเศษฯ ทั้งหมด ส่วนตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป กลุ่มประเทศยุโรป ตะวันออก แคนาดา และตุรกี คิดเป็นร้อยละ 8
ตลาดหลักที่มีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ได้แก่ สหภาพยุโรป คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 สหรัฐอเมริการ้อยละ 7.37 สำหรับสินค้าที่ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูงส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่สินค้าประเภท ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา ของใช้บนโต๊ะอาหารทำจากโลหะ เครื่องรับโทรทัศน์สี โมดิไฟด์สตาร์ช เม็ดพลาสติก และเตาอบไมโครเวฟ
สาเหตุที่สัดส่วนส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการส่งออกทั่วไป เนื่องจากสินค้าบางรายการผู้ส่งออกยังมาขอใช้สิทธิพิเศษฯ ไม่เต็มที่ เช่น สินค้าแป้งมันสำปะหลัง สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยนต์สันดาปภายในเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายใต้ระบบ GSP สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ GSP ทุกพิกัดฯ โดยได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ ร้อยละ 1.5 —3.5
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษฯ GSP เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้มุ่งเน้นการให้สิทธิพิเศษฯ ไปยังประเทศด้อยพัฒนามากขึ้นรวมทั้งได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามข้อ ผูกพัน WTO ซึ่งส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีปกติกับอัตราภาษีที่ได้รับจาก GSP ลดน้อยลง ผู้ส่งออกควรใช้โอกาสนี้ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ที่ได้รับอย่างเต็มที่เนื่องจากในอนาคตอาจไม่ได้รับสิทธิพิเศษฯ GSP อีกต่อไป เช่น สหรัฐฯ แจ้งว่าประเทศใดที่จัดทำเขตการค้าเสรี(FTA) กับสหรัฐฯ ประเทศนั้นจะถูกเพิกถอนออกจากรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ FTA มีผลบังคับใช้ รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
การใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ปี 2548 (ม.ค.-มี.ค.) ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP มีมูลค่า 2,368.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 2,261.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 4.75 ตลาดสำคัญที่มีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP แบ่งเป็น 3 ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ 44 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 32 ญี่ปุ่น ร้อยละ 16 ซึ่งทั้ง 3 ตลาดหลักมีการใช้สิทธิพิเศษฯ รวมคิดเป็นร้อยละ 92 ของการใช้สิทธิพิเศษฯ ทั้งหมด ส่วนตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป กลุ่มประเทศยุโรป ตะวันออก แคนาดา และตุรกี คิดเป็นร้อยละ 8
ตลาดหลักที่มีการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ได้แก่ สหภาพยุโรป คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37 สหรัฐอเมริการ้อยละ 7.37 สำหรับสินค้าที่ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูงส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่สินค้าประเภท ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ ถุงพลาสติก เลนส์แว่นตา ของใช้บนโต๊ะอาหารทำจากโลหะ เครื่องรับโทรทัศน์สี โมดิไฟด์สตาร์ช เม็ดพลาสติก และเตาอบไมโครเวฟ
สาเหตุที่สัดส่วนส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการส่งออกทั่วไป เนื่องจากสินค้าบางรายการผู้ส่งออกยังมาขอใช้สิทธิพิเศษฯ ไม่เต็มที่ เช่น สินค้าแป้งมันสำปะหลัง สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยนต์สันดาปภายในเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายใต้ระบบ GSP สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ GSP ทุกพิกัดฯ โดยได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ ร้อยละ 1.5 —3.5
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วที่ให้สิทธิพิเศษฯ GSP เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้มุ่งเน้นการให้สิทธิพิเศษฯ ไปยังประเทศด้อยพัฒนามากขึ้นรวมทั้งได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามข้อ ผูกพัน WTO ซึ่งส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีปกติกับอัตราภาษีที่ได้รับจาก GSP ลดน้อยลง ผู้ส่งออกควรใช้โอกาสนี้ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP ที่ได้รับอย่างเต็มที่เนื่องจากในอนาคตอาจไม่ได้รับสิทธิพิเศษฯ GSP อีกต่อไป เช่น สหรัฐฯ แจ้งว่าประเทศใดที่จัดทำเขตการค้าเสรี(FTA) กับสหรัฐฯ ประเทศนั้นจะถูกเพิกถอนออกจากรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ FTA มีผลบังคับใช้ รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-