นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถานการณ์การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2548 ว่า สามารถส่งออกข้าวได้ 0.596 ล้านตันมูลค่า 188 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (7,383 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากจากเดือนก่อนร้อยละ 3.47 และ 4.44 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย อิรัก แอฟริกาใต้ แคเมอรูน แอฟริกาใต้ มาเลเซีย เบนิน เซเนกัล สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกในช่วง มกราคม- พฤษภาคม 2548 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 3.12 ล้านตัน มูลค่า 956 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (37,058 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าลดลงจากระยะเดียวของปีก่อนร้อยละ 15.77 และ 4.44 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากภาวะความแห้งแล้งผลผลิตข้าวลดลง และราคาข้าวไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน ซึ่งในปี 2548 ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ 8.5 ล้านตัน และขณะนี้การส่งออกยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติสอดคล้องกับเป้าหมายการส่งออกที่ได้ปรับลดลงจาก 10 ล้านตันในปีก่อน โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าว เป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.89 ล้านตัน มูลค่า 338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 13,084 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 และ 35 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมดตามลำดับ โดยราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยในปี 2548 (ม.ค.- พ.ค. 48 ) อยู่ที่ระดับตันละ 307 เหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนที่ระดับตันละ 270 เหรียญสหรัฐฯ หรือสูงขึ้นร้อยละ 13.70
สำหรับสถานการณ์ข้าวฤดูนาปรัง ราคาข้าวเปลือกในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าราคา ที่รัฐบาลประกาศรับจำนำ ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการข้าวค่อนข้างมั่นใจในเสถียรภาพราคาข้าว จึงเก็บข้าวไว้เพื่อรอราคา ส่งผลให้ปริมาณข้าวออกสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดี จากความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากตลาดหลัก เช่น แอฟริกาที่มีความต้องการข้าวขาวและข้าวนึ่งจากไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงช่วยให้ราคาข้าวส่งออกของไทยจูงใจประเทศผู้ซื้อมากขึ้น ทำให้มีปริมาณคำสั่งซื้อข้าวเพิ่มเติมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2548 มีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น สำหรับในส่วนของข้าวหอมมะลิไทยความต้องการส่วนใหญ่เป็นปลายข้าวจากตลาดแอฟริกา โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 420 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อนตันละ 4 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 304 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อน ตันละ 7 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ยตันละ 7,893 บาท ลดลงจากเดือนก่อน ตันละ 213 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาตันละ 6,900 บาท ทรงตัวจากเดือนก่อน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติม ว่า ราคาข้าวไทยจะยังอยู่ในระดับสูง แต่คาดว่าการส่งออกข้าวในเดือนมิถุนายน 2548 จะมีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สาเหตุจากราคาข้าวไทยจูงใจผู้ซื้อมากขึ้น ผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ประกอบกับกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการจัดคณะผู้แทนการค้าไทยร่วมภาครัฐและเอกชน เดินทางไปจัดกิจกรรมขยายตลาดข้าว และประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดตลาดจีน รัสเซีย ยูเครน และในเดือนกรกฎาคม 2548 จะจัดคณะผู้แทนร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขยายตลาดและประชาสัมพันธ์ ข้าวไทยในภูมิภาคแอฟริกาที่เป็นตลาดที่ยังมีความต้องการนำเข้าข้าวเป็นจำนวนมาก อาทิ ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกข้าวไทยจะได้พบปะกับผู้นำเข้าข้าว และเจรจาขายข้าวให้แก่ผู้นำเข้าข้าวโดยตรง
เพื่อผลักดันให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ที่มีรายได้สูง กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ร่วมกับจังหวัดที่ปลูกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกข้าวที่ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดให้สามารถสร้างตราข้าวหอมมะลิ (Branding)ของผู้ส่งออกแต่ละจังหวัดเป็นของตนเอง ทั้งนี้มีสหกรณ์ โรงสี และผู้ส่งออก จำนวน 10 จังหวัด แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยได้จะเริ่มจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม 2548 โดยในเดือนมิถุนายน 2548 จะมีการจัดสัมมนาดังกล่าวในจังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ ตามลำดับ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส
