โครงการ Green Dot และมาตราการที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป
1. Green Dot เป็นโครงการสมัครใจที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ ได้แก่ เยอรมัน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และออสเตรีย ได้ริเริ่มนำมาใช้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในประเทศของตน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อลดหรือขจัดของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ (packaging) ภายในสหภาพยุโรป
ลักษณะของโครงการจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่องค์กรของเอกชนตั้งขึ้นเพื่อรับกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว โดยบริษัทที่มาใช้บริการจะเสียค่าธรรมเนียมให้องค์กรนั้น แล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ติดเครื่องหมาย "Green Dot" บนสินค้าของตน
โครงการดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศสมาชิกนั้น มีระเบียบที่กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำสินค้าต่าง ๆ ที่เข้ามาในประเทศตน มีภาระข้อผูกพันที่จะต้องหาวิธีรับกลับ (return) บรรจุภัณฑ์นั้นแล้วนำไป recycle หรือนำไปใช้ใหม่ (reuse) หรือว่านำออกไปกำจัดนอกประเทศ หรือมิฉะนั้น ก็สามารถเข้าร่วมกับองค์กรที่รับกำจัดบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ซึ่งภาระที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องดูแลการจัดเก็บของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ของตนนั้น ค่อนข้างจะก่อให้เกิดปัญหากับบริษัทมาก จึงได้มีการรวมตัวกันเป็นบริษัทเอกชนเพื่อมาทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บและนำไปผ่านขั้นตอนใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือองค์กรที่ให้เครื่องหมาย Green Dot นั่นเอง
บริษัทหรือองค์กรเหล่านี้ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ไปในแต่ละประเทศ เช่น ของเยอรมันเรียกว่า "Der grunc Punkt - Duales System Deutschland" หรือแปลว่า "Green Dot - Dual System for Germany" ส่วนบริษัทของเบลเยี่ยมเรียกว่า Fost Plus เป็นต้น การเข้าขอใช้บริการขององค์กรเหล่านี้ไม่มีการบังคับ แต่เป็นการสมัครใจ กล่าวคือ หากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีความสามารถที่จะเก็บและกำจัดบรรจุภัณฑ์ของตนได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องมาใช้บริการของบริษัทดังกล่าว
2. มาตราการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป (EU Packaging Directive)
ในปัจจุบันนี้ มาตรการที่จะกำจัดบรรจุภัณฑ์ของประเทศในสหภาพยุโรปยังไม่มีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2537 สหภาพยุโรปได้ออก European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 ซึ่งเป็นระเบียบที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ (Packaging and packaging waste) ระเบียบนี้ มีบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการเก็บบรรจุภัณฑ์ไป recycle/reuse คล้ายคลึงกับระเบียบภายในของประเทศที่มีโครงการ Green Dot อยู่ในปัจจุบัน เช่น กำหนดว่า ภายในปี 2542 ประเทศสมาชิกจะต้องมีการเก็บ 50%-65% ของของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ในประเทศตน และจะต้องนำ 25%-45% ของของเสียที่เก็บมานี้ไป recycle (ร้อยละคิดตามน้ำหนักของของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์) นอกจากนี้ ก็ได้กำหนดไว้เช่นเดียวกันว่า หากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ต้องรับผิดชอบไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ก็สามารถหาองค์กรอื่นมาดูแลปฏิบัติตามได้ในปัจจุบัน มีหลายประเทศสมาชิกแล้วที่ได้ออกระเบียบภายในประเทศมารองรับระเบียบของสหภาพดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ระเบียบกลางของสหภาพฯ กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่ยืดหยุ่นและกำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศไปออกระเบียบภายในของตนเอง โดยดูความเหมาะสมของระบบที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้ว ดังนั้น มาตรการที่เกี่ยวกับการเก็บและกำจัดบรรจุภัณฑ์ในประเทศสมาชิกก็จะแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด
ภายใต้ระเบียบกลางของสหภาพฯ ยังมีบทบัญญัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญ กล่าวคือ มาตรา 9 กำหนดว่า ภายในปี 2540 นี้ บรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ ที่เข้ามาขายในประเทศสมาชิก จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญบางประการ (essential requirements) มิฉะนั้นจะไม่สามารถวางขายได้
3. ผลกระทบต่อประเทศไทย
หากจะพิจาณาเฉพาะโครงการ Green Dot ตามหลักการแล้วก็น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้าไปขายในประเทศนั้น ๆ เท่านั้น เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการถือเป็นความสมัครใจ (voluntary) เพราะหากบริษัทใดเห็นว่า ตนสามารถจัดระบบเก็บและทำลายของเสียของตนเองได้ ก็ไม่จำเป้นต้องไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว คงเป็นการยากที่แต่ละบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ดังนั้น ในทางปฏิบัติ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้นำเข้าสินค้าจากไทยจะต้องเข้าร่วมโครงการ ซึ่งหากผู้นำเข้าส่งผ่านต้นทุนที่จะต้องจ่ายและค่าธรรมเนียมการเข้าระบบจัดเก็บมาให้ผู้ส่งออกรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ก็คงจะต้องส่งผลกระทบถึงผู้ส่งออกไทยแน่นอน ดังนั้น ผู้ส่งออกจะต้องตกลงกับผู้นำเข้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ มิฉะนั้น ก็จะทำให้ต้องเกิดค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง
ในส่วนของระเบียบกลางเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพฯ นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากถือว่าเป็นมาตรการบังคับ (mandatory) ซึ่งทุกประเทศจำต้องปฏิบัติตาม ซึ่งระเบียบนี้ มีข้อบังคับและบทบัญญัตินอกเหนือไปจากการกำหนดให้มีการจัดเก็บของเสีย กล่าวคือ กว้างขวางกว่า Green Dot เช่น กำหนดให้มีการติดเครื่องหมาย (ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องหมาย Green Dot ก็ได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด) มีการกำหนดเงื่อนไขของบรรจุภัณฑ์ กำหนดระดับของโลหะหนักในบรรจุภัณฑ์ กำหนดให้มีการจัดระบบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งก็จะก่อให้เกิดภาระกับผู้นำเข้า และอาจจะต่อเนื่องมาถึงผู้ส่งออกได้ ดังนั้น มีความจำเป็นที่ผู้ส่งออกจะต้องติดตามดูว่า มาตรการภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเป็นอย่างไร เพราะระเบียบกลางของสหภาพฯ จะกำหนดให้มีการประสานมาตรฐานเหล่านี้ในอนาคต แต่ในชั้นนี้ ทุกประเทศก็สามารถดำเนินการตามที่แต่ละประเทศเห็นควรไปก่อน
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ กลุ่มสินค้าเกษตร กองการค้าพหุภาคี โทร. 282607, 2818268, 2826171-9 ต่อ 1148
--ข่าวเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ / 22 มกราคม 2540
1. Green Dot เป็นโครงการสมัครใจที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ ได้แก่ เยอรมัน เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และออสเตรีย ได้ริเริ่มนำมาใช้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในประเทศของตน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อลดหรือขจัดของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ (packaging) ภายในสหภาพยุโรป
ลักษณะของโครงการจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่องค์กรของเอกชนตั้งขึ้นเพื่อรับกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว โดยบริษัทที่มาใช้บริการจะเสียค่าธรรมเนียมให้องค์กรนั้น แล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ติดเครื่องหมาย "Green Dot" บนสินค้าของตน
โครงการดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศสมาชิกนั้น มีระเบียบที่กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำสินค้าต่าง ๆ ที่เข้ามาในประเทศตน มีภาระข้อผูกพันที่จะต้องหาวิธีรับกลับ (return) บรรจุภัณฑ์นั้นแล้วนำไป recycle หรือนำไปใช้ใหม่ (reuse) หรือว่านำออกไปกำจัดนอกประเทศ หรือมิฉะนั้น ก็สามารถเข้าร่วมกับองค์กรที่รับกำจัดบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ซึ่งภาระที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องดูแลการจัดเก็บของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ของตนนั้น ค่อนข้างจะก่อให้เกิดปัญหากับบริษัทมาก จึงได้มีการรวมตัวกันเป็นบริษัทเอกชนเพื่อมาทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บและนำไปผ่านขั้นตอนใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือองค์กรที่ให้เครื่องหมาย Green Dot นั่นเอง
บริษัทหรือองค์กรเหล่านี้ มีชื่อเรียกต่าง ๆ ไปในแต่ละประเทศ เช่น ของเยอรมันเรียกว่า "Der grunc Punkt - Duales System Deutschland" หรือแปลว่า "Green Dot - Dual System for Germany" ส่วนบริษัทของเบลเยี่ยมเรียกว่า Fost Plus เป็นต้น การเข้าขอใช้บริการขององค์กรเหล่านี้ไม่มีการบังคับ แต่เป็นการสมัครใจ กล่าวคือ หากบริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ามีความสามารถที่จะเก็บและกำจัดบรรจุภัณฑ์ของตนได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องมาใช้บริการของบริษัทดังกล่าว
2. มาตราการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพยุโรป (EU Packaging Directive)
ในปัจจุบันนี้ มาตรการที่จะกำจัดบรรจุภัณฑ์ของประเทศในสหภาพยุโรปยังไม่มีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2537 สหภาพยุโรปได้ออก European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 ซึ่งเป็นระเบียบที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ (Packaging and packaging waste) ระเบียบนี้ มีบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการเก็บบรรจุภัณฑ์ไป recycle/reuse คล้ายคลึงกับระเบียบภายในของประเทศที่มีโครงการ Green Dot อยู่ในปัจจุบัน เช่น กำหนดว่า ภายในปี 2542 ประเทศสมาชิกจะต้องมีการเก็บ 50%-65% ของของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ในประเทศตน และจะต้องนำ 25%-45% ของของเสียที่เก็บมานี้ไป recycle (ร้อยละคิดตามน้ำหนักของของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์) นอกจากนี้ ก็ได้กำหนดไว้เช่นเดียวกันว่า หากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ต้องรับผิดชอบไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ก็สามารถหาองค์กรอื่นมาดูแลปฏิบัติตามได้ในปัจจุบัน มีหลายประเทศสมาชิกแล้วที่ได้ออกระเบียบภายในประเทศมารองรับระเบียบของสหภาพดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ระเบียบกลางของสหภาพฯ กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่ยืดหยุ่นและกำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศไปออกระเบียบภายในของตนเอง โดยดูความเหมาะสมของระบบที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้ว ดังนั้น มาตรการที่เกี่ยวกับการเก็บและกำจัดบรรจุภัณฑ์ในประเทศสมาชิกก็จะแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด
ภายใต้ระเบียบกลางของสหภาพฯ ยังมีบทบัญญัติอีกประการหนึ่งที่สำคัญ กล่าวคือ มาตรา 9 กำหนดว่า ภายในปี 2540 นี้ บรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ ที่เข้ามาขายในประเทศสมาชิก จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญบางประการ (essential requirements) มิฉะนั้นจะไม่สามารถวางขายได้
3. ผลกระทบต่อประเทศไทย
หากจะพิจาณาเฉพาะโครงการ Green Dot ตามหลักการแล้วก็น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าสินค้าไปขายในประเทศนั้น ๆ เท่านั้น เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการถือเป็นความสมัครใจ (voluntary) เพราะหากบริษัทใดเห็นว่า ตนสามารถจัดระบบเก็บและทำลายของเสียของตนเองได้ ก็ไม่จำเป้นต้องไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว คงเป็นการยากที่แต่ละบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ดังนั้น ในทางปฏิบัติ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้นำเข้าสินค้าจากไทยจะต้องเข้าร่วมโครงการ ซึ่งหากผู้นำเข้าส่งผ่านต้นทุนที่จะต้องจ่ายและค่าธรรมเนียมการเข้าระบบจัดเก็บมาให้ผู้ส่งออกรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ก็คงจะต้องส่งผลกระทบถึงผู้ส่งออกไทยแน่นอน ดังนั้น ผู้ส่งออกจะต้องตกลงกับผู้นำเข้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ มิฉะนั้น ก็จะทำให้ต้องเกิดค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง
ในส่วนของระเบียบกลางเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของสหภาพฯ นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้ เนื่องจากถือว่าเป็นมาตรการบังคับ (mandatory) ซึ่งทุกประเทศจำต้องปฏิบัติตาม ซึ่งระเบียบนี้ มีข้อบังคับและบทบัญญัตินอกเหนือไปจากการกำหนดให้มีการจัดเก็บของเสีย กล่าวคือ กว้างขวางกว่า Green Dot เช่น กำหนดให้มีการติดเครื่องหมาย (ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องหมาย Green Dot ก็ได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด) มีการกำหนดเงื่อนไขของบรรจุภัณฑ์ กำหนดระดับของโลหะหนักในบรรจุภัณฑ์ กำหนดให้มีการจัดระบบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งก็จะก่อให้เกิดภาระกับผู้นำเข้า และอาจจะต่อเนื่องมาถึงผู้ส่งออกได้ ดังนั้น มีความจำเป็นที่ผู้ส่งออกจะต้องติดตามดูว่า มาตรการภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเป็นอย่างไร เพราะระเบียบกลางของสหภาพฯ จะกำหนดให้มีการประสานมาตรฐานเหล่านี้ในอนาคต แต่ในชั้นนี้ ทุกประเทศก็สามารถดำเนินการตามที่แต่ละประเทศเห็นควรไปก่อน
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อที่ กลุ่มสินค้าเกษตร กองการค้าพหุภาคี โทร. 282607, 2818268, 2826171-9 ต่อ 1148
--ข่าวเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ / 22 มกราคม 2540