1. สถานการณ์การผลิต
จีนคาดว่าปีนี้จะผลิตปลาป่นได้เพิ่มขึ้น
สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยรายงานว่า ปี 2541 ประเทศจีนนำเข้าปลาป่น 416,200 ตัน ลดลงจากปริมาณที่นำเข้าในปี 2540 ร้อยละ 60 ถึงแม้ว่าปริมาณปลาป่นในประเทศค่อนข้างขาดแคลน แต่ราคามีแนวโน้มลดลงเกือบตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะสัตว์ปีก และจากการที่สามารถจับปลากะตักในประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับความต้องการที่อาจเพิ่มขึ้นได้ส่วนหนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์ควบคุมคุณภาพอาหารทะเลแห่งชาติของจีนได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างปลาป่นจากโรงงานหลายแห่งในประเทศ พบว่าปลาป่นที่ผลิตได้ในประเทศมีคุณภาพทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 7 - 13 สค.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,256.47 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 594.37 ตัน สัตว์น้ำจืด 661.92 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.68 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.50 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 64.70 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งกุลาดำจะเข้าสู่ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
ตามที่กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตร ล่วงหน้า เพื่อจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าและขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมมาธิการวุฒิสภา ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้และสามารถจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้ประมาณปลายปีนี้
การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลาดสินค้าเกษตรของประเทศ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงต่อความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างถูกต้องแทนการแก้ไขปัญหาด้วยการแทรกแซงตลาด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ส่วนสินค้าที่จะมีการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เริ่มแรกมี 4 ประเภท คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และ กุ้งกุลาดำ เพราะสินค้าเกษตรทั้ง 4 ประเภทนี้ มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี
สำหรับกุ้งกุลาดำ การจะเข้าสู่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าและทำให้ตลาดซื้อขาย ล่วงหน้าประสบความสำเร็จนั้น นายเลิศ ทิศยากร อุปนายกสมาคมแช่เยือกแข็งให้ความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนจะใช้บริการ โดยเฉพาะเกษตรกรจะต้องรวมตัวกันในรูปขององค์กร และสร้างความเข้าใจให้คนทั่วไปและต่างชาติรับรู้ว่าการเลี้ยงกุ้ง ของไทย ไม่ทำลายป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้าจากประเทศ คู่ค้า
อย่างไรก็ตามทางด้านผู้เลี้ยงกุ้ง นายสัตวแพทย์สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ์ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงผู้ผลิตผู้ส่งออกกุ้งกุลาดำ มีความเห็นว่าหากตลาดซื้อขายล่วงหน้าเปิดดำเนินการผู้เลี้ยงกุ้งจะได้รับความเดือดร้อน เพราะตลาดกุ้งเกือบทั้งหมดต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ขณะที่ปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าจะรับทราบข้อมูลเรื่องปริมาณ ต้นทุน การเลี้ยงและการแปรรูปของไทยเป็นอย่างดี ดังนั้น การรับซื้อแต่ละครั้งกุ้งไทยจะถูกกดราคา และต่างชาติอาจจะเข้ามาปั่นราคาขึ้นหรือลงได้ง่ายขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.64 บาท สูงขึ้นจาก31.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาทสูงขึ้นจาก 34.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท ลดลงจาก 54.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจาก 77.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 268.00 บาท ลดลงจาก 278.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 321.67 บาท สูงขึ้นจาก 320.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.36 บาท ลดลงจาก 18.95 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.67 บาท สูงขึ้นจาก 32.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจาก 46.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจาก 60.83 บาท สัปดาห์ก่อน 21.67 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.91บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (16-20 สค.42) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.62 บาท สูงขึ้นจาก 19.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 16-22 ส.ค. 2542--
จีนคาดว่าปีนี้จะผลิตปลาป่นได้เพิ่มขึ้น
สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยรายงานว่า ปี 2541 ประเทศจีนนำเข้าปลาป่น 416,200 ตัน ลดลงจากปริมาณที่นำเข้าในปี 2540 ร้อยละ 60 ถึงแม้ว่าปริมาณปลาป่นในประเทศค่อนข้างขาดแคลน แต่ราคามีแนวโน้มลดลงเกือบตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะสัตว์ปีก และจากการที่สามารถจับปลากะตักในประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีมากขึ้นในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับความต้องการที่อาจเพิ่มขึ้นได้ส่วนหนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์ควบคุมคุณภาพอาหารทะเลแห่งชาติของจีนได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างปลาป่นจากโรงงานหลายแห่งในประเทศ พบว่าปลาป่นที่ผลิตได้ในประเทศมีคุณภาพทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 7 - 13 สค.42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,256.47 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 594.37 ตัน สัตว์น้ำจืด 661.92 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.68 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.50 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 61.83 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 64.70 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งกุลาดำจะเข้าสู่ตลาดซื้อขายล่วงหน้า
ตามที่กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตร ล่วงหน้า เพื่อจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าและขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมมาธิการวุฒิสภา ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้และสามารถจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้ประมาณปลายปีนี้
การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลาดสินค้าเกษตรของประเทศ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงต่อความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างถูกต้องแทนการแก้ไขปัญหาด้วยการแทรกแซงตลาด ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ส่วนสินค้าที่จะมีการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เริ่มแรกมี 4 ประเภท คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และ กุ้งกุลาดำ เพราะสินค้าเกษตรทั้ง 4 ประเภทนี้ มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี
สำหรับกุ้งกุลาดำ การจะเข้าสู่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าและทำให้ตลาดซื้อขาย ล่วงหน้าประสบความสำเร็จนั้น นายเลิศ ทิศยากร อุปนายกสมาคมแช่เยือกแข็งให้ความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนจะใช้บริการ โดยเฉพาะเกษตรกรจะต้องรวมตัวกันในรูปขององค์กร และสร้างความเข้าใจให้คนทั่วไปและต่างชาติรับรู้ว่าการเลี้ยงกุ้ง ของไทย ไม่ทำลายป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้าจากประเทศ คู่ค้า
อย่างไรก็ตามทางด้านผู้เลี้ยงกุ้ง นายสัตวแพทย์สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ์ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงผู้ผลิตผู้ส่งออกกุ้งกุลาดำ มีความเห็นว่าหากตลาดซื้อขายล่วงหน้าเปิดดำเนินการผู้เลี้ยงกุ้งจะได้รับความเดือดร้อน เพราะตลาดกุ้งเกือบทั้งหมดต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ขณะที่ปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าจะรับทราบข้อมูลเรื่องปริมาณ ต้นทุน การเลี้ยงและการแปรรูปของไทยเป็นอย่างดี ดังนั้น การรับซื้อแต่ละครั้งกุ้งไทยจะถูกกดราคา และต่างชาติอาจจะเข้ามาปั่นราคาขึ้นหรือลงได้ง่ายขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.64 บาท สูงขึ้นจาก31.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาทสูงขึ้นจาก 34.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท ลดลงจาก 54.31 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจาก 77.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 268.00 บาท ลดลงจาก 278.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 321.67 บาท สูงขึ้นจาก 320.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.67 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.36 บาท ลดลงจาก 18.95 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.59 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.67 บาท สูงขึ้นจาก 32.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท สูงขึ้นจาก 46.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจาก 60.83 บาท สัปดาห์ก่อน 21.67 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.91บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (16-20 สค.42) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.62 บาท สูงขึ้นจาก 19.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 16-22 ส.ค. 2542--