สำหรับการส่งออกในช่วง มกราคม- พฤษภาคม 2548 ได้ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 3.12 ล้านตัน มูลค่า 956 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (37,058 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าลดลงจากระยะเดียวของปีก่อนร้อยละ 15.77 และ 4.44 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากภาวะความแห้งแล้งผลผลิตข้าวลดลง และราคาข้าวไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน ซึ่งในปี 2548 ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ 8.5 ล้านตัน และขณะนี้การส่งออกยังถือว่าอยู่ในภาวะปกติสอดคล้องกับเป้าหมายการส่งออกที่ได้ปรับลดลงจาก 10 ล้านตันในปีก่อน โดยข้าวที่ส่งออกดังกล่าว เป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.89 ล้านตัน มูลค่า 338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 13,084 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 และ 35 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมดตามลำดับ โดยราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยในปี 2548 (ม.ค.- พ.ค. 48 ) อยู่ที่ระดับตันละ 307 เหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อนที่ระดับตันละ 270 เหรียญสหรัฐฯ หรือสูงขึ้นร้อยละ 13.70
สำหรับสถานการณ์ข้าวฤดูนาปรัง ราคาข้าวเปลือกในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าราคา ที่รัฐบาลประกาศรับจำนำ ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการข้าวค่อนข้างมั่นใจในเสถียรภาพราคาข้าว จึงเก็บข้าวไว้เพื่อรอราคา ส่งผลให้ปริมาณข้าวออกสู่ตลาดมีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดี จากความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากตลาดหลัก เช่น แอฟริกาที่มีความต้องการข้าวขาวและข้าวนึ่งจากไทยอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงช่วยให้ราคาข้าวส่งออกของไทยจูงใจประเทศผู้ซื้อมากขึ้น ทำให้มีปริมาณคำสั่งซื้อข้าวเพิ่มเติมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคม 2548 มีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น สำหรับในส่วนของข้าวหอมมะลิไทยความต้องการส่วนใหญ่เป็นปลายข้าวจากตลาดแอฟริกา โดยข้าวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 420 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อนตันละ 4 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวขาว 100 % ชั้น 2 มีราคาส่งออกเฉลี่ยตันละ 304 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อน ตันละ 7 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้าวเปลือกหอมมะลิมีราคาเฉลี่ยตันละ 7,893 บาท ลดลงจากเดือนก่อน ตันละ 213 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้า ความชื้นไม่เกิน 15 % มีราคาตันละ 6,900 บาท ทรงตัวจากเดือนก่อน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติม ว่า ราคาข้าวไทยจะยังอยู่ในระดับสูง แต่คาดว่าการส่งออกข้าวในเดือนมิถุนายน 2548 จะมีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สาเหตุจากราคาข้าวไทยจูงใจผู้ซื้อมากขึ้น ผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ประกอบกับกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการจัดคณะผู้แทนการค้าไทยร่วมภาครัฐและเอกชน เดินทางไปจัดกิจกรรมขยายตลาดข้าว และประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดตลาดจีน รัสเซีย ยูเครน และในเดือนกรกฎาคม 2548 จะจัดคณะผู้แทนร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขยายตลาดและประชาสัมพันธ์ ข้าวไทยในภูมิภาคแอฟริกาที่เป็นตลาดที่ยังมีความต้องการนำเข้าข้าวเป็นจำนวนมาก อาทิ ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกข้าวไทยจะได้พบปะกับผู้นำเข้าข้าว และเจรจาขายข้าวให้แก่ผู้นำเข้าข้าวโดยตรง
เพื่อผลักดันให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ที่มีรายได้สูง กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ร่วมกับจังหวัดที่ปลูกข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกข้าวที่ได้รับคัดเลือกจากจังหวัดให้สามารถสร้างตราข้าวหอมมะลิ (Branding)ของผู้ส่งออกแต่ละจังหวัดเป็นของตนเอง ทั้งนี้มีสหกรณ์ โรงสี และผู้ส่งออก จำนวน 10 จังหวัด แสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยได้จะเริ่มจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม 2548 โดยในเดือนมิถุนายน 2548 จะมีการจัดสัมมนาดังกล่าวในจังหวัดร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีษะเกษ ตามลำดับ
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